‘ประชาธิปไตย’ ที่สวมได้ ลวดลายแห่งการต่อต้าน เสื้อยืดเพื่อการตื่นรู้
25 ตุลาคม 2567
มติชนออนไลน์
ผู้เขียน ชญานินทร์ ภูษาทอง
‘ประชาธิปไตย’ ที่สวมได้
ลวดลายแห่งการต่อต้าน
เสื้อยืดเพื่อการตื่นรู้
เป็น ‘แฟชั่น’ ที่กลายเป็นแพชชั่น
ปัจจุบันแรงผลักดันในตัวมนุษย์ ถูกหยิบออกมาใช้ในการออกแบบลวดลายบนเสื้อยืด ผ้าพันคอ ผ้าโพกผม เป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ตลอดช่วงเวลาประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการสื่อสารประเด็นหนักๆ การเคลื่อนไหวทางสังคม ที่สะท้อนมุมมองและจุดยืดทางการเมือง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
เสื้อ 1 ตัว ร้อยความหมาย เหนือแฟชั่นคือคำอธิบายที่ทรงพลัง ไม่นานมานี้ The Fort ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์สามัญชน จัดแสดงนิทรรศการ ‘Resistance with Style: ลวดลายแห่งการต่อต้าน’ ที่ The Fort สุขุมวิท 51 ระหว่างวันที่ 19-23 ตุลาคมที่ผ่านมา พร้อมเปิดวงสนทนาในหัวข้อ “ออกแบบ แบบใดห์ ให้แคมเปญปัง และมีพลัง”
ภายในนิทรรศการ จัดแสดงเสื้อยืดซึ่งออกแบบเพื่อใช้ในการประท้วงและรณรงค์ทางการเมือง ในประเทศไทย ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เชื้อชวนให้ร่วมสำรวจถึงพลังที่มักจะถูกมองข้ามของการใช้แฟชั่นและการออกแบบ เพื่อแสดงออกถึง ‘การต่อต้าน’
⦁ใช้ดีไซน์ สื่อสารการเมือง
ครีเอตเสื้อเพื่อ ‘ประชาธิปไตย’
พัชชา ชัยมงคลทรัพย์ เจ้าหน้าที่รณรงค์อาวุโส iLaw เผยการทำงานร่วมกับไอลอว์มากว่า 5 ปี
ก่อนหน้านี้ได้ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบ ดีไซน์ เมอร์เชนไดซ์ (merchandise) ส่วนมากเน้นการขายพอได้มาทำงานกับไอลอว์ก็พบว่ามีแคมเปญค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญ ทั้งการรณรงค์ประชาธิปไตย จึงคิดค้นสินค้าที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมาใช้ในการรณรงค์ด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่ยากขึ้น เราจะบอกสินค้านี้อย่างไร มีเมสเสจอย่างไรบ้างเพื่อให้คนรับเมสเสจนั้นเห็นด้วยกับสิ่งที่กำลังจะสื่อ
“เราเข้ามาทำงานกับไอลอว์ แบบกระโดดข้ามสายงาน เราทำงานกับดีไซเนอร์มาเยอะมาก ไอลอว์ไม่ใช่เพจที่เล่าเรื่องง่ายๆ เราพยายามเอาองค์ความรู้ที่มีนำมาปรับใช้ ไม่ใช่การออกแบบอย่างเดียว แต่มันต้องเป็นการสื่อสารด้วย บางครั้งแม้แต่ตัวเราเองก็ไม่เข้าใจ แต่โชคดีที่เป็นคนเข้าใจง่าย คือถ้าเราไม่เข้าใจแล้วใครจะเข้าใจ เลยต้องทำสิ่งนั้นให้น่าสนใจ”
พัชชาอธิบายความยาก อยู่ตรงข้อจำกัดที่ว่า 1 แคมเปญทำได้แค่ 1 ลายเท่านั้น เพื่อสร้างภาพจำ คนใส่ก็จะนำพาเมสเสจออกสู่สายตาประชาชน มันไม่ใช่แค่สวยอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของสารที่ต้องการจะสื่อออกไป แบบใหม่ ที่ต้องมีคนรับรู้ได้
