16 ตุลาคม พ.ศ. 2567
แนวหน้าออนไลน์
เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2567 เว็บไซต์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ได้เผยแพร่บทความ เรื่อง ไทยกำลังจะเป็น "ฮับสีเทา" โดย รศ.วิทยา ด่านธำรงกูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีเนื้อหาดังนี้
นายกรัฐมนตรีฝันว่า ประเทศไทยจะเป็นฮับ (hub) หลายอย่าง ทั้งฮับการท่องเที่ยว ฮับการเงิน ฮับไอที ฮับการขนส่งและอีกหลายๆ ฮับ
แต่เมื่อหันมาดูสภาพความเป็นไปของบ้านเมืองขณะนี้ จะเห็นว่าเต็มไปด้วยปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ และการละเมิดกฎหมายในทุกวงการ การหลอกลวงต้มตุ๋มเกิดขึ้นรายวัน ทั้งจากคนไทยกันเองและจากต่างชาติ ทุนจีนสีเทาระบาดไปทุกหย่อมย่าน
ฝ่ายการเมืองก็เต็มไปด้วยคำถามว่า ..
ใคร? เป็นนายกรัฐมนตรีตัวจริง ผลการสรรหาวุฒิสมาชิก (สว.) ฟ้องว่ามีการจัดตั้งกันอย่างเป็นเครือข่ายโดยไม่เกรงใจประชาชน ยังไม่รวมเรื่องฉาวโฉ่ในวงการตำรวจที่เป็นมหากาพย์มายาวนาน และนับวันจะเลวร้ายลงโดยไม่มีการแก้ไข
อะไร? ทำให้ประเทศไทยมาถึงจุดนี้
จุดที่ไม่มีใครเกรงกลัวกฎหมายกันอีกต่อไป การทุจริตในทุกวงการกลายเป็นความเคยชิน วงการตำรวจออกมาสาวไส้กัน ทั้งเรื่องส่วย บ่อน และพนันออนไลน์ จากนั้นมีการสั่งย้ายตำรวจชั้นผู้ใหญ่เพื่อสอบสวน จบลงที่ทุกอย่างเหมือนเดิม และอยู่ๆ เรือขนน้ำมันเถื่อนทั้งลำ อันตรธานหายไป
ลากสายเคเบิลยาวกว่า 10 กิโลเมตร จากชายแดนฝั่งไทยเข้าเมียนมา เพื่อเอื้อธุรกิจอาชญากรรมก็ทำได้ การค้ามนุษย์ การหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย กระจายไปทั่ว เหล่านี้คือความขมขื่นที่ประชาชนคนไทยต้องรับสภาพจากการละเลยของผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
สาเหตุแห่งความฟอนเฟะเหล่านี้ น่าจะมาจากเหตุผลต่อไปนี้
- ผู้นำขาดความจริงจังและใส่ใจ ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาทำงาน ยังไม่เคยเห็นนายกรัฐมนตรีประกาศเอาจริงเอาจังกับเรื่องเหล่านี้สักที ในขณะที่ "ปลาหมอคางดำ" เป็นวาระแห่งชาติ แต่เรื่องทุจริตคอร์รัปชัน กลายเป็นสิ่งที่ผู้นำให้น้ำหนักน้อยมาก
แม้ว่านายกรัฐมนตรีจะนั่งอยู่ในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เห็นปัญหาที่หมักหมมมานาน แต่ยังไม่มีการแก้ไขเป็นรูปธรรม เกิดเรื่องทีก็ตั้งกรรมการสอบกันที แล้วเรื่องก็เงียบหาย
