วันศุกร์, มิถุนายน 30, 2566

‘หมอชลน่าน’ แก้ไขคำพูดอีกครั้ง “อาจจะสื่อสารไขว้เขว ก็ต้องขออภัย” แต่อย่าทำบ่อยได้มั้ย

จะว่าเต้นสลับขาหลอกล่อ ก็ไม่อยากคิดอย่างนั้น หมอชลน่านทำให้ประชาชนฟากประชาธิปไตยสับสน โอเค “อาจจะสื่อสารไขว้เขว ก็ต้องขออภัย” แต่อย่าทำบ่อยได้มั้ย เรื่องประธานสภาฯ กลับไปกลับมาเป็นไม้หลักปักขี้เลน

เมื่อวานพูดอย่าง วันนี้บอกไม่รู้ ข่าวมาได้ยังไง ที่ว่าเพื่อไทยถอยยอมให้ก้าวไกลเอาไป ฝ่ายตนเอาสองตำแหน่งรองฯ แล้วถ้า พิธา ไปไม่รอดฝั่ง เพื่อไทยจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเองนั้น คุณหมอว่าเป็น “เรื่องของการปล่อยข่าวมากกว่า”

ก่อนหน้าหน่อยนึงทั่นหัวหน้าพรรคพูดจ้อย “เราถูกมัดด้วยอาณัติของประชาชน...แม้เราอยากออกไป แต่ออกไปไม่ได้...ซึ่งเรามีสิทธิด้วยนะถ้าเราออกไป แต่ว่ามันไม่ชอบธรรม” กับ “พรรคอันดับหนึ่งเขาควรจะได้เป็นประธาน เราจึง ขอ มาเป็นของอันดับสองได้มั้ย”

จะอ้างเพื่อ “ดุลยภาพในการทำงาน” หรืออย่างอื่นใดก็แล้วแต่ ภาพต่างห่างลิบกับที่ อุ๊งอิ๊ง โพสต์ไว้ว่า “ทำงาน ๆ ๆ” คล้องกันกับภาพโพสต์ของ ศิริกัญญา ตันสกุล เมื่อสองทีมสองพรรคเสียงข้างมาก ๑๕๑+๑๔๑ นั่งถกนโยบายเศรษฐกิจ

“สุดชิล ในสถานที่แห่งหนึ่ง ใจกลางกรุง ติดรางรถไฟฟ้า โดยวงประชุมมีอาทิ เศรษฐา , แพทองธาร , หมอมิ้ง พรหมมินทร์ , คณาพจน์ , พิจารณ์ , ไหม ศิริกัญญา และ จักรพงษ์ แสงมณี” Noppakow kongsuwan @SAHINOP ทวี้ตแจ้ง

ณ เวลานี้ ชลน่านพูดอีกอย่าง “ก็พูดมาตลอด ว่าเพื่อไทยไม่มีแผน ๒ แผน ๓ เพราะเราเคารพพรรคแกนนำ  เรามีแผนเดียวคือสนับสนุนพรรคแกนนำ และสนับสนุนให้นายพิธาเป็นนายกเท่านั้น” ๓๐ มิถุนา ชลน่านออกมาแก้ต่างและยืนกราน

ตนขอย้ำอีกครั้งว่า พรรคเพื่อไทยยึดมั่นในฉันทามติของประชาชน สนับสนุนนายพิธาเป็นนายก และก้าวไกลเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล” นี่ก็คงอ้างว่าพูดเป็นครั้งที่สองร้อยแล้วมั้ง ได้เช่นกัน “จะไม่เป็นเงื่อนไขในการที่จะทำให้ การจัดตั้งรัฐบาลไม่ประสบความสำเร็จ

ดังนั้น ระหว่างรอผลการประชุมกันในพรรคเพื่อไทย วันที่ ๓ มิถุนา ก็หวังว่าจะไม่มีแบบ อดิสร เพียงเกษ ออกมาตีรวน ชักใบให้เรือเสีย ยืดเวลาออกไปอีกหล่ะ

(https://ch3plus.com/news/political/ch3onlinenews/355557, https://twitter.com/thestandardth/status/1674342425660383233 และ https://www.facebook.com/thestandardth/posts/JkmsFaG4l) 

ใครคิดเอาหัวหน้าพรรคคะแนน 5 แสนมาเป็นนายกฯ แทนหัวหน้าพรรค 14 ล้านเสียง ควรคิดใหม่ คิดให้มากประเทศจะเสียหายขนาดไหน จะอยู่ในวิกฤตยาวนานเท่าใด


พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) มี ส.ส.เขต 39 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน (คน (จากคะแนนมหาชน 537,625 เสียง) ได้ ส.ส. รวม 40 คน


 