“อย่างเสื้อ ‘อาสาจับตาเลือกตั้ง’ เราก็ใช้ลายมือเขียน คนที่ใส่ก็ต้องใส่ไปสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ซึ่งต้องเฟรนด์ลี่พอที่เจ้าหน้าที่จะไม่เห็นว่าเราเป็นศัตรู แต่เราเป็นมิตร เป็นอาสา มาช่วยจริงๆ และเสื้อ ‘เขียนใหม่ทั้งฉบับ’ เราใช้คำว่า ‘เขียน’ เป็นคำกิริยานำหน้า เพื่อทำให้คนรู้สึกว่าเราจะทำอะไรสักหนึ่งอย่าง เป็นต้น”
พัชชาแอบเล่าว่า เสื้อที่ขายดีคือเสื้อที่เป็นเอกลักษณ์ ลายที่ชอบที่สุดและสามารถทำแคมเปญไปไกลขึ้น นั่นคือ ‘อาสาจับตาเลือกตั้ง’ และ ‘เสื้อลูกตาวิเศษ’ เหมือนตาวิเศษช่วยกันดู ชอบสีที่ใช้ ทำให้รู้สึกว่าเรามาทำแคมเปญประชาชนตื่นรู้
⦁ขายเสื้อ? หากินกับม็อบ
‘คุณป้าไฟฉาย’คาแร็กเตอร์ สู้ในวันฟ้าหม่น
พัชชายังเปิดใจถึงเบื้องลึก มีเสียงจำนวนมากมักบอกว่าเรา ‘หากินกับม็อบ’ แต่เราพยายามเลี่ยงคำพูดพวกนี้ รู้สึกว่าทำไมในเมื่อประเด็นอื่นๆ ทำมาเป็นแพชชั่นได้ แล้วทำไมประเด็นการเมืองที่เป็นความสนใจส่วนตัว จะนำมาเป็นแพชชั่นหรือเชิงพาณิชย์ เพื่อให้คนเลือกซื้อหรือเลือกเสพ ให้เหมือนกระแสหลัก เพื่อหากำไรบ้าง ไม่ได้?
เจ้าหน้าที่รณรงค์อาวุโส iLaw ยังบอกด้วยว่า นิทรรศการที่จัดขึ้นในวันนี้ ถ้าหากสังเกต จะเห็นว่าไม่มีเสื้อตัวไหนเหมือนกันเลย
“มันเปลี่ยนไปตามอารมณ์และช่วงเวลาในตอนนั้น มีทั้งเสียดสี ตลก และสื่อสารแบบตรงไปตรงมา เสื้อมันทำงาน เพราะเราอยากจะตะโกนบางอย่างออกมา
“หากต้องทำเสื้อประชาธิปไตยจะทำอย่างไรนั้น สัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นประชาธิปไตยมันเปลี่ยนตลอดเวลา มันจะมีเทรนด์ใหม่เข้ามาตลอด หากต้องการจะสื่อ จะใช้รูป ‘ไฟฉาย’ เราจะใช้ตัวละครที่เป็นคุณป้าไฟฉาย เพราะมันคือการต่อสู้ในวันที่มืดมิด” พัชชาเผยอย่างปลื้มปริ่ม
⦁Shirtpaganda จับทันทุกกระแส
แบรนด์เพื่อการโฆษณา เสียงปชช.
ด้าน ‘หมวย’ เจ้าของแบรนด์ Shirtpaganda เผยว่า เป็นคนสนใจการเมืองมาตั้งแต่เด็กๆ แต่พ่อ-แม่อยู่ฝั่งพันธมิตร
ด้วยความที่เกิดในยุค Propaganda อยู่แล้ว พอเข้าศึกษาที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นช่วง กปปส.พอดี ก็มีอาจารย์ที่จุฬาฯชวนไปเป็นทีมงานเบื้องหลัง กปปส. เราก็ได้ไปคลุกคลีในช่วงนั้น
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ สาเหตุที่ ‘หมวย’ เปลี่ยนความคิดและตาสว่างมากขึ้นคือ พรรคอนาคตใหม่ ก็ลองรับฟังบ้างอะไรบ้าง และเมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ จนเกิดม็อบปี 2563 ขึ้นมา เป็นม็อบที่ขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ เยาวชน นิสิตนักศึกษา ออกมาเรียกร้องจำนวนมาก จุฬาฯก็จัดงาน #เสาหลักจะไม่หักอีกต่อไป ก็ไปเข้าร่วม
“เราเห็นนักศึกษาชูไอเดียขึ้นมาเป็นกระดาษ เราก็คิดว่าน่าสนใจดี แต่เราอยากทำเป็นเสื้อ ก็เลยเกิด Shirtpaganda ขึ้นมา ซึ่งชื่อมาจากเสื้อที่ใช้ในการโฆษณาเพื่อส่งเสียงนี้ออกไป จุดเด่นของเราจะไม่ชัดเจนมาก สามารถใส่ได้ทั่วไป แต่ถ้ามองลึกๆ จะมีความหมาย” เจ้าของแบรนด์ Shirtpaganda เล่าถึงที่มา