ยิ่งตอนนี้ต้องรีบเร่งใช้งบประมาณปลายปี ยิ่งเห็นความไม่ชอบมาพากลกับการปั้นโครงการต่างๆ มากมาย ขณะที่นักกฎหมายใหญ่ ก็กลับกลายเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่ให้มาเป็นที่ปรึกษา เพื่อหาช่องโหว่ช่องว่างทางกฎหมาย
- การบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่บิดเบี้ยว เป็นการส่งเสริมการทุจริตประพฤติมิชอบให้เกิดอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะรัฐบาลนี้ที่ทำการอย่างไม่เกรงใจประชาชน
การบังคับใช้กฎหมายอยู่ในสภาพพังยับเยิน ตั้งแต่นำตัวนักโทษหนีคดีกลับมาในสภาพคนป่วย แล้วไม่ต้องติดคุกสักวันเดียว ทุกวันนี้ จึงเหิมเกริมอำนาจ ทำทุกเรื่องให้ปั่นป่วนไปหมด
- ตำรวจไม่มีสภาพผู้บังคับใช้กฎหมาย ทุกวันนี้ตำรวจจึงเสื่อมในสายตาประชาชน ไม่มีใครกลัวแต่รังเกียจ เพราะรู้ว่าถ้ามีเรื่องอะไรไปถึงตำรวจ ก็จะต้องเสียเงินวิ่งเต้น
เวลามีปัญหา ประชาชนจึงต้องพึ่งทนายหิวแสง หรือ โซเชียลมีเดียมากกว่าพึ่งตำรวจ สถาบันตำรวจไม่เคยปฏิรูปได้เสียที ไม่ว่ารัฐบาลไหน จึงสร้างความฉาวโฉ่รายวัน ต่างคนต่างหากินกันอย่างไม่สำนึกว่าตนเป็นผู้รักษากฎหมาย
การปฏิรูปตำรวจ ต้องไม่ใช่การแก้กฎหมายแบบหยุมหยิม จะแก้จริงต้องทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ทั้งหมดแบบยกเครื่อง
แต่ปัญหาคือใครจะกล้าหาญพอ กระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถามมากมาย ทั้งที่เคยเป็นสถาบันที่เป็นความหวังว่าเงินซื้อไม่ได้ แต่วันนี้ไม่มีใครแน่ใจ
สถาบันนี้ถูกมองด้วยความเคลือบแคลง ประกอบกับกฎหมายที่ล้าสมัย ล่าช้า การลงโทษที่ไม่เด็ดขาด จึงทำให้คนพร้อมจะเสี่ยงดวงทำผิด เพราะเชื่อว่าถึงติดคุกไม่นาน ก็ออกมาได้ ถึงอยู่ในคุกก็ใช้เงินซื้อทุกอย่างได้
กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมที่อ่อนแอ รวมทั้งการที่เงินซื้อได้ทุกอย่าง จึงทำให้ประเทศไทยเป็น “สวรรค์” ของอาชญากรจากทั่วโลก ภาคประชาสังคมที่อ่อนล้าและอ่อนแรง ประชาชนอยู่ในสภาพเบื่อหน่าย ไม่เอาใจใส่ เพราะไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
ด้วยเหตุผลทั้งสามข้อข้างต้น ทุกวันนี้ประชาชนจึงชินกับการทุจริต ยินดีจะเป็นส่วนหนึ่งในการทุจริตด้วยซ้ำ ด้วยความคิดว่า “ใครๆ เขาก็ทำกัน” ทุนจีนเทาจึงระบาดไปจนถึงระดับหมู่บ้าน ในสังคมยังปราศจากการปกป้องคุ้มครองคนที่ให้เบาะแส (whistle blower) จึงยิ่งสร้างสังคมที่เนือยนิ่ง และสิ้นหวังต่อการทุจริตยิ่งขึ้นไปอีก
