LIVE! ภาคประชาชน แถลงรธน.60 คือทางตัน เดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ
สํานักข่าวราษฎร
Streamed live 17 hours ago
https://www.youtube.com/watch?v=B227ascldoM
https://www.facebook.com/eggcatcheese/posts/1049463137335241
Album 10 ก.ค. 2568 แถลงข่าว รัฐธรรมนูญประชาชน
ไข่แมวชีส added 41 new photos.
14 hours ago
·
25 องค์กรภาคประชาชน แถลงข่าว “รัฐธรรมนูญ 60 คือ ทางตัน รัฐธรรมนูญประชาชน คือ ทางออก” แสดงเจตจำนงต้องการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
.
10 ก.ค. 2568 เวลา 10.00 น. ที่ห้องสุรกิจ โรงแรมอลิซาเบธ มีงานแถลงข่าวภาคประชาชน “รัฐธรรมนูญ 60 คือ ทางตัน รัฐธรรมนูญประชาชน คือ ทางออก” โดยองค์กรภาคประชาชนกว่า 25 องค์กร ถึงความจำเป็นในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แสดงเจตจำนงต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นของประชาชน เพื่อปฏิรูปสถาบันทางการเมืองให้กลับมายึดโยงประชาชน ทำให้ระบอบประชาธิปไตยมีความมั่นคงยั่งยืน และฟื้นฟูสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งสิทธิสวัสดิการ เช่น การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ที่ดิน-ที่อยู่อาศัย รวมไปถึงสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางกระบวนการยุติธรรม หรือ สิทธิทางเพศและความเป็นธรรมทางเพศ ไปจนถึงการฟื้นฟูหลักนิติรัฐ-นิติธรรม
.
โดยองค์กรที่ร่วมแถลงข่าวได้แก่ เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ (CALL), โครงการอินเตอร์เพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw), มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw), ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (CPCR), เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, เครือข่ายสลัม 4 ภาค, สมัชชาคนจน, ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR), คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญประชาชน (ครช.), มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.), เครือข่ายทอม ผู้ชายข้ามเพศ นอนไบนารี่ เพื่อความเท่าเทียม (TransEqual), กลุ่มทำทาง, กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก, สหภาพคนทำงาน, เครือข่ายแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง, แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG), We Watch, We Fair, ActLab, Secure Renger, Beach for life, Tune & Co, DAYBREAKER NETWORK และกลุ่มทะลุฟ้า
.
โดยแต่ละองค์กรที่ร่วมแถลงข่าว มีตัวแทนมาร่วมกล่าวถึงข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ความจำเป็นและเจตจำนงถึงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีประเด็นสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
.
รัฐธรรมนูญปี 2560 สถาปนาระบอบที่เรียกว่า ‘รัฐอำนาจนิยม’ ทำให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนอ่อนแอลง ทั้งในเรื่องการเปลี่ยนสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เป็นหน้าที่ของรัฐ การลดทอนสิทธิเสรีภาพในสิ่งแวดล้อมที่ดี สิทธิชุมชน ที่ดินทำกิน แรงงาน สวัสดิการสังคม ความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ การทำแท้ง กระบวนการยุติธรรม รวมไปถึงเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการแสดงออก และในขณะเดียวกันนั้น รัฐธรรมนูญปี 2560 ยังทำให้อำนาจของประชาชนอ่อนแอ ตั้งแต่ความไม่ชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง การเข้าสู่อำนาจของ สว. ไปจนถึงการบั่นทอนสถาบันทางการเมืองที่มาจากประชาชนทั้งสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐบาลก็ตาม ผ่านการตีความที่เรียกว่ากฎหมู่ที่คนบางกลุ่มร่างขึ้นมาและบังคับใช้ตีความเอง คือมาตรฐานจริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และยุทธศาสตร์ชาติ
.
การที่ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 บีบให้ประชาชนอยู่ใต้ทางตัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง คืนสิทธิเสรีภาพอย่างแท้จริงให้กับประชาชน การจะมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนั้นยืนยันว่าจะต้องมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมและความหลากหลายของประชาชน และ สสร. ต้องมีอำนาจอย่างเต็มที่ในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่เต็มฉบับ และทางออกในการไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนได้นั้น ต้องอาศัยพลังของประชาชนในการกดดัน กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีการวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องการทำประชามติ และในกรณีของวุฒิสภาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง และยืนยันว่าไม่ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้นกับรัฐบาล ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของสภา
#ConstitutionalMoment
Album 10 ก.ค. 2568 แถลงข่าว รัฐธรรมนูญประชาชน
ไข่แมวชีส added 41 new photos.