อีก 1 กรณีที่ยิ่งทำให้ต้องเสนอยกเลิก 112

อีก 1 กรณีที่ยิ่งทำให้ต้องเสนอยกเลิก 112
อานนท์ นำภา
.....
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
10h
·
“หนูไม่อยากให้มาตรา 112 ได้น้ำตาหนูไป หนูไม่เป็นไร โอเค แค่คิดถึงเพื่อน คิดถึงเฟซบุ๊ก ไม่รู้ว่าจะได้ออกมั้ย หวังว่าศาลจะให้ประกัน”
.
วันแรกที่เราเข้าเยี่ยมวารุณี ผ่านระบบไลน์ หลังจากวานนี้ (28 มิ.ย. 2566) ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำคุกเธอ 1 ปี 6 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ และมีคำสั่งส่งให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาคำร้องประกัน ทำให้เธอต้องถูกคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง เพื่อรอผลประกันจากศาลอุทธรณ์ก่อนราว 2-3 วัน
.
วารุณีถูกดำเนินคดีจากการโพสต์ภาพพระแก้วที่ถูกตัดต่อใส่ชุดราตรี แบรนด์ SIRIVANNAVARI ในภาพมีรัชกาลที่ 10 กำลังทำพิธีเปลี่ยนชุดพระแก้วมรกต ภาพนี้ถูกทำเป็นมีมและโพสต์ในกรุ๊ปๆ หนึ่ง เธอเอามาโพสต์ต่อโดยเขียนคำบรรยายว่า “แก้วมรกตX Sirivannavari Bangkok” เพราะเห็นว่าภาพตัดต่อได้เป๊ะมากและมองเป็นเรื่องแฟชั่น จนถูกฟ้องข้อหามาตรา 112, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และเหยียดหยามศาสนา
.
ในวันนัดสืบพยานเธอรับสารภาพในข้อหามาตรา 112 และตั้งใจสู้ในฐานความผิด “เหยียดหยามศาสนา” เพราะเธอไม่ได้กระทำการใดๆ ต่อวัตถุหรือสถานที่ของศาสนา แต่ศาลชี้แจงว่าในเมื่อรับข้อหา ม.112 ก็ควรจะรับสารภาพข้อหาอื่นๆ ไปด้วย เพราะหากศาลมีคำพิพากษาก็จะลงโทษในข้อหา ม.112 ที่มีบทลงโทษหนักที่สุดเพียงข้อหาเดียวอยู่แล้ว เธอจึงตัดสินใจเปลี่ยนไปรับสารภาพทุกข้อหา
.
เธอไม่ได้อ้างอาการป่วยเพื่อให้พ้นโทษ แต่อาการป่วยไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) ของเธอทำให้สภาพจิตใจไม่มั่นคงซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจใดๆ ของเธอ
.
ทนายความประเมินว่า เทียบกับความหนักเบาในคดีมาตรา 112 อื่นก่อนหน้านี้ คดีของวารุณีมีโอกาสที่ศาลจะพิพากษารอการลงโทษไว้ อย่างไรก็ตาม ศาลเห็นว่าการโพสต์ภาพดังกล่าวนั้นร้ายแรงจึงพิพากษาให้จำคุก โดยไม่รอลงอาญาแต่อย่างใด
.
.
สภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำต้องปรับตัวหลายอย่าง
.
วารุณีมาในชุดผู้ต้องขังใส่หน้ากากอนามัย ใส่เฟซชิลด์ เธอต้องถูกกักตัวเป็นเวลา 10 วัน อยู่ในแดนแรกรับ เราคุยเรื่องการประกันตัวเป็นเรื่องแรก เราประมาณการว่า ศาลอุทธรณ์น่าจะมีคำสั่งว่าจะให้ประกันหรือไม่ไม่เกินวันเสาร์นี้ (1 ก.ค. 2566)
.
“วันเสาร์ก็ประกันได้ใช่ไหมพี่” เราตอบกลับไปว่าสามารถทำได้ และชี้แจงต่อว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาต เราก็ยังสามารถอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลฎีกาได้อีก
.
เธออยากได้ยา เราแจ้งว่าได้ฝากยาเข้าไปแล้วเมื่อเช้านี้ แต่การรับยารักษาโรคในเรือนจำมีขั้นตอนปฏิบัติอยู่ โดยจะต้องเข้าพบกับแพทย์เสียก่อน ซึ่งจิตแพทย์จะเข้ามาอาทิตย์ละ 1 ครั้ง หมายความว่าในอาทิตย์นี้ ‘เธอจะยังไม่ได้รับยา’ ทั้งที่ต้องทานยาเป็นประจำทุกวัน
.
เมื่อถามถึงความเป็นอยู่ด้านใน เธอตอบว่า “ต้องปรับตัวเยอะ อะไรหลายอย่างที่ไม่เคยทำก็ต้องปรับตัว ต้องเอาผ้าห่มมาม้วนเป็นหมอนหนุนนอน เพราะว่าได้ผ้าห่มมาเพียง 3 ผืน ต้องใช้ทักษะการเอาตัวรอดพอสมควร เมื่อคืนนอนหลับสนิทดี เพราะว่าคืนก่อนหน้าที่ศาลจะนัดฟังคำพิพากษานอนไปแค่ 2-3 ชั่วโมง แต่เวลานอนต้องนอนคลุมโปง เพราะเรือนจำเขาเปิดไฟสว่างทั้งคืน”
.
เธอได้รับแจกสิ่งของจำเป็นพื้นฐาน อย่างยาสีฟัน แปรงสีฟัน ชุดนอน 1 ชุด และชุดที่เธอใส่ออกมาพบเรา “ส่วนห้องน้ำก็ตามสภาพ มันสะอาดนะ แต่ไม่มีที่กั้น” เราถามถึงเรื่องอาหาร “อาหารไม่เริด อยากกินหมูกระทะ มาม่า อาหารแห้ง ปลากระป๋อง”
.
.
ไม่อยากให้มาตรา 112 ได้น้ำตาหนูไป
.
เมื่อถามถึงความรู้สึกของเธอ เธอตอบว่า “หนูไม่อยากให้มาตรา 112 ได้น้ำตาหนูไป หนูไม่เป็นไร โอเค แค่คิดถึงเพื่อน คิดถึงเฟซบุ๊ก ไม่รู้ว่าจะได้ออกมั้ย หวังว่าศาลจะให้ประกัน”
.
“หนูรู้สึกว่าคาดหวังกับความยุติธรรมมากเกินไป แต่ไม่โทษศาลนะ เพราะคนเรามีมุมมองที่ต่างกัน หนูได้คิดและตกตะกอนว่า สิ่งที่หนูทำก็คงมีคนไม่เห็นด้วย แต่หนูยังมีความหวังว่ากระบวนการยุติธรรมจะให้ความยุติธรรมกับหนู เพราะนี่เป็นการกระทำความผิดครั้งแรก”
.
วารุณียังฝากกำลังใจให้ทนายความว่าเธอกำลังใจดีมาก เราอ่านข้อความจากเพื่อนและญาติให้เธอฟัง เธอเลยฝากอัปเดทถึงเพื่อนๆ ว่า “ตอนนี้ไม่มีน้ำตาเลย มีแต่ความคิดถึง กำลังใจดีมาก ขอบคุณทุกๆ คนแล้วจะรีบกลับไป”
.
.
อ่านบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/57088

ฝันร้ายต้องอยู่กับคนกระทำ ไม่ใช่ผู้ถูกกระทำ : “คนเลวเยี่ยงนี้ในวงการนักเขียนและแวดวงศิลปะ ต้องไม่เหลือที่ยืนให้”