ในสังคมที่บิดเบี้ยวไปทุกวงการ และเงินซื้อได้ทุกอย่าง จึงป่วยการที่นายกรัฐมนตรีจะฝันเป็นฮับอะไรต่ออะไร นักลงทุนต้องคิดแล้วคิดอีกว่า จะต้องฝ่าด่านการทุจริตกี่ด่าน ถึงจะทำธุรกิจได้
ทำแบบขาวสะอาด ก็ไม่สามารถสู้คนที่เส้นใหญ่กว่า และมีผู้มีอำนาจคุ้มครอง เขาก็ต้องพลอยตามน้ำไป จนกว่าความจะแตก ไม่แตกในเมืองไทย แต่แตกในต่างประเทศที่เขาจับหลักฐานได้เอง สร้างความอับอายไปทั่วโลกอีก
"เมืองไทย" จึงกลายเป็นแหล่งซ่องสุมติดอันดับโลก ทั้งยาเสพติด ของปลอมของเถื่อน แรงงานผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ค้าประเวณี การหลอกลวงต้มตุ๋ม การลอบขนและทิ้งกากสารพิษ การเป็นที่กบดานของอาชญากร
ใครจะมาลงทุนหรือคบค้ากับเรา ก็คงต้องคิดหนัก เพราะอันดับภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นไทย อยู่ท้ายๆ ที่อันดับ 108 จาก 180 ประเทศ เมื่อปี 2566 ได้แค่ 35 คะแนน จาก 100 คะแนน
ไหนๆ นายกรัฐมนตรีก็ไม่อาจจะทำให้ฮับอะไรต่ออะไรที่ฝันและป่าวประกาศไว้ ประสบความสำเร็จได้สักเรื่องแล้ว
น่าจะดีกว่าไหม? หากจะทำให้ประเทศห่างไกลจากการเป็น "ฮับสีเทา" อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ด้วยการเอาจริงเอาจัง กล้าหาญกวาดล้างความเน่าเฟะจากขบวนการคอร์รัปชั่น ละเมิดกฎหมาย และการประพฤติมิชอบทุกรูปแบบที่เป็นอยู่ขณะนี้ แทนที่จะเสียเวลาไปกับการวาดฝันไปวันๆ
https://www.naewna.com/likesara/835709
แนวหน้าออนไลน์
เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2567 เว็บไซต์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ได้เผยแพร่บทความ เรื่อง ไทยกำลังจะเป็น "ฮับสีเทา" โดย รศ.วิทยา ด่านธำรงกูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีเนื้อหาดังนี้
นายกรัฐมนตรีฝันว่า ประเทศไทยจะเป็นฮับ (hub) หลายอย่าง ทั้งฮับการท่องเที่ยว ฮับการเงิน ฮับไอที ฮับการขนส่งและอีกหลายๆ ฮับ
แต่เมื่อหันมาดูสภาพความเป็นไปของบ้านเมืองขณะนี้ จะเห็นว่าเต็มไปด้วยปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ และการละเมิดกฎหมายในทุกวงการ การหลอกลวงต้มตุ๋มเกิดขึ้นรายวัน ทั้งจากคนไทยกันเองและจากต่างชาติ ทุนจีนสีเทาระบาดไปทุกหย่อมย่าน
ฝ่ายการเมืองก็เต็มไปด้วยคำถามว่า ..
