ภาพจาก เพื่อไทยแถลง การแก้ไข ม.112 ไม่อาจกระทำโดยลำพัง และเตรียมหารือเรื่องการบังคับใช้ กม.ดังกล่าว
The Matter
31 January 2023
.....
พรรคเพื่อไทยมองประเด็นมาตรา 112 เป็นสองส่วน คือ การแก้ไขที่การบังคับใช้กฎหมายและการแก้ไขที่ตัวบทกฎหมาย ประเด็นการบังคับใช้กฎหมายขัตติยา สวัสดิผล ระบุว่า ปัญหาเร่งด่วนของมาตรา 112 อยู่ที่ปัญหาการบังคับใช้ ส่วนตัวบทหากจะมีการแก้ไขต้องมีการพูดคุยกันทุกภาคส่วนให้หาฉันทมติร่วมกันได้ ขณะที่พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดชยอมรับว่าปัญหาข้อกฎหมายของมาตรา 112 ได้แก่ประเด็นอัตราโทษที่ค่อนข้างสูงและประเด็นที่ผู้ร้องทุกข์คดีจะเป็นใครก็ได้ สำหรับการแก้ไขจำเป็นต้องทำในสภาเพราะเป็นประเด็นที่สังคมมีความเห็นแตกต่างกัน พรหมมินทร์ระบุด้วยว่าควรจะต้องดูเรื่องการบังคับใช้กฎหมายด้วยพร้อมยกตัวอย่างคณะกรรมการกลั่นกรองที่เคยใช้ในสมัยรัฐบาลไทยรักไทยที่เมื่อมีคดีเข้าลักษณะการกลั่นแกล้งทางการเมืองก็จะให้ยุติการดำเนินคดี ขณะที่แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีสองคนคือ เศรษฐา ทวีสินและแพทองธาร ชินวัตรเห็นในทำนองเดียวกันว่า ไม่ยกเลิกมาตรา 112 แต่ถกเถียงแก้ไขไม่ให้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
สำหรับพรรคเพื่อไทยมีตัวแทนที่พูดถึงประเด็นมาตรา 112 ในหลายวาระโอกาส เริ่มต้นช่วงปลายปี 2564 เรื่อยมา แต่พรรคเพื่อไทยไม่ได้ออกเป็นนโยบายอย่างเป็นทางการที่นำมาใช้หาเสียงว่าจะดำเนินการทางนิติบัญญัติอย่างไรกับมาตรานี้ โดยความเห็นที่มาจากตัวแทนของพรรคเพื่อไทย หลายโอกาสจะมีมาตรฐานขั้นต่ำอยู่ที่การเข้าใจปัญหา “การบังคับใช้” แต่ไม่ชัดเจนเรื่องการแก้ไขตัวบทกฎหมาย จนกระทั่งในเดือนเมษายน 2566 เริ่มมีตัวแทนที่แสดงความเห็นว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอให้แก้ไขทั้งตัวบทของมาตรา 112 และการบังคับใช้กฎหมาย
โดยภาพรวมแล้วตัวแทนของพรรคเพื่อไทยแต่ละคนยังให้คำตอบที่สับสนและต้องอาศัยการตีความของผู้ฟัง เกี่ยวกับจุดยืนเรื่องมาตรา 112 โดยมีระดับแกนนำของพรรคที่แสดงออกชัดเจนว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขตัวบทกฎหมายอยู่บ้าง เช่น พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะทำงานนโยบาย พรรคเพื่อไทย ที่กล่าวไว้ในเวทีมติชนย้ำจุดยืน ชูจุดขาย ประกาศจุดแข็งเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 และแพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่กล่าวไว้ในเวทีเลือกตั้ง 66 เปลี่ยนใหม่หรือไปต่อเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 ที่กล่าวถึงปัญหาขอบเขตของมาตรา 112 บทกำหนดโทษ ผู้ริเริ่มคดี
เห็นด้วยกับประเด็นที่ต้องแก้ในทางตัวบท
พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช กล่าวในเวทีมติชนย้ำจุดยืน ชูจุดขาย ประกาศจุดแข็งเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 ว่า มาตรา 112 ผมเห็นด้วยว่า การที่มีกฎหมายดูแลปกปักษ์รักษาประมุขของประเทศเป็นเรื่องจำเป็น ในกรอบของกฎหมายแน่นอนที่สุดช่วงเวลา สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โลกเปลี่ยนแปลงไปในสาระอาจจะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องมากขึ้น ในกระบวนการเหล่านี้ในข้อเหล่านี้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน กระบวนการที่แก้ไขโดยสันติวิธีต้องกลับเข้าไปในสภาและหารือกันในข้อไหนที่จะต้องแก้
เห็นด้วยในหลายประเด็นที่ทางผู้แทนของพรรคก้าวไกลเสนอมาว่า มันยังมีหลายๆจุดที่จะต้องแก้ ซึ่งอันนี้ต้องถกเถียงกันและหาทางออก ประเด็นสำคัญคือ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งเรื่องของโทษ เรื่องของผู้ที่นำเสนอหรือเป็นผู้ฟ้อง-...ประการที่สองที่สำคัญคือ กระบวนการที่นำไปใช้กฎหมาย ผมยกตัวอย่างเมื่อสมัยที่ผมอยู่ในรัฐบาลไทยรักไทย เรื่องเหล่านี้ก็เกิดขึ้น แต่มันมีกระบวนการต่างๆ ที่คอยกลั่นกรองเรื่องพวกนี้ ไม่ใช่เฉพาะสำนักพระราชวัง มีคณะกรรมการชุดหนึ่งที่ถูกแต่งตั้งขึ้นแล้วก็พิจารณาเรื่องนี้ว่าจะเข้าข่ายอย่างไรหรือไม่ มีการกลั่นกรองและถกเถียงกัน ไม่อย่างนั้นถูกเลือกใช้ แม้กระทั่งกับข้าราชการผู้ใหญ่ในกระทรวงสาธารณสุข กำลังจะเป็นแคนดิเดตปลัดสาธารณสุข...แต่คณะกรรมการชุดนี้กลั่นกรองและในที่สุดปิดเรื่องนี้
“ดังนั้น เราเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าจะต้องมีการแก้ไข แต่การแก้ไขเนื่องจากมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมากๆจึงต้องเข้ากระบวนการสภาและหารือกัน”
ดูคลิปนาทีที่ 16.13-18.13
แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย กล่าวในเวทีเลือกตั้ง 66 เปลี่ยนใหม่หรือไปต่อเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 ว่า พรรคเพื่อไทยไม่ยกเลิกม. 112 แน่นอน แต่ในส่วนตัวของพรรคเพื่อไทยคิดว่า เราต้องถกกันในสภา กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน กำหนดคนฟ้อง กำหนดบทลงโทษ ไม่ให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
ดูคลิป
เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย กล่าวในรายการเปิดปากกับภาคภูมิเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2566 ว่า มาตรา 112 อาจจะมีบางประเด็นเรื่องการบังคับใช้ ไม่ว่าใครจะใช้ก็ได้ใช้เป็นประโยชน์ด้านการเมือง ตรงนี้ต้องมาแก้ไขให้มันถูก แต่จุดยืนของพรรคเพื่อไทยชัดเจน เราไม่ยกเลิก 112 แต่ว่าเราก็จะมาดูที่ว่า ตรงไหนที่มีการแก้ไขแล้วเกิดความเป็นธรรม ไม่นำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้
เมื่อพิธีกรถามว่า พร้อมที่จะแก้ไขให้เกิดความเป็นธรรม เศรษฐาตอบว่า ใช่ครับ
ดูคลิป
ดูที่การบังคับใช้ แต่ไม่ใช่เวลาแก้ไข
