วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 17, 2568

ปุ๊ ธนาพล อิ๋วสกุล โพสต์ว่า "ครั้งหนึ่งผมเคยทำนิทรรศการโปรโมทผลงานของ "รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย" ในนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา...วิชานี้อย่าเลียน" คลิปข้างล่าง อธิบาย "ต้มยำกุ้งวิทยา...วิชานี้อย่าเลียน" แบบเข้าใจง่าย


ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน : อ.ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ

TextbooksProject

May 24, 2017

โครงการบรรยายวิชา อศ. 210 สุวรรณภูมิและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยโบราณ (SE 210 Ancient Southeast Asian and Suvarnabhumi) ภาคเรียนที่ 2/2559 โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 

หัวข้อ : ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน โดย อ.ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ นักวิชาการอิสระทางด้านโบราณคดีและนักเขียน 

ณ มิวเซียมสยาม (Museum Siam) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2560

https://www.youtube.com/watch?v=gPH4WK7i-E0




Thanapol Eawsakul
13 hours ago
·
ครั้งหนึ่งผมเคยทำนิทรรศการโปรโมทผลงานของ "รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย"
.................
การทำหนังสือไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ โดยเฉพาะหนังสือในเชิงเนื้อหา วิพากษ์วิจารณ์ แถมไม่มีโฆษณา หรือแหล่งทุนสนับสนุน ใคร ๆ ก็รู้ดี
หนึ่งในรายได้มาหล่อเลี้ยงสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน คือการจัดทำนิทรรศการ ที่เกี่ยวพันกับเนื้อหาสาระ ที่คุ้นเคย รับทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน หรือบางครั้งก็ควักเนื้อลงไปทำเองด้วยก็มี
หนึ่งในนิทรรศการที่เคยทำคือ นิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา...วิชานี้อย่าเลียน" ในโอกาสครบ 20 ปี ต้มยำกุ้ง ที่มิวเซียมสยาม ดดยงบประมาณของเจ้าของพื้นที่
นอกจากปฐมบท ผลกระทบ บทวิเคราห์ในมิติต่าง ๆ แล้ว ยังมีการ "พลิกวิกฤตเป็นโอกาส" ของกลุ่มต่าง ๆ เข่น
กลุ่มอุตสาหกรรมส่งออก กลุ่มท่องเที่ยว ที่ถือโอกาสที่ค่าเงินบาทอ่อน จน กลายมาเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจไทยมาร่วม 2 ทศวรรษ หลังจากต้มยำกุ้ง
https://www.facebook.com/thanapol.eawsakul/posts/pfbid09sg5N5yeuB1RGxeC44V3PgynWbr6sPQdyuBqSAALQmycztFVvFMod7j54PrDh9Twl
ขณะที่ในทางการเมือง วิกฤตต้มยำกุ้ง สัมพันธ์อย่างชัดเจนกับการเกิดขึ้นและเติบโตของพรรคไทยรักไทย และทักษิณ ชนิวัตร ในปี 2541
ในนิทรรศการก็ได้อุทิศบอร์ดนิทรรศการเรื่องนี้ไว้ โดยผมได้ไปขุดเอา ad โฆษณาของ พรรคไทยรักไทย ที่สะท้อนทั้งเจตจำนงและวิสัยทัศน์ของพรรคไทยรักไทยในตอนนั้นมาด้วย
(กู้ชาติด้วยปัจจัยภายในของเราเอง)
ดังคำโปรยว่า
......
ทำไมชาวอรัญญิกแห่งอยุธยา จึงวางดาบแล้วหันมาจับช้อนส้อมขึ้นสู้ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของชาติอย่างวันนี้
พบแนวคิดที่ไทยและคุณจะยืนขึ้นได้อย่างมั่นคง
"SME 1 ในทางรอดเศรษฐกิจไทย"
6-8 พฤศจิกายน 2541 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
.......
นิทรรศการชุดนี้ได้รับผลสำเร็จ ดังปรากฎว่า บทความของนิตยสาร The Economist ฉบับ 1 กรกฏาคม 2560 ที่จะเริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่ 30 มิย. 2560 ในบทความครบรอบ 20 ปีวิกฤตการเงินเอเชียที่ตั้งชื่อว่า "Did Asia learn the lessons of its Asia financial crisis?" หรือ "เอเชียได้เรียนรู้บทเรียนของวิกฤตการเงินของตนเองหรือวิกฤตการเงินเอเชีย?" โดยเขียนอ้างอิงถึงนิทรรศการนี้หลายแห่งในบทความ
และจากที่รับเสียงสะท้อนจากคนมาฟังนั้น นอกจากวิจารณ์รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยในตอนนั้น ที่ร่วมกันสร้างวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว
หลายคนยัง "คิดถึงทักษิณ" ในฐานะอัศวินผู้กอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจอยู่เลย ประกอบกันในตอนนั้นยังอยู่ภายใต้รัฐบาลรัฐประหารประยุทธ์ จันทร์โอชาด้วย
นิทรรศการชุดนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งในการโปรโมทผลงานของรัฐบาลไทยรักไทยและทักษิณ แม้ว่าจะไม่ตั้งใจก็ตาม
ทั้งหมดทำภายใต้ หลักฐานเอกสาร และการตีความโดยมีแหล่งอ้างอิงได้ และไม่จำเป็นจะต้องไปวางบิลเพิ่มเติม และไม่จำเป็นต้องมีบุญคุณกับใครด้วย
แต่ถึงกระนั้นผมคิดว่าถ้าจะต้องทำนิทรรศการ "40 ปีต้มยำกุ้ง" อีก 12 ปีข้างหน้า ถึงแม้ประวัติศาสตร์อาจจะแก้ไขไม่ได้ แต่ข้อจำกัดของเศรษฐกิจแบบทักษิณก็มีให้เห็นอีกไม่น้อยกับข้อเท็จจริงใหม่ที่ต้องเผชิญ เช่นกรณีทุนผูกขาดที่ไม่เคยได้รับการแก้ไขหรืออยู่ในหัวของทักษิณตลอดมา

https://www.facebook.com/thanapol.eawsakul/posts/9489689641097790