14 hours ago
·
25 องค์กรภาคประชาชน แถลงข่าว “รัฐธรรมนูญ 60 คือ ทางตัน รัฐธรรมนูญประชาชน คือ ทางออก” แสดงเจตจำนงต้องการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
.
10 ก.ค. 2568 เวลา 10.00 น. ที่ห้องสุรกิจ โรงแรมอลิซาเบธ มีงานแถลงข่าวภาคประชาชน “รัฐธรรมนูญ 60 คือ ทางตัน รัฐธรรมนูญประชาชน คือ ทางออก” โดยองค์กรภาคประชาชนกว่า 25 องค์กร ถึงความจำเป็นในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แสดงเจตจำนงต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นของประชาชน เพื่อปฏิรูปสถาบันทางการเมืองให้กลับมายึดโยงประชาชน ทำให้ระบอบประชาธิปไตยมีความมั่นคงยั่งยืน และฟื้นฟูสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งสิทธิสวัสดิการ เช่น การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ที่ดิน-ที่อยู่อาศัย รวมไปถึงสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางกระบวนการยุติธรรม หรือ สิทธิทางเพศและความเป็นธรรมทางเพศ ไปจนถึงการฟื้นฟูหลักนิติรัฐ-นิติธรรม
.
โดยองค์กรที่ร่วมแถลงข่าวได้แก่ เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ (CALL), โครงการอินเตอร์เพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw), มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw), ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (CPCR), เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, เครือข่ายสลัม 4 ภาค, สมัชชาคนจน, ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR), คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญประชาชน (ครช.), มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.), เครือข่ายทอม ผู้ชายข้ามเพศ นอนไบนารี่ เพื่อความเท่าเทียม (TransEqual), กลุ่มทำทาง, กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก, สหภาพคนทำงาน, เครือข่ายแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง, แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG), We Watch, We Fair, ActLab, Secure Renger, Beach for life, Tune & Co, DAYBREAKER NETWORK และกลุ่มทะลุฟ้า
.
โดยแต่ละองค์กรที่ร่วมแถลงข่าว มีตัวแทนมาร่วมกล่าวถึงข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ความจำเป็นและเจตจำนงถึงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีประเด็นสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
.
รัฐธรรมนูญปี 2560 สถาปนาระบอบที่เรียกว่า ‘รัฐอำนาจนิยม’ ทำให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนอ่อนแอลง ทั้งในเรื่องการเปลี่ยนสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เป็นหน้าที่ของรัฐ การลดทอนสิทธิเสรีภาพในสิ่งแวดล้อมที่ดี สิทธิชุมชน ที่ดินทำกิน แรงงาน สวัสดิการสังคม ความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ การทำแท้ง กระบวนการยุติธรรม รวมไปถึงเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการแสดงออก และในขณะเดียวกันนั้น รัฐธรรมนูญปี 2560 ยังทำให้อำนาจของประชาชนอ่อนแอ ตั้งแต่ความไม่ชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง การเข้าสู่อำนาจของ สว. ไปจนถึงการบั่นทอนสถาบันทางการเมืองที่มาจากประชาชนทั้งสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐบาลก็ตาม ผ่านการตีความที่เรียกว่ากฎหมู่ที่คนบางกลุ่มร่างขึ้นมาและบังคับใช้ตีความเอง คือมาตรฐานจริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และยุทธศาสตร์ชาติ
.
การที่ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 บีบให้ประชาชนอยู่ใต้ทางตัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง คืนสิทธิเสรีภาพอย่างแท้จริงให้กับประชาชน การจะมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนั้นยืนยันว่าจะต้องมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมและความหลากหลายของประชาชน และ สสร. ต้องมีอำนาจอย่างเต็มที่ในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่เต็มฉบับ และทางออกในการไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนได้นั้น ต้องอาศัยพลังของประชาชนในการกดดัน กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีการวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องการทำประชามติ และในกรณีของวุฒิสภาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง และยืนยันว่าไม่ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้นกับรัฐบาล ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของสภา
#ConstitutionalMoment