Atukkit Sawangsuk
16h ·
อ่านพาดหัวสื่อแล้วสนุกดี
ลุ้น ระทึก ระทึกสุดขีด (ไทยโพสต์)
กูรูทั้งหลายก็ฟันธง ส่วนใหญ่ไปทางศาลรับ หรือรับบางข้อ
แน่ละครับ สื่อชอบความตื่นเต้น ใครจะอยากให้มันจืดๆ
+มันสะท้อนว่า คนแช่งรัฐบาลมีเยอะ กูรูยอดปั่นฟันธงผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าคนก็ยังอยากฟัง (จตุพรยังขายได้เสมอ )
:
ถ้าว่ากันตามหลักกฎหมาย แม้แน่ละ ไม่มีใครเชื่อหลักกฎหมายแล้ว
แต่มันก็ต้องมีช่องให้ถูไถได้
6 ข้อหาล้มล้าง ยังกะแกงโฮะ มีอะไรใส่เข้ามาหมด
ตั้งแต่ชั้น 14 ถึงกินมาม่า เกาะกูด ขับพลังประชารัฐ
เออ ถ้าจะร้องได้หน่อยก็เรื่องร่วมกับพรรคประชาชนแก้รัฐธรรมนูญ
(ซึ่งเลอะเทอะทางกฎหมายแต่เอาไว้เป็นชนักพรรคประชาชน เพราะเพื่อไทยถอยแล้ว) แต่มันเกี่ยวกับทักษิณตรงไหนกัน ประเด็นนั้นอาจจะมีคนร้องเพื่อไทยแยกต่างหาก
:
สำคัญคือดีลอำนาจ
ถ้าล้มรัฐบาลแพทองธาร เพื่อไทย
อำนาจอนุรักษ์จะเอาใครเป็นนั่งร้าน ไอ้หนูเหรอ ยิ่งพากันพัง
สถานการณ์อย่างนี้สมประโยชน์กันทุกฝ่าย ทั้งอำนาจอนุรักษ์ เพื่อไทย ภูมิใจไทย
เพียงแต่มันมีพวกอนุรักษ์อีกปีกไม่พอใจ
:
วิธีบริหารอำนาจของเจ้าของอำนาจ
คือให้ทุกฝ่ายแข่งกันรับใช้ แข่งกันเองแย่งชิงกันเอง เพื่อรับใช้
เพื่อไทย ภูมิใจไทย ทหาร ตุลาการ ขวาคลั่ง
ดูเหมือนปั่นป่วนแต่คุมสถานการณ์ใหญ่ได้
เป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่ให้ใครมีอำนาจมาก
:
รับบางข้อ ยังเป็นเรื่องตลกเลย
ล้มล้างเขาเอาไว้ใช้เรื่องใหญ่ๆ แบบแก้ 112 กับแก้รัฐธรรมนูญเท่านั้น
...
SPACEBAR
1d ·
มุมมองของ ‘รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว’ รองคณบดี คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิเคราะห์ว่า การที่ ‘อัยการสูงสุด’ ส่งบันทึกสอบถ้อยคำพยานฝ่ายผู้ร้องและผู้ถูกร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเป้าหมายสำคัญที่ ‘ธีรยุทธ สุวรรณเกษร’ นักกฎหมายอิสระมีความประสงค์อยู่แล้วก่อนหน้านี้ เพื่อให้ ‘ศาล รธน.’ เข้ามามีบทบาทในการวินิจฉัย ซึ่งคำร้องของเขา จะกลายเป็น ‘หัวเชื้อ’ ในการตั้งต้นได้ทันที
.
โดยโอฬารแบ่งฉากทัศน์ต่อเนื่องได้ 3 ทฤษฎี
1) ศาลพิจารณารับคำร้อง โดยใช้คำให้การของธีรยุทธเป็น ‘สารตั้งต้น’ ซึ่งจะทำให้พรรคเพื่อไทย และพรรครัฐบาลตกอยู่ในสถานการณ์ที่ระส่ำ เฉกเช่นกรณีของ ‘เศรษฐา ทวีสิน’
2) ศาลพิจารณารับคำร้อง แต่ตีตกภายหลัง เพราะเห็นพร้องกับ ‘อสส.’ ว่ามูลให้การของผู้ร้องยังมีน้ำหนักไม่มากพอ ถึงขั้น ‘ยุบพรรค’
3) ศาลไม่รับคำร้อง - คดีไม่เข้าสู่การพิจารณาเลย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเห็นของ ‘อสส.’ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกรณี ‘ยุบพรรคก้าวไกล’ อันมีพยานเป็นเอกสารและหลักฐาน ที่สามารถให้ใช้ดุลยพินิจในการวินิจฉัยตีความได้
.
นักรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พิจารณาจากพยานหลักฐานที่ผู้ถูกร้องยื่นให้กับ อสส. มีแนวโน้มเกิดขึ้นได้มากที่สุด คือทฤษฎีแบบที่ 2 และ 3 เพราะคำร้องยังไกลเกินกว่าจะยุบพรรค ซึ่งศาลสามารถยกอ้างความเห็นของอัยการสูงสุด มาเพื่อตอบสังคมได้ แต่หากมองในมุนรัฐศาสตร์ คิดว่าอย่างไรเสีย ‘กลุ่มอนุรักษ์นิยม’ ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้บริการ ‘พรรคเพื่อไทย’ จนกว่าพรรคฝ่ายขวาจะแข็งแรงเพียงพอ ในการต่อกรกับ ‘พรรคประชาชน’
.
แต่ต้องยอมรับว่า หาก ‘ทักษิณ - เพื่อไทย’ รอดจากการถูกวินิจฉัยในคดีล้มล้างการปกครอง (คดีถูกตีตกในชั้นศาล) ย่อมสร้างความไม่พอใจแก่ ‘ด้อมส้ม’ และจะกลายเป็นเรื่อง ‘สองมาตรฐาน’ ไปทันที ซึ่งจะสอดคล้องกับคำปราศรัยที่อุดรธานี กรณีมุมคิดที่ต่างกันระหว่าง ‘พรรคประชาชน’ และ ‘พรรคเพื่อไทย’ เรื่อง ‘คนเท่ากัน’ ด้วย
.
“ผมไม่อยากมองว่าคุณทักษิณคือตัวแทนของอนุรักษ์นิยม แต่เป็นตัวแทนของอำนาจนิยม ตัวเขาและพรรคเพื่อไทยมีความจำเป็น ที่จะต้องเป็นตัวแทนชั่วคราว แต่เอาจริงกลุ่มอำนาจเก่าไม่เคยไว้ใจเขาอยู่แล้ว แต่ ณ วันนี้ในปีกพรรคร่วมรัฐบาล ยังไม่สามารถสร้างคะแนนนิยมขึ้นได้ ถึงขั้นจะสู้กับพรรคประชาชนแบบชนะขาด” โอฬาร กล่าวทิ้งท้าย
.