มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้อิสราเอลตัดสินใจเช่นนี้
..
ผลพวงของการโจมตีด้วยจรวดที่ยิงมาจากเลบานอนมายังภาคเหนือของอิสราเอล
27 พฤศจิกายน 2024
บีบีซีไทย
รัฐบาลอิสราเอลประกาศหยุดยิงกับฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน ซึ่งเป็น 1 ใน 2 แนวรบที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค. ปีที่แล้ว หลังฮามาสโจมตีอิสราเอลซึ่งนำไปสู่สมรภูมิรบระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายในกาซาในเวลาต่อมา
สงครามที่ยกระดับอย่างต่อเนื่องทำให้นักการเมืองและนักวิเคราะห์ทั่วโลกแสดงความกังวลว่าตะวันออกกลางจะเข้าสู่สงครามเต็มรูปแบบในที่สุด
เราถามผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำภูมิภาคดังกล่าวว่า เหตุใดจึงมีการประกาศหยุดยิงในเลบานอนแทนที่จะเป็นกาซา และเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
แครีน ทอร์บีย์ ผู้สื่อข่าวบีบีซี แผนกภาษาอาหรับ รายงานจากกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน
วิธีการที่อิสราเอลเข้าหาศัตรูหลักในสองประเทศ ได้แก่ ฮามาสในกาซา และฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนนั้นมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แม้บางส่วนของกาซาอยู่ภายใต้การยึดครองของอิสราเอลแล้ว แต่เลบานอนเป็นรัฐอธิปไตยซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกยึดครองโดยอิสราเอลเช่นกัน แต่ถูกต่อต้านต่อเนื่องอย่างหนักจากฮิซบอลเลาะห์และกลุ่มอื่น ๆ จนต้องถอนตัวออกมา
แม้กองทัพอิสราเอลมีขีดความสามารถทางทหารอย่างมาก รวมถึงมีกองทัพอากาศที่ทรงพลานุภาพ แต่อิสราเอลก็เผชิญกับความยากลำบากในปฏิบัติการภาคพื้นดินในเลบานอน เนื่องจากผ่านไปแล้ว 2 เดือน แต่พวกเขาไม่สามารถควบคุมเมืองทางตอนใต้ของเลบานอนไว้ได้ และไม่สามารถหยุดยั้งการยิงจรวดของฮิซบอลเลาะห์ที่มุ่งเป้าไปยังพื้นที่ตอนเหนือและพื้นที่อื่น ๆ ของอิสราเอลได้
ฮิซบอลเลาะห์ยังสามารถขยายการโจมตีไปยังอิสราเอลได้ไกลมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อผู้คนในเมืองใหญ่ต่าง ๆ และทำให้ผู้คนได้รับบาดเจ็บสาหัส นอกจากนี้ยังพบว่ากองทัพอิสราเอลในพื้นที่ตอนใต้ของเลบานอนต่างได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
อิสราเอลยังไม่สามารถสร้างเงื่อนไขที่เอื้อให้ผู้พลัดถิ่นทางตอนเหนือของประเทศได้กลับมายังบ้านเกิดได้ สิ่งนี้อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ตกลงหยุดยิงกับฮิซบอลเลาะห์
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นความเหนื่อยล้าของกองทัพอิสราเอล หรือผลกระทบทางการเมืองและด้านเศรษฐกิจ หลังจากประเทศต้องดึงกำลังสำรองเข้ามาเกี่ยวข้องในความขัดแย้งมากขึ้นเรื่อย ๆ
ดร.เลลา นิโคลัส ผู้เขียนหนังสือชื่อว่า Global and Regional Strategies in the Middle East (ยุทธศาสตร์ระดับโลกและระดับภูมิภาคในตะวันออกกลาง) ยังกล่าวด้วยว่า “ชาวอิสราเอลยังไม่มีแผนชัดเจนว่าจะทำอย่างไรกับกาซาในอนาคต”
เธอกล่าวเสริมว่า ปัญหาในพื้นที่ดังกล่าวน่าจะถูกทิ้งไว้จนกว่านายโดนัลด์ ทรัมป์เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในเดือน ม.ค. 2025