Silpee Kobkijwattana
16h·

“เมื่อวงการศิลปะ หรืองานเขียน ไม่ได้ปล่อยโอกาสให้ใครโบยบินง่ายดายขนาดนั้น”
ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ฉันได้ขบคิดนึกตกตะกอนเรื่องนี้เป็นอย่างดี ก่อนจะตัดสินใจเขียนข้อความนี้ขึ้นมานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่เมื่อผ่านการตกตะกอนมาเป็นอย่างดี ฉันขอเป็นอีก 1 เสียงสำคัญผู้ตกอยู่ในเหตุการณ์ซึ่งในภาษาทางกฎหมายเรียกว่า "โดนกระทำอนาจาร" อันหมายถึง การอนาจารโดย “ไม่มี” การล่วงละเมิดใดๆ
แต่ในคำที่ฉันใช้บอกกับครอบครัว คือ "พ่อ หนูเกือบถูกคนที่พ่อรู้จักล่วงละเมิด”
ฉันคือคนทำงานคนหนึ่ง และเชื่อแบบนั้นเสมอมา ว่า “การทำงาน” และความขยันขันแข็งจะพาเราไปทุกที่ ไม่ใช่อื่นใด แต่ในเหตุการณ์นี้ ผสมรวมกันเข้ากับความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่ได้ชักชวนผู้บุคคลนี้ มาเป็น ”บรรณาธิการ” ให้กับ โปรเจ็ค “รวมเรื่องสั้นนักเขียนพำนัก ณ เชียงใหม่” โดยที่ตัวฉันเองเป็นผู้ชักชวนบรรณาธิการ, และนักเขียน มาทำงานในโปรเจ็คนี้ด้วยความเชื่อใจทั้งสิ้น
แต่กลายเป็นว่า ฉันถูกคนที่ฉันให้ความเคารพ ไว้ใจ และเชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพด้านการทำงานบรรณาธิการมารุกล้ำเนื้อตัวร่างกายของฉัน โดยที่ฉันไม่ยินยอม และได้ปฏิเสธอย่างชัดเจนไปแล้วนั้น มันสร้างบาดแผลทางใจให้ชีวิตฉัน อย่างยากที่จะลบเลือน
“เขาไม่ได้แค่ย่ำยีความเชื่อถือที่ฉันมีให้ แต่ยังเหยียบย่ำความฝันในการทำงานที่ฉันรักและอยากให้เกิดขึ้นจริงต้องสลายลง”
และคุณไม่ต้องสนใจหรอกว่าฉันต้องใช้เวลานานแค่ไหน กว่าจะรวบรวมความกล้าเพื่อเปิดปากเอ่ยประโยคนั้นบนโต๊ะอาหารกับสมาชิกในครอบครัว
แต่สิ่งที่คุณควรสนใจคือ ตัวตนอันกระจ้อยร้อยของฉัน และเรื่องราวนี้มันยิ่งใหญ่มากโขเพียงใด ฉันเพียงหวัง และเชื่อว่า เรื่องราวนี้ทำหน้าที่เผาไหม้เรื่องราวอันเน่าเฟะในวงการงานเขียนนี้ หรือวงการใดๆก็แล้วแต่
ฉันอยากจะทำให้เรื่องนี้เป็นบทเรียนของ “ผู้กระทำ” ไม่ใช่บทเรียนของ “ผู้ถูกกระทำ” และไม่ใช่บทเรียนของผู้มีหน้าที่ดูแลใดๆทั้งสิ้น และไม่ว่าเพศใดก็ตาม ไม่ใช่แค่เพศหญิง เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ คุณต้องมีท่าทีที่เข้มแข็งมากพอ ที่จะออกมาส่งเสียง และใช้สติในการตัดสินใจ
ฉันรู้ดีว่าเมื่อข้อความนี้ออกสู่สาธารณะ ฉันอาจจะต้องเผชิญกับคำพูดเคลือบแคลงใจ และความอยากรู้อยากเห็นที่จะเอาเรื่องของฉันไปเล่าต่ออย่างสนุกสนาน หรือแม้แต่เพื่อจะนำไปวิเคราะห์ในฐานะชาวเน็ตผู้รู้ดี จากการที่ฉันเปิดเผยตัวตนในฐานะผู้ถูกกระทำ
“แต่นั่นไม่สำคัญ”
เพราะสิ่งเดียวที่ทำให้ฉันกล้าที่จะเผยตัวเองว่าถูกคนที่มีหน้ามีตาในสังคมวงการหนังสือล่อลวง เพื่อหวังผลที่จะล่วงละเมิดกายฉันนั้น
เพราะฉันนึกถึงผู้หญิงจากตัวของฉัน และทุกเพศบนโลกจากเศษเสี้ยวของฉัน อีกมากที่อาจกำลังเผชิญเหตุการณ์เหมือนฉัน แต่ด้วยเหตุใดก็ตามอาจจะยังไม่สามารถออกมาพูดได้ ซึ่งตัวฉันเองก็เข้าใจพวกเขาเหล่านั้นเป็นอย่างดี จึงเก็บงำความเจ็บปวดไว้ตามลำพัง
หากใครเคย หรือกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกความเชื่อใจไว้ใจทำร้าย ขอให้รู้ไว้ว่าคุณไม่ได้อยู่ตามลำพัง
และอย่าปล่อยให้คนที่ใช้ชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ มาฉกฉวยประโยชน์บนเนื้อตัวร่างกายของคุณ หากคุณเคยถูกกระทำจากบุคคลท่านนี้ มาร่วมดำเนินคดีตามกฏหมายไปด้วยกันตามข้อกำหนดของชั้นศาลค่ะ
คนเช่นนี้ ต้องได้รับโทษ และไม่มีสิ่งใดสำคัญไปกว่าการมีสติในการยืนหยัดเพื่อตัวเอง
สุดท้ายขอบคุณทุกคน ครอบครัว, เพื่อน, พี่ป้าน้าอาลุง, ผู้ร่วมงาน รวมไปถึงทุกความสัมพันธ์อันดีงามในชีวิต ณ ขณะนี้ ที่คอยเป็นกำลังใจ ชุบชูกัน พาแมวน้ำผ่านเหตุการณ์นี้มา สิ่งเหล่านี้ประเมินค่าไม่ได้เลยค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
..
Prakit Kobkijwattana
19h·