ออกแบบไปกว่า 600 ลาย นับตั้งแต่ปี 2563- ปัจจุบัน ไอเดียใหม่มักก่อเกิดในช่วงการเมืองไทยกำลังร้อนระอุ
“อะไรเด่นๆ ช่วงนั้นเราก็จับมาใส่ลายไว้ก่อน จุดประสงค์เราคือ ‘ตัวเอง’ ถ้าเราอยากใส่เราก็จะทำ ตัวขายดีคือ ลาย ‘อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เออเร่อ’ คนชอบมาก สามารถเป็นแฟชั่นได้ ซึ่งใน 600 กว่าลาย ได้ทำทุกตัว แต่ก็มีบางตัวที่ไม่ได้ผลิตออกมา แรงบันดาลใจก็คือช่วงกระแสที่ฮิต ณ ช่วงเวลานั้น และความชอบส่วนตัว
ที่โดนถล่มหลักๆ คือ เสื้อ ‘พท.เพื่อการโฆษณา’ ซึ่งมีคอมเมนต์เยอะมาก มันก็ค่อนข้างลำบากใจ”
นอกจากนี้ อีกลายที่ขายดีคือ ‘ปรีดี พนมยงค์แบ๊กกราวน์เป็นมังกรฟ้า 2475’ ส่วนลายที่ประทับใจแต่ขายไม่ดี คือลาย ‘IF NOT NOW THEN WHEN’ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดูรูปสหายกาสะลอง
“คือเขาใส่เสื้อ IF NOT NOW THEN WHEN เราก็เลยชอบคำนี้ เป็นคำอมตะ นำมาทำเสื้อที่เป็นสไตล์เรา ทำให้ดูฮึกเหิม สามารถใส่เป็นแฟชั่นได้ ไปม็อบก็ใส่ได้ และชาวต่างชาติก็ชอบมากด้วย”
⦁เปลี่ยนขั้ว กระแสตีกลับ
รอทำ ‘ลายสายรุ้ง’ ฉลองฟ้าหลังฝน
เมื่อ ‘ประเด็น’ เป็นตัวกระตุ้นให้ได้ลายใหม่ๆ เมื่อการเมืองซบเซา แบรนด์ก็กระทบด้วย
‘หมวย’ เล่าต่อว่า แม้จะไปต่อได้เพราะมีกลุ่มคนที่ติดตามเฉพาะ แต่ก็ดร็อปลงจากยุคม็อบมากๆ เช่นกัน
“เมื่อทำเพจแล้วคนด่า เราก็ช่างมัน จะมีฝั่งที่เคยเชียร์กับเราอยู่ด้วยกัน แต่พอรัฐบาลเปลี่ยนขั้ว เขาก็มาด่าเรา แต่เราก็ด่ากลับ เพราะเรารู้สึกว่าเรามีเสรีภาพทางความคิดของตัวเอง”
แน่นอนว่าเคยถูกมองว่า หากินกับม็อบ เช่นกัน เมื่อทันทีที่ตั้งโต๊ะ คนที่เป็นแกนนำคนทำงานกับม็อบมักถูกหาว่าได้รับเงินบริจาค
“เราเพียงอยากผลักดันให้ข้อเรียกร้องของทุกคนมันสำเร็จ ไม่ได้สนใจเสียงคนอื่น ที่บอกว่า ‘ทำเพราะอยากได้แสง’ พอมีแสงคนก็มาซื้อเรา แต่เราก็นำยอดขายมาช่วยกิจกรรมทางการเคลื่อนไหวด้วย” หมวยขอเคลียร์ประเด็น
หมวยเล่าทิ้งท้ายว่า เสื้อมันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ว่าปีไหนเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำให้คนรุ่นหลังที่เกิดไม่ทันเหตุการณ์ได้รู้ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น พอเราเห็นเสื้อในนิทรรศการ ตั้งแต่พันธมิตร กปปส. เสื้อเหลือง เสื้อแดง คณะราษฎร มีให้ได้ชอบเยอะมาก
หากต้องทำเสื้อประชาธิปไตย คงอยากทำเป็นลาย ‘สายรุ้ง’
“เพราะมันเหมือนฟ้าหลังฝน เปรียบดังการต่อสู้อันยาวนาน แม้ไม่รู้จะได้ชัยชนะเมื่อไหร่ แต่เมื่อไหร่เราชนะ จะไม่กลับมาแพ้อีกเลย และสายรุ้งมี 7 สี ต่างได้ แต่ต้องอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว”
⦁ความกลัวคุกรุ่น
จากครูอาสา สู่นักกิจกรรมในพื้นที่
ปิดจบด้วยเสียงของ ฮาบีบ กูนา ฝ่ายสื่อสาร เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (INSouth) กล่าวว่า เราเป็นนักศึกษานักกิจกรรม หลังจบการศึกษาก็คุยกัน จนเกิดการตั้ง INSouth ในปี 2554 ทำงานด้านครูอาสาในพื้นที่