ในทางตรงกันข้าม ดูเหมือนว่าข้อตกลงหยุดยิงที่เกิดขึ้นในเลบานอนนั้นมีกรอบที่ชัดเจนมากกว่า เนื่องจากมีพื้นฐานมาจากมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 1701 ซึ่งยุติสงครามระหว่างอิสราเอลและฮิซบอลเลาะห์เมื่อปี 2006
รัฐบาลอิสราเอลประกาศหยุดยิงกับฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน ซึ่งเป็น 1 ใน 2 แนวรบที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค. ปีที่แล้ว หลังฮามาสโจมตีอิสราเอลซึ่งนำไปสู่สมรภูมิรบระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายในกาซาในเวลาต่อมา
สงครามที่ยกระดับอย่างต่อเนื่องทำให้นักการเมืองและนักวิเคราะห์ทั่วโลกแสดงความกังวลว่าตะวันออกกลางจะเข้าสู่สงครามเต็มรูปแบบในที่สุด
เราถามผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำภูมิภาคดังกล่าวว่า เหตุใดจึงมีการประกาศหยุดยิงในเลบานอนแทนที่จะเป็นกาซา และเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
แครีน ทอร์บีย์ ผู้สื่อข่าวบีบีซี แผนกภาษาอาหรับ รายงานจากกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน
วิธีการที่อิสราเอลเข้าหาศัตรูหลักในสองประเทศ ได้แก่ ฮามาสในกาซา และฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนนั้นมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แม้บางส่วนของกาซาอยู่ภายใต้การยึดครองของอิสราเอลแล้ว แต่เลบานอนเป็นรัฐอธิปไตยซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกยึดครองโดยอิสราเอลเช่นกัน แต่ถูกต่อต้านต่อเนื่องอย่างหนักจากฮิซบอลเลาะห์และกลุ่มอื่น ๆ จนต้องถอนตัวออกมา
แม้กองทัพอิสราเอลมีขีดความสามารถทางทหารอย่างมาก รวมถึงมีกองทัพอากาศที่ทรงพลานุภาพ แต่อิสราเอลก็เผชิญกับความยากลำบากในปฏิบัติการภาคพื้นดินในเลบานอน เนื่องจากผ่านไปแล้ว 2 เดือน แต่พวกเขาไม่สามารถควบคุมเมืองทางตอนใต้ของเลบานอนไว้ได้ และไม่สามารถหยุดยั้งการยิงจรวดของฮิซบอลเลาะห์ที่มุ่งเป้าไปยังพื้นที่ตอนเหนือและพื้นที่อื่น ๆ ของอิสราเอลได้
ฮิซบอลเลาะห์ยังสามารถขยายการโจมตีไปยังอิสราเอลได้ไกลมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อผู้คนในเมืองใหญ่ต่าง ๆ และทำให้ผู้คนได้รับบาดเจ็บสาหัส นอกจากนี้ยังพบว่ากองทัพอิสราเอลในพื้นที่ตอนใต้ของเลบานอนต่างได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
อิสราเอลยังไม่สามารถสร้างเงื่อนไขที่เอื้อให้ผู้พลัดถิ่นทางตอนเหนือของประเทศได้กลับมายังบ้านเกิดได้ สิ่งนี้อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ตกลงหยุดยิงกับฮิซบอลเลาะห์
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นความเหนื่อยล้าของกองทัพอิสราเอล หรือผลกระทบทางการเมืองและด้านเศรษฐกิจ หลังจากประเทศต้องดึงกำลังสำรองเข้ามาเกี่ยวข้องในความขัดแย้งมากขึ้นเรื่อย ๆ
ดร.เลลา นิโคลัส ผู้เขียนหนังสือชื่อว่า Global and Regional Strategies in the Middle East (ยุทธศาสตร์ระดับโลกและระดับภูมิภาคในตะวันออกกลาง) ยังกล่าวด้วยว่า “ชาวอิสราเอลยังไม่มีแผนชัดเจนว่าจะทำอย่างไรกับกาซาในอนาคต”
เธอกล่าวเสริมว่า ปัญหาในพื้นที่ดังกล่าวน่าจะถูกทิ้งไว้จนกว่านายโดนัลด์ ทรัมป์เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในเดือน ม.ค. 2025
ในทางตรงกันข้าม ดูเหมือนว่าข้อตกลงหยุดยิงที่เกิดขึ้นในเลบานอนนั้นมีกรอบที่ชัดเจนมากกว่า เนื่องจากมีพื้นฐานมาจากมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 1701 ซึ่งยุติสงครามระหว่างอิสราเอลและฮิซบอลเลาะห์เมื่อปี 2006
