วันศุกร์, เมษายน 05, 2567

วิธีคิดเบื้องหลังในการสร้างกองทัพสยามสมัยใหม่ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จากจุดเริ่มด้วยการปราบศัตรูภายใน ไม่ใช่ศัตรูภายนอก เช่น ปราบ ‘กบฏ’ ในลุ่มน้ำโขงนี้ ปราบ ‘กบฏเงี้ยว’ ในมณฑลพายัพ (ภาคเหนือ) และพระยาแขกเจ็ดหัวเมือง (ภาคใต้) และนำไปสู่การจัด พ.ร.บ.เกณฑ์ทหารฯ


The101.world
21h ·

“เสาหลักขนาดเล็กที่ถูกวางเอาไว้ตามที่พ่อเสือน้อยว่าเป็นการบอกเขตพื้นที่ที่เรียกว่า ‘ไห่ผีหัวหล่อน’ ซึ่งเป็นจุดที่คาดว่าสยามใช้ปืนใหญ่ปราบปรามกลุ่มผู้มีบุญ ตามหลักฐานที่ชาวบ้านในอดีตเคยขุดเจอโครงกระดูกที่นี่ จึงเกิดเป็นชื่อเรียกที่เข้าใจตรงกันว่า ‘ไร่ที่มีกระดูก’”
.
“ราวกับว่าความรุนแรงเป็นเพียงสิ่งเดียวที่มนุษย์ได้รับอนุญาตให้จำ เพราะทั้งเอกสารทางการตามสำเนาโทรเลขและคำบอกเล่าที่ส่งต่อกันมาต่างบันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ร่วมกัน เหตุการณ์นี้จึงเรียกได้ว่าเป็นการรวมผู้ลุกต่อต้านสยามที่ใหญ่ที่สุดและมีการปราบปรามรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การเปลี่ยนผ่านสยามสู่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์”
.
“เงื่อนไขสำคัญของการปราบปรามครั้งใหญ่อยู่บนบริบทที่ว่าสยามกำลังสร้างกองทัพสมัยใหม่อยู่ใต้อำนาจของกษัตริย์ จากเดิมที่กำลังไพร่พลกระจายตัวอยู่ใต้การดูแลของเจ้านายชนชั้นสูง ทำให้วิธีทางการทหารและใช้อาวุธมีพละกำลังมากกว่าการรวมตัวของ ‘กองทัพชาวนา’ อย่างสิ้นเชิง”
.
“ในที่สุดการปราบปราม ‘กบฏ’ ในลุ่มน้ำโขงนี้ ยังเป็นรูปแบบเดียวกันกับการปราบ ‘กบฏเงี้ยว’ ในมณฑลพายัพ (ภาคเหนือ) และพระยาแขกเจ็ดหัวเมือง (ภาคใต้) เหตุการณ์เหล่านี้เองที่นำไปสู่การเริ่มต้นจัด พ.ร.บ.เกณฑ์ทหารฯ ครั้งแรกในราชอาณาจักรสยามด้วย”

.
จากเรื่องราวการต่อสู้ของกบฏผู้มีบุญ สกู๊ปชิ้นนี้พาผู้อ่านเปิดประวัติศาสตร์จุดเริ่มต้นของกองทัพสมัยใหม่ของสยามในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผ่านเอกสารหลักฐานและเรื่องเล่าในอดีต
.
วิธีคิดเบื้องหลังในการสร้างกองทัพสยามเป็นอย่างไร และเกี่ยวข้องอย่างไรกับเหตุการณ์ปราบปรามผู้มีบุญที่บ้านสะพือ
.
อ่านได้ที่ https://www.the101.world/phee-boon-and-army/
.
เรื่อง: กองบรรณาธิการ
ภาพถ่าย: เมธิชัย เตียวนะ