วันจันทร์, กันยายน 30, 2567

รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทย คำอธิบาย 2 แนวทาง - 1 แนว สถาบันพระปกเกล้า เดินตามประวัติศาตร์กระแสหลัก หรือที่เรียกกันว่าประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม 2. แนว อ.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : วิวัฒนาการรัฐไทย"


Thanapol Eawsakul
5 hours ago
·
รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทย คำอธิบาย 2 แนวทาง
......
(1)
ด้วยอาชีพการงานวันนี้จึงต้องตระเวนดูนิทรรศการหลายแห่ง
มี 2 นิทรรศการที่อยากจะพูดถึงแม้จะไม่เกี่ยวกันโดยตรงคือ
นิทรรศการของ
ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย ที่เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันพระปกเกล้า
นิทรรศการชิ้นนี้ผู้จัด "พยายามเล่าถึงเรื่องราวเหล่านั้นอย่างเข้าใจง่าย ตั้งแต่พัฒนาการแนวคิดด้านประชาธิปไตยในสยาม นับแต่เกิดความเคลื่อนไหวของคณะ ร.ศ. 130 กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
รัชสมัยต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งเมืองจำลองดุสิตธานี เพื่อสอนการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล ถึงห้วงเวลาประวัติศาสตร์เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม โดยมีการเปิดประชุมสภาครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยในเวลาบ่าย 2 โมงของวันที่ 28 มิถุนายน พุทธศักราช 2475
นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาอีกมากมายที่ชี้ชวนให้ทำความเข้าใจในหน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ สิทธิของประชาชนคนไทย สิทธิ และสิ่งที่ควรรู้ไว้ก่อนไปเลือกตั้ง เสรีภาพ อีกทั้งประเด็นอื่น ๆ ซึ่งนำเสนออย่างตื่นตาตื่นใจด้วยเทคโนโลยีและรูปแบบหลากหลาย
https://democracylearningcenter.kingprajadhipokmuseum.com...
(2)
นิทรรศการ ซ่อน(ไม่)หา(ย) Presumption of Innocence จัดโดย 112Watch, PrachathipaType, Jirawut Ueasungkomsate, Yupin Thwin-ongkachart, ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, Thumb Rights, iLaw
นิทรรศการที่จะพาทุกคนไปสำรวจเรื่องราวของผู้ต้องหาคดีทางเมือง ผู้ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่เคยได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ (Presumption of Innocence) หรือการที่ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดอาญาจะต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผิดจริง ตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
.
นั่นคือสิ่งที่เขียนไว้ตามหลักการ แต่ในทางปฏิบัติผู้ต้องหาคดีทางการเมืองส่วนใหญ่มักจบลงที่การจับกุม และไม่ให้โอกาสในประกันตัว จนทำให้ในตอนนี้มีผู้ต้องคดีทางการเมืองจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการพิพากษาของศาล ท้ายที่สุดเมื่อมีการยกฟ้อง พวกเขาต้องสูญเสียโอกาสที่สำคัญในชีวิตไปหลายด้าน ทั้งครอบครัว ความสัมพันธ์ และความฝันในชีวิต
.
นิทรรศการนี้ทุกคนจะได้ย้อนดูเรื่องราวของผู้ต้องคดีทางการเมืองว่ามีอะไรที่ถูกซ่อนหรือหล่นหายไปหลังจากที่มีการฟ้องคดีเกิดขึ้น เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดจากการไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว และตั้งคำถามเกี่ยวกับหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ที่พวกเขาไม่เคยได้รับ
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1091597825858250&set=a.813354760349226
(3)
กลับมาที่เนื้อหานิทรรศการที่ว่าด้วย "รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทย" นิทรรศการของ ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย ที่เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันพระปกเกล้า ก็เดินตามประวัติศาตร์กระแสหลัก หรือที่เรียกกันว่าประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม
คือการเอา ชาติ ศาสนน์ กษัตริย์ โดยเฉพาะกษัตริย์ มาเป็นแก่นแกนในการอธิบายประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์แนวนี้เริ่มต้นจากการปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคมตะวันตก ทั้งหมดทั้งปวงล้วนทำไปเพื่อ "ผลประโยชน์แห่งชาติ"
รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทย มีการ "เตรียมพร้อม" เพื่อให้สยามค่อยเป็นค่อยไป มีการเตรียมพร้อมเรื่องการปกครองท้องถิ่น จัดการศึกษา มีการเตรียมรัฐธรรมนูญ ฯลฯ แต่ทั้งหมดก็ต้องสะดุหยุดลงเพราะมีการปฏิวัติสยาม 2475 ถึงไม่เขียนโดยตรงก็จะสื่อไปว่าเป็นการ "ชิงสุกก่อนห่าม" นั่นเอง
(4)
ขณะที่ ซ่อน(ไม่)หา(ย) ก็ได้นำเรื่องราวของผู้ต้องหาทางการเมือง โดยเฉพาะที่เกี่ยวพันกับมาตรา 112 นั้น
มีคนหนึ่งที่พูดถึง "หนังสือ" และหนังสือที่เปลี่ยนเขาไปตลอดกาลคือ
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : วิวัฒนาการรัฐไทย
ของ กุลลดา เกษบุญชู มี้ด
หนังสือเล่มนี้ได้พลิกกลับตาลปัตคำอธิบายกำเนิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทย แบบกลับหัวกลับหาง
ซึ่งผู้อ่านท่านนั้นบอกว่า
"หนังสือของอาจารย์กุลลดาเล่มนี้ทำให้มาสนใจการเมืองมากกว่าเดิม คือแต่เดิมคิดว่าตัวเองเป็นพวกอิกนอร์แลนนะ แต่พออ่านเล่มนี้ก็ค่อนข้างมีความคิดที่เปลี่ยน"
ทั้ง 2 ตัวอย่างคือการอธิยาย รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทย 2 แนวทาง
.....

เกษียร เตชะพีระ : อ่านมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม ในงานของอาจารย์กุลลดา เกษบุญชู มี้ด

สํานักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

Jun 12, 2019

คลิปจากงานเสวนา "มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์?" เกษียร เตชะพีระ: อ่านมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม ในงานของอาจารย์กุลลดา เกษบุญชู มี้ด เนื่องในโอกาสตีพิมพ์หนังสือ "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์: วิวัฒนาการรัฐไทย" โดยกุลลดา เกษบุญชู มี้ด วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2562 ณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

https://www.youtube.com/watch?v=4XBSwfdWAxQ
.....

อยากอ่านต่อ ? อ่าน...
[ความน่าจะอ่าน] ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยังไม่ตาย ?
https://www.the101.world/top-highlights-thai-absolute-monachy/