ภาพเหมือนของรูฮอลเลาะห์ โคไมนี ในกรุงเบรุต เขาผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
กระนั้นข้อตกลงส่วนใหญ่ยังคงมีความไม่ชัดเจนหรือยังคลุมครือ นี่แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายต้องทบทวนวัตถุประสงค์การริเริ่มเพื่อให้ทำงานต่อได้ แต่สิ่งที่แน่ชัดคืออิสราเอลไม่สามารถขจัดภัยคุกคามของเฮซบอลเลาะห์ได้ทั้งหมด ซึ่งในทางการทหารมันหมายถึงความปลอดภัยในการนำพลเรือนที่อยู่ทางเหนือของอิสราเอลกลับมายังถิ่นฐาน
ฮิซบอลเลาะห์ซึ่งเหล่าผู้นำ ตัวสถาบัน และหน่วยบัญชาการทหารถูกโจมตีอยู่หลายครั้ง ดูเหมือนว่า จะละทิ้งเงื่อนไขเดิมที่เคยระบุว่า จะไม่หยุดการโจมตีตำแหน่งที่ตั้งของอิสราเอลจนกว่าสงครามในกาซาจะสิ้นสุดลง
“เป็นที่ชัดเจนว่าอิหร่าน (ผู้สนับสนุนทางการเงินและอุดมการณ์ของฮิซบอลเลาะห์) ไม่ต้องการให้ฮิซบอลเลาะห์ถูกดึงเข้าสู่สงครามที่ยืดเยื้อซึ่งจะทำให้พวกเขาอ่อนล้ามากขึ้น” ดร.นิโคลัส กล่าวเสริม
อัดนัน เอล-เบอร์ช ผู้สื่อข่าวบีบีซี แผนกภาษาอาหรับจากฉนวนกาซา
บางคนในฉนวนกาซาบอกว่า ข้อตกลงดังกล่าวทำให้เห็นว่าทางฮิซบอลเลาะห์ตัดสินใจที่จะละทิ้งกลยุทธ์ “ความสมัครสมานของแนวร่วม” ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีร่วมกันระหว่างฮิซบอลเลาะห์และฮามาสในช่วงเริ่มต้นสงครามกับอิสราเอล เพื่อเปิดปฏิบัติการที่สอดคล้องประสานกันระหว่างสมาชิกของสิ่งที่เรียกว่า “กลุ่มอักษะแห่งการต่อต้าน" (Axis of resistance) ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มอื่น ๆ ในฉนวนกาซา รวมถึงกบฏฮูตีในเยเมน และกลุ่มขนาดเล็กอื่น ๆ ในอิรัก
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างข้อตกลงหยุดยิงในเลบานอนและข้อตกลงหยุดยิงในฉนวนกาซา คือ ฮิซบอลเลาะห์ปล่อยให้การเจรจาอยู่ในมือรัฐบาลเลบานอน ขณะที่ฮามาสเป็นผู้นำเจรจาด้วยตัวเองและปฏิเสธที่จะให้ทางการปาเลสไตน์ในเมืองรามัลเลาะห์เป็นตัวแทนการเจรจา
ความแตกแยกในหมู่ชาวปาเลสไตน์ ความไม่เป็นเอกภาพภายในรัฐ รวมถึงขาดการยอมรับอย่างเป็นทางการในฐานะรัฐ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้อตกลงหยุดยิงกับอิสราเอลในฉนวนกาซาไปไม่ถึงไหน
ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังกล่าวด้วยว่า เกิดสุญญากาศขึ้นในตำแหน่งผู้นำฮามาส หลังอิสราเอลลอบสังหารบุคคลสำคัญขององค์กร ซึ่งหมายความว่าในตอนนี้ฮามาสไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่จะเจรจาหยุดยิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ความยากลำบากในการสื่อสารระหว่างผู้นำฮามาสทั้งในและนอกฉนวนกาซา ก็ยิ่งทำให้เกิดความท้าทายมากยิ่งขึ้น
ศ.ฟาธี ซาบาห์ นักเขียนและนักวิเคราะห์การเมืองจากกาซาบอกกับบีบีซีว่า “อิสราเอลถือว่าสงครามในกาซาคือสมรภูมิหลัก เนื่องจากฮามาสเป็นฝ่ายจุดชนวนสงครามนี้ ไม่ใช่ฮิซบอลเลาะห์ การโจมตีฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นในอิสราเอล เมื่อพวกเขารู้สึกว่าได้ทำลายศักยภาพของฮามาสในกาซาได้แล้ว”
ศ.ซาบาห์ยังเชื่อว่า ขอบเขตการต่อสู่กับฮิซบอลเลาะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพมากกว่าและทำให้เกิดภัยคุกคามได้มากกว่าฮามาส ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้อิสราเอลนำมาพิจารณาข้อตกลงหยุดยิง
