ภาพจาก 101 World
.....
.....
Nattharavut Kunishe Muangsuk
a day ago
·
วันนี้คดีตากใบกลับมาอยู่ในความสนใจของสื่อ ต้องมานั่งสรุปให้ฟังว่า คดีตากใบ ตอนนี้แบ่งผู้ต้องหาเป็น 2 ชุด 2 คดี
.
ชุดแรก คือชาวบ้านฟ้องเองผ่านศาลนราธิวาส ศาลรับฟ้องเมื่อ 23 สิงหาคม 2567 จำนวน 7 คน (จาก 9 คนที่ชาวบ้านฟ้อง) เป็นระดับผู้สั่งการ (พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ขณะนั้น และเป็น สส.เพื่อไทยตอนนี้ อยู่ในชุดนี้)
.
ชุดที่ 2 คือ อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องล่าสุด (สั่งฟ้อง 12 กันยายน แต่เผยแพร่วันนี้) มีผู้ต้องหา 8 คน มีคนเดียวที่ซ้ำกับผู้ต้องหาชุดแรก คือ พล.อ.เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร อดีตผู้บัญชาการ พล.ร.5 เป็นระดับปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการขนย้ายผู้เสียชีวิตไปค่ายอิงคยุทธบริหาร
.
ซึ่งชุดที่ 2 นี้ คือชุดเดียวกับที่ พนักงานสอบสวน สภ.หนองจิก จ.ปัตตานี (พื้นที่ของค่ายอิงคยุทธบริหาร) มีความเห็นไม่ส่งฟ้อง ในสำนวนวิสามัญฆาตกรรม ส่วนสำนวนชันสูตรพลิกศพ โอนย้ายสำนวนไปไต่สวนต่อที่ศาลสงขลา ซึ่งต่อมาศาลสงขลามีคำสั่งไต่สวนการตาย ระบุเหตุและพฤติการณ์ที่ตายว่า เพราะ “ขาดอากาศหายใจ” นั่นแหละ แต่ต่อท้ายว่า “ในระหว่างอยู่ในการควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติราชการตามหน้าที่” ซึ่งหมายความว่าไม่มีใครต้องรับผิดชอบ
.
ต่อมาคำสั่งและถ้อยคำสำนวน ถูกอัยการส่งคืนไปให้พนักงานสอบสวน สภ.หนองจิก เพื่อส่งให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณา เพราะการตายเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐ
.
แต่ในขั้นตอนนี้ สำนวนถูกดองอยู่นานถึง 19 ปี อัยการสูงสุดเพิ่งได้รับสำนวนวิสามัญฆาตกรรมและสำนวนไต่สวนชันสูตรพลิกศพของ ศาลจังหวัดสงขลาจาก พล.ต.ท.อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อ 25 เมษษยน 2567 นี่เอง
.
แล้วอัยการสูงสุดมีคำสั่งสอบสวนเพิ่มเติมในหลายประเด็น และกำหนดให้ส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติม ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ต่อมา พนักงานสอบสวนได้ส่งผลสอบสวนทั้งหมดให้กับอัยการสูงสุด ในวันที่ 20 สิงหาคม 2567 ก่อนที่อัยการสูงสุดมีความเห็นแย้งพนักงานสอบสวนและสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 8 คน
.
(มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ชาวบ้านส่งหนังสือร้องขอความเป็นธรรมถึงอัยการสูงสุดให้เร่งรัดคดี เมื่อ 12 มิถุนายน 2567 แต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 สำนักงานคดีอัยการสูงสุดมีหนังสือตอบกลับประชาชน (หนังสือเลขที่ อส 0031.3/348 ) โดยมีคำสั่งยุติเรื่องร้องขอความเป็นธรรม ซึ่งไม่เคยมีคำสั่งลักษณะนี้มาก่อน)
.
คำถามคือ สำนวนไปดองอยู่ด้วยเหตุใดตั้ง 19 ปี และมาสั่งฟ้องในช่วงเวลาที่คดีใกล้จะหมดอายุความ 25 ตุลาคม 2567 นี้ นี่คือ “ความปกติ” ในกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ เพราะคดีอาญานั้น หากไม่ได้ตัวผู้ต้องหามารับทราบข้อกล่าวหาภายในระยะเวลาที่กำหนด ถือเป็นการขาดอายุความ ไม่สามารถดำเนินคดีใหม่ได้
.
