วันอังคาร, ตุลาคม 31, 2566

ร่วมฟังเสียงจากจำเลยคดี ม.112 สดจากลานพญานาค ม.ธรรมศาสตร์รังสิต สดจากลานพญานาค “เล่าประสบการณ์จากจำเลย 112 ” เบนจา ตี้ บอล


🛑Live‼️ สดจากลานพญานาค “เล่าประสบการณ์จากจำเลย 112 ” เบนจา ตี้ บอล

Friends Talk คุยกับเพื่อน

Streamed live 6 hours ago 

30 ต.ค..66 สดจากเวทีลานพญานาค ธรรมศาสตร์รังสิต 





TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน @TLHR2014

ศาลสมุทรปราการให้รอการลงโทษจำคุก คดี ม.112 “มณีขวัญ” กรณีแชร์เฟซบุ๊กจาก KonthaiUk 2 ข้อความ 

ศาลพิพากษาให้จำเลยมีความผิดตามฟ้อง ให้ลงโทษตามมารตรา 112 ซึ่งเป็นบทหนักสุด คิดเป็นทั้งหมด 2 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพ จึงลดโทษจำคุกเหลือกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมโทษจำคุก 2 ปี 12 เดือน 

แต่พิจารณารายงานการสืบเสาะ จำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน เห็นควรให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี ให้รายงานการคุมประพฤติเป็นระยะเวลา 2 ปี รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 2 เดือน และทำงานบริการเพื่อสังคมเป็นเวลา 48 ชั่วโมง 

https://tlhr2014.com/archives/61041


 



TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน @TLHR2014
 ศาลจังหวัดเชียงรายพิพากษาว่า "บัสบาส มงคล" มีความผิดตาม #ม112 จากการโพสต์เฟซบุ๊ก 2 ข้อความ 

ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือกระทงละ 2 ปี ให้บวกโทษจากคดีส่วนตัวที่จำเลยเคยถูกลงโทษมาก่อน 6 เดือน รวมโทษจำคุก 4 ปี 6 เดือน 

อยู่ระหว่างยื่นประกันตัวในชั้นอุทธรณ์

ย้อนอ่านคดีนี้ https://tlhr2014.com/archives/60984






TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน @TLHR2014

ศาลอาญากรุงเทพใต้ พิพากษาจำคุก “เบนจา” 4 ปี ก่อนลดเหลือ 2 ปี 8 เดือน และให้รอลงอาญา คดี 112 – พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เหตุกล่าวชื่อ ร.10 ในการปราศรัยวิจารณ์รัฐบาล หน้าอาคารซิโน-ไทย ในชุมนุม #คาร์ม็อบ10สิงหา64 

ทั้งนี้ ในส่วนของค่าปรับนั้น เนื่องจากเบนจาถูกขังในระหว่างสอบสวนและพิจารณาคดีเป็นเวลา 99 วันแล้ว แต่เมื่อศาลไม่ได้พิพากษาลงโทษจำคุก จึงให้หักค่าชดเชยการถูกขังชำระแทนค่าปรับ วันละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 49,500 บาท เกินกว่าค่าปรับในคดีจำนวน 8,000 บาท ทำให้เบนจาไม่ต้องชำระค่าปรับอีก 

อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ทำให้ตั้งข้อสงสัยต่อดุลพินิจของศาลที่ไม่อนุญาตให้ประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยในระหว่างการต่อสู้คดีว่า ไม่ได้สัดส่วนและเกินกว่าที่จำเป็นหรือไม่ เพราะหากในที่สุดศาลไม่ได้มีคำพิพากษาจำคุกเช่นในคดีนี้ แต่จำเลยถูกขังไปในระหว่างการต่อสู้คดี และได้รับผลกระทบต่อการศึกษาหรือหน้าที่การงานไปแล้ว กระบวนการยุติธรรมจะชดเชยเยียวยาความเสียหายที่เกิดแล้วได้หรือไม่

อ่านบนเว็บไซต์ : https://tlhr2014.com/archives/61065