
Noi Thamsathien
3 hours ago
·
วันนี้จะมีการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ UNSC เวลาบ่ายสามตามเวลาท้องถิ่นหรือประมาณตีสองหรือตีสามของไทย
เมื่อไปตรวจสอบข้อมูลมาก็พบว่า การประชุมนี้เป็นการประชุมที่เรียกว่าเป็นการนัดหมายแบบ private คือเป็นการหารือแบบปิด ไม่เปิดสำหรับสาธารณะ สมาชิกของคณะมนตรีจึงสามารถที่จะถกกันได้อย่างค่อนข้างจะเต็มที่ อาจมีการเชิญประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเข้าชี้แจงได้ด้วย กรณีของคืนนี้ก็คงเชิญตัวแทนของไทยและกัมพูชาชี้แจง เป็นการประชุมที่จะไม่มีการลงมติใดๆ ตามกฎแล้วจะมีการบันทึกเสียงการประชุมแล้วก็เก็บเอาไว้เท่านั้น เมื่อไม่มีการลงมติ ทำให้คาดเดาได้ว่าโดยนัย การประชุมคงไม่มีผลต่อความขัดแย้งแบบตรงไปตรงมา แต่จะเป็นการส่งสัญญาณว่านานาชาติกำลังเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว คณะมนตรีรับฟังสถานการณ์จากทั้งสองฝ่ายเพราะถือว่าเป็นเรื่องที่มีผลต่อสถานการณ์ความมั่นคงระหว่างประเทศ
เท่าที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าต่างประเทศมักเป็นห่วงว่าความขัดแย้งเช่นนี้จะขยายตัวกินวงกว้าง อันนี้มักเป็นประเด็นใหญ่ เราคิดว่า น่าสังเกตว่า ลักษณะการใช้กำลังในช่วงสองวันมานีัมีอาการยกระดับรวดเร็วมาก ไม่ว่ามันจะเป็นเกมของใครก็ตาม แต่มันทำให้สถานการณ์รุนแรง แถมไม่มีฝ่ายใดมีท่าทีจะยอมอ่อนข้อ จึงกลายเป็นความขัดแย้งที่มี potential ขยายตัว มันทำให้มีความชอบธรรมที่จะมีการประชุมเรื่องนี้ มันหมายถึงนานาชาติเข้ามาแล้ว
ในเรื่องข้อมูล ยูเอ็นไม่แน่ว่าจะมีการเปิดเผยข้อมูลที่ได้จากการชี้แจงอย่างเป็นทางการ ยกเว้นจะมีการให้สัมภาษณ์ของคู่กรณี ซึ่งก็จะออกมาในแบบสองฝ่ายเคลม อันนี้เราเดาเอา
ดังนั้นผลอย่างสำคัญของมันน่าจะเป็นเรื่องของการนำประเด็นนี้ไปสู่เวทีระหว่างประเทศ น่าจะมีความพยายามให้มีการต่อรอง/ประนีประนอมเพื่อหยุดยิง/ลดความตึงเครียดหรือ de-escalate แล้วอาจเปิดทางทำให้มีการสานต่อการไกล่เกลี่ยในแบบใดแบบหนึ่ง ส่วนเรื่องจะตัดสินข้อพิพาทชายแดนพื้นที่ปราสาทต่างๆแบบใดคงขึ้นอยู่กับฝีมือนักการทูตแล้ว แต่ไม่น่าใช่ประเด็นสำหรับให้เวทีนี้ตัดสิน
ก็น่าคิดว่า ท้ายที่สุดแล้วเวทีนี้อาจจะเป็นพื้นที่สำหรับการต่อรองกันแบบอ้อมๆ ของไืทยและกัมพูชาผ่านนานาชาติก็ได้ จึงเป็นไปได้ว่าท้ายที่สุดแล้ว ความปรารถนาของประเทศไทยที่อยากจะจำกัดวงของผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่แค่ระหว่างไทยและกัมพูชา คุยกันสองฝ่าย น่าจะไม่สมหวัง ทั้งไทยและกัมพูชานั้นเป็นประเทศเล็ก ต่างก็มีพันธมิตรที่เป็นทั้งมิตรและแรงกดดันในตัว ไม่มีหรอกที่จะตัดสินใจเรื่องใดๆได้อย่างเอกเทศ
ดังนั้น เราเดาว่าหลักเกณฑ์ คุณค่า และมารยาทสากลในเรื่องของการจัดการความขัดแย้งหนนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เราเดาว่าไทยต้องมีรัฐบาลที่ทำงานการเมืองการทูตอย่างเข้มแข็ง รวมทั้งการทหารที่มีกรอบปฎิบัติการชัดเจนว่าไม่ก้าวร้าวเกินตัว งานหนักต่อไปมันจึงไม่ใช่งานที่จะกำหนดด้วยการทหาร เลขายูเอ็นยังเคยพูดไว้เลยว่า การใช้กำลังไม่ใช่ทางออก งานการเมืองการทูตต้องแจ่มชัดอ่ะ
https://www.facebook.com/noi.thamsathien/posts/3051404871692680