วันอังคาร, พฤศจิกายน 12, 2567
“วัดใจ ครม.แพทองธาร จะปกป้องประชาชนจากกฎหมายมรดกเผด็จการ คสช.หรือไม่”
Lanner
a day ago
·
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2568 มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ จัดเวทีเสวนาออนไลน์ ในหัวข้อ “วัดใจ ครม.แพทองธาร จะปกป้องประชาชนจากกฎหมายมรดกเผด็จการ คสช.หรือไม่” ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ ที่มีเนื้อหามุ่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่กลับมีผลกระทบต่อสิทธิของประชาชนในกว่า 4,000 ชุมชน และพื้นที่กว่า 4 ล้านไร่ ที่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า แม้ภาคประชาชนจะคัดค้านอย่างรุนแรงเพื่อปรับแก้กฎหมายนี้ แต่กรมอุทยานฯ ยังคงเดินหน้าเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.
.
"พวกเราเป็นพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเครือข่ายที่ทำงานด้านป่าไม้ที่ดินก็คงจะได้ติดตามสถานการณ์ที่ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็พยายามจะผลักดันเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ซึ่งตัวร่างพระราชกฤษฎีกา ทั้ง 2 ฉบับ ก็เป็นตัวกฎหมายลำดับรองประกอบในส่วนของมาตรา 64 ของพรบ.อุทยานแห่งชาติ และพรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่ามาตรา 121 ซึ่งทั้ง 2 มาตรานี้ ก็เป็นหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่เกี่ยวกับการทำกินที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ ซึ่งประเด็นนี้ได้ร้อนขึ้นมาเพราะมีกลุ่มประชาชนออกมาขับเคลื่อนเคลื่อนไหวให้ทางกระทรวงทรัพย์ถอนเรื่องนี้ออกจากครม. หรือว่าเคลื่อนไหวให้ทางครม.เองก็ตามคือไม่รับเรื่องนี้ไปพิจารณาในครม. ซึ่งตอนนี้เส้นตายที่เกิดขึ้นก็คือวันที่ 12 พฤศจิกายน วันอังคารที่จะถึงนี้เป็นนัดสุดท้ายท้ายชี้ชะตาว่ากฎหมายทั้งร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้จะผ่านที่ประชุมของครม.หรือไม่ และถ้าผ่านมาแล้วจะสร้างผลกระทบกับพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศอย่างไร" พชร คำชำนาญ
.
"การออกกฎหมายฉบับนี้จึงทำให้เกิดความผิดหวังต่อระบบกฎหมายและการปกครองที่ไม่สามารถรับรองสิทธิของประชาชนในพื้นที่อนุรักษ์ได้อย่างแท้จริง" ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์
.
"แม้ในวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ครม. รับรองจะมีการแก้ไข แต่ไม่นานนายกฯ เศรษฐาก็พ้นจากตำแหน่ง และหลังจากนายกฯ พรทองทานขึ้นมา ก็เคลื่อนไหวอีกครั้ง จนถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2567 รัฐบาลใหม่มีมติชะลอการออก พ.ร.บ. ชุดนี้ก่อน แต่ยังคงมีการผลักดันให้เข้าสู่ ครม. วันที่ 12 พฤศจิกายน ทำให้เกิดความไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเร่งรัดออกมา ทั้งที่มันมีผลกระทบกับ 4,000 ชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์ ในวันที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา อธิบดีกรมอุทยานกล่าวว่า 4,000 ชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์คือ "ผู้บุกรุก" ไม่ใช่ "ผู้บุกเบิก" ซึ่งชุมชนเหล่านี้ยืนยันว่ายังมีสิทธิ์ที่จะแสดงว่า พวกเขาคือผู้ดูแลพื้นที่มาโดยตลอด และคำกล่าวนี้ไม่สะท้อนถึงความเป็นธรรมเพราะชุมชนเหล่านี้อยู่มาก่อนและได้ดูแลพื้นที่มาโดยตลอด การใช้คำว่า "ผู้บุกเบิก" ไม่ควรถูกละเลยแบบนี้" จรัสศรี จันทร์อ้าย
.
"หน้าที่ของรัฐมีการออกแบบในการที่จะทำให้ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้ โดยให้เหมาะสมกับพื้นที่ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชนต่างๆ นี่คือหน้าที่ของรัฐที่จะเข้ามาช่วยทำให้การจัดการทรัพยากรมันมันยั่งยืนและสมดุลและยั่งยืน" สุมิตรชัย หัตถสาร
.
วันนี้ (10 พ.ย.67) เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า ตนขอให้รัฐบาลทบทวนการผลักดันร่างพระราชกฤษฎีกาที่จะออกตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่มีเนื้อหาเป็นกฎหมายแย่งยึดที่ดินของประชาชนอย่างชัดเจน หากกฎหมายฉบับนี้ผ่านจะกระทบต่อคน 4,265 หมู่บ้าน ประชากรกว่า 1 ล้านคน เนื้อที่รวมกัน 4.27 ล้านไร่
.
อ่าน วัดได้ถ้าใจถึง ถกจัดหนัก ‘ครม.แพทองธาร’ ดันร่าง กม.อุทยานฯ-สงวนสัตว์ป่า ส่อฉุดสิทธิชุมชนลงเหวลึก https://www.lannernews.com/10112567-02/