“ คนเลวเยี่ยงนี้ในวงการนักเขียนและแวดวงศิลปะ ต้องไม่เหลือที่ยืนให้”
หลายวันมานี้ ผมไปสถานีตำรวจเป็นเพื่อนลูกสาว เพื่อดำเนินคดีฟ้องคนที่เรียกตัวเองว่าบรรณาธิการหนังสือคนหนึ่ง ( ชื่อเล่น ต. )ในข้อหากระทำอนาจารและพยายามจะล่วงละเมิดทางเพศ
(ขออนุญาตไม่เล่ารายละเอียด เพราะให้ปากคำตำรวจไปหมดแล้ว ซึ่งตำรวจรับเป็นคดีและกำลังออกหมายเรียกให้มารับทราบ ซึ่งถึงตอนนี้นักสืบโซเชี่ยลหลายคนคงทราบว่าเขาคือใคร )
ผมหมั่นเตือนลูกให้ระวังตัวเสมอ เวลาไปไหนดึกๆ เพราะกลัวภัยจากคนที่เราไม่รู้จัก
แต่กลายเป็นว่า คนที่อยู่ในวงการนักเขียน มีความใกล้ชิดในฐานะมิตรสหายที่พบปะกันตามงานต่างๆ
คนที่ทำตัวเป็น "แฟมิลี่แมน" ต่อหน้าวงสังคม
คนนี้ต่างหาก ที่เป็นบุคคลอันตราย
สาเหตุที่ทำให้ลูกสาวผมไปใกล้ชิดกับบุคคลนี้ เกิดจากความเชื่อใจ ไว้ใจ เห็นหน้ารู้จักกันมานานพอสมควร และลูกสาวผมชื่นชมบุคคลนี้ในความเป็นมืออาชีพ และการมีภาพครอบครัวที่น่ารัก จึงเอาโปรเจคท์สำคัญ เกี่ยวกับการพาเหล่านักเขียนไปพักที่เชียงใหม่ มาปรึกษาและขอให้บุคคลนี้ทำหน้าที่บรรณาธิการ
แต่แล้ว บุคคลนี้กลับใช้ความไว้ใจของลูกสาวผม เป็นเหยื่อล่อล่วง ด้วยวาจาที่ส่อถึงเจตนาต้องการละเมิดทางเพศ ทั้งยังพาดพิงถึงหญิงสาวคนอื่นในทางเสียหาย
เมื่อลูกบอกให้ผมรู้ถึงเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้น
ผมส่งข่าวให้ทางครอบครัวของคนนี้รู้ทันที
เพราะต้องการให้เห็นความน่ารังเกียจและขยะแขยงที่เขาแสดงต่อลูกผม
ผมตระหนักนะว่าครอบครัวเขาก็เจ็บปวด ที่รับรู้เรื่องนี้
แต่การกระทำของเขา ผมให้อภัยไม่ได้
ผมมักคิดกับตัวเองบ่อยๆ ว่า เมื่อเกิดเรื่องขึ้นแล้วจะส่งผลอย่างไรกับลูกสาว
คนที่กระทำควรได้รับผลลัพธ์อย่างไร? แต่ผมคิดว่านั่นไม่สำคัญแล้ว
ผมบอกกับลูกสาวว่าไม่ต้องกลัว เรื่องนี้พ่อจะช่วยให้ถึงที่สุดและเอาผิดแบบไม่มีข้อต่อรองใดๆ
ผมต้องการพิสูจน์จุดยืนในเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดจากผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่กว่า ที่มากระทำต่อผู้หญิงที่ยังอยู่ในวัยรุ่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมรังเกียจมาตลอดชีวิต
ดังนั้น ผมจะกำจัดคนชั่วร้ายให้ออกไปจากวงการนักเขียนและศิลปะ
สองสามวันมานี้ผมคอยเฝ้าดูแลจิตใจเธอด้วยความเป็นห่วง
เชื่อว่า จนถึงตอนนี้จิตใจเธอเกือบจะปกติแล้ว
เอาเข้าจริงเธอแกร่งกว่า กล้าหาญกว่า และเข้มแข็งกว่าที่ผมคาดไว้มาก
เธออดทนจนงานธีสิสเสร็จ แลัวค่อยจัดการเรื่องนี้
เธอยืนกรานว่าจะไม่ยอมความเด็ดขาดและจะเอาผิดให้ถึงที่สุดเพื่อปกป้องผู้หญิงที่จะต้องตกเป็นเหยื่อในอนาคต
ตลอดชีวิตที่ผ่านมาผมบอกลูกเสมอว่าโลกนี้ไม่ได้งดงามดั่งตาเห็น บทเรียนชีวิตต้องเรียนรู้จากการใช้ชีวิตจริงๆ ในสังคม
วันนี้ลูกคงได้รับบทเรียนชีวิตที่สำคัญไปแล้ว คืออย่าไว้ใจมนุษย์
ขอบคุณพี่ป้าน้าอาทุกคนที่มีส่วนช่วยให้ความช่วยเหลือในทางกฎหมาย คำปรึกษา และกำลังใจมากมายที่มีต่อผมและลูกสาว
และขอบคุณตำรวจหนุ่มสาวที่สถานีตำรวจสน.ประชาชื่น ทำหน้าที่ดีมาก ช่วยเหลือลูกและผมในการสอบสวน จนนำไปสู่การดำเนินคดี ซึ่งผมและครอบครัว รวมทั้งเพื่อนของลูกสาว ขอยืนยันจะยืนหยัดต่อสู้แบบถึงที่สุด
หมายเหตุ : ข้างล่างคือข้อความที่เขาพยายามขอโทษน้องและผม
ปล. แม้ลูกจะรอดมาอย่างปลอดภัย แต่หากใครเคยประสบเหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศ ไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใด จากบุคคลนี้ และอยากจะร่วมต่อสู้ ผมขอสนับสนุนและยินดีช่วยเหลือนะครับ
เราทุกคนที่เป็นเหยื่อต้องกล้าสู้กับคนเลว
ฝันร้ายต้องอยู่กับคนกระทำ ไม่ใช่ผู้ถูกกระทำ

กอ.รมน. ร่วมกับ สพฐ. และ สอศ. ลงนาม MOU เสริมสร้างการเรียนประวัติศาสตร์ไทย ตระหนักในสถาบันชาติ (หวังสู้กับ Youtube Tiktok Twitter - กอ.รมน. ไม่ได้กล่าว)

.....


ภาพปก: เว็บไซต์ กอ.รมน.

2023-06-29 14:37
ประชาไท

28 มิ.ย. 2566 เว็บไซต์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) รายงานเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเบญจพัชร ชั้น 2 อาคารเบญจรังสฤษฎ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.) พลเอกณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (รอง ผอ.รมน.) ลงนาม "บันทึกความเข้าใจความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางประวัติศาสตร์ชาติไทย" ร่วมกับ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) และ ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) โดยมี พลเอก อุกฤษฎ์ บุญตานนท์ เลขาธิการ กอ.รมน. เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการ กอศ. และคุณเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. ร่วมลงนามเป็นพยานในความร่วมมือดังกล่าว


ที่มา: เว็บไซต์ กอ.รมน.

สำหรับการลงนามในครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ในการร่วมกันเสริมสร้างความรู้ ความเป็นมาประวัติศาสตร์ชาติ ตลอดจนวัฒนธรรม ประเพณีของไทย ให้กับเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา ศึกษานิเทศก์ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เสริมสร้างความรักและความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ และตระหนักถึงความเสียสละของบรรพบุรุษที่ปกป้องเอกราชอธิปไตยและดินแดนไว้ให้ลูกหลานจวบจนปัจจุบัน ซึ่ง MOU ฉบับนี้มีระยะเวลาการดำเนินการ 2 ปี นับตั้งแต่วันลงนาม

โดย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กอศ. กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อร่วมกันสนับสนุนส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา นิสิต ครู บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไป ให้เกิดความตระหนักรู้ ความภาคภูมิใจ ในความเป็นชาติไทย เกิดความรัก ความสามัคคีและความสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งการลงนามในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ โดย สอศ. จะพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย เน้นการเรียนการสอนแนวใหม่ที่สร้างการรับรู้ การใช้แหล่งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นห้องเรียน เช่น อุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ชุมชน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนาองค์ความรู้ที่ได้จากแหล่งเรียนรู้ไปต่อยอดประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน และเกิดเป็นจริยธรรมของผู้เรียนในอนาคตต่อไป

ในขณะเดียวกัน ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้เป็นการร่วมมือระหว่างกันเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทยให้มีความน่าสนใจ เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา เยาวชน และประชาชนทุกคน เกิดความตระหนักรู้ ภาคภูมิใจ ในความเป็นชาติ เกิดความรักความสามัคคี และตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันหลักของชาติ ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้ โดย สพฐ.จะเน้นการเรียนการสอนแนวใหม่ที่สร้างการรับรู้ ส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ใช้แหล่งประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากแหล่งเรียนรู้ ไปต่อยอดประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อไปในอนาคต และขอขอบคุณ กอ.รมน. และ สอศ. ที่ช่วยผลักดันให้เกิดความเข้าใจความร่วมมือดังกล่าวขึ้น

พลเอกณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ รอง ผอ.รมน. ได้กล่าวขอบคุณ และแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับความร่วมมือระหว่าง กอ.รมน. กับ สอศ. และ สพฐ. ในการลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยจะมุ่งเน้นความร่วมมือส่งเสริมความรู้ด้านประวัติศาสตร์ลักษณะเชิงสร้างสรรค์ ที่สามารถจับต้องได้ และเข้าถึงประชาชนทุกคนได้อย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวตน ในความเป็นชาติ รวมถึงได้รับรู้ถึงความจริงความเป็นมาของเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับบริบทสังคมไทยในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ กอ.รมน.ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกรัก และหวงแหน พร้อมธำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มาอย่างต่อเนื่อง

ทหารเป็นรั้ว แต่ทำตัวเป็นเจ้าของประเทศ แทนประชาชนทั้งประเทศ - มทบ.33 เอาผิด 'คณะก่อการล้านนาใหม่' เหตุจัดงาน 'กระจายอำนาจ' เชียงใหม่ ม.116 - พ.ร.บ.คอมฯ



มทบ.33 เอาผิด 'คณะก่อการล้านนาใหม่' เหตุจัดงาน 'กระจายอำนาจ' เชียงใหม่ ม.116 - พ.ร.บ.คอมฯ

2023-06-29
ประชาไท

มทบ.33 แจ้งความ “คณะก่อการล้านนาใหม่” , สื่อ Lanner และนักศึกษา มช. เหตุร่วมกันจัดงาน "แห่ไม้ค้ำประชาธิปไตย" ถกประเด็นกระจายอำนาจ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา เอาผิดข้อหา'ยุยงปลุกปั่น ม.116 - พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ – ไม่แจ้งการชุมนุม

29 มิ.ย. 2566 สำนักข่าว Top News รายงาน พลตรีสันติ สุขป้อม ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 มอบอำนาจให้ ร้อยเอกกิตติศักดิ์ ศิริภาพ เข้าแจ้งความกับ สภ.เมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ดำเนินคดีกับชาติชาย ธรรมโม, วัชรภัทร ธรรมจักร, ธีราภรณ์ พุดทะสี, เบญจภัทร ธงนันตา รวมทั้งเพจเฟซบุ๊กชื่อ Lanner และเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ NEO LANNA

จากกรณีที่ “คณะก่อการล้านนาใหม่” ได้จัดงาน "แห่ไม้ค้ำประชาธิปไตย ปักหมุดกระจายอำนาจ" ที่ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยได้มีกิจกรรมพิธีสักการะคณุบาเจ้าศรีวิชัย ที่ลานครูบาศรีวิชัยบริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ ก่อนที่เวลาประมาณ 16.00 น. ขบวนรถ "แห่ไม้ก้ำประชาธิปไตย ปักหมุดกระจายอำนาจ" จะแห่ไม้ก้ำไปรอบคูเมืองเชียงใหม่ และนำไม้ก้ำมาปักหมุดที่ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ และทำกิจกรรมตีกลองสะบัดชัย อ่านคำแถลงการณ์ของคณะก่อการล้านนาใหม่ วางดอกบัวและจุดเทียนรำลึกถึงการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองไทยเนื่องในวันครบรอบ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475



สำนักข่าว Top News ระบุว่า เวลาประมาณ 17.10 น. ผู้ถูกกล่าวหาได้ร่วมกันจัดกิจกรรมแห่ไม้คำประชาธิปไตย และปักหมุดหมายกระจายอำนาจ โดยมีวัชรภัทร ธรรมจักร และเบญจภัทร ธงนันตา อ่านประกาศคณะราษฎร ต่อมาชาติชาย ธรรมโน และธีราภรณ์ พุดทะสี เป็นคนอ่านประกาศคณะก่อการล้านนา และเพจเฟซบุ๊กชื่อ Lanner ได้ถ่ายทอดสด และเพจเฟซบุ๊กชื่อ NEO LANNA ได้แชร์การถ่ายทอดสดการจัดกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งทางมทบ.33 ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความผิด จึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีตามกฎหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

มีการแจ้งข้อกล่าวหาตามความผิด ม.116 “ร่วมกันกระทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด มิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน” , พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักร, ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นทางสาธารณะ โดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้ง ก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง, ร่วมกันนำรถเครื่องขยายเสียง ลำโพง โครงเหล็ก เวทีปราศรัยขนาดเล็ก มาจอดไว้ตั้งไว้เพื่อการชุมนุมสาธารณะอันเป็นทางเท้าหรือทางใดๆ ซึ่งมีไว้สำหรับคนเดินเท้า ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันเป็นการกีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร และร่วมกันโฆษณาโดยใช้รถยนต์ติดตั้งเครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าด้วยการบอกกล่าว

ภาพแห่ง ความหวัง ? สิ้นหวัง ? หรือ หมดหวัง ? ในวันเดียวกัน


อานนท์ นำภา
11h·
ความหวัง & สิ้นหวัง
.....

หนุ่มเมืองจันท์
11h·

ในขณะที่ “หมอชลน่าน” ให้สัมภาษณ์วันนี้ว่าเงื่อนไข “ประธานสภา” ของพรรคเพื่อไทยเป็นแค่ “ขอ”
ไม่ได้ “แข่ง”
“ถ้าไม่ได้จะพิจารณาเรื่องการทำงานต่อไป”
และบอกว่าสาเหตุที่ “เพื่อไทย” ต้องร่วมกับ “ก้าวไกล” เพราะถูกคลุมถุงชนโดยประชาชน
“แม้อยากออกไป แต่เราออกไปไม่ได้”
กราฟของ “เพื่อไทย” วูบลงอีกครั้ง
(ตอนพูดคำว่า “คลุมถุงชน” อจ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ถึงกลับเบือนหน้าหนีเลยเพราะคงรู้แล้วว่าคุณหมอชลน่านใช้คำพูดที่ผิดพลาดมากทางการเมือง)
แต่ดูเหมือนคุณหมอจะไม่ได้อ่านไลน์กลุ่ม
หรือเล่นดนตรีผิดคีย์
เพราะวันเดียวกับ“เศรษฐา” กับ “อุ๊งอิ๊ง” และหมอพรหมมินทร์ ไปประชุมกับทีมเศรษฐกิจของพรรคก้าวไกลที่นำโดย “ไหม” ศิริกัญญา ตันสกุล
“ไหม” โพสต์รูปก่อน
อีกครึ่งชั่วโมง“อุ๊งอิ๊ง” แชร์โพสต์ของ “ไหม” พร้อมข้อความ “หารือร่วมกัน เพราะเราทำงานเป็นทีมค่ะ”
เป็นการสยบข่าวความขัดแย้งทางการเมืองแบบ “การเมือง”
ไม่ต้องพูดอะไรมาก
แต่ใช้กลยุทธ์ให้ “ตัวจริง-เสียงจริง” แสดงตัว
ไม่รู้ว่ายาขนานนี้จะมีอายุนานกี่วัน 555
.....