ใคร? เป็นนายกรัฐมนตรีตัวจริง ผลการสรรหาวุฒิสมาชิก (สว.) ฟ้องว่ามีการจัดตั้งกันอย่างเป็นเครือข่ายโดยไม่เกรงใจประชาชน ยังไม่รวมเรื่องฉาวโฉ่ในวงการตำรวจที่เป็นมหากาพย์มายาวนาน และนับวันจะเลวร้ายลงโดยไม่มีการแก้ไข
อะไร? ทำให้ประเทศไทยมาถึงจุดนี้
จุดที่ไม่มีใครเกรงกลัวกฎหมายกันอีกต่อไป การทุจริตในทุกวงการกลายเป็นความเคยชิน วงการตำรวจออกมาสาวไส้กัน ทั้งเรื่องส่วย บ่อน และพนันออนไลน์ จากนั้นมีการสั่งย้ายตำรวจชั้นผู้ใหญ่เพื่อสอบสวน จบลงที่ทุกอย่างเหมือนเดิม และอยู่ๆ เรือขนน้ำมันเถื่อนทั้งลำ อันตรธานหายไป
ลากสายเคเบิลยาวกว่า 10 กิโลเมตร จากชายแดนฝั่งไทยเข้าเมียนมา เพื่อเอื้อธุรกิจอาชญากรรมก็ทำได้ การค้ามนุษย์ การหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย กระจายไปทั่ว เหล่านี้คือความขมขื่นที่ประชาชนคนไทยต้องรับสภาพจากการละเลยของผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
สาเหตุแห่งความฟอนเฟะเหล่านี้ น่าจะมาจากเหตุผลต่อไปนี้
- ผู้นำขาดความจริงจังและใส่ใจ ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาทำงาน ยังไม่เคยเห็นนายกรัฐมนตรีประกาศเอาจริงเอาจังกับเรื่องเหล่านี้สักที ในขณะที่ "ปลาหมอคางดำ" เป็นวาระแห่งชาติ แต่เรื่องทุจริตคอร์รัปชัน กลายเป็นสิ่งที่ผู้นำให้น้ำหนักน้อยมาก
แม้ว่านายกรัฐมนตรีจะนั่งอยู่ในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เห็นปัญหาที่หมักหมมมานาน แต่ยังไม่มีการแก้ไขเป็นรูปธรรม เกิดเรื่องทีก็ตั้งกรรมการสอบกันที แล้วเรื่องก็เงียบหาย
ยิ่งตอนนี้ต้องรีบเร่งใช้งบประมาณปลายปี ยิ่งเห็นความไม่ชอบมาพากลกับการปั้นโครงการต่างๆ มากมาย ขณะที่นักกฎหมายใหญ่ ก็กลับกลายเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่ให้มาเป็นที่ปรึกษา เพื่อหาช่องโหว่ช่องว่างทางกฎหมาย
- การบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่บิดเบี้ยว เป็นการส่งเสริมการทุจริตประพฤติมิชอบให้เกิดอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะรัฐบาลนี้ที่ทำการอย่างไม่เกรงใจประชาชน
การบังคับใช้กฎหมายอยู่ในสภาพพังยับเยิน ตั้งแต่นำตัวนักโทษหนีคดีกลับมาในสภาพคนป่วย แล้วไม่ต้องติดคุกสักวันเดียว ทุกวันนี้ จึงเหิมเกริมอำนาจ ทำทุกเรื่องให้ปั่นป่วนไปหมด
- ตำรวจไม่มีสภาพผู้บังคับใช้กฎหมาย ทุกวันนี้ตำรวจจึงเสื่อมในสายตาประชาชน ไม่มีใครกลัวแต่รังเกียจ เพราะรู้ว่าถ้ามีเรื่องอะไรไปถึงตำรวจ ก็จะต้องเสียเงินวิ่งเต้น
เวลามีปัญหา ประชาชนจึงต้องพึ่งทนายหิวแสง หรือ โซเชียลมีเดียมากกว่าพึ่งตำรวจ สถาบันตำรวจไม่เคยปฏิรูปได้เสียที ไม่ว่ารัฐบาลไหน จึงสร้างความฉาวโฉ่รายวัน ต่างคนต่างหากินกันอย่างไม่สำนึกว่าตนเป็นผู้รักษากฎหมาย
