วันอังคาร, มิถุนายน 28, 2565

ใครควรถูกฟ้อง “ไฟไหม้สำเพ็ง”


ฐานเศรษฐกิจ
Yesterday
เจ้าของตึก“ไฟไหม้สำเพ็ง” เล็งฟ้อง “การไฟฟ้า” เรียกค่าเสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท #ไฟไหม้สําเพ็ง #ฐานเศรษฐกิจ
.
อ่านต่อ...https://www.thansettakij.com/politics/530324

Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
19h

ฟ้องการไฟฟ้าฯ นั้น ผิดตัว [ข้อมูลของผมผิด อ่านข้างล่าง :- เปลี่ยนเป็น ควรฟ้องการไฟฟ้าฯ ]
เพราะผู้ก่อปัญหาคือบรรดาบริษัทให้บริการอินเทอร์เนต ที่พาดสายรุงรังโดยไม่ได้ขออนุญาตจากใคร และเป็นสื่อที่ทำให้ไฟไหม้ลามไปตามถนนอย่างรวดเร็ว
ควรจะฟ้อง กสทช. ด้วย ในฐานะที่ละเลยไม่กำกับดูแลให้รัดกุมเท่าที่ควร
มีผู้อ่านให้ข้อมูล
การไฟฟ้าได้เงินค่าพาดสายสื่อสารครับ
ข้อมูลจาก ประกาศการไฟฟ้านครหลวง ที่ 30/2557 เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายการติดตั้งสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง ได้กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายการติดตั้งสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง ไว้ดังต่อไปนี้
ค่าสำรวจและค่าบริการนำข้อมูลสายสื่อสารบันทึกในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
1.1 ค่าสำรวจเสาไฟฟ้าในการติดตั้งสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้า 6 บาท ต่อต้น
1.2 ค่าบริการนำข้อมูลสายสื่อสารบันทึกในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 725 บาท ต่อกิโลเมตร
ค่าบริการรายปีเพื่อการบำรุงรักษาเสาไฟฟ้าจากการติดตั้งสายสื่อสารตามขนาดสายสื่อสารเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 18 มิลลิเมตร ค่าบริการ 2.90 บาท ต่อมิลลิเมตรต่อต้น
2.1 การชำระค่าบริการครั้งแรก เริ่มนับจากวันที่การไฟฟ้านครหลวงอนุญาตให้ติดตั้งสายจนถึงสิ้นปีนั้น และเศษของจำนวนวันคิดเป็น 1 เดือน
2.2 การชำระค่าบริการในครั้งต่อไป ให้ชำระเป็นรายปี
ค่าอบรมด้านความปลอดภัย ผู้ขออนุญาตต้องส่งเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ดำเนินการติดตั้งสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้ามาเข้ารับการอบรมด้านความปลอดภัย และการไฟฟ้านครหลวงจะออกบัตรอนุญาตให้แก่ผู้ที่ผ่านการอบรมตามข้อกำหนดของการไฟฟ้านครหลวง โดยคิดค่าใช้จ่าย คนละ 2,000 บาท
ค่าใช้จ่ายอื่น
4.1 กรณีสายสื่อสารที่ติดตั้งมีขนาดเกินกำหนด
4.1.1 ค่าติดตั้งสายสื่อสารส่วนที่เกิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางสายมากกว่า 18 ถึง 36 มิลลิเมตร คิดค่าใช้จ่าย 3.48 บาท ต่อมิลลิเมตรต่อต้นต่อปี
4.1.2 ค่าติดตั้งสายสื่อสารส่วนที่เกิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางสายมากกว่า 36 ถึง 54 มิลลิเมตร คิดค่าใช้จ่าย 4.06 บาท ต่อมิลลิเมตรต่อต้นต่อปี
4.1.3. ค่าติดตั้งสายสื่อสารส่วนที่เกิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางสายมากกว่า 54 ถึง 72 มิลลิเมตร คิดค่าใช้จ่าย 4.64 บาท ต่อมิลลิเมตรต่อต้นต่อปี
4.2 ค่ารื้อถอนสายสื่อสารการไฟฟ้านครหลวงจะรื้อถอนสายสื่อสารที่ติดตั้งเกินขนาดตามค่าแรงมาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวงตามความเป็นจริง
อัตราค่าใช้จ่ายตามประกาศนี้ ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
ที่มาข้อมูล: ประกาศการไฟฟ้านครหลวง ที่ 30/2557 เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายการติดตั้งสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
Infographic by TCIJ/Racha Luangborisut (CC BY-NC 2.0)
.....