ตอนนี้ทั้ง พล.อ.พิศาล (ซึ่งมีเอกสิทธิ์ สส.คุ้มครอง) และ พล.อ.เฉลิมชัย มีข่าวว่าไปรักษาตัว ดูแลสุขภาพที่ต่างประเทศ แต่ก็ไม่แปลก เพราะกว่าจะกระบวนการยุติธรรมจะเริ่มต้น ผู้ต้องหาทั้งหมดเข้าสู่วัยชราภาพ นอกจากไม่รู้ว่าตำรวจจะตามหาตัวผู้ต้องหา(ทั้ง 2 ชุดรวม 14 คน) มารับทราบข้อกล่าวหาได้ทันเวลาหรือไม่ (เหลือเดือนเศษๆ ยากมากๆ ก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า สุดท้ายปลายทางคำตัดสินจะเป็นไปในทางคลี่คลายความคับข้องหมองใจชาวมลายูชายแดนใต้ได้หรือไม่)
.
คดีตากใบ เป็นตัวอย่างคดีที่อำนาจการเมืองและกองทัพ รวมถึงนโยบายของรัฐขณะนั้นอิทธิพลสูงอย่างมาก คนตายตั้ง 78 ศพในรถคันเดียวกัน แต่อ้างว่าเจ้าหน้าที่(ทหาร)ปฏิบัติตามหน้าที่ ไม่มีคนผิด โอนย้ายคดีมาไต่สวนนอกพื้นที่ ฯลฯ ต่อมาผู้มีอำนาจจะเคยเอ่ยปากขอโทษ อดีตนายกรัฐมนตรีขณะนั้นยอมรับว่าดำเนินนโยบายผิดพลาด แต่เอาผิดใครไม่ได้แม้แต่รายเดียว กลับมาตั้งต้นฟ้องกันใหม่กับอายุความที่เหลือเพียงแค่เดือนเศษๆ เหมือนให้ความหวังเล็กๆ กับชาวบ้าน
.
แต่ก็ต้องเผื่อใจว่า กระบวนการยุติธรรมบางคราวก็ราวกับเม็ดฝนที่โปรยปรายเพียงเพื่อให้รู้ฤดูกาลของมัน แต่ไม่มากพอจะฟื้นคืนต้นหญ้าและสายน้ำได้ด้วยซ้ำ ยิ่งกับคดีตากใบ เป็นคดีที่เกี่ยวพันกับ “อำนาจรัฐ” มากสุดคดีหนึ่ง.
.....
Atukkit Sawangsuk
6 hours ago
·
วิบากตากใบ
:
ตอนที่พรรคเพื่อไทยเอา พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี มาเป็น สส.บัญชีรายชื่อ นี่ก็ประหลาดใจอยู่นะ เอามาเพื่ออะไร
จะมาทำสมานฉันท์ภาคใต้?