การปฏิรูปตำรวจ ต้องไม่ใช่การแก้กฎหมายแบบหยุมหยิม จะแก้จริงต้องทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ทั้งหมดแบบยกเครื่อง
แต่ปัญหาคือใครจะกล้าหาญพอ กระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถามมากมาย ทั้งที่เคยเป็นสถาบันที่เป็นความหวังว่าเงินซื้อไม่ได้ แต่วันนี้ไม่มีใครแน่ใจ
สถาบันนี้ถูกมองด้วยความเคลือบแคลง ประกอบกับกฎหมายที่ล้าสมัย ล่าช้า การลงโทษที่ไม่เด็ดขาด จึงทำให้คนพร้อมจะเสี่ยงดวงทำผิด เพราะเชื่อว่าถึงติดคุกไม่นาน ก็ออกมาได้ ถึงอยู่ในคุกก็ใช้เงินซื้อทุกอย่างได้
กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมที่อ่อนแอ รวมทั้งการที่เงินซื้อได้ทุกอย่าง จึงทำให้ประเทศไทยเป็น “สวรรค์” ของอาชญากรจากทั่วโลก ภาคประชาสังคมที่อ่อนล้าและอ่อนแรง ประชาชนอยู่ในสภาพเบื่อหน่าย ไม่เอาใจใส่ เพราะไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
ด้วยเหตุผลทั้งสามข้อข้างต้น ทุกวันนี้ประชาชนจึงชินกับการทุจริต ยินดีจะเป็นส่วนหนึ่งในการทุจริตด้วยซ้ำ ด้วยความคิดว่า “ใครๆ เขาก็ทำกัน” ทุนจีนเทาจึงระบาดไปจนถึงระดับหมู่บ้าน ในสังคมยังปราศจากการปกป้องคุ้มครองคนที่ให้เบาะแส (whistle blower) จึงยิ่งสร้างสังคมที่เนือยนิ่ง และสิ้นหวังต่อการทุจริตยิ่งขึ้นไปอีก
ในสังคมที่บิดเบี้ยวไปทุกวงการ และเงินซื้อได้ทุกอย่าง จึงป่วยการที่นายกรัฐมนตรีจะฝันเป็นฮับอะไรต่ออะไร นักลงทุนต้องคิดแล้วคิดอีกว่า จะต้องฝ่าด่านการทุจริตกี่ด่าน ถึงจะทำธุรกิจได้
ทำแบบขาวสะอาด ก็ไม่สามารถสู้คนที่เส้นใหญ่กว่า และมีผู้มีอำนาจคุ้มครอง เขาก็ต้องพลอยตามน้ำไป จนกว่าความจะแตก ไม่แตกในเมืองไทย แต่แตกในต่างประเทศที่เขาจับหลักฐานได้เอง สร้างความอับอายไปทั่วโลกอีก
"เมืองไทย" จึงกลายเป็นแหล่งซ่องสุมติดอันดับโลก ทั้งยาเสพติด ของปลอมของเถื่อน แรงงานผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ค้าประเวณี การหลอกลวงต้มตุ๋ม การลอบขนและทิ้งกากสารพิษ การเป็นที่กบดานของอาชญากร
ใครจะมาลงทุนหรือคบค้ากับเรา ก็คงต้องคิดหนัก เพราะอันดับภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นไทย อยู่ท้ายๆ ที่อันดับ 108 จาก 180 ประเทศ เมื่อปี 2566 ได้แค่ 35 คะแนน จาก 100 คะแนน
ไหนๆ นายกรัฐมนตรีก็ไม่อาจจะทำให้ฮับอะไรต่ออะไรที่ฝันและป่าวประกาศไว้ ประสบความสำเร็จได้สักเรื่องแล้ว
น่าจะดีกว่าไหม? หากจะทำให้ประเทศห่างไกลจากการเป็น "ฮับสีเทา" อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ด้วยการเอาจริงเอาจัง กล้าหาญกวาดล้างความเน่าเฟะจากขบวนการคอร์รัปชั่น ละเมิดกฎหมาย และการประพฤติมิชอบทุกรูปแบบที่เป็นอยู่ขณะนี้ แทนที่จะเสียเวลาไปกับการวาดฝันไปวันๆ
https://www.naewna.com/likesara/835709