https://www.facebook.com/watch/?v=1564984967548966
Thairath - ไทยรัฐออนไลน์
Yesterday
·
‘ไทยพลัดถิ่น’ คือใคร เมื่อทหารพม่าเผาบ้าน ต้องหนีตายมาฝั่งไทย
ทหารพม่าเผาหมู่บ้านสิงขร
‘คนไทยพลัดถิ่น’ หนีตาย
จี้รัฐไทยเร่งช่วยเหลือ
1
วันที่ 17 ก.พ. 2568 ทหารพม่าจุดไฟเผา 'หมู่บ้านสิงขร' เขตตะนาวศรี ประเทศพม่า ซึ่งเป็น ‘ชุมชนคนไทยพลัดถิ่น' ขนาดใหญ่ เนื่องจากทหารพม่าเชื่อว่ามีฝ่ายต่อต้านคือทหารกะเหรี่ยง KNU และ PDF หลบซ่อนอยู่ในหมู่บ้าน
2
ชาวไทยสิงขรราว 200-300 ครัวเรือน ต่างหนีตายกันไปคนละทิศ บ้างก็อพยพผ่านช่องทางธรรมชาติ เพื่อมาขอหลบภัยในบ้านญาติฝั่งไทย (ซึ่งหากพบกองกำลังพม่าระหว่างอพยพ โอกาสรอดถือว่าน้อยมาก) บ้างก็หลบซ่อนตัวในป่าตามแนวตะเข็บชายแดน และบ้างก็ขาดแคลนอาหารจนต้องแอบมุดกลับเข้าไปหาอาหารในหมู่บ้าน ที่ตอนนี้ควบคุมเบ็ดเสร็จโดยทหารพม่า
3
คนไทยแถบชายแดนมักเรียกพวกเขาว่า 'คนสิงขร' หรือ 'คนไทยสิงขร' เนื่องจากในอดีต พวกเขาเป็นคนไทยติดแผ่นดินในฝั่งพม่า ทว่าช่วงปลายรัชกาลที่ 4 (ปี 2411) อังกฤษได้ติดต่อสยามเพื่อขอให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับพม่า (พม่าขณะนั้นอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ) สัตยาบันครั้งนี้ ถือเป็นการยอมรับอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำให้เมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี เป็นดินแดนของประเทศพม่านับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
4
แม้ชุมชนบ้านสิงขร จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของพม่าไปแล้ว ทว่าสถานะพลเมืองของพวกเขากลับเปราะบางมาก เนื่องจากรัฐไทยเองก็มองว่าพวกเขาคือพลเมืองพม่า ส่วนรัฐบาลพม่าเอง ก็ไม่ได้ยอมรับพวกเขาให้เป็นพลเมืองพม่า และออกบัตรระบุว่า ‘เป็นคนไทย’
นั่นทำให้ชาวสิงขรในพม่า ถูกทำให้เป็น ‘คนเถื่อน’ เข้าไม่ถึงสวัสดิการ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีระบบสุขภาพที่ดี การศึกษาที่มีคุณภาพ ใช้ชีวิตกันตามวิถีดั้งเดิม …และกำลังกระจัดกระจายหนีตายจากภัยสงครามในปัจจุบัน
5
เครือข่ายชาวไทยพลัดถิ่น ให้สัมภาษณ์ว่า
"ชาวสิงขรคือคนไทย โดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) ระบุไว้ชัดเจนว่าคนไทยพลัดถิ่นสามารถได้สัญชาติไทยด้วยหลักสายโลหิต มันชัดเจนอยู่แล้ว ดังนั้น การที่รัฐไทยยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ ในทางสากลคุณจะได้รับการสรรเสริญเยินยอเลยนะ ได้รับการยอมรับในด้านสิทธิมนุษยชน"
“ไม่ว่าจีนก็ดี เขายังเอาคนของเขาออกจากพม่า เอาเครื่องบินมารับมาดูแล แต่ฝั่งไทยกลับไม่ดูแลเลย ทั้งที่คุณสามารถคัดกรองคนได้เลยว่าเป็นคนไทยพลัดถิ่นหรือไม่ มีญาติคนไทยมารับรองหรือไม่ คุณก็แค่ขึ้นทะเบียนเขาไว้แล้วจัดการดูแลผ่านกลไกผู้ใหญ่บ้าน กำนันได้ ส่งเสบียงไปดูแลเพื่อไม่ให้พวกเขาลำบาก คุณทำได้เยอะแยะเลย หรือหากคุณพบว่าบางคนไม่ใช่คนไทยพลัดถิ่น แต่เป็นคนพม่าที่สวมรอยเป็นคนไทย คุณก็สามารถคัดกรองและแยกการจัดการได้”
อ่านฉบับเต็มได้ที่ลิงก์
https://www.thairath.co.th/news/local/2843037
#เฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ #หมู่บ้านสิงขร #WhatsHappeningInMyanmar #คนไทยพลัดถิ่น #เมียนมา
#เฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ #หมู่บ้านสิงขร #WhatsHappeningInMyanmar #คนไทยพลัดถิ่น #เมียนมา