วันพุธ, กุมภาพันธ์ 16, 2565

ช่วยกันรณรงค์ คัดค้านความงี่เง่า เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษ จาก Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakhon ของราชบัณฑิตยฯ - Change.org


ชำนาญ จันทร์เรือง started this petition to ครม./ราชบัณฑิตยฯ

ตามที่ราชบัณฑิตยสภา ประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวงใหม่ ให้ถูกต้องและชัดเจน เมืองหลวงของประเทศไทย ให้แก้ไขจาก Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakon

และที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 15 ก.พ.65 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดนเขตการปกครอง และเมืองหลวง ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศไปประกอบการพิจารณาด้วยแล้วดำเนินการต่อไปได้ นั้น

เราเห็นว่าเป็นสิ่งที่จะสร้างความยุ่งยากและความสับสนต่อการติดต่อสื่อสาร การรับรู้จากชาวต่างชาติซึ่งคุ้นเคยกับคำว่า Bangkok มาอย่างยาวนาน อีกทั้งคำว่า Bangkok มีความกระชับและง่ายต่อการเรียกขานและจดจำ

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นอกจากจะสร้างผลกระทบต่อการติดต่ออย่างเป็นทางการกับต่างประเทศแล้ว ยังสร้างความยุ่งยากในการติดต่อทางธุรกิจ และข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของไทยในตำราวิชาการในระดับสากลอีกด้วย

จึงเห็นควรให้ใช้คำว่า Bangkok ต่อไปตามเดิมเพราะเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกและเป็นชื่อแห่งความภาคภูมิใจของคนไทยเพราะมีรากศัพท์มาจาก”บางกอก”ซึ่งเป็นภาษาไทยเช่นกัน

ลงชื่อได้ที่นี่
...
Sujane Kanparit
4h ·
กรณีเขาบัญญัติคำเรียกกรุงเทพฯ ในภาษาอังกฤษแบบงี่เง่า
ทำให้ผมนึกถึงเหตุการณ์หนึ่งเมื่อนานมาแล้ว
จำได้ว่าตอนทำเรื่องเจ้าอนุวงศ์ สมัยนั้นพี่ที่พิสูจน์อักษรมาคุยกับผมว่า เราควรใช้คำว่า "สวรรคต" หรือ "สิ้นชีพิตักษัย" กับสกู๊ปเกี่ยวกับเจ้าลาวองค์นี้ดี เพราะมันมีหลักบางอย่างวางเอาไว้
ผมจำได้ว่าพี่เขาลงทุนโทรไปที่ราชบัณฑิตแล้วก็มาเล่าให้ฟังว่าเจ้าหน้าที่ ยืนยันหลักการว่าถ้าจะใช้กับเจ้าลาวองค์นี้ต้องเป็นคำในระดับ "เจ้าประเทศราช" เท่านั้น คือ "สิ้นชีพิตักษัย"
แทบไม่ต้องคิด ผมยืนยันว่าจะใช้ "สวรรคต" เป็นการให้เกียรติเจ้าอนุวงศ์ที่เป็นเจ้าองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ ไม่ต่างกับพระนเรศวร เจ้าเชียงใหม่ เจ้าแห่งน่าน ฯลฯ และพี่คนนั้นเขาก็ไม่ขัดข้องที่จะ "ไม่สนใจ" อำนาจทางภาษาของเผด็จการทางภาษาหน่วยงานนี้
ดังนั้นเจ้าอนุวงศ์จึงมี "ฉากสวรรคต" ที่ กทม. ในงานเขียนสารคดีของผม ไม่ใช่ "สิ้นชีพิตักษัย" ที่กรุงเทพฯ จากการทรมานของราชสำนักสยามสมัยรัชกาลที่ 3
ผมมองว่า เราไม่ควรรับเอาคำที่ทางการกำหนดให้ใช้ โดยไม่มีคำอธิบายที่สมเหตุสมผล (ถ้ามันโอเค มีคำอธิบายที่ดี เราก็ยินดีรับอยู่แล้ว ใช้ไปตามพจนานุกรม มีหลังพิงไงก็ไม่โดนด่า ดีจะตาย) เพราะมันมักจะแฝง "การเมือง" มากับคำเหล่านั้นเสมอ
ด้วยราชบัณฑิตไทย มีลักษณะเป็น "เผด็จการทางภาษา" ชัดเจนมานานแล้ว


สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
1h ·

ราชบัณฑิตยสภา ยืนยัน "กรุงเทพ​มหานคร" ใช้ได้ทั้ง “Krung​Thep​ Maha​ Nakhon​“ และ ”Bangkok” ครับ …
หลังปรากฎกระแสข่าว ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวานนี้(15 ก.พ.) มีมติเห็นชอบตามที่ ราชบัณฑิตยสภา ประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวงใหม่ ให้ถูกต้องและชัดเจน โดยเมืองหลวงของประเทศไทย ให้แก้ไขจาก ‘Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakon’
กระแสข่าวระบุว่า ครม.เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดนเขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 รายละเอียดดังนี้
ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง เช่น ชื่อภาษาอังกฤษเมืองหลวงของประเทศไทย ให้แก้ไขจาก ‘Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok)’ โดยเก็บชื่อเดิม (Bangkok) ไว้ในวงเล็บ
นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมชื่อเมืองหลวงอื่นๆ เช่น
เมืองหลวงของมาเลเซีย เพิ่มชื่อ ‘กัวลาลุมปูร์’ นอกเหนือจากชื่อเดิมคือ ‘กัวลาลัมเปอร์’
เมืองหลวงของเยอรมนี เพิ่มชื่อ ‘แบร์ลีน’ นอกเหนือจากชื่อเดิมคือ ‘เบอร์ลิน’
เมืองหลวงของสวิตเซอร์แลนด์ เพิ่มชื่อ ‘แบร์น’ นอกเหนือจากชื่อเดิมคือ ‘เบิร์น’
เมืองหลวงของเวียดนาม เพิ่มชื่อ ‘ห่าโหน่ย’ นอกเหนือจากชื่อเดิมคือ ‘ฮานอย’
เมืองหลวงของอิตาลี เพิ่มชื่อ ‘โรม่า’ นอกเหนือจากชื่อเดิมคือ ‘โรม’
"กรุงเทพ​มหานคร" ใช้ได้ทั้ง Krung​Thep​ Maha​ Nakhon​ และ​ Bangkok
ล่าสุด ราชบัณฑิตยสภา ชี้แจงว่า "กรุงเทพ​มหานคร" ใช้ได้ทั้ง “Krung​Thep​ Maha​ Nakhon​“ และ”Bangkok”
สำนักงานราชบัณฑิตยสภาโดยคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากลได้ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ให้ถูกต้องและชัดเจน โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาจากกระทรวงการต่างประเทศร่วมพิจารณาด้วย เพื่อให้ส่วนราชการนำการกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครองและเมืองหลวงดังกล่าวไปใช้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน
ทั้งนี้ หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง แล้ว จะอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา ประกอบกับข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ ก่อนดำเนินการต่อไป
ส่วนคำว่า "กรุงเทพ​มหานคร" ยังคงใช้ว่า “Krung​Thep​ Maha​ Nakhon​“ หรือ ”Bangkok” ได้เช่นเดิม