ปรากฏว่า พล.อ.พิศาลได้อยู่ในคณะกรรมาธิการทหาร แล้วมีส่วนไปร่วมบ้าง กับกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพฯ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่พี่อ๋อยเป็นประธานนั่นแหละ
แต่มันน้อยไปไหม แกควรจะมีบทบาทมากกว่านี้ 1 ปี ไม่ค่อยเห็นอะไรเลย
:
คือว่ากันจริงๆ ทักษิณ-เพื่อไทย ยอมรับแล้วว่า กรือเซะ ตากใบ การแก้ปัญหาภาคใต้ "โจรกระจอก" นั้นผิด
พี่โทนี่จึงขอโทษผ่านคลับเฮ้าส์เมื่อ 2 ปีก่อน
(แต่พอรอมฏอน ปันจอร์ จะเอาภาพมาโชว์ สส.เพื่อไทยประท้วงวุ่น ทั้งที่การขอโทษของคุณทักษิณเป็นเรื่องดีนะครับ )
ย้อนไปในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็ตั้งทวี สอดส่อง ลงไปแก้ปัญหาภาคใต้ สร้างสมานฉันท์เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของคนสามจังหวัด ตั้งแต่ไทยพุทธ มุสลิม ไปจนพวกขบวนการก็ยอมพูดคุย ถ้าไม่เกิดรัฐประหาร 57 เสียก่อนจะมีความคืบหน้ากว่านี้เยอะ
:
ตัว พล.อ.พิศาลก็แสดงความเสียใจและยอมรับ ตั้งแต่หลังเกิดเหตุใหม่ๆ ถูกย้ายเข้ากรุจนเกษียณ เป็นกรรมาธิการก็มีท่าทีที่ดีกับทุกคน
แต่ประเด็นมันไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล
มันเป็นเรื่องที่ควรจะมีการพิจารณาไต่สวนในกระบวนการยุติธรรม ก่อนหมดอายุความ
ประชาชนต้องการให้ความจริงกระจ่าง ไม่ใช่ต้องการเอา พล.อ.พิศาลไปตัดหัวคั่วแห้ง
แต่ถ้าไม่ยอมไปศาล จนหมดอายุความ ก็จะเป็นคนบาปไปจริงๆ
:
เรื่องมันกลายเป็นวิบากกรรมเมื่อศาลรับฟ้อง ตกเป็นจำเลย ในขณะที่เป็น สส.พรรคเพื่อไทย
ถ้า พล.อ.พิศาลไม่ไปมอบตัว หนีจนหมดอายุความ
ความเสียหายมันไม่ใช่เรื่องเฉพาะตัว ไม่ใช่เรื่องเล็ก การสร้างสันติภาพมันจะเรรวนไปหมด
แล้วพรรคเพื่อไทยจะทำอย่างไร จะแบก พล.อ.พิศาลไว้ ก็เละสิครับ
ถ้าไม่กลับมามอบตัว พล.อ.พิศาลก็ควรลาออกจาก สส.บัญชีรายชื่อ
ทางที่ดีคือกลับมามอบตัว ให้คดีเดินหน้า ไม่หมดอายุความ ขอโทษประชาชน ประกันตัว แล้วก็ทำงานเรื่องสันติภาพชายแดนใต้ให้ประชาชนเห็น
a day ago
·
วันนี้คดีตากใบกลับมาอยู่ในความสนใจของสื่อ ต้องมานั่งสรุปให้ฟังว่า คดีตากใบ ตอนนี้แบ่งผู้ต้องหาเป็น 2 ชุด 2 คดี
.
ชุดแรก คือชาวบ้านฟ้องเองผ่านศาลนราธิวาส ศาลรับฟ้องเมื่อ 23 สิงหาคม 2567 จำนวน 7 คน (จาก 9 คนที่ชาวบ้านฟ้อง) เป็นระดับผู้สั่งการ (พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ขณะนั้น และเป็น สส.เพื่อไทยตอนนี้ อยู่ในชุดนี้)
.
ชุดที่ 2 คือ อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องล่าสุด (สั่งฟ้อง 12 กันยายน แต่เผยแพร่วันนี้) มีผู้ต้องหา 8 คน มีคนเดียวที่ซ้ำกับผู้ต้องหาชุดแรก คือ พล.อ.เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร อดีตผู้บัญชาการ พล.ร.5 เป็นระดับปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการขนย้ายผู้เสียชีวิตไปค่ายอิงคยุทธบริหาร
.
ซึ่งชุดที่ 2 นี้ คือชุดเดียวกับที่ พนักงานสอบสวน สภ.หนองจิก จ.ปัตตานี (พื้นที่ของค่ายอิงคยุทธบริหาร) มีความเห็นไม่ส่งฟ้อง ในสำนวนวิสามัญฆาตกรรม ส่วนสำนวนชันสูตรพลิกศพ โอนย้ายสำนวนไปไต่สวนต่อที่ศาลสงขลา ซึ่งต่อมาศาลสงขลามีคำสั่งไต่สวนการตาย ระบุเหตุและพฤติการณ์ที่ตายว่า เพราะ “ขาดอากาศหายใจ” นั่นแหละ แต่ต่อท้ายว่า “ในระหว่างอยู่ในการควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติราชการตามหน้าที่” ซึ่งหมายความว่าไม่มีใครต้องรับผิดชอบ
.
