วันอาทิตย์, มีนาคม 06, 2565

สังคมไทยดัดจริต ไม่ได้ดูดายกับคนจริงๆ แต่ว่าสนใจแค่คนบางคน ดูกรณีแตงโม


"นั่งคุยLIVE" - EP.13 Mirror Mirror! สะท้อน #แตงโม ผ่านมายาคติของสังคมไทย

..
ในตอนหนึ่ง รศ.ดร.ยุกติ กล่าวว่า สิ่งที่ตนสนใจคือสังคมกำลังเกิดอะไรขึ้น จึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ส่วนตัวมองว่าสังคมไทยมีคำว่า “ดราม่า” คือภาวะที่ทำให้ปรากฏการณ์หนึ่งกลายเป็นเหมือนละคร คำในเชิงวิเคราะห์คือเป็นเรื่องเล่า (Narrative) หรือการสร้างเรื่องเล่าเรื่องปะติดปะต่อเรื่องราวซึ่งเป็นวิธีแบบนิยายนักสืบ สังคมกำลังร่วมเขียนนิยายนักสืบ โดยมีสื่อมวลชนเป็นเวทีหรือช่องทางให้คนเขียนนิยายนักสืบ พอเรื่องอยู่ในโซเชียลมีเดีย สังคมที่อยู่ในโลกออนไลน์ยิ่งเป็นพื้นที่ที่เห็นกันมากขึ้น แทนที่เรื่องนี้จะกลายเป็นการคุยในวงเล็กๆ นึกถึงช่องทางประเภทจอยลดาที่เป็นแอพพลิเคชั่นในการจำลองเขียนนิยายในลักษณะที่เป็นแชตรูม ตอนนี้สังคมไทยได้สร้างแชตรูมขนาดใหญ่ ไม่มีพรมแดนระหว่างโซเชียลมีเดียกับสื่อกระแสหลัก

“ตอนนี้มันไหลมากันหมดเลย พรมแดนนี้หายไปหลังจากโควิด-19 ด้วย และวิธีที่คนสนทนากันใช้วิธีการสร้างแบบนิยายนักสืบผ่านช่องทางขนาดใหญ่ คิดว่ามีการเรียนรู้ทั้ง 2 ทาง ทางที่หนึ่งคือสังคมควรจะเรียนรู้ และสื่อมวลชนควรจะมีกรอบ หรือขอบเขตบางอย่าง ประคับประคองไม่ให้เรื่องแบบนี้กลายเป็นดราม่ามากขนาดนี้ อีกด้านหนึ่งคือผู้ที่เป็นคนรับผิดชอบหลักในยวดยานต่างๆ เช่นที่ผ่านมามีเรื่องอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ขี่รถชน คนรับผิดชอบคือคนเดียว

“ขณะเดียวกันยวดยานที่มีคนโดยสารด้วยหลายคน คนขับรถจะต้องมีความรับผิดชอบต่อคนที่นั่งอยู่แค่ไหน ใบขับขี่รถโดยสารสาธารณะจะต้องมีอายุเท่าไร และความรับผิดชอบอะไรบ้าง และเรือ ถ้ามีคนตกลงไปในน้ำเขาควรจะทำอะไรและทำตามได้แค่ไหน จริงจังกับมันได้แค่ไหน” รศ.ดร.ยุกติกล่าว

รศ.ดร.ยุกติกล่าวต่อไปว่า ในสังคมไทยยังมีผู้ถูกสังหารอย่างไม่เป็นธรรม ถูกอุ้มฆ่า จึงอยากให้ตั้งคำถามด้วยว่าเหตุใดจึงไม่สนใจเช่นเดียวกัน

“อยากให้มาตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมเรื่องที่ดราม่าเหมือนกันที่มีเงื่อนงำเยอะแยะและเกี่ยวกับความยุติธรรมด้วยเหมือนกัน หรืออาจจะชัดเจนกว่านี้อีก ในเรื่องที่ผู้เสียชีวิตยังไม่ได้รับความเป็นธรรม ทำไมเราไม่สนใจเรื่องนั้นบ้าง ทำไมเรามาสนใจเรื่องนี้

“เรามีคำตอบว่าแตงโมเป็นคนดัง เป็นคนสำคัญ แต่ว่าสิ่งนี้สะท้อนว่าสังคมเราเป็นอะไรกันแน่ ถึงปล่อยปละให้คนตายมากกว่านี้ ที่เขาโดนอุ้ม โดนสังหารไม่เป็นธรรมต่างๆ ท้ายที่สุดคือการที่เราเรียกคนนั้นคนนี้ว่าไฮโซ เป็นเพราะว่าเราสนใจแค่คนที่อยู่ในสถานะที่สูงส่ง แล้วเรารู้สึกว่าเขาเป็นคนที่เราต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษอย่างนั้นหรือไม่ มีหลายคนที่เราไม่สนใจ เรื่องนี้สะท้อนสังคมที่ไม่ได้ดูดายกับคนจริงๆ แต่ว่าสนใจแค่คนบางคน” รศ.ดร.ยุกติกล่าว

อ่านบทความเต็มได้ที่ https://www.matichon.co.th/local/news_3215506
คลิปวิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=_sAE69gA6U8