ขัตติยา สวัสดิผล กล่าวในเวทีการกลับมาของมาตรา 112 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 ระบุว่า สิ่งที่ต้องทำอย่างแรก คือ วิธีการบังคับใช้ซึ่งพรรคเพื่อไทยให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก แล้วถ้าการแก้ไขมาตรา 112 เข้าไปอยู่ในสภา พรรคเพื่อไทยมองว่า ต้องมีการพูดคุยเรื่องนี้กันอย่างจริงจังจากทุกภาคส่วน
อ่านรายละเอียด
สุทิน คลังแสง กล่าวผ่านรายการเลือกตั้ง 66 ของสำนักข่าว Today เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2566 ว่า ม.112 เรายอมรับว่า มีปัญหา ถ้าบอกว่า ไม่เห็นด้วยนี่คือ ไม่ให้เห็นด้วยว่าแก้ช่วงนี้ แต่ถ้าเป็นช่วงเมื่อสังคมมีความคิดตกผลึกอธิบายเรื่องนี้อย่างเข้าใจแท้แล้วเนี่ย เราอาจจะเห็นด้วย ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า บอกว่า 112 มีปัญหาแต่ว่ามันมีปัญหาด้านไหนต้องมาดูละเอียด โดยตัวบทของมันใช่หรือเปล่า หรือการบังคับใช้ เรามองว่า ปัญหา 112 มากที่สุดคือ บังคับใช้เพราะว่า คนมักไปเอา 112 กลั่นแกล้งกัน มาทำลายคู่แข่งทางการเมืองกันแล้วไปบิดตัวกฎหมายซะ คนเขาพูดนิดเดียวไปตีความไปไกลว่า หมิ่น เพราะฉะนั้นปัญหาที่พบมากที่สุดคือ การบังคับใช้กฎหมายที่มันไม่ถูกต้องตามตัวบท ถ้าจะแก้ก็คือ ต้องแก้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายก่อน
ในตัวบทถามว่า มีปัญหาไหม อาจจะมีปัญหาว่า บางเรื่องอาจจะต้องแก้เพื่อปิดช่องไม่ให้คนกลั่นแกล้งกัน ทีนี้จะแก้เมื่อไหร่ เราต้องยอมรับว่า วันนี้ปัญหาของประเทศมีเยอะ เราจะอะไรก่อน ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง หรือเอาประชาธิปไตยให้สมบูรณ์เรียงลำดับมาให้ดี เรายังเห็นว่า ประเทศยังต้องสร้างบรรยากาศที่มันต้องเกิดความสามัคคีเพื่อจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ได้ เรื่อง 112 บังเอิญว่า สังคมไทยมันคิดเป็นสองกลุ่ม คนรุ่นเก่าหน่อยอาจจะบอกไม่แก้ คนรุ่นใหม่บอกแก้ เมื่อมันเป็นกลุ่มความคิดที่เป็นก้อนใหญ่ทั้งสองข้างมันต้องระวัง ฉะนั้นถ้าแก้เสียตอนนี้ ความขัดแย้งปะทะกันสองกลุ่มปั๊บก็ไปทำลายบรรยากาศในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ประเทศไม่มีก็เจ๊งเลย เราถือว่า 112 เนี่ยถึงเวลาหนึ่งมันต้องแก้แต่เวลานั้นต้องให้คนไทยจูนความคิดให้มันใกล้เคียงกันอย่าให้เกิดความขัดแย้ง...ณ วันนี้อาจจะยังก่อน จะไปแก้กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย
ดูคลิป
ทั้งนี้ระหว่างการอภิปรายในญัตติด่วน #ตะวันแบม เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ตอนหนึ่ง สุทินกล่าวว่า การเรียกร้องเรื่องการยกเลิกมาตรา 112 และ 116 ผมคิดว่า เรื่องนี้ก็เป็นข้อเรียกร้องที่มีเหตุผล อะไรทำได้เราก็บอกว่าทำได้ อะไรที่มันทำได้แต่มันยังไม่ใช่เวลา มันจะต้องใช้วิธีการทำความเข้าใจกับคนในชาติ เราก็อธิบายกับเขาไป... “116 เราเห็นด้วย 112 เราเห็นด้วยแต่ใช้เวลานิดนึง จะปฏิรูปเรื่องนี้หรือยกเลิก แก้ไข ถ้าเป็นการยกเลิกแก้ไขเพื่อปกป้องสถาบันฯ ก็โอเค” แต่ระวังอย่าเปิดช่องให้คนนำสถาบันฯใช้ประโยชน์ทางการเมืองและกลั่นแกล้งกัน