ต่อมาคำสั่งและถ้อยคำสำนวน ถูกอัยการส่งคืนไปให้พนักงานสอบสวน สภ.หนองจิก เพื่อส่งให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณา เพราะการตายเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐ
.
แต่ในขั้นตอนนี้ สำนวนถูกดองอยู่นานถึง 19 ปี อัยการสูงสุดเพิ่งได้รับสำนวนวิสามัญฆาตกรรมและสำนวนไต่สวนชันสูตรพลิกศพของ ศาลจังหวัดสงขลาจาก พล.ต.ท.อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อ 25 เมษษยน 2567 นี่เอง
.
แล้วอัยการสูงสุดมีคำสั่งสอบสวนเพิ่มเติมในหลายประเด็น และกำหนดให้ส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติม ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ต่อมา พนักงานสอบสวนได้ส่งผลสอบสวนทั้งหมดให้กับอัยการสูงสุด ในวันที่ 20 สิงหาคม 2567 ก่อนที่อัยการสูงสุดมีความเห็นแย้งพนักงานสอบสวนและสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 8 คน
.
(มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ชาวบ้านส่งหนังสือร้องขอความเป็นธรรมถึงอัยการสูงสุดให้เร่งรัดคดี เมื่อ 12 มิถุนายน 2567 แต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 สำนักงานคดีอัยการสูงสุดมีหนังสือตอบกลับประชาชน (หนังสือเลขที่ อส 0031.3/348 ) โดยมีคำสั่งยุติเรื่องร้องขอความเป็นธรรม ซึ่งไม่เคยมีคำสั่งลักษณะนี้มาก่อน)
.
คำถามคือ สำนวนไปดองอยู่ด้วยเหตุใดตั้ง 19 ปี และมาสั่งฟ้องในช่วงเวลาที่คดีใกล้จะหมดอายุความ 25 ตุลาคม 2567 นี้ นี่คือ “ความปกติ” ในกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ เพราะคดีอาญานั้น หากไม่ได้ตัวผู้ต้องหามารับทราบข้อกล่าวหาภายในระยะเวลาที่กำหนด ถือเป็นการขาดอายุความ ไม่สามารถดำเนินคดีใหม่ได้
.
ตอนนี้ทั้ง พล.อ.พิศาล (ซึ่งมีเอกสิทธิ์ สส.คุ้มครอง) และ พล.อ.เฉลิมชัย มีข่าวว่าไปรักษาตัว ดูแลสุขภาพที่ต่างประเทศ แต่ก็ไม่แปลก เพราะกว่าจะกระบวนการยุติธรรมจะเริ่มต้น ผู้ต้องหาทั้งหมดเข้าสู่วัยชราภาพ นอกจากไม่รู้ว่าตำรวจจะตามหาตัวผู้ต้องหา(ทั้ง 2 ชุดรวม 14 คน) มารับทราบข้อกล่าวหาได้ทันเวลาหรือไม่ (เหลือเดือนเศษๆ ยากมากๆ ก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า สุดท้ายปลายทางคำตัดสินจะเป็นไปในทางคลี่คลายความคับข้องหมองใจชาวมลายูชายแดนใต้ได้หรือไม่)
.
คดีตากใบ เป็นตัวอย่างคดีที่อำนาจการเมืองและกองทัพ รวมถึงนโยบายของรัฐขณะนั้นอิทธิพลสูงอย่างมาก คนตายตั้ง 78 ศพในรถคันเดียวกัน แต่อ้างว่าเจ้าหน้าที่(ทหาร)ปฏิบัติตามหน้าที่ ไม่มีคนผิด โอนย้ายคดีมาไต่สวนนอกพื้นที่ ฯลฯ ต่อมาผู้มีอำนาจจะเคยเอ่ยปากขอโทษ อดีตนายกรัฐมนตรีขณะนั้นยอมรับว่าดำเนินนโยบายผิดพลาด แต่เอาผิดใครไม่ได้แม้แต่รายเดียว กลับมาตั้งต้นฟ้องกันใหม่กับอายุความที่เหลือเพียงแค่เดือนเศษๆ เหมือนให้ความหวังเล็กๆ กับชาวบ้าน
.