The Reporters
14h

UPDATE: ธุรกิจเดียวของครอบครัววอดจากเพลิงไหม้ เจ้าของ ‘พิชิตชัย’ ราชวงศ์ ยอมรับใจหาย เป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าเกิด หม้อแปลงมีปัญหาบ่อย พร้อมเป็นโจทย์ร่วมร้านข้างเคียงเรียกค่าเสียหาย
วันนี้ (27 มิ.ย. 65) หลังจากเหตุเพลิงไหม้อาคารพาณิชย์ ถนนราชวงศ์ ใกล้ตลาดสำเพ็งเมื่อวานนี้ (26 มิ.ย. 65) นายเกียรติศักดิ์ แซ่แต้ เจ้าของร้านพิชิตชัย หนึ่งในอาคารที่ถูกเพลิงไหม้ได้ให้สัมภาษณ์กับทางสื่อมวลชนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
นายเกียรติศักดิ์ กล่าวว่า ตึกคูหาของตนเปิดร้านจำหน่ายอุปกรณ์เด็กอ่อน รถเข็น ขวดนม รถหัดเดิน มากว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งตึกนี้เป็นของคุณพ่อที่ซื้อเอาไว้เพื่อทำธุรกิจ โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ ยังโชคดีที่ร้านหยุดทุกวันอาทิตย์ ทำให้ภายในร้านไม่มีใครอยู่ ซึ่งในช่วงเช้าขณะที่กำลังพักผ่อนอยู่กับครอบครัว ร้านค้าข้างเคียงได้โทรมาแจ้งว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น จึงรีบมาเข้ามาดู และตกใจมาก ไม่คาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น เป็นธุรกิจเดียวของครอบครัวที่ทำอยู่ ไม่มีสาขา
นายเกียรติศักดิ์ ยังกล่าวต่ออีกว่าก่อนหน้านี้หม้อแปลงก็มีปัญหาบ่อย ทางเจ้าหน้าที่ก็เข้ามาดูแลซ่อมแซมในช่วงก่อนเกิดเหตุหลายครั้ง จึงไม่น่าจะปล่อยให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้ ถ้าทางเจ้าหน้าที่มีความรอบคอบ รัดกุม น่าจะต้องแจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวัง เพราะสัปดาห์ที่แล้วก็มีระเบิดไปแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่ได้เกิดไฟไหม้ ประเมินความเสียหายของร้านทั้งหมด ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท เพราะเสียหายทั้งสต็อกสินค้า ตึกไม่สามารถซ่อมแซม รีโนเวทได้ ต้องทุบและสร้างใหม่ แต่ต้องปรึกษาทางทนายความอีกครั้ง
นายเกียรติศักดิ์ ระบุว่าขณะนี้กำลังดำเนินการในส่วนของการแจ้งความ ต้องรอดูประเมินความเสียหายก่อนจึงค่อยแจ้งทีเดียว และหากตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว พบว่าต้นเพลิงเกิดจากข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน จะมีการดำเนินการเรียกร้องเงินชดเชยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหากเจ้าของตึกข้างๆ จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายก็พร้อมเป็นโจทก์ร่วมฟ้องด้วย อยากให้ต่อจากนี้ทาง กฟน. ให้ความรู้ประชาชนในเรื่องของเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้เข้าใจถึงความอันตราย การหลบเลี่ยงหากเกิดเหตุไม่คาดคิด และดูแลรับผิดชอบในส่วนที่ต้องดูแลให้ดี
“…เสียโอกาสในการค้าขาย เสียข้อมูลลูกค้า สต็อกสินค้า ตึกคงต้องทุบ อยู่มาเกือบ 40 ปีไม่เคยคาดคิด เป็นเหตุการณ์ที่เกินความคาดหมาย ใจหายมาก เครียดมาก กังวลอนาคตทางธุรกิจ ไม่มีธุรกิจสำรอง เพราะที่นี่เป็นธุรกิจหลักของครอบครัว…” นายเกียรติศักดิ์ กล่าว
#TheReporters #เดอะรีพอร์ตเตอร์ #ไฟไหม้สำเพ็ง