หัวหน้าพรรคการเมือง ที่น่าสงสารที่สุดในโลก




 

ความหวัง-สิ้นหวัง=หมดหวัง (มิตรท่านหนึ่ง)

ปชช.ต้องการแก้ปัญหาโครงสร้าง ตำแหน่งประธานสภาฯ ต้องให้ 'ก้าวไกล'



 https://twitter.com/MatichonTV/status/1674400448391041024




 


บีบีซีไทย - BBC Thai
13h ·

ฟังเสียงคนเพื่อไทย กับเส้นตาย "เลิกเชียร์" หากล้ำเส้น
.
ผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย หรือ “แฟนพันธุ์แท้เพื่อไทย” หลายคน ยังไม่พอใจกับคำอธิบายของพรรคเพื่อไทย (พท.) ถึงเหตุผลที่ต้องได้ประธานสภาฯ ไม่ว่าจะ “เสมอภาคและเป็นธรรม” “ให้เกียรติซึ่งกันและกัน” และที่นั่ง ส.ส. “ต่างกันเพียง 10 คะแนน”
.
“ทำเหมือนเป็นศรีธนญชัย... พูดให้มันดูดี” ศ.เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง บอกกับบีบีซีไทย ในฐานะปัญญาชนผู้ขอ “ลากหัวใจ” คนเลือกเพื่อไทยต่อเนื่อง 22 ปี มาเตือนว่า การเปิดศึกชิงประธานสภาฯ ใกล้ทำให้ พรรคเพื่อไทยสูญพันธุ์ในตระกูลของเขา
.
ไม่เพียงแต่นักรัฐศาสตร์จากแดนเหนือ แต่ผู้สนับสนุนอีกจำนวนไม่น้อย ประกาศว่า ศึกชิงประธานฝ่ายนิติบัญญัติของ พท. กำลังทำลายศรัทธา จนทำให้การเลือกตั้ง 2566 อาจเป็น “ครั้งสุดท้าย” ที่จะเข้าคูหากาเพื่อไทย หรือเปลี่ยนสถานะจาก “คนเชียร์” ไปเป็น “ปฏิปักษ์เพื่อไทย” ก็เป็นได้
.
อ่านเหตุผลของพวกเขาอย่างละเอียด ทางนี้ https://bbc.in/46t3GRa

ประธานสภาสำคัญยังไง? สำรวจคุณสมบัติ ที่มา และหน้าที่ตามกฎหมาย



ประธานสภาสำคัญยังไง? สำรวจคุณสมบัติ ที่มา และหน้าที่ตามกฎหมาย

28 พ.ค. 2566 
โดย iLaw

หลังการเลือกตั้งปี 2566 การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรจะเกิดขึ้นก่อนการเลือกนายกรัฐมนตรี การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรนอกจากจะเป็นการเลือกผู้นำของ ส.ส. แล้ว รัฐธรรมนูญยังกำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภาด้วย (รัฐธรรมนูญ มาตรา 80) ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการประชุมร่วมของรัฐสภาที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เช่น การประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม การประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ การประชุมเลือกนายกรัฐมนตรี (ประชุมร่วมกันเฉพาะกับ ส.ว. ชุดพิเศษ)

ตำแหน่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติหรือประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นอีกหนึ่งตำแหน่งสำคัญในทางการเมือง เนื่องจากตำแหน่งนี้เป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตยของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีบทบาทสำคัญในการคุมทิศทางของรัฐสภาที่ประกอบไปด้วยพรรคการเมืองและกลุ่มอำนาจต่างๆ

คุณสมบัติของประธานสภา ต้องไม่มีตำแหน่งในพรรคการเมือง

ส.ส. ทุกคนมีคุณสมบัติในการเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น ไม่มีกฎหมายระบุวัยวุฒิ ว่าต้องอายุขั้นต่ำเท่าไร หรือต้องผ่านประสบการณ์อะไรมาบ้าง ขอแค่เป็นตัวแทนประชาชนจากการเลือกตั้งก็มีสิทธิเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร

ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ มาตรา 116 วรรคสอง ระบุว่า ส.ส.คนใดที่ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นกรรมการบริหารหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองในขณะเดียวกันไม่ได้ นอกจากนี้ มาตรา 118 (3) ยังห้ามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือข้าราชการการเมืองอื่นด้วย



เลือกประธานสภา ต้องออกเสียงโดยลับ ใช้แค่เสียงข้างมากธรรมดา

รัฐธรรมนูญ มาตรา 116 วรรคสอง กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรมีประธานสภาคนหนึ่งและรองประธานสภาคนหนึ่งหรือสองคน กล่าวสภาผู้แทนราษฎรสามารถตั้งประธานและรองประธานรวมกันไม่เกินสามคน

สำหรับการเลือกประธานสภา ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 หมวด 1 กำหนดการเลือกประธานสภาและรองประธานสภา ไว้ว่า

ขั้นที่ 1 การเลือกประธานและรองประธานสภาครั้งแรก ให้ ส.ส.ที่มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นประธานชั่วคราว เพื่อดำเนินการเลือกประธานและรองประสภา

ขั้นที่ 2 ส.ส.แต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อ ส.ส.ได้หนึ่งชื่อ โดยการเสนอนั้นต้องมี ส.ส.รับรองไม่น้อยกว่า 20 คน ถ้ามี ส.ส.เสนอชื่อประธานสภาชั่วคราวเป็นชิงตำแหน่งประธานและรองประธานสภา ให้ ส.ส.ที่มีอายุสูงสุดในลำดับถัดไปเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม

ขั้นที่ 3 ให้ ส.ส.ผู้ถูกเสนอชื่อ กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะดำรงตำแหน่งต่อที่ประชุม โดยไม่มีการเปิดให้ ส.ส.คนอื่นอภิปรายแต่อย่างใด ถ้ามีการเสนอชื่อเพียงคนเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั่นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อหลายชื่อ ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ เท่ากับว่าในทางสาธารณะ จะไม่สามารถทราบได้ว่า ส.ส. แต่ละคน โหวตใครเป็นประธานสภา

เมื่อเลือกประธานสภา เสร็จ จากนั้นก็ให้การเลือกรองประธานสภาต่อโดยให้ใช้วิธีการเช่นเดียวกันตามลำดับ คือให้เลือกรองประธานคนที่หนึ่งก่อน แล้วจึงเลือกรองประธานสภาคนที่สองต่อ

