
ข่าวเด่นประเด็นร้อน
18 hours ago
·
รักชนก ก้าวไกล (พรรคประชาชน) เปิดงบประชาสัมพันธ์ของสำนักงานประกันสังคม ปี 2567 สูงถึง 336 ล้านบาท จากงบสำนักงานทั้งหมด 5,303 ล้านบาท โดยมีการใช้งบผลิตปฏิทินปี 2567 ถึง 55 ล้านบาท ซึ่งเมื่อย้อนดูงบประมาณ 8 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีการใช้เงินไม่น้อยกว่า 450 ล้านบาท กับโครงการนี้
ที่น่าสนใจคือ วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง 5 ปีหลังสุด มีแค่ 1 ปีเท่านั้น ที่ใช้ระบบ e-Bidding ซึ่งเป็นวิธีที่เปิดให้มีการแข่งขันโปร่งใส และปีที่ใช้ e-Bidding (ปี 62) งบผลิตปฏิทินกลับลดลงเหลือเพียง 53.45 ล้านบาท ต่ำกว่าปีอื่น ๆ ที่ใช้วิธี กรณีพิเศษหรือเฉพาะเจาะจง ซึ่งมีราคาพุ่งสูงถึง 75.91 ล้านบาท
ปี 59 และปี 60 ใช้วิธี "กรณีพิเศษ" ให้ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ชนะการประมูล ในราคากว่า 75 ล้านบาทต่อปี
ปี 64 และปี 65 ใช้วิธี เฉพาะเจาะจง และ คัดเลือก ซึ่งทำให้ขาดการแข่งขันที่แท้จริง
คำถามสำคัญคือ ทำไมสำนักงานประกันสังคมถึงไม่ใช้ e-Bidding ในทุกปี?
งบประมาณที่สูงถึง 50-70 ล้านบาทต่อปี สะท้อนผลลัพธ์จริงหรือเป็นเพียงค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย?
ในขณะที่ผู้ประกันตนยังคงเผชิญกับปัญหาบริการล่าช้าและสิทธิประโยชน์ที่ยังมีข้อจำกัด งบประมาณก้อนโตกลับไหลไปกับโครงการที่น่าสงสัย
องค์กรที่มีหน้าที่คุ้มครองแรงงาน กำลังใช้เงินแรงงานไปกับอะไร?
ถึงเวลาหรือยังที่ต้องตรวจสอบการใช้งบประมาณของ "ประกันสังคม" อย่างจริงจัง!
ขอบคุณทีม #ประกันสังคมก้าวหน้า ที่เพียรพยายามจะทำให้งบประมาณในกองทุนประกันสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบบริหารสำนักงาน โปร่งใส่ ตรวจสอบได้ ใช้อย่างคุ้มค่า หลังจากอยู่ในเงามืดมาแสนนาน ถ้าพวกเขาไม่เข้าไป ประชาชนคงไม่ได้รับรู้อะไรเลย #Hackงบประกันสังคม
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1030257469142045&set=a.590903346410795
https://www.facebook.com/nanaicez112/posts/640850611810036รักชนก ก้าวไกล (พรรคประชาชน) เปิดงบประชาสัมพันธ์ของสำนักงานประกันสังคม ปี 2567 สูงถึง 336 ล้านบาท จากงบสำนักงานทั้งหมด 5,303 ล้านบาท โดยมีการใช้งบผลิตปฏิทินปี 2567 ถึง 55 ล้านบาท ซึ่งเมื่อย้อนดูงบประมาณ 8 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีการใช้เงินไม่น้อยกว่า 450 ล้านบาท กับโครงการนี้
ที่น่าสนใจคือ วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง 5 ปีหลังสุด มีแค่ 1 ปีเท่านั้น ที่ใช้ระบบ e-Bidding ซึ่งเป็นวิธีที่เปิดให้มีการแข่งขันโปร่งใส และปีที่ใช้ e-Bidding (ปี 62) งบผลิตปฏิทินกลับลดลงเหลือเพียง 53.45 ล้านบาท ต่ำกว่าปีอื่น ๆ ที่ใช้วิธี กรณีพิเศษหรือเฉพาะเจาะจง ซึ่งมีราคาพุ่งสูงถึง 75.91 ล้านบาท
ปี 59 และปี 60 ใช้วิธี "กรณีพิเศษ" ให้ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ชนะการประมูล ในราคากว่า 75 ล้านบาทต่อปี
ปี 64 และปี 65 ใช้วิธี เฉพาะเจาะจง และ คัดเลือก ซึ่งทำให้ขาดการแข่งขันที่แท้จริง
คำถามสำคัญคือ ทำไมสำนักงานประกันสังคมถึงไม่ใช้ e-Bidding ในทุกปี?
งบประมาณที่สูงถึง 50-70 ล้านบาทต่อปี สะท้อนผลลัพธ์จริงหรือเป็นเพียงค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย?
