วันอังคาร, กันยายน 17, 2567

ท้าเลยครับ ให้ กอ.รมน.ส่งวิทยากรมาโต้ในงานเปิดตัวหนังสือ 😂 แม่-ไม่กล้ามาหรอก


MAIR Chula
September 3
·
ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนเชิญผู้ที่มีความสนใจทุกท่านเข้าร่วมโครงการเสวนาวิชาการ
เรื่อง “ความมั่นคงภายใน: อำนาจของทหาร ภารกิจของประชาชน” เนื่องในโอกาสตีพิมพ์หนังสือ “ในนามของความมั่นคงภายใน: การแทรกซึมของกองทัพในสังคมไทย”
เขียนโดย รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์
ลงทะเบียนได้ที่ : https://forms.gle/kdoDwZfRXbaDsd827
วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2567
เวลา 15.30 - 17.30 น.
ห้อง Smart Classroom ชั้น 7 อาคารเกษม อุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมสนทนาโดย
- ผศ.ดร.กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาฯ
- คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า
- รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รศ.ดร.วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร National Graduate Institute for Policy
Studies (GRIPS), Japan
แสดงความคิดเห็นโดย
- รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาฯ
.....

.....

Atukkit Sawangsuk
9 hours ago
·
ท้าเลยครับ
ให้ กอ.รมน.ส่งวิทยากรมาโต้ในงานเปิดตัวหนังสือ
แม่-ไม่กล้ามาหรอก
.....

Puangthong Pawakapan
11 hours ago
·
ดิฉันขอชี้แจงต่อข้อกล่าวหาที่ กอ.รมน. มีต่อหนังสือของดิฉันดังต่อไปนี้ค่ะ
หนังสือ “ในนามของความมั่นคงภายใน: การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย” นี้ ปรับปรุงมาจากหนังสือชื่อ Infiltrating Society: The Thai Military’s Internal Security Affairs (การแทรกซึมสังคม: กิจการความมั่นคงภายในของทหารไทย) ตีพิมพ์โดยสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา-ยูซฟ อิชัค (ISEAS-Yusof Ishak) แห่งประเทศสิงคโปร์ในปี 2564
Infiltrating Society เป็นงานวิจัยที่ดิฉันได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย (fellowship) จากสถาบันวิชาการ 3 แห่ง ได้แก่ ISEAS-Yusof Ishak, Singapore; Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University; และ Harvard-Yenching Institute, Harvard University. ดิฉันใช้เวลารวม 2 ปีในการนั่งเขียนวิจัยที่สถาบันทั้ง 3 นี้
Infiltrating Society รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2566
Infiltrating Society ยังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในหนังสือที่ดีที่สุดของปี 2022 จากวารสาร Foreign Affairs อันเป็นวารสารวิชาการที่ทรงอิทธิพลในด้านรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และยังได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกจากนักวิชาการและสื่อมวลชนต่างชาติที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการเมืองไทย ทหาร และความมั่นคงอีกหลายท่าน โดยท่านสามารถดูรีวิวที่สำนักพิมพ์ ISEAS รวมรวบไว้ได้ที่ https://bookshop.iseas.edu.sg/publication/2470 หรืออ่านคำแปลภาษาไทยบางส่วนในภาพด้านล่างนี้
Infiltrating society เป็นหนึ่งในผลงานวิชาการที่ดิฉันยื่นขอตำแหน่งศาสตราจารย์ โดยได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 ปัจจุบันกำลังรอการโปรดเกล้าฯ
ดิฉันเห็นว่าคนไทยควรได้มีโอกาสเข้าถึงงานวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งได้กลายมาเป็นหนังสือภาษาไทย “ในนามของความมั่นคงภายใน: การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย” โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากฝ่ายวิจัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ดิฉันขอเรียนว่าในทุกขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น งานวิจัยหรือหนังสือของดิฉันได้ผ่านการตรวจสอบและอ่านจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสถาบันการศึกษาทั่วโลก ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการเมืองไทย กองทัพ และความมั่นคงของไทยและของโลก
สำหรับระเบียบวิธีวิจัยและการใช้เอกสารอ้างอิง หากท่านมีโอกาสเปิดดูบรรณานุกรมท้ายเล่ม ก็จะพบว่าเอกสารส่วนใหญ่เป็นเอกสาร ทั้งในรูปแบบเอกสารตีพิมพ์และเผยแพร่บนเว็บไซต์ ของกองทัพ กอ.รมน. สภาความมั่นคงแห่งชาติ หน่วยราชการที่ทำงานร่วมกับกอ.รมน. และกฎหมายหลากหลายฉบับ ซึ่งดิฉันนับได้มากกว่า 100 ชิ้น ในจำนวนนี้ เฉพาะเอกสารของกองทัพและกอ.รมน.มีถึง 80 ชิ้น นอกจากนี้ยังมีข่าวเกี่ยวกับกิจกรรมของ กอ.รมน.และกองทัพบนเว็บไซต์ของสื่อมวลชนต่างๆ อีกอย่างน้อย 50 ชิ้น ในความเป็นจริง ข้อมูลและข่าวที่ดิฉันรวบรวมไว้มีมากกว่านี้เกือบเท่าตัว แต่เนื้อหามักจะซ้ำๆ กัน ดิฉันจึงไม่ได้นำมาอ้างอิง
ดิฉันมีความเข้าใจดีว่ากอ.รมน.ไม่เห็นด้วยกับการตีความที่ปรากฏในหนังสือของดิฉัน ซึ่งดิฉันยินดีรับฟังความเห็นต่างของท่าน โดยท่านอาจโต้แย้งในรูปข้อเขียน หรือจัดสัมมนาเพื่อให้ประชาชนรับทราบความคิดเห็นของท่าน และเผยแพร่บนกลไกสื่อจำนวนมากของ กอ.รมน. และกองทัพ หรือหากท่านจะส่งตัวแทนเพื่อร่วมเสวนาในงานเปิดตัวหนังสือของดิฉันในวันที่ 27 กันยายนที่จะถึงนี้ ดิฉันก็ยินดีต้อนรับวิทยากรของกอ.รมน.ด้วยความเต็มใจ
ดิฉันเชื่อว่าประชาชนก็น่าจะชื่นชมการโต้แย้งความคิดด้วยแนวทางประชาธิปไตยนี้ มากกว่าจะใช้วิธีการห้ามหรือแบนหนังสือหรือใช้กฎหมายปิดปาก เพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าถึงความเห็นที่แตกต่าง ด้วยแนวทางประชาธิปไตยเช่นนี้ต่างหากที่จะทำให้สังคมไทยมั่นคงเข้มแข็งมากขึ้น เพราะจะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ และมีขันติให้กับความแตกต่างหลากหลาย
ขอแสดงความนับถือ
พวงทอง ภวัครพันธุ์