ขั้นที่ 4 ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงจาก ส.ส. มากที่สุดในแต่ละตำแหน่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานและรองประธานสภา และเมื่อเลือกเสร็จแล้วให้แจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง



หน้าที่ประธานสภา ดูแลงานสภา คัดเลือกองค์กรอิสระ และกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

เมื่อเปรียบเทียบการตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารอย่างนายกรัฐมนตรี ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติอย่างประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานรัฐสภา อาจไม่ได้มีอำนาจหรืองบประมาณที่เป็นรูปธรรมในการขับเคลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงประเทศได้ แต่ก็มีความสำคัญในการกำหนดทิศทางประเทศทั้งในและนอกสภา

รัฐธรรมนูญ 2560 ยังกำหนดหน้าที่ต่างๆ ของประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประธานรัฐสภาไว้โดยมีที่สำคัญ เช่น

1) เป็นกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ

2) เป็นรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

3) ทำหน้าที่ส่งร่างกฎหมายให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีสมาชิกรัฐสภา เห็นว่าข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

4) เป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้าน

ในด้านความสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ประธานรัฐสภาถูกวางบทบาทสถานะเป็นตัวแทนความชอบธรรมในฐานะตัวกลางระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน ดังจะเห็นบทบาทสำคัญที่ปรากฎในรัฐธรรมนูญ 2560 เช่น การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการการต่างๆ ที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น แต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้พ้นจากตำแหน่ง, แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, อัญเชิญองค์รัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ และการแก้ไขกฎมณเฑียรบาล

สำหรับอำนาจหน้าที่โดยทั่วไปของประธานสภา ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 หมวด 2 ข้อ 9 ระบุว่า

1) เป็นประธานในที่ประชุม และต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่

2) กำกับดูแลการดำเนินกิจการของสภา

3) ควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุม ตลอดถึงบริเวณสภา

4) เป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก

5) แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใดๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภา

6) หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้



หากสำรวจดูในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 จะพบว่าประธานสภามีอำนาจหน้าที่อื่นๆ ในเชิงรายละเอียดที่สำคัญ เช่น

๐ จัดวาระการประชุม : ในข้อบังคับ ข้อ 23 จะกำหนดลำดับสำหรับการจัดวาระการประชุมไว้ และในวรรคสอง ก็เปิดช่องให้ประธานสภาใช้ดุลยพินิจได้ว่า หากเห็นว่าเรื่องใดเป็น “เรื่องด่วน” จะสามารถจัดไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได้ แต่ห้ามจัดไว้ก่อนเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว

การจัดวาระของประธานสภา จึงมีความสำคัญ หากประธานสภาเห็นว่าเรื่องใด หรือร่างกฎหมายใดที่เป็น “เรื่องด่วน” ก็สามารถจัดไว้ในลำดับต้นๆ ของการพิจารณาได้ ซึ่งในทางปฏิบัติจากสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ที่มาจากการเลือกตั้ง 2562 ส่วนใหญ่แล้วร่างกฎหมายที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะถูกจัดวาระอยู่ใน “เรื่องด่วน”

๐ วินิจฉัยว่าญัตติใดเป็นญัตติด่วนหรือไม่ : ในข้อบังคับ ข้อ 44 กำหนดนิยามของญัตติ ไว้ว่า ข้อเสนอใดๆ ที่มุ่งหมายให้สภาลงมติหรือชี้ขาดว่าจะปฏิบัติหรือดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งโดยหลักแล้ว ญัตติทั้งหลายจะต้องเสนอ “ล่วงหน้า” เป็นหนังสือต่อประธานสภา และมี ส.ส. รับรองไม่น้อยกว่าห้าคน

แต่ก็มีข้อยกเว้น ที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าหรือเสนอเป็นหนังสือ สามารถเสนอได้เลย ด้วยวาจาได้ ในข้อ 54 กำหนดข้อยกเว้นไว้ เช่น การขอเปลี่ยนวาระการประชุม ญัตติที่ประธานอนุญาตตามที่เห็นสมควร หรือ ญัตติด่วน

นิยามของญัตติด่วน ถูกอธิบายไว้ในข้อ 50 ว่ากรณีที่เกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของประเทศ หรือมีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือความมั่นคงของประเทศ หรือเพื่อจะขจัดเหตุใดๆ ที่กระทบกระเทือนต่อสรีภาพประชาชนอย่างร้ายแรง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สภาดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ส.ส. สามารถเสนอญัตติด่วนได้

ทั้งนี้ ประธานสภา มีดุลยพินิจวินิจฉัยว่าญัตติใดเป็นญัตติด่วน หากประธานสภาวินิจฉัยว่าญัตตินั้นๆ ไม่ใช่ญัตติด่วน ก็จะต้องนำญัตตินั้นไปบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมภายในเจ็ดวันนับแต่ได้รับญัตตินั้น ตามลำดับที่ยื่นก่อนหลัง อธิบายง่ายๆ ก็คือหากญัตติใดที่ประธานสภาวินิจฉัยว่าไม่ใช่ญัตติด่วน ก็ต้องไปต่อคิวในวาระประชุมเพื่อรอเข้าสู่การพิจารณาต่อไป แต่หากประธานวินิจฉัยว่าเป็นญัตติด่วน ญัตตินั้นก็มีโอกาสที่จะได้พิจารณาเร็วกว่า

ประธานสภายังมีหน้าที่ตามที่กฎหมายอื่นๆ กำหนด โดยเฉพาะในกลไกการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยภาคประชาชน โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (1) สำหรับการเสนอร่างพระราชบัญญัติ มาตรา 133 (3) กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หรือหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ได้ โดยกฎหมายที่กำหนดขั้นตอน-กลไก การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.2564

ประธานสภา มีบทบาทสำคัญหลายอย่างในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยบทบาทที่สำคัญที่สุด คือการใช้ดุลยพินิจตีความว่าร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอมานั้น มีหลักการเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หรือหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ หรือไม่ หากประธานสภาตีความว่าร่างกฎหมายนั้นมีหลักการไม่สอดคล้องกับหมวด 3 และหมวด 5 ร่างกฎหมายที่ประชาชนจะเข้าชื่อเสนอก็จะไปต่อไม่ได้ตามกระบวนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

โดยรายละเอียดเรื่องนี้ กำหนดไว้ใน มาตรา 8 ขั้นตอนแรกสำหรับประชาชนที่จะเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อผู้เชิญชวนไม่น้อยกว่า 20 คน และเอกสารอื่นๆ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติ บันทึกหลักการและเหตุผล บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ เพื่อเสนอต่อประธานสภาให้พิจารณา หากประธานสภาเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนเข้าชื่อเสนอ มีหลักการที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หรือหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ประธานสภาก็จะแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เชิญชวนเริ่มเชิญชวนให้คนอื่นมาเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ แต่หากประธานสภาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่ผู้เชิญชวนเสนอมานั้นมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับ หมวด 3 หรือหมวด 5 ประธานสภาจะส่งเรื่องคืนกลับไปยังผู้เชิญชวน ผู้เชิญชวนก็จะไม่สามารถเชิญชวนให้คนอื่นเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายได้

Moon Walk Move : ถอยประธานสภา เพื่อไปเอาตำแหน่งนายก


‘เพื่อไทย’ ถอย ‘ประธานสภา’ แต่ขอตั้งรัฐบาลเอง!หาก ‘พิธา’ ไม่ผ่านด่านส.ว.