“พอเราเป็นครูอาสา เราเห็นความอัดอั้นคนในพื้นจำนวนมาก เราจึงทำ INSouth Media ออกมา มีทั้งงานภาพ งานวิดีโอ พอทำไปสักระยะ 4-5 ปี เราเห็นปัญหาในพื้นที่ค่อยชัดเจนขึ้น แต่พื้นที่ในการสื่อสารไม่มี เราจึงต้องทำให้สังคมได้รับรู้บ้าง
เราทำเชิงสารคดี คนส่วนใหญ่ใน INSouth ก็ไม่ได้จบสายสื่อ ก็พัฒนากันไปพร้อมกันๆ เป็นเรื่องค่อนข้างยาก งานเทคนิคเราไม่รู้จักโปรแกรมเลย เราต้องเรียนรู้ บวกความชอบ ต้องทำให้มันเป็นความสุข เริ่มแรกเราทำงานวิดีโอสารคดี งานดนตรี INSouth เราวางคอนเซ็ปต์ว่า เราคิดงานแบบเด็ก แต่เวลาทำต้องมีความคิดแบบผู้ใหญ่”
ฮาบีบเล่าด้วยว่า ตอนที่เป็นครูอาสา ทำให้ได้เห็นปัญหา เห็นความหวาดกลัวในชุมชน จึงเริ่มแคมเปญออกมา เช่น แคมเปญยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตอนลงทำกิจกรรมในพื้นที่ มักจะถูกมองว่าเป็นตัวป่วนและเป็นภัย
“เราถูกมองแบบนี้ เรายิ่งต้องสื่อสารออกมา เวลาเราอ่านคอมเมนต์เราก็รู้สึกว่า สงสัยเราสื่อสารไม่ถูกต้อง ก็เป็นงานหนักที่จะต้องรู้ถึงปัญหา และนำปัญหาของคนในพื้นที่มาสื่อสารเพื่อให้คนส่วนใหญ่ได้รับรู้และเข้าใจ” ฮาบีบเผย
⦁‘เสื้อตากใบ’ สร้างอิมแพกต์
ไม่อยากขุดแผล แค่อยากเห็นความแฟร์
ฮาบีบยังเล่าถึงแคมเปญเสื้อรำลึกถึงเหตการณ์ตากใบ ซึ่งโดยปกติแล้ว INSouth จะทำเสื้อตากใบทุกปี ให้เข้าใจง่าย
“เสื้อตากใบมีเอฟเฟ็กต์เยอะ โดยเฉพาะของปีนี้ ถามว่าตากใบต้องการอะไร เราไม่ได้อยากยกแผลเก่าเพื่อให้คนบอบช้ำ แต่เราอยากเห็นความเป็นธรรมในสังคม ถ้าวันนี้คดีตากใบ รัฐยังไม่แสดงความยุติธรรมให้คนในพื้นที่ คนรุ่นลูกก็จะมีปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม”
ฝ่ายสื่อสารแห่ง INSouth ยังยกตัวอย่างเสื้อตากใบ ปีที่ 16 ซึ่งคนที่เสียชีวิตในกรณีตากใบมี 2 กรณี คือ 1.ในที่เกิดเหตุ และ 2.การขนย้ายผู้ต้องหาไปค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
“145 กม. ใช้เวลาในการเดินทางนานมาก คนก็สงสัยว่าทำไมมีการเสียชีวิต และกระบวนการตรวจสอบคนทำ ไม่ค่อยเห็นภาพ ก็ทำเสื้อการถูกจับนำมือไพล่หลัง ออกมา
และเสื้อแคมเปญยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถามว่าตัวเองกลัวไหม กลัว ถ้าทำอะไรในพื้นที่จะมีคำต่อท้ายว่า โจร เสมอ เราก็เป็นคนเหมือนกัน เราก็ไม่อยากเห็นความสูญเสีย อยากให้คนนอกเข้าใจตรงนี้ ก็ยังมีสื่อหลักที่ใช้คำว่าโจรใต้อยู่ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่กระทบจิตใจผมเหมือนกัน
“เสื้อประชาธิปไตยในความคิด หากต้องออกแบบ อยากให้รู้สึกว่ามันเป็นของทุกคน” ฮาบีบทิ้งท้าย
แม้นิทรรศการจะสิ้นสุดลงไปแล้ว แต่แพชชั่นและไอเดียไม่มีวันจางหาย กลับถูกบันทึกไว้บนลายเสื้อนับร้อยตัว เพื่อสะท้อนพลวัตของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านม