“จรวดของฮิซบอลเลาะห์สามารถไปถึงเมืองต่าง ๆ เช่น กรุงเทลอาวีฟและเมืองไฮฟา ซึ่งมันจะสร้างผลกระทบอย่างสาหัสให้กับอิสราเอล รวมถึงผู้พลัดถิ่นทางเหนือหลายพันคน” ซาบาห์กล่าวกับบีบีซี
เขายังเชื่อว่าประเทศพันธมิตร เช่น สหรัฐฯ และฝรั่งเศสก็มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของอิสราเอลด้วย เพราะรู้สึกไม่พอใจมากขึ้นเรื่อย ๆ กับสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “ความก้าวร้าวของอิสราเอล” ต่อเลบานอน
ทหารอิสราเอลประจำการในฝั่งอิสราเอล บริเวณพรมแดนที่ติดกับทางตอนใต้ของเลบานอน
มูฮันนาด ตูตุนจี ผู้สื่อข่าวบีบีซี แผนกภาษาอาหรับ ประจำนครเยรูซาเล็ม
มีหลายปัจจัยที่ทำให้อิสราเอลและเลบานอนบรรลุข้อตกลงในเวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงความเป็นจริงทางการเมืองและการทหารที่แตกต่างกันของเลบานอนและกาซา
ในเลบานอน กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ซึ่งสู้รบกับอิสราเอล เป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์การเมืองที่มีขนาดใหญ่ แต่ทางกลุ่มเป็นเพียงตัวแทนของนิกายหนึ่งและเป็นเพียงกลุ่มการเมืองหนึ่งในประเทศเลบานอน โดยนักวิเคราะห์บางคนบอกว่า ไม่ใช่พลเมืองเลบานอนทุกคนที่มีมุมมองต่อประเด็นความขัดแย้งกับอิสราเอล เหมือนกลุ่มฮิซบอลเลาะห์
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในฉนวนกาซานั้นแตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัด กองกำลังทางการเมืองและทางทหารเป็นของฮามาส ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอื่น ๆ อีก 2-3 ฝ่ายที่มีจุดยืนต่อต้านอิสราเอลเหมือนกัน
สำหรับชาวอิสราเอล สงครามในเลบานอนนั้นแตกต่างกับสงครามในกาซา
ปฏิบัติการทางทหารในเลบานอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำจัดภัยคุกคามทางทหารที่มีต่อผู้อยู่อาศัยทางตอนเหนือของอิสราเอล และพยายามฟื้นฟูความมั่นคงในพื้นที่ดังกล่าว
ขณะที่ในกาซา อิสราเอลได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะกำจัดฮามาสให้ราบคาบ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ยังไม่บรรลุผล นอกจากนี้ อิสราเอลยังตั้งเป้าที่จะนำตัวประกันที่ถูกคุมขังอยู่ในกาซาจำนวน 101 คน กลับมาให้ได้ ซึ่งมันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเจรจาหยุดยิงระหว่าง 2 ฝ่าย
ยาคอฟ อามิดรอร์ อดีตหัวหน้าสภาความมั่นคงแห่งชาติของอิสราเอลบอกกับบีบีซีว่า ชาวเลบานอนจำนวนมากต่างหวาดกลัวว่าความขัดแย้งอาจขยายวงกว้างไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของเลบานอน โดยเขากล่าวว่า สิ่งนี้อาจนำไปสู่การทำลายล้างที่คล้าย ๆ กับที่เห็นในชานเมืองทางตอนใต้ของกรุงเบรุต
เขายังชี้ให้เห็นว่า อิสราเอลมีความตั้งใจใช้กลยุทธ์แยกเลบานอนออกจากความขัดแย้งในฉนวนกาซา โดยบอกว่ามันเป็นเรื่องสำคัญต่ออิสราเอลอย่างยิ่งที่จะทำให้ประเทศพุ่งเป้าไปที่การกำจัดฮามาสจากฉนวนกาซา
นายอามิดรอร์เน้นย้ำด้วยว่า บททดสอบที่แท้จริงของการตกลงหยุดยิงไม่ใช่ข้อตกลงที่ทำร่วมกัน แต่อยู่ที่ว่าทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการตามข้อตกลงได้หรือไม่ พร้อมกับตั้งคำถามว่าอิสราเอลจะตอบสนองอย่างไร หากฮิซบอลเลาะห์ละเมิดข้อตกลงดังกล่าว
https://www.bbc.com/thai/articles/cn8lwxqwx2lo