ปกติแล้วเป็นเรื่องยากนักที่คดี ม.๑๑๒ จะได้รับการพิพากษายกฟ้อง แต่คดีร่วมกันกระทำของ ‘หนูรัตน์’ กับ นารา เครปกระเทย นั้นศาลชั้นต้นยกฟ้อง เช่นกันกับ ‘มัมดิว’ ซึ่งศาลสั่งจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว หลังจากลี้ภัยไปเยอรมนีก่อนการพิจารณาคดี
คดีดังกล่าว ผู้ต้องหาทั้งสามจัดทำแคมเปญโฆษณาของบริษัทลาซาด้า โจทก์ฟ้องว่า “มัมดิวแสดงบทบาทเป็นพระพันปีหลวง และหนูรัตน์แสดงเป็นเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ โดยมีนาราเชิญชวนให้มัมดิวร่วมกันโฆษณาเซรั่ม” สินค้าของนาราเอง
คดีของนาราในข้อหาดูหมิ่นเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ศาลอาญายกฟ้องไปเมื่อ ๒๑ ธันวา ๖๖ คดีของหนูรัตน์และมัมดิว ในข้อหาเดียวกันเพิ่งยกฟ้องเมื่อวานนี้ (๓๐ ตุลา) ศาลบอกว่า “การกระทำของจำเลยไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๑๑๒”
นั่นคือนอกจาก การแสดงบทบาทรณรงค์ขายสินค้าดังกล่าว ไม่สามารถสื่อถึงพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดตามฟ้องได้ อีกทั้ง “เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ก็ย่อมไม่ใช่เจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์ที่ได้รับการแต่งตั้ง” เป็นองค์รัชทายาท ในรัชกาลนี้ยังไม่มีรัชทายาท
คงเป็นความเขลาเบาปัญญาของ ศรีสุวรรณ จรรยา ผู้ยื่นคำร้องไม่ได้ตริตรองลักษณะความผิดตามตัวบทให้ตรงต่อข้อกล่าวหา “ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์”
เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ไม่เข้าข่ายศักดินาตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น ที่ ม.๑๑๒ ปกป้อง ศาลจึงจำต้องยกฟ้อง ซึ่งก็พิลึกในการอ่านคำพิพากษา เมื่อ Yaowalak Anuphan ทนายสิทธิมนุษยชนคนหนึ่งเล่าว่า เธอไปฟังการพิจารณาครั้งหนึ่ง ผู้พิพากษาเกรี้ยวกราดมาก
“ฮีดุมาจากไหน นั่งฟังไม่นานทนศาลไม่ไหว แต่การที่ศาลยกฟ้องแกกล้าหาญมากนะ” เพื่อนทนายบอกว่าผู้พิพากษาคนนี้ “แกวีนตลอด” แต่ก็พอสันนิษฐานได้ว่า แกวีนเพราะจำต้องยกฟ้องตามธงคำพิพากษาต่อ (นารา) จำเลยคนก่อนหน้า
อีกอย่าง ผู้ต้องหาทั้งสามอาจไม่รอดในชั้นอุทธรณ์ เพราะมีปรากฏคดี ๑๑๒ ยกฟ้องหรือตัดสินไม่ผิดในชั้นต้น ครั้นอัยการอุทธรณ์ก็ไปตายตอนนั้น เหมือนดั่งว่าศาลอุทธรณ์ทำหน้าที่เก็บกวาด ถ้ายังหลุดอุทธรณ์ได้อีก ก็จะเจอด่านสุดท้าย ‘ไม่รอด’ ฎีกา
นี่ว่าตามสถิติที่ปรากฏ ไม่ได้ pessimistic มองโลกแง่ร้ายแต่อย่างใด
(https://www.facebook.com/yaowalak.anuphan/posts/sucuspD2mFt)