ดูคลิปนาทีที่ 5:00:18-5:01:12
ดูเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ไม่แก้มาตรา 112
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กล่าวในเวทีเลือกตั้ง 66 เปลี่ยนใหม่หรือไปต่อเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 ว่า “ผมเห็นความจริงว่า ในสังคมนี้มีคนคิดแตกต่างกันและก็มีคนคิดว่า กฎหมายมาตราดังกล่าวมีปัญหา อาจจะในเชิงเนื้อหาสาระหรือในเชิงการบังคับใช้ก็ตาม ผมว่า ความจริงนี้กับการแสดงออกเมื่อสักครู่ หรือหลายกรณีที่ผ่านมามันปฏิเสธไม่ได้ แต่ประเด็นก็คือว่า รัฐจะจัดการกับสถานการณ์แบบนี้อย่างไร ผมเห็นว่า บทบัญญัติของกฎหมายมาตรานี้ถูกตั้งคำถามเรื่องหลักนิติธรรม เช่น การกำหนดอัตราโทษขั้นต่ำ 3 ปีขึ้นไป หรือการบังคับใช้แบบที่ใครก็ตามสามารถแจ้งความใครๆ ก็ได้ และมีการใช้บทบัญญัติกฎหมายมาตราดังกล่าวกล่าวหาว่า ประชาชนคนใดกลุ่มใดมีความไม่จงรักภักดีมุ่งร้ายต่อสถาบัน...ผมจึงไม่อยากให้รัฐหรือผู้มีอำนาจยุคใดก็ตามใช้กฎหมายมาตราดังกล่าว ใช้ความแตกต่างทางความคิดดังกล่าว ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งไปเผชิญหน้ากับสถาบันใดๆก็ตามโดยตรง และมันต้องมีวิธีการบังคับใช้ให้กฎหมายมาตรานี้ไม่เป็นเครื่องมือทางการเมืองของใครกลุ่มใดก็ตาม
พิธีกรถามว่า อันนี้คือส่วนตัวหรือในนามพรรค ณัฐวุฒิตอบว่า ในนามพรรคเพื่อไทย พิธีกรถามว่า ว่าจะแก้มาตรา 112 ณัฐวุฒิตอบว่า ไม่ได้แก้แต่ว่าจะดูแลเรื่องการบังคับใช้
ณัฐวุฒิ กล่าวด้วยว่า การแก้ไขมาตรา 112 ในเชิงเนื้อหา ณ ปัจจุบันแม้ผมบอกว่า เราเห็นคำถามเรื่องหลักนิติธรรมอยู่ชัดแจ้ง แต่ความเป็นจริงทางการเมืองในสังคมไทย คือ มาตรานี้มันทำให้สองฝ่ายทางความคิดยืนกันสุดโต่ง และยังไม่สามารถจะมีพื้นที่ในการพูดคุยกันโดยเหตุโดยผลได้ เพราะฉะนั้นดูเรื่องการบังคับใช้อย่าให้ถูกเอาไปเป็นเครื่องมือทางการเมือง อย่าถูกให้เอาไปทำร้ายและใส่ร้ายทำลายใคร และเมื่อสังคมมันตั้งหลักกันได้มากขึ้น เป็นไปได้ว่า ในสภาชุดหน้าอาจจะมีญัตติทำนองเหล่านี้และเปิดพื้นที่ปลอดภัยในตัวแทนประชาชนพูดคุยกันไม่ใช่ญัตติเรื่องแก้หรือไม่แก้ แต่หารือกันว่า เราจะบังคับใช้ จะดูเรื่องนี้กันอย่างไร ด้วยความเคารพ ผมไม่คิดว่า คนในเวทีนี้หรือพรรคการเมืองไหนจะมุ่งร้ายทำลายสถาบันฯ ในขณะเดียวกันผมก็เห็นว่า คนที่เขาห่วงใย คนที่เขาไม่มีความสุขกับสิ่งที่เกิดขึ้นมีอยู่จริง แต่ถ้ามันสุดโต่งไป ผมว่า มันเป็นปัญหา ผมเห็นคนที่แสดงออกว่าจงรักภักดีมากกว่าใครๆหลายคนมีปัญหา สักคำว่า ทรงพระเจริญ อยู่บนอกสุดท้ายไปเป็นผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงอยู่ในคุก”
ดูคลิป