(https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_4863961)
25 ตุลาคม 2567
มติชนออนไลน์
ผู้เขียน ชญานินทร์ ภูษาทอง
‘ประชาธิปไตย’ ที่สวมได้
ลวดลายแห่งการต่อต้าน
เสื้อยืดเพื่อการตื่นรู้
เป็น ‘แฟชั่น’ ที่กลายเป็นแพชชั่น
ปัจจุบันแรงผลักดันในตัวมนุษย์ ถูกหยิบออกมาใช้ในการออกแบบลวดลายบนเสื้อยืด ผ้าพันคอ ผ้าโพกผม เป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ตลอดช่วงเวลาประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการสื่อสารประเด็นหนักๆ การเคลื่อนไหวทางสังคม ที่สะท้อนมุมมองและจุดยืดทางการเมือง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
เสื้อ 1 ตัว ร้อยความหมาย เหนือแฟชั่นคือคำอธิบายที่ทรงพลัง ไม่นานมานี้ The Fort ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์สามัญชน จัดแสดงนิทรรศการ ‘Resistance with Style: ลวดลายแห่งการต่อต้าน’ ที่ The Fort สุขุมวิท 51 ระหว่างวันที่ 19-23 ตุลาคมที่ผ่านมา พร้อมเปิดวงสนทนาในหัวข้อ “ออกแบบ แบบใดห์ ให้แคมเปญปัง และมีพลัง”
ภายในนิทรรศการ จัดแสดงเสื้อยืดซึ่งออกแบบเพื่อใช้ในการประท้วงและรณรงค์ทางการเมือง ในประเทศไทย ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เชื้อชวนให้ร่วมสำรวจถึงพลังที่มักจะถูกมองข้ามของการใช้แฟชั่นและการออกแบบ เพื่อแสดงออกถึง ‘การต่อต้าน’
⦁ใช้ดีไซน์ สื่อสารการเมือง
ครีเอตเสื้อเพื่อ ‘ประชาธิปไตย’
พัชชา ชัยมงคลทรัพย์ เจ้าหน้าที่รณรงค์อาวุโส iLaw เผยการทำงานร่วมกับไอลอว์มากว่า 5 ปี
ก่อนหน้านี้ได้ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบ ดีไซน์ เมอร์เชนไดซ์ (merchandise) ส่วนมากเน้นการขายพอได้มาทำงานกับไอลอว์ก็พบว่ามีแคมเปญค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญ ทั้งการรณรงค์ประชาธิปไตย จึงคิดค้นสินค้าที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมาใช้ในการรณรงค์ด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่ยากขึ้น เราจะบอกสินค้านี้อย่างไร มีเมสเสจอย่างไรบ้างเพื่อให้คนรับเมสเสจนั้นเห็นด้วยกับสิ่งที่กำลังจะสื่อ
“เราเข้ามาทำงานกับไอลอว์ แบบกระโดดข้ามสายงาน เราทำงานกับดีไซเนอร์มาเยอะมาก ไอลอว์ไม่ใช่เพจที่เล่าเรื่องง่ายๆ เราพยายามเอาองค์ความรู้ที่มีนำมาปรับใช้ ไม่ใช่การออกแบบอย่างเดียว แต่มันต้องเป็นการสื่อสารด้วย บางครั้งแม้แต่ตัวเราเองก็ไม่เข้าใจ แต่โชคดีที่เป็นคนเข้าใจง่าย คือถ้าเราไม่เข้าใจแล้วใครจะเข้าใจ เลยต้องทำสิ่งนั้นให้น่าสนใจ”
พัชชาอธิบายความยาก อยู่ตรงข้อจำกัดที่ว่า 1 แคมเปญทำได้แค่ 1 ลายเท่านั้น เพื่อสร้างภาพจำ คนใส่ก็จะนำพาเมสเสจออกสู่สายตาประชาชน มันไม่ใช่แค่สวยอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของสารที่ต้องการจะสื่อออกไป แบบใหม่ ที่ต้องมีคนรับรู้ได้
