วันเสาร์, พฤษภาคม 11, 2567
แนวความคิดเรื่อง “ราษฎร” ของ ปรีดี พนมยงค์
สถาบันปรีดี พนมยงค์ Pridi Banomyong Institute
เนื่องในวาระ 124 ปีชาตกาลของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ในเดือนพฤษภาคมทางสถาบันปรีดี พนมยงค์ จึงขอนำเสนอคมความคิด ชีวิต และผลงานของท่านอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งเดือนนี้
บทความนี้ ทวีป มหาสิงห์ ชวนอ่านพัฒนาการความคิดเรื่อง “ราษฎร” ของนายปรีดี พนมยงค์ โดยย้อนกลับไปมองเปรียบเทียบก่อนและหลังการอภิวัฒน์ 2475 แล้วพบว่าก่อนทศวรรษ 2470 มีคำเรียกคนในสยามว่า“ราษฎร พลเมือง ประชาชน คนในบังคับ ไพร่ และทาษ” ซึ่งคำว่า “ราษฎร” ถูกใช้มากที่สุดในยุคนี้มีความหมายว่าสามัญชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในรัฐ
.
ราษฎรในทรรศนะของนายปรีดีก่อนการอภิวัฒน์ปรากฏทางสาธารณะครั้งแรกในปาฐะเรื่อง 'ปัญหาเกี่ยวแก่การลงอาชญาผู้กระทำผิดกฎหมาย' ณ สามัคยาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2471 ซึ่งนายปรีดีพิจารณาสาเหตุที่ทำให้บุคคลต้องกระทำผิดต่อกฎหมายว่ามาจากอะไรและใช้ความละเอียดอ่อนในการวิเคราะห์มนุษย์ทั้งระดับปัจเจกบุคคลจนถึงปัญหาสิทธิมนุษยชน
.
หลังการอภิวัฒน์ 2475 นายปรีดีมีแนวความคิดเรื่อง “ราษฎร” ในมุมของภาษาทางการเมืองและสะท้อนแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนของนายปรีดีที่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากคำขวัญการปฏิวัติของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1789 เรื่องเสรีภาพ (Liberté) เสมอภาค (Égalité) และภราดรภาพ (Fraternité)
.
ที่สำคัญคือ นายปรีดีได้กล่าวถึงแนวคิดราษฎรของตนหลังการอภิวัฒน์ 2475 ไว้ให้เห็นว่า "คณะราษฎร" ก็คือ "ราษฎร"
.
“ก่อนที่ผู้ที่คิดก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองฯ หลายคนหลายกลุ่มจะได้รวมเป็นคณะเดียวกันนั้นแต่ละกลุ่มก็มีชื่อเสียงของตนเองบ้าง และยังไม่มีชื่อกลุ่มของตนบ้าง แต่เมื่อผู้คิดก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้รวมเป็นคณะเดียวกันแล้ว ก็ได้ใช้ชื่อคณะเดียวกันว่า “คณะราษฎร” ตามที่ผม (นายปรีดี) ได้เสนอในที่ประชุมก่อตั้งคณะราษฎรที่กรุงปารีส…
.
ส่วนเหตุที่ใช้คำว่า “ราษฎร” นั้นก็เพราะ ผู้ก่อการฯ ทุกคนเป็นราษฎรไทยแท้จริง และสมาชิกของคณะราษฎรทั้งหลายยอมอุทิศตนและความเหนื่อยยากเพื่อราษฎรให้บรรลุถึงซึ่งประชาธิปไตย…”
.
อ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่ :
https://pridi.or.th/th/content/2024/05/1953