ในขณะที่ผู้ประกันตนยังคงเผชิญกับปัญหาบริการล่าช้าและสิทธิประโยชน์ที่ยังมีข้อจำกัด งบประมาณก้อนโตกลับไหลไปกับโครงการที่น่าสงสัย
องค์กรที่มีหน้าที่คุ้มครองแรงงาน กำลังใช้เงินแรงงานไปกับอะไร?
ถึงเวลาหรือยังที่ต้องตรวจสอบการใช้งบประมาณของ "ประกันสังคม" อย่างจริงจัง!
ขอบคุณทีม #ประกันสังคมก้าวหน้า ที่เพียรพยายามจะทำให้งบประมาณในกองทุนประกันสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบบริหารสำนักงาน โปร่งใส่ ตรวจสอบได้ ใช้อย่างคุ้มค่า หลังจากอยู่ในเงามืดมาแสนนาน ถ้าพวกเขาไม่เข้าไป ประชาชนคงไม่ได้รับรู้อะไรเลย #Hackงบประกันสังคม
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1030257469142045&set=a.590903346410795
รักชนก ศรีนอก - Rukchanok Srinork added 22 new photos to the album: Hack งบประกันสังคม.
19 hours ago
·
ครั้งแรกของการ #Hackงบประกันสังคม !!
กองทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึงการใช้งบประมาณ
ในการบริหารจัดการ ยังมีบางส่วนที่เป็นหลุมดำ
ซื้อแบบจำเพาะเจาะจงเยอะ ส่วนอันที่แข่งราคาก็ไม่โปร่งใส
หากไม่มีบอร์ดประกันสังคมซึ่งมาจากการเลือกตั้ง
ประกันสังคมก้าวหน้า ประชาชนคงไม่มีโอกาส
เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ เอาน้ำจิ้มจากงานมาฝาก
ประเด็น การต่างประเทศ
ทริปดูงานทริปหนึ่งของ ประกันสังคม 6 วัน 5 คืน งบประมาณที่ใช้ 2.2 ล้าน สำหรับ 10 คน ค่าบัตรโดยสาร การเบิกเฟริสคลาส 160,000 บาท 2 คน ราคาตลาดต่างกันเกือบ 60000 บาท ค่าที่พัก 16000 บาท/วัน/คืน คือราคาระดับ 5 ดาวของญี่ปุ่น จำเป็นไหมต้องใช้จ่ายฟุ่มเพือยขนาดนี้ ค่าพาหนะในการเดินทางต่างประเทศ 35000 บาท ต่อคน ไปดูงานทำไมไม่ใช้วิธีเหมารถ ประชาชนถามชัด ๆ ดัง ๆ ไปดูงานแล้ว ได้อะไรกลับ
`````
ประเด็น งบภาพรวม
รายจ่ายประกันสังคม เพิ่มขึ้นทุกปี
ปี 63 4,000 ล้าน
ปี 64 5,281 ล้าน
ปี 65 5,332 ล้าน
ปี 66 6,614 ล้าน
งบยุทธศาสตร์ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ช่วง 63 - 64
จาก 965 ล้าน กระโดดไป 2000 ล้านบาท
Call Center 1506 มีค่าใช้จ่ายหลัก 100 ล้านในทุก ๆ ปี เป็นค่าเช่าสถานที่ 50 ล้าน แต่คอลเซนเตอร์ สายไม่เคยว่าง กด 0 แล้วก็รอไปยาวๆ สุดท้ายขอข้อมูลอะไรไม่ได้ ในปี 66 โครงการใหญ่ เปลี่ยนระบบงานจากคอม เป็นเว็บแอป 550 ล้าน มีความจำเป็นหรือไม่ ?
ค่าใช้จ่ายจัดหาระบบสารสนเทศเพื่อกำหนดนโยบาย 117 ล้าน ผู้นำเสนอชี้ว่าหากผู้บริหารควรคิดเองบ้าง ไม่ใช่มาจ้างคนมากำหนด ไม่เช่นนั่นก็ไม่จำเป็นต้องมีผู้บริหารก็ได้จ้างเอกชนเอา อีกประเด็นที่น่าสงสัย ค่าตอบแทนประจำปี (โบนัสหรือไม่ ?) 65 - 66 ปีละ 100 ล้าน ทำงานเหมาะสมกับโบนัสหรือไม่ ? สนง.ประกันสังคมมีการจัดซื้อแบบเฉพาะเจาะจงหลัก “ล้านล้านบาท” ในหลายปีที่ผ่านมา
`````
ประเด็น งบอบรมสัมนา
เขียนโครงการเหมือนๆกันทุกปี อบรมหัวข้อเดิมๆกับคนกลุ่มเดิมแต่จัดทุกปี เช่น ปี 63 โครงการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ ใช้งบ 2.5 ล้าน ปี 64 ก็โครงการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ 2.5 ล้าน และทำแบบเดิมกันทุกปี การอบรมบางโครงการซ้ำซ้อน และบางโครงการถูกตั้งคำถามว่าจำเป็นหรือไม่ เช่น โครงการอบรมเทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ โครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการบริหารพัสดุ ทุกโครงการไร้เป้าหมาย ขาดการวัดผล
`````
ประเด็น งบประชาสัมพันธ์ !!!