แต่ก็ต้องเผื่อใจว่า กระบวนการยุติธรรมบางคราวก็ราวกับเม็ดฝนที่โปรยปรายเพียงเพื่อให้รู้ฤดูกาลของมัน แต่ไม่มากพอจะฟื้นคืนต้นหญ้าและสายน้ำได้ด้วยซ้ำ ยิ่งกับคดีตากใบ เป็นคดีที่เกี่ยวพันกับ “อำนาจรัฐ” มากสุดคดีหนึ่ง.
.....
Atukkit Sawangsuk
6 hours ago
·
วิบากตากใบ
:
ตอนที่พรรคเพื่อไทยเอา พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี มาเป็น สส.บัญชีรายชื่อ นี่ก็ประหลาดใจอยู่นะ เอามาเพื่ออะไร
จะมาทำสมานฉันท์ภาคใต้?
ปรากฏว่า พล.อ.พิศาลได้อยู่ในคณะกรรมาธิการทหาร แล้วมีส่วนไปร่วมบ้าง กับกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพฯ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่พี่อ๋อยเป็นประธานนั่นแหละ
แต่มันน้อยไปไหม แกควรจะมีบทบาทมากกว่านี้ 1 ปี ไม่ค่อยเห็นอะไรเลย
:
คือว่ากันจริงๆ ทักษิณ-เพื่อไทย ยอมรับแล้วว่า กรือเซะ ตากใบ การแก้ปัญหาภาคใต้ "โจรกระจอก" นั้นผิด
พี่โทนี่จึงขอโทษผ่านคลับเฮ้าส์เมื่อ 2 ปีก่อน
(แต่พอรอมฏอน ปันจอร์ จะเอาภาพมาโชว์ สส.เพื่อไทยประท้วงวุ่น ทั้งที่การขอโทษของคุณทักษิณเป็นเรื่องดีนะครับ )
ย้อนไปในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็ตั้งทวี สอดส่อง ลงไปแก้ปัญหาภาคใต้ สร้างสมานฉันท์เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของคนสามจังหวัด ตั้งแต่ไทยพุทธ มุสลิม ไปจนพวกขบวนการก็ยอมพูดคุย ถ้าไม่เกิดรัฐประหาร 57 เสียก่อนจะมีความคืบหน้ากว่านี้เยอะ
:
ตัว พล.อ.พิศาลก็แสดงความเสียใจและยอมรับ ตั้งแต่หลังเกิดเหตุใหม่ๆ ถูกย้ายเข้ากรุจนเกษียณ เป็นกรรมาธิการก็มีท่าทีที่ดีกับทุกคน
แต่ประเด็นมันไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล
มันเป็นเรื่องที่ควรจะมีการพิจารณาไต่สวนในกระบวนการยุติธรรม ก่อนหมดอายุความ
ประชาชนต้องการให้ความจริงกระจ่าง ไม่ใช่ต้องการเอา พล.อ.พิศาลไปตัดหัวคั่วแห้ง
แต่ถ้าไม่ยอมไปศาล จนหมดอายุความ ก็จะเป็นคนบาปไปจริงๆ
:
เรื่องมันกลายเป็นวิบากกรรมเมื่อศาลรับฟ้อง ตกเป็นจำเลย ในขณะที่เป็น สส.พรรคเพื่อไทย
ถ้า พล.อ.พิศาลไม่ไปมอบตัว หนีจนหมดอายุความ
ความเสียหายมันไม่ใช่เรื่องเฉพาะตัว ไม่ใช่เรื่องเล็ก การสร้างสันติภาพมันจะเรรวนไปหมด
แล้วพรรคเพื่อไทยจะทำอย่างไร จะแบก พล.อ.พิศาลไว้ ก็เละสิครับ
ถ้าไม่กลับมามอบตัว พล.อ.พิศาลก็ควรลาออกจาก สส.บัญชีรายชื่อ
ทางที่ดีคือกลับมามอบตัว ให้คดีเดินหน้า ไม่หมดอายุความ ขอโทษประชาชน ประกันตัว แล้วก็ทำงานเรื่องสันติภาพชายแดนใต้ให้ประชาชนเห็น