“อย่างเสื้อ ‘อาสาจับตาเลือกตั้ง’ เราก็ใช้ลายมือเขียน คนที่ใส่ก็ต้องใส่ไปสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ซึ่งต้องเฟรนด์ลี่พอที่เจ้าหน้าที่จะไม่เห็นว่าเราเป็นศัตรู แต่เราเป็นมิตร เป็นอาสา มาช่วยจริงๆ และเสื้อ ‘เขียนใหม่ทั้งฉบับ’ เราใช้คำว่า ‘เขียน’ เป็นคำกิริยานำหน้า เพื่อทำให้คนรู้สึกว่าเราจะทำอะไรสักหนึ่งอย่าง เป็นต้น”
พัชชาแอบเล่าว่า เสื้อที่ขายดีคือเสื้อที่เป็นเอกลักษณ์ ลายที่ชอบที่สุดและสามารถทำแคมเปญไปไกลขึ้น นั่นคือ ‘อาสาจับตาเลือกตั้ง’ และ ‘เสื้อลูกตาวิเศษ’ เหมือนตาวิเศษช่วยกันดู ชอบสีที่ใช้ ทำให้รู้สึกว่าเรามาทำแคมเปญประชาชนตื่นรู้
⦁ขายเสื้อ? หากินกับม็อบ
‘คุณป้าไฟฉาย’คาแร็กเตอร์ สู้ในวันฟ้าหม่น
พัชชายังเปิดใจถึงเบื้องลึก มีเสียงจำนวนมากมักบอกว่าเรา ‘หากินกับม็อบ’ แต่เราพยายามเลี่ยงคำพูดพวกนี้ รู้สึกว่าทำไมในเมื่อประเด็นอื่นๆ ทำมาเป็นแพชชั่นได้ แล้วทำไมประเด็นการเมืองที่เป็นความสนใจส่วนตัว จะนำมาเป็นแพชชั่นหรือเชิงพาณิชย์ เพื่อให้คนเลือกซื้อหรือเลือกเสพ ให้เหมือนกระแสหลัก เพื่อหากำไรบ้าง ไม่ได้?
เจ้าหน้าที่รณรงค์อาวุโส iLaw ยังบอกด้วยว่า นิทรรศการที่จัดขึ้นในวันนี้ ถ้าหากสังเกต จะเห็นว่าไม่มีเสื้อตัวไหนเหมือนกันเลย
“มันเปลี่ยนไปตามอารมณ์และช่วงเวลาในตอนนั้น มีทั้งเสียดสี ตลก และสื่อสารแบบตรงไปตรงมา เสื้อมันทำงาน เพราะเราอยากจะตะโกนบางอย่างออกมา
“หากต้องทำเสื้อประชาธิปไตยจะทำอย่างไรนั้น สัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นประชาธิปไตยมันเปลี่ยนตลอดเวลา มันจะมีเทรนด์ใหม่เข้ามาตลอด หากต้องการจะสื่อ จะใช้รูป ‘ไฟฉาย’ เราจะใช้ตัวละครที่เป็นคุณป้าไฟฉาย เพราะมันคือการต่อสู้ในวันที่มืดมิด” พัชชาเผยอย่างปลื้มปริ่ม
⦁Shirtpaganda จับทันทุกกระแส
แบรนด์เพื่อการโฆษณา เสียงปชช.
ด้าน ‘หมวย’ เจ้าของแบรนด์ Shirtpaganda เผยว่า เป็นคนสนใจการเมืองมาตั้งแต่เด็กๆ แต่พ่อ-แม่อยู่ฝั่งพันธมิตร
ด้วยความที่เกิดในยุค Propaganda อยู่แล้ว พอเข้าศึกษาที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นช่วง กปปส.พอดี ก็มีอาจารย์ที่จุฬาฯชวนไปเป็นทีมงานเบื้องหลัง กปปส. เราก็ได้ไปคลุกคลีในช่วงนั้น
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ สาเหตุที่ ‘หมวย’ เปลี่ยนความคิดและตาสว่างมากขึ้นคือ พรรคอนาคตใหม่ ก็ลองรับฟังบ้างอะไรบ้าง และเมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ จนเกิดม็อบปี 2563 ขึ้นมา เป็นม็อบที่ขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ เยาวชน นิสิตนักศึกษา ออกมาเรียกร้องจำนวนมาก จุฬาฯก็จัดงาน #เสาหลักจะไม่หักอีกต่อไป ก็ไปเข้าร่วม
“เราเห็นนักศึกษาชูไอเดียขึ้นมาเป็นกระดาษ เราก็คิดว่าน่าสนใจดี แต่เราอยากทำเป็นเสื้อ ก็เลยเกิด Shirtpaganda ขึ้นมา ซึ่งชื่อมาจากเสื้อที่ใช้ในการโฆษณาเพื่อส่งเสียงนี้ออกไป จุดเด่นของเราจะไม่ชัดเจนมาก สามารถใส่ได้ทั่วไป แต่ถ้ามองลึกๆ จะมีความหมาย” เจ้าของแบรนด์ Shirtpaganda เล่าถึงที่มา