งบสำนักงาน 2567 5,303 ล้านบาท งบ PR ในงบสำนักงาน 336 ล้านบาท การเบิกจ่ายพอๆกันทุกปี จึงต้องเน้นดูผลลัพธ์ ซึ่ง TOR งานประชาสัมพันธ์ไม่เคยถูกช่วง 3ปีที่ผ่านมา
ปฏิทินประกันสังคม ปี 67 ใช้งบ 55 ล้าน และงบประมาณในการจัดทำปฏิทิน 8 ปีย้อนหลัง ไม่น้อยกว่า 450 ล้านบาท
ปี 59 ผลิตปฏิทิน ใช้วิธีกรณีพิเศษ (การจ้างผ่านหน่วยงานรัฐ) 75.91 ล้านบาท ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ชนะราคา
ปี 60 ผลิตปฏิทิน ใช้วิธีกรณีพิเศษ (การจ้างผ่านหน่วยงานรัฐ) 76 ล้านบาท ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ชนะราคา
ปี 62 ผลิตปฏิทิน ใช้วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) 53.45 ล้านบาท บริษัท ยูไนเต็ดโปรดักชั่น เพรส จำกัด เป็นผู้ชนะการประกวดราคา
ปี 64 ผลิตปฏิทิน ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง54.31 ล้านบาท ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ชนะราคา
ปี 65 ผลิตปฏิทิน ด้วยวิธีการคัดเลือก 54.98 ล้านบาท องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ชนะราคา
อะไรทำให้ต้องการผลิตในราคารวม 50-70 ล้านบาท ซึ่งเมื่อดูข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง พบว่าใน 5ปี มี 2 ปี ใช้วิธี กรณีพิเศษ มี 1 ปี E-Biding มี 2 ปีเฉพาะเจาะจง งบประมาณก้อนใหญ่แต่ไม่ใช้ e-Bidding ให้แข่งราคา และปีที่ แข่งราคา e-Bidding เป็นยอดงบประมาณที่น้อยที่สุด เมื่อเทียบกับการใช้วิธีอื่น
`````
ประเด็น เทคโนโลยีสารสนเทศ
โครงการพัฒนา แอพพลิเคชั่น SSO+ งบประมาณ 276 ล้านบาท เป็นงบที่รวมถึงการจัดทำระบบ เมื่อตรวจข้อมูลจาก ACTAI พบว่า การจัดซื้อจัดจ้างมีความผิดปกติในการเสนอราคา ตัวแอพประชาชนให้เรทติ้ง 1.5 แสดงถึงความล้มเหลวของแพลตฟอร์ม ไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับงบประมาณที่ใช้ไป ทุกวันนี้ยังสแกนจ่ายค่าประกันสังคมผ่านแอพไม่ได้ ต้องจ่าย 7-11 ในการเปลี่ยนผ่านจาก SSO Connect ไปยัง SSO พลัส เลือกวิธีการเปลี่ยนตั้งแต่ฐานข้อมูลยันโปรแกรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเริ่มใหม่ที่ต้องทำทั้งหมด สิ้นเปลืองในการใช้งบประมาณ
`````
ประเด็น พื้นฐานประกันสังคม
คอนเท้นที่สำนักงานประกันสังคมทำอยู่เข้าถึงคนรุ่นใหม่ไม่ได้ คอนเท้นไม่ทันยุค โปสเตอร์ที่แจกให้รายละเอียดเยอะจริง แต่อ่านยากและรูปแบบไม่น่าสนใจคนไม่อยากอ่าน Tiktok เรื่องประกันสังคมที่แมสๆส่วนใหญ่มาจากคนนอกทำ
ขั้นตอนในการเข้าถึงประกันสังคม เข้าใจยากสำหรับคนรุ่นใหม่ ย้อนแย้งกับงบประมาณ เพราะแต่ละปีงบประชาสัมพันธ์เยอะมาก แต่แม้กระทั่งคนใน กทม. ก็ไม่เคยเจอการประชาสัมพันธ์ของประกันสังคม ใช้งบกับการทำปฏิทินในปี 67 55 ล้าน วารสาร 15 ล้าน แผ่นพับ 5 ล้าน นี่คืองบ 1 ปี ที่ประกันสังคมใช้ประชาสัมพันธ์ ซึ่งหากนำเงินไปทำในสิ่งที่ได้ประโยชน์กับผู้ประกันตนจริง ๆ หรือ การนำไปทบเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับกองทุนมากขึ้น อาจจะดีกว่านี้
ขอบคุณ : คณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ
ขอบคุณรูปจาก : @Nawapat Chaisombat