ที่มา ILAW
เลือกตั้ง 66: จุดยืนมาตรา 112 ของพรรคการเมือง
8 เม.ย. 2566
พรรคเพื่อไทยมองประเด็นมาตรา 112 เป็นสองส่วน คือ การแก้ไขที่การบังคับใช้กฎหมายและการแก้ไขที่ตัวบทกฎหมาย ประเด็นการบังคับใช้กฎหมายขัตติยา สวัสดิผล ระบุว่า ปัญหาเร่งด่วนของมาตรา 112 อยู่ที่ปัญหาการบังคับใช้ ส่วนตัวบทหากจะมีการแก้ไขต้องมีการพูดคุยกันทุกภาคส่วนให้หาฉันทมติร่วมกันได้ ขณะที่พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดชยอมรับว่าปัญหาข้อกฎหมายของมาตรา 112 ได้แก่ประเด็นอัตราโทษที่ค่อนข้างสูงและประเด็นที่ผู้ร้องทุกข์คดีจะเป็นใครก็ได้ สำหรับการแก้ไขจำเป็นต้องทำในสภาเพราะเป็นประเด็นที่สังคมมีความเห็นแตกต่างกัน พรหมมินทร์ระบุด้วยว่าควรจะต้องดูเรื่องการบังคับใช้กฎหมายด้วยพร้อมยกตัวอย่างคณะกรรมการกลั่นกรองที่เคยใช้ในสมัยรัฐบาลไทยรักไทยที่เมื่อมีคดีเข้าลักษณะการกลั่นแกล้งทางการเมืองก็จะให้ยุติการดำเนินคดี ขณะที่แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีสองคนคือ เศรษฐา ทวีสินและแพทองธาร ชินวัตรเห็นในทำนองเดียวกันว่า ไม่ยกเลิกมาตรา 112 แต่ถกเถียงแก้ไขไม่ให้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
สำหรับพรรคเพื่อไทยมีตัวแทนที่พูดถึงประเด็นมาตรา 112 ในหลายวาระโอกาส เริ่มต้นช่วงปลายปี 2564 เรื่อยมา แต่พรรคเพื่อไทยไม่ได้ออกเป็นนโยบายอย่างเป็นทางการที่นำมาใช้หาเสียงว่าจะดำเนินการทางนิติบัญญัติอย่างไรกับมาตรานี้ โดยความเห็นที่มาจากตัวแทนของพรรคเพื่อไทย หลายโอกาสจะมีมาตรฐานขั้นต่ำอยู่ที่การเข้าใจปัญหา “การบังคับใช้” แต่ไม่ชัดเจนเรื่องการแก้ไขตัวบทกฎหมาย จนกระทั่งในเดือนเมษายน 2566 เริ่มมีตัวแทนที่แสดงความเห็นว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอให้แก้ไขทั้งตัวบทของมาตรา 112 และการบังคับใช้กฎหมาย
โดยภาพรวมแล้วตัวแทนของพรรคเพื่อไทยแต่ละคนยังให้คำตอบที่สับสนและต้องอาศัยการตีความของผู้ฟัง เกี่ยวกับจุดยืนเรื่องมาตรา 112 โดยมีระดับแกนนำของพรรคที่แสดงออกชัดเจนว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขตัวบทกฎหมายอยู่บ้าง เช่น พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะทำงานนโยบาย พรรคเพื่อไทย ที่กล่าวไว้ในเวทีมติชนย้ำจุดยืน ชูจุดขาย ประกาศจุดแข็งเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 และแพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่กล่าวไว้ในเวทีเลือกตั้ง 66 เปลี่ยนใหม่หรือไปต่อเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 ที่กล่าวถึงปัญหาขอบเขตของมาตรา 112 บทกำหนดโทษ ผู้ริเริ่มคดี
เห็นด้วยกับประเด็นที่ต้องแก้ในทางตัวบท
พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช กล่าวในเวทีมติชนย้ำจุดยืน ชูจุดขาย ประกาศจุดแข็งเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 ว่า มาตรา 112 ผมเห็นด้วยว่า การที่มีกฎหมายดูแลปกปักษ์รักษาประมุขของประเทศเป็นเรื่องจำเป็น ในกรอบของกฎหมายแน่นอนที่สุดช่วงเวลา สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โลกเปลี่ยนแปลงไปในสาระอาจจะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องมากขึ้น ในกระบวนการเหล่านี้ในข้อเหล่านี้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน กระบวนการที่แก้ไขโดยสันติวิธีต้องกลับเข้าไปในสภาและหารือกันในข้อไหนที่จะต้องแก้
เห็นด้วยในหลายประเด็นที่ทางผู้แทนของพรรคก้าวไกลเสนอมาว่า มันยังมีหลายๆจุดที่จะต้องแก้ ซึ่งอันนี้ต้องถกเถียงกันและหาทางออก ประเด็นสำคัญคือ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งเรื่องของโทษ เรื่องของผู้ที่นำเสนอหรือเป็นผู้ฟ้อง-...ประการที่สองที่สำคัญคือ กระบวนการที่นำไปใช้กฎหมาย ผมยกตัวอย่างเมื่อสมัยที่ผมอยู่ในรัฐบาลไทยรักไทย เรื่องเหล่านี้ก็เกิดขึ้น แต่มันมีกระบวนการต่างๆ ที่คอยกลั่นกรองเรื่องพวกนี้ ไม่ใช่เฉพาะสำนักพระราชวัง มีคณะกรรมการชุดหนึ่งที่ถูกแต่งตั้งขึ้นแล้วก็พิจารณาเรื่องนี้ว่าจะเข้าข่ายอย่างไรหรือไม่ มีการกลั่นกรองและถกเถียงกัน ไม่อย่างนั้นถูกเลือกใช้ แม้กระทั่งกับข้าราชการผู้ใหญ่ในกระทรวงสาธารณสุข กำลังจะเป็นแคนดิเดตปลัดสาธารณสุข...แต่คณะกรรมการชุดนี้กลั่นกรองและในที่สุดปิดเรื่องนี้
“ดังนั้น เราเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าจะต้องมีการแก้ไข แต่การแก้ไขเนื่องจากมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมากๆจึงต้องเข้ากระบวนการสภาและหารือกัน”
ดูคลิปนาทีที่ 16.13-18.13
แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย กล่าวในเวทีเลือกตั้ง 66 เปลี่ยนใหม่หรือไปต่อเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 ว่า พรรคเพื่อไทยไม่ยกเลิกม. 112 แน่นอน แต่ในส่วนตัวของพรรคเพื่อไทยคิดว่า เราต้องถกกันในสภา กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน กำหนดคนฟ้อง กำหนดบทลงโทษ ไม่ให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
ดูคลิป
เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย กล่าวในรายการเปิดปากกับภาคภูมิเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2566 ว่า มาตรา 112 อาจจะมีบางประเด็นเรื่องการบังคับใช้ ไม่ว่าใครจะใช้ก็ได้ใช้เป็นประโยชน์ด้านการเมือง ตรงนี้ต้องมาแก้ไขให้มันถูก แต่จุดยืนของพรรคเพื่อไทยชัดเจน เราไม่ยกเลิก 112 แต่ว่าเราก็จะมาดูที่ว่า ตรงไหนที่มีการแก้ไขแล้วเกิดความเป็นธรรม ไม่นำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้
เมื่อพิธีกรถามว่า พร้อมที่จะแก้ไขให้เกิดความเป็นธรรม เศรษฐาตอบว่า ใช่ครับ
ดูคลิป
ดูที่การบังคับใช้ แต่ไม่ใช่เวลาแก้ไข