ออกแบบไปกว่า 600 ลาย นับตั้งแต่ปี 2563- ปัจจุบัน ไอเดียใหม่มักก่อเกิดในช่วงการเมืองไทยกำลังร้อนระอุ
“อะไรเด่นๆ ช่วงนั้นเราก็จับมาใส่ลายไว้ก่อน จุดประสงค์เราคือ ‘ตัวเอง’ ถ้าเราอยากใส่เราก็จะทำ ตัวขายดีคือ ลาย ‘อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เออเร่อ’ คนชอบมาก สามารถเป็นแฟชั่นได้ ซึ่งใน 600 กว่าลาย ได้ทำทุกตัว แต่ก็มีบางตัวที่ไม่ได้ผลิตออกมา แรงบันดาลใจก็คือช่วงกระแสที่ฮิต ณ ช่วงเวลานั้น และความชอบส่วนตัว
ที่โดนถล่มหลักๆ คือ เสื้อ ‘พท.เพื่อการโฆษณา’ ซึ่งมีคอมเมนต์เยอะมาก มันก็ค่อนข้างลำบากใจ”
นอกจากนี้ อีกลายที่ขายดีคือ ‘ปรีดี พนมยงค์แบ๊กกราวน์เป็นมังกรฟ้า 2475’ ส่วนลายที่ประทับใจแต่ขายไม่ดี คือลาย ‘IF NOT NOW THEN WHEN’ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดูรูปสหายกาสะลอง
“คือเขาใส่เสื้อ IF NOT NOW THEN WHEN เราก็เลยชอบคำนี้ เป็นคำอมตะ นำมาทำเสื้อที่เป็นสไตล์เรา ทำให้ดูฮึกเหิม สามารถใส่เป็นแฟชั่นได้ ไปม็อบก็ใส่ได้ และชาวต่างชาติก็ชอบมากด้วย”
⦁เปลี่ยนขั้ว กระแสตีกลับ
รอทำ ‘ลายสายรุ้ง’ ฉลองฟ้าหลังฝน
เมื่อ ‘ประเด็น’ เป็นตัวกระตุ้นให้ได้ลายใหม่ๆ เมื่อการเมืองซบเซา แบรนด์ก็กระทบด้วย
‘หมวย’ เล่าต่อว่า แม้จะไปต่อได้เพราะมีกลุ่มคนที่ติดตามเฉพาะ แต่ก็ดร็อปลงจากยุคม็อบมากๆ เช่นกัน
“เมื่อทำเพจแล้วคนด่า เราก็ช่างมัน จะมีฝั่งที่เคยเชียร์กับเราอยู่ด้วยกัน แต่พอรัฐบาลเปลี่ยนขั้ว เขาก็มาด่าเรา แต่เราก็ด่ากลับ เพราะเรารู้สึกว่าเรามีเสรีภาพทางความคิดของตัวเอง”
แน่นอนว่าเคยถูกมองว่า หากินกับม็อบ เช่นกัน เมื่อทันทีที่ตั้งโต๊ะ คนที่เป็นแกนนำคนทำงานกับม็อบมักถูกหาว่าได้รับเงินบริจาค
“เราเพียงอยากผลักดันให้ข้อเรียกร้องของทุกคนมันสำเร็จ ไม่ได้สนใจเสียงคนอื่น ที่บอกว่า ‘ทำเพราะอยากได้แสง’ พอมีแสงคนก็มาซื้อเรา แต่เราก็นำยอดขายมาช่วยกิจกรรมทางการเคลื่อนไหวด้วย” หมวยขอเคลียร์ประเด็น
หมวยเล่าทิ้งท้ายว่า เสื้อมันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ว่าปีไหนเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำให้คนรุ่นหลังที่เกิดไม่ทันเหตุการณ์ได้รู้ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น พอเราเห็นเสื้อในนิทรรศการ ตั้งแต่พันธมิตร กปปส. เสื้อเหลือง เสื้อแดง คณะราษฎร มีให้ได้ชอบเยอะมาก
หากต้องทำเสื้อประชาธิปไตย คงอยากทำเป็นลาย ‘สายรุ้ง’
“เพราะมันเหมือนฟ้าหลังฝน เปรียบดังการต่อสู้อันยาวนาน แม้ไม่รู้จะได้ชัยชนะเมื่อไหร่ แต่เมื่อไหร่เราชนะ จะไม่กลับมาแพ้อีกเลย และสายรุ้งมี 7 สี ต่างได้ แต่ต้องอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว”
⦁ความกลัวคุกรุ่น
จากครูอาสา สู่นักกิจกรรมในพื้นที่
ปิดจบด้วยเสียงของ ฮาบีบ กูนา ฝ่ายสื่อสาร เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (INSouth) กล่าวว่า เราเป็นนักศึกษานักกิจกรรม หลังจบการศึกษาก็คุยกัน จนเกิดการตั้ง INSouth ในปี 2554 ทำงานด้านครูอาสาในพื้นที่
