วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2567

พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่ง คสช.ที่14/2559 ได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งกว่าจะยกเลิกกันได้ต้องผ่านอะไรมาบ้าง จาตุรนต์ สรุปให้เราฟัง


"สิ่งที่น่าคิดอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า คำสั่งคสช.เวลาจะออกมาคำสั่งหนึ่งง่ายมาก วันเดียวออกมาหลายฉบับ แต่พอจะแก้แค่คำสั่งเดียวใช้เวลา 4 เดือนกว่า รวมกระบวนการทั้งหมดในการผ่านทั้ง 2 สภามาจนประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้เวลาถึงครึ่งปี"

Chaturon /จาตุรนต์ @chaturon

พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่ง คสช.ที่14/2559 ได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งกว่าจะยกเลิกกันได้ต้องผ่านอะไรมาบ้าง เรามาสรุปกันอีกครั้งครับ 
.
การยกเลิกคำสั่ง คสช.ฉบับนี้มีผลใน 2 เรื่องคือ 1.สภาที่ปรึกษาซึ่งถูกระงับยับยั้งไว้มาถึง 8 ปีก็จะเลือกสมาชิกกันใหม่และกลับมามีบทบาท 
.
สภาที่ปรึกษาชุดใหม่ที่จะเลือกกันมาจะมาจากหลายฝ่าย อาทิ ผู้นำศาสนา ภาคประชาสังคม และประชาชนทั่วไป เป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ประชาชนมีความเชื่อมโยงกับ ศอ.บต. และการทำงานของ ศอ.บต. ก็จะทำโดยรับข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนผ่านกลไกสภาที่ปรึกษานี้ 
.
2. จะส่งผลให้ ศอ.บต. ทำงานเป็นอิสระมากขึ้น เพราะคำสั่ง คสช.ฉบับนี้ได้ไปกำหนดไว้ว่า ศอ.บต.จะทำอะไรต้องปรึกษา รองผอ.กอ.รมน.(แม่ทัพภาค4) โดยประเด็นที่จะปรึกษาและการวินิจฉัยทั้งหมด รอง ผอ.กอ.รมน.จะเป็นฝ่ายกำหนด ซึ่งไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ศอ.บต.ที่ต้องการให้ทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายพลเรือน รวมทั้งฝ่ายความมั่นคงมาร่วมกันพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่คำสั่งนี้กลับไปให้น้ำหนักกับรองผอ.กอ.รมน.มีบทบาทนำในเรื่องนี้ ดังนั้นการยกเลิกคำสั่ง คสช.ฉบับนี้จะเกิดผลดีต่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 
.
สิ่งที่น่าสนใจคือเราจะเห็นได้ว่าการเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มาจากพรรคการเมืองเรียกได้ว่าแทบทุกพรรค มีการตั้งคณะกรรมาธิการที่มาจากทุกพรรคการเมือง มีตัวแทนจากรัฐบาล นักวิชาการ รวมทั้งภาคประชาสังคม มาทำร่างจนเสร็จเรียบร้อย เมื่อเข้าสภาก็เห็นชอบเป็นเอกฉันท์ในวาระที่ 2 และ 3 พอไปวุฒิสภาก็ผ่านมาได้ สุดท้ายก็ประกาศใช้ ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีที่เมื่อทุกฝ่ายเห็นปัญหาร่วมกันก็มาหาทางออกที่เหมาะสม 
.
สิ่งที่น่าคิดอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า คำสั่งคสช.เวลาจะออกมาคำสั่งหนึ่งง่ายมาก วันเดียวออกมาหลายฉบับ แต่พอจะแก้แค่คำสั่งเดียวใช้เวลา 4 เดือนกว่า รวมกระบวนการทั้งหมดในการผ่านทั้ง 2 สภามาจนประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้เวลาถึงครึ่งปี
เพราะฉะนั้นการจะแก้คำสั่ง คสช. ซึ่งยังไม่รวมถึงร่างพระราชบัญญัติที่ออกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติอีกหลายฉบับก็จะมีปัญหา เราคงต้องมาคิดกันว่าจะรับมือและดูแลกับเรื่องเหล่านี้อย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพต่อไปครับ