ขัตติยา สวัสดิผล กล่าวในเวทีการกลับมาของมาตรา 112 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 ระบุว่า สิ่งที่ต้องทำอย่างแรก คือ วิธีการบังคับใช้ซึ่งพรรคเพื่อไทยให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก แล้วถ้าการแก้ไขมาตรา 112 เข้าไปอยู่ในสภา พรรคเพื่อไทยมองว่า ต้องมีการพูดคุยเรื่องนี้กันอย่างจริงจังจากทุกภาคส่วน
อ่านรายละเอียด
สุทิน คลังแสง กล่าวผ่านรายการเลือกตั้ง 66 ของสำนักข่าว Today เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2566 ว่า ม.112 เรายอมรับว่า มีปัญหา ถ้าบอกว่า ไม่เห็นด้วยนี่คือ ไม่ให้เห็นด้วยว่าแก้ช่วงนี้ แต่ถ้าเป็นช่วงเมื่อสังคมมีความคิดตกผลึกอธิบายเรื่องนี้อย่างเข้าใจแท้แล้วเนี่ย เราอาจจะเห็นด้วย ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า บอกว่า 112 มีปัญหาแต่ว่ามันมีปัญหาด้านไหนต้องมาดูละเอียด โดยตัวบทของมันใช่หรือเปล่า หรือการบังคับใช้ เรามองว่า ปัญหา 112 มากที่สุดคือ บังคับใช้เพราะว่า คนมักไปเอา 112 กลั่นแกล้งกัน มาทำลายคู่แข่งทางการเมืองกันแล้วไปบิดตัวกฎหมายซะ คนเขาพูดนิดเดียวไปตีความไปไกลว่า หมิ่น เพราะฉะนั้นปัญหาที่พบมากที่สุดคือ การบังคับใช้กฎหมายที่มันไม่ถูกต้องตามตัวบท ถ้าจะแก้ก็คือ ต้องแก้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายก่อน
ในตัวบทถามว่า มีปัญหาไหม อาจจะมีปัญหาว่า บางเรื่องอาจจะต้องแก้เพื่อปิดช่องไม่ให้คนกลั่นแกล้งกัน ทีนี้จะแก้เมื่อไหร่ เราต้องยอมรับว่า วันนี้ปัญหาของประเทศมีเยอะ เราจะอะไรก่อน ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง หรือเอาประชาธิปไตยให้สมบูรณ์เรียงลำดับมาให้ดี เรายังเห็นว่า ประเทศยังต้องสร้างบรรยากาศที่มันต้องเกิดความสามัคคีเพื่อจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ได้ เรื่อง 112 บังเอิญว่า สังคมไทยมันคิดเป็นสองกลุ่ม คนรุ่นเก่าหน่อยอาจจะบอกไม่แก้ คนรุ่นใหม่บอกแก้ เมื่อมันเป็นกลุ่มความคิดที่เป็นก้อนใหญ่ทั้งสองข้างมันต้องระวัง ฉะนั้นถ้าแก้เสียตอนนี้ ความขัดแย้งปะทะกันสองกลุ่มปั๊บก็ไปทำลายบรรยากาศในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ประเทศไม่มีก็เจ๊งเลย เราถือว่า 112 เนี่ยถึงเวลาหนึ่งมันต้องแก้แต่เวลานั้นต้องให้คนไทยจูนความคิดให้มันใกล้เคียงกันอย่าให้เกิดความขัดแย้ง...ณ วันนี้อาจจะยังก่อน จะไปแก้กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย
ดูคลิป
ทั้งนี้ระหว่างการอภิปรายในญัตติด่วน #ตะวันแบม เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ตอนหนึ่ง สุทินกล่าวว่า การเรียกร้องเรื่องการยกเลิกมาตรา 112 และ 116 ผมคิดว่า เรื่องนี้ก็เป็นข้อเรียกร้องที่มีเหตุผล อะไรทำได้เราก็บอกว่าทำได้ อะไรที่มันทำได้แต่มันยังไม่ใช่เวลา มันจะต้องใช้วิธีการทำความเข้าใจกับคนในชาติ เราก็อธิบายกับเขาไป... “116 เราเห็นด้วย 112 เราเห็นด้วยแต่ใช้เวลานิดนึง จะปฏิรูปเรื่องนี้หรือยกเลิก แก้ไข ถ้าเป็นการยกเลิกแก้ไขเพื่อปกป้องสถาบันฯ ก็โอเค” แต่ระวังอย่าเปิดช่องให้คนนำสถาบันฯใช้ประโยชน์ทางการเมืองและกลั่นแกล้งกัน