“พอเราเป็นครูอาสา เราเห็นความอัดอั้นคนในพื้นจำนวนมาก เราจึงทำ INSouth Media ออกมา มีทั้งงานภาพ งานวิดีโอ พอทำไปสักระยะ 4-5 ปี เราเห็นปัญหาในพื้นที่ค่อยชัดเจนขึ้น แต่พื้นที่ในการสื่อสารไม่มี เราจึงต้องทำให้สังคมได้รับรู้บ้าง
เราทำเชิงสารคดี คนส่วนใหญ่ใน INSouth ก็ไม่ได้จบสายสื่อ ก็พัฒนากันไปพร้อมกันๆ เป็นเรื่องค่อนข้างยาก งานเทคนิคเราไม่รู้จักโปรแกรมเลย เราต้องเรียนรู้ บวกความชอบ ต้องทำให้มันเป็นความสุข เริ่มแรกเราทำงานวิดีโอสารคดี งานดนตรี INSouth เราวางคอนเซ็ปต์ว่า เราคิดงานแบบเด็ก แต่เวลาทำต้องมีความคิดแบบผู้ใหญ่”
ฮาบีบเล่าด้วยว่า ตอนที่เป็นครูอาสา ทำให้ได้เห็นปัญหา เห็นความหวาดกลัวในชุมชน จึงเริ่มแคมเปญออกมา เช่น แคมเปญยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตอนลงทำกิจกรรมในพื้นที่ มักจะถูกมองว่าเป็นตัวป่วนและเป็นภัย
“เราถูกมองแบบนี้ เรายิ่งต้องสื่อสารออกมา เวลาเราอ่านคอมเมนต์เราก็รู้สึกว่า สงสัยเราสื่อสารไม่ถูกต้อง ก็เป็นงานหนักที่จะต้องรู้ถึงปัญหา และนำปัญหาของคนในพื้นที่มาสื่อสารเพื่อให้คนส่วนใหญ่ได้รับรู้และเข้าใจ” ฮาบีบเผย
⦁‘เสื้อตากใบ’ สร้างอิมแพกต์
ไม่อยากขุดแผล แค่อยากเห็นความแฟร์
ฮาบีบยังเล่าถึงแคมเปญเสื้อรำลึกถึงเหตการณ์ตากใบ ซึ่งโดยปกติแล้ว INSouth จะทำเสื้อตากใบทุกปี ให้เข้าใจง่าย
“เสื้อตากใบมีเอฟเฟ็กต์เยอะ โดยเฉพาะของปีนี้ ถามว่าตากใบต้องการอะไร เราไม่ได้อยากยกแผลเก่าเพื่อให้คนบอบช้ำ แต่เราอยากเห็นความเป็นธรรมในสังคม ถ้าวันนี้คดีตากใบ รัฐยังไม่แสดงความยุติธรรมให้คนในพื้นที่ คนรุ่นลูกก็จะมีปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม”
ฝ่ายสื่อสารแห่ง INSouth ยังยกตัวอย่างเสื้อตากใบ ปีที่ 16 ซึ่งคนที่เสียชีวิตในกรณีตากใบมี 2 กรณี คือ 1.ในที่เกิดเหตุ และ 2.การขนย้ายผู้ต้องหาไปค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
“145 กม. ใช้เวลาในการเดินทางนานมาก คนก็สงสัยว่าทำไมมีการเสียชีวิต และกระบวนการตรวจสอบคนทำ ไม่ค่อยเห็นภาพ ก็ทำเสื้อการถูกจับนำมือไพล่หลัง ออกมา
และเสื้อแคมเปญยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถามว่าตัวเองกลัวไหม กลัว ถ้าทำอะไรในพื้นที่จะมีคำต่อท้ายว่า โจร เสมอ เราก็เป็นคนเหมือนกัน เราก็ไม่อยากเห็นความสูญเสีย อยากให้คนนอกเข้าใจตรงนี้ ก็ยังมีสื่อหลักที่ใช้คำว่าโจรใต้อยู่ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่กระทบจิตใจผมเหมือนกัน
“เสื้อประชาธิปไตยในความคิด หากต้องออกแบบ อยากให้รู้สึกว่ามันเป็นของทุกคน” ฮาบีบทิ้งท้าย
แม้นิทรรศการจะสิ้นสุดลงไปแล้ว แต่แพชชั่นและไอเดียไม่มีวันจางหาย กลับถูกบันทึกไว้บนลายเสื้อนับร้อยตัว เพื่อสะท้อนพลวัตของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านม
(https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_4863961)