BIOTHAI
สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ กรมประมง พบว่าลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีความหลากหลายของปลามากถึง 453 ชนิด แต่การระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้ง และคลองในเขต อ.ระโนด ( เช่น คลองท่าเข็น คลองบางแขยง คลองปากระวะ คลองพังยาง คลองรับแพรก) ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับทะเลสาบสงขลา และมีระบบคลองเชื่อมโยงกับทะเลสาบ จะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายของปลาในไม่ช้า
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งระบุว่า พบปลาหมอคางดำในคลองท่าเข็นในสัดส่วนมากกว่า 60% ของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำทั้งหมด นั่นหมายความว่า ปลาหมอคางดำจากคลองต่างๆเหล่านี้กำลังคืบคลานรุกรานเข้าไปในทะเลสาบสงขลาแล้ว แม้ผลการสำรวจเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมายังไม่พบการระบาดในทะเลสาบก็ตาม
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นระบบนิเวศทางน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ และเป็นแหล่ง
ทรัพยากรประมงหลักแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีเนื้อที่มากกว่า 1,000 ตารางก็โลเมตร มีอาณาเขตติดต่อพื้นที่ถึง 3 จังหวัด อันได้แก่ จังหวัดพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช ลุ่มน้ำนี้จึงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก เนื่องจากเป็นที่ไหลรวมของลุ่มน้ำย่อยต่าง ๆ จากตันน้ำลำธาร สู่ที่ราบน้ำท่วม และออกทะเลสู่อ่าวไทย จึงเป็นลักษณะของทะเลสาบ 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม
ลักษณะทางกายภาพของน้ำดังกล่าว เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอคางดำอย่างยิ่ง
โดย กรมประมงระบุว่า มีการสำรวจพบปลาทั้งหมด 37 อันดับ (Order) 98 วงศ์ (Family) รวม 453 ชนิด (species) กระจายอยู่ในระบบนิเวศของทะเลสาบสงขลาตามแผนภาพ
การระบาดของปลาหมอคางดำ ในคลองต่างๆ เขต อ.ระโนด จ.สงขลา กราฟจากงานศึกษาของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เมื่อสิงหาคม 2567
ระบบคลองที่ระโนด เชื่อมโยงกับทะเลสาบ
(https://www.facebook.com/biothai.net/posts/987687180071362)
สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ กรมประมง พบว่าลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีความหลากหลายของปลามากถึง 453 ชนิด แต่การระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้ง และคลองในเขต อ.ระโนด ( เช่น คลองท่าเข็น คลองบางแขยง คลองปากระวะ คลองพังยาง คลองรับแพรก) ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับทะเลสาบสงขลา และมีระบบคลองเชื่อมโยงกับทะเลสาบ จะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายของปลาในไม่ช้า
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งระบุว่า พบปลาหมอคางดำในคลองท่าเข็นในสัดส่วนมากกว่า 60% ของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำทั้งหมด นั่นหมายความว่า ปลาหมอคางดำจากคลองต่างๆเหล่านี้กำลังคืบคลานรุกรานเข้าไปในทะเลสาบสงขลาแล้ว แม้ผลการสำรวจเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมายังไม่พบการระบาดในทะเลสาบก็ตาม
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นระบบนิเวศทางน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ และเป็นแหล่ง
ทรัพยากรประมงหลักแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีเนื้อที่มากกว่า 1,000 ตารางก็โลเมตร มีอาณาเขตติดต่อพื้นที่ถึง 3 จังหวัด อันได้แก่ จังหวัดพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช ลุ่มน้ำนี้จึงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก เนื่องจากเป็นที่ไหลรวมของลุ่มน้ำย่อยต่าง ๆ จากตันน้ำลำธาร สู่ที่ราบน้ำท่วม และออกทะเลสู่อ่าวไทย จึงเป็นลักษณะของทะเลสาบ 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม
ลักษณะทางกายภาพของน้ำดังกล่าว เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอคางดำอย่างยิ่ง
โดย กรมประมงระบุว่า มีการสำรวจพบปลาทั้งหมด 37 อันดับ (Order) 98 วงศ์ (Family) รวม 453 ชนิด (species) กระจายอยู่ในระบบนิเวศของทะเลสาบสงขลาตามแผนภาพ
การระบาดของปลาหมอคางดำ ในคลองต่างๆ เขต อ.ระโนด จ.สงขลา กราฟจากงานศึกษาของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เมื่อสิงหาคม 2567
ระบบคลองที่ระโนด เชื่อมโยงกับทะเลสาบ
(https://www.facebook.com/biothai.net/posts/987687180071362)