ดูคลิปนาทีที่ 5:00:18-5:01:12
ดูเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ไม่แก้มาตรา 112
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กล่าวในเวทีเลือกตั้ง 66 เปลี่ยนใหม่หรือไปต่อเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 ว่า “ผมเห็นความจริงว่า ในสังคมนี้มีคนคิดแตกต่างกันและก็มีคนคิดว่า กฎหมายมาตราดังกล่าวมีปัญหา อาจจะในเชิงเนื้อหาสาระหรือในเชิงการบังคับใช้ก็ตาม ผมว่า ความจริงนี้กับการแสดงออกเมื่อสักครู่ หรือหลายกรณีที่ผ่านมามันปฏิเสธไม่ได้ แต่ประเด็นก็คือว่า รัฐจะจัดการกับสถานการณ์แบบนี้อย่างไร ผมเห็นว่า บทบัญญัติของกฎหมายมาตรานี้ถูกตั้งคำถามเรื่องหลักนิติธรรม เช่น การกำหนดอัตราโทษขั้นต่ำ 3 ปีขึ้นไป หรือการบังคับใช้แบบที่ใครก็ตามสามารถแจ้งความใครๆ ก็ได้ และมีการใช้บทบัญญัติกฎหมายมาตราดังกล่าวกล่าวหาว่า ประชาชนคนใดกลุ่มใดมีความไม่จงรักภักดีมุ่งร้ายต่อสถาบัน...ผมจึงไม่อยากให้รัฐหรือผู้มีอำนาจยุคใดก็ตามใช้กฎหมายมาตราดังกล่าว ใช้ความแตกต่างทางความคิดดังกล่าว ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งไปเผชิญหน้ากับสถาบันใดๆก็ตามโดยตรง และมันต้องมีวิธีการบังคับใช้ให้กฎหมายมาตรานี้ไม่เป็นเครื่องมือทางการเมืองของใครกลุ่มใดก็ตาม
พิธีกรถามว่า อันนี้คือส่วนตัวหรือในนามพรรค ณัฐวุฒิตอบว่า ในนามพรรคเพื่อไทย พิธีกรถามว่า ว่าจะแก้มาตรา 112 ณัฐวุฒิตอบว่า ไม่ได้แก้แต่ว่าจะดูแลเรื่องการบังคับใช้
ณัฐวุฒิ กล่าวด้วยว่า การแก้ไขมาตรา 112 ในเชิงเนื้อหา ณ ปัจจุบันแม้ผมบอกว่า เราเห็นคำถามเรื่องหลักนิติธรรมอยู่ชัดแจ้ง แต่ความเป็นจริงทางการเมืองในสังคมไทย คือ มาตรานี้มันทำให้สองฝ่ายทางความคิดยืนกันสุดโต่ง และยังไม่สามารถจะมีพื้นที่ในการพูดคุยกันโดยเหตุโดยผลได้ เพราะฉะนั้นดูเรื่องการบังคับใช้อย่าให้ถูกเอาไปเป็นเครื่องมือทางการเมือง อย่าถูกให้เอาไปทำร้ายและใส่ร้ายทำลายใคร และเมื่อสังคมมันตั้งหลักกันได้มากขึ้น เป็นไปได้ว่า ในสภาชุดหน้าอาจจะมีญัตติทำนองเหล่านี้และเปิดพื้นที่ปลอดภัยในตัวแทนประชาชนพูดคุยกันไม่ใช่ญัตติเรื่องแก้หรือไม่แก้ แต่หารือกันว่า เราจะบังคับใช้ จะดูเรื่องนี้กันอย่างไร ด้วยความเคารพ ผมไม่คิดว่า คนในเวทีนี้หรือพรรคการเมืองไหนจะมุ่งร้ายทำลายสถาบันฯ ในขณะเดียวกันผมก็เห็นว่า คนที่เขาห่วงใย คนที่เขาไม่มีความสุขกับสิ่งที่เกิดขึ้นมีอยู่จริง แต่ถ้ามันสุดโต่งไป ผมว่า มันเป็นปัญหา ผมเห็นคนที่แสดงออกว่าจงรักภักดีมากกว่าใครๆหลายคนมีปัญหา สักคำว่า ทรงพระเจริญ อยู่บนอกสุดท้ายไปเป็นผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงอยู่ในคุก”
ดูคลิป
ที่มา ILAW
เลือกตั้ง 66: จุดยืนมาตรา 112 ของพรรคการเมือง
8 เม.ย. 2566