ยุติแล้ว! "เพื่อไทย" ยอมถอยประธานสภา ให้ "ก้าวไกล" ภายใต้เงื่อนไขไม่แยกตัวทิ้งกันไปไหน หาก "พิธา" ฝ่าด่าน ส.ว. ไม่ได้! พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลเอง สั่งห้ามสมาชิกพรรคแสดงความเห็น ก่อนประชุมพรรคร่วม 2 ก.ค. นี้

เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคเพื่อไทย (พท.) ว่าประเด็นการหารือระหว่างพรรค พท. กับพรรคก้าวไกล ในเรื่องตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ข้อยุติแล้ว พรรคก้าวไกลจะได้ตำแหน่งประธานสภา ส่วนพรรค พท. ได้ตำแหน่งรองประธานสภา 2 ตำแหน่ง บนเงื่อนไขที่ว่า ทั้ง 8 พรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมจะชูนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล เป็นนายกฯ

แต่ถ้านายพิธาไม่สามารถฝ่าด่าน ส.ว. ได้ พรรค พท. จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคก้าวไกลจะอยู่ช่วยพรรค พท. ในการจัดตั้งรัฐบาล ไม่แยกตัวออกไปไหน ซึ่งแนวทางนี้ เมื่อ ส.ส. รับทราบ ก็มีบางส่วนยอมรับว่าขัดความรู้สึกบ้าง แต่เมื่อได้รับฟังการชี้แจงถึงเป้าหมายในการจัดตั้งรัฐบาลที่พรรคก้าวไกลจะยืนข้างพรรค พท. ไม่แยกตัวไปไหน กรณีที่เพื่อไทยเป็นแกนนำ ทำให้ ส.ส. รับฟังเหตุผลดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในประเด็นประธานสภา ทางพรรคก้าวไกล และพรรค พท. ยังได้มีความเห็นร่วมกันว่าจะไม่ให้สมาชิกของทั้งสองพรรคออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว เพราะเกรงจะกระทบต่อการหารือแกนนำ 8 พรรคร่วมวันที่ 2 ก.ค. นี้

ที่มา เดลินิวส์
https://www.dailynews.co.th/news/2486234/
29 มิถุนายน 2566


 

Moonwalk หรือ backslide เป็นท่าเต้นที่นักแสดงร่อนไปข้างหลัง แต่การเคลื่อนไหวร่างกายบอกถึงการเคลื่อนไหวไปข้างหน้า

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 29, 2566

#ยกฟ้อง คดี #ประทุษร้ายเสรีภาพพระราชินี ที่ไม่ควรจะฟ้องตั้งแต่แรกเริ่มแล้ว

อีกหนึ่งคดีเกี่ยวกับการละเมิดสถาบันกษัตริย์ ที่ควรบันทึกไว้เพื่อการปฏิรูปในวันข้างหน้า เป็นข้อหามาตรา ๑๑๐ ว่า #ประทุษร้ายเสรีภาพพระราชินี “ศาลอาญาพิพากษา #ยกฟ้อง ทุกข้อกล่าวหา” ทั้งที่ไม่ควร รับฟ้อง ตั้งแต่แรก

เหตุเกิดเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๓ “ระหว่างการชุมนุม #ม็อบ14ตุลา ของ คณะราษฎร 63’ ราว 17.00 น....บริเวณถนนพิษณุโลก ด้านหน้าของทำเนียบรัฐบาล มีกลุ่มผู้ชุมนุมรวมตัวกันจำนวนหนึ่งเพื่อรอคอยขบวนใหญ่ที่กำลังเดินทางมา”

พลันก็มีขบวนเสด็จของราชินีสุทิดาและเจ้าฟ้าทีปังกรผ่านเข้าไปในบริเวณชุมนุม จึงเกิดการชุลมุนผู้ชุมนุมห้อมล้อมรถขบวนเสด็จฯ เพราะประชาชนในบริเวณนั้นเข้าใจว่าจะมีการสลายชุมนุม “จึงได้ตะโกนโห่ร้องและชูสามนิ้วเพื่อประท้วงตำรวจ

ไม่ใช่ประท้วงต่อขบวนเสด็จ” ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า “จากการสืบพยานพบว่าความเข้าใจของผู้อยู่ในเหตุการณ์ไม่เท่ากัน แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ คฝ.ในที่เกิดเหตุ ก็เพิ่งทราบว่าจะมีขบวนเสด็จ และไม่ทราบว่าเป็นขบวนเสด็จของพระองค์ใด

...เมื่อประชาชนทราบว่าเป็นขบวนเสด็จ ก็เคลื่อนผ่านไปได้ ไม่ได้มีการขว้างปาสิ่งของหรือขัดขวาง” แต่หลังจากนั้นมี ช่างฟ้อง สองคนแจ้งข้อกล่าวหา คำว่า “ประทุษร้ายต่อเสรีภาพของพระราชินี” แปลเป็นภาษาไทยระดับชาวบ้านน่าจะได้ความว่า

ทำให้พระราชินีและราชโอรสขวัญกระเจิง ประมาณนั้น นอกเหนือจาก “มั่วสุมกันโดยใช้กำลังประทุษร้ายทำให้เกิดการวุ่นวายในบ้านเมือง” ซึ่งฟังแล้วไตร่ตรองด้วยหลักการกฎหมายในมาตรฐานสากล จัดว่าเป็นข้อหาที่ระห่ำเกินควร

คดีนี้อัยการสั่งฟ้องเมื่อ ๓๑ มีนา ๖๔ มีการสืบพยาน ๑๖ ครั้งระหว่าง พฤศจิกา ๖๕ ถึงมีนา ๖๖ แล้วมาพิพากษาเมื่อวาน ๒๘ มิถุนา ผู้ถูกกล่าวหา ๕ คนเสียทั้งเวลาและสันติภาพจากการถูก นิติปฏักปักหลังมาตลอดสองปี

ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยจริงจัง ไม่ควรมีสิ่งนี้เกิดขึ้น หรือถ้ามีก็สามารถฟ้องกลับเรียกค่าเสียหายจากผู้แจ้งความทั้งสอง และกรมอัยการได้

(https://tlhr2014.com/archives/57015 และ https://tlhr2014.com/archives/56935)

อ้าว อดิศร เพียงเกษ รับไม่ได้ ก้าวไกลบอกชื่อแคนดิเดทประธานสภาของตน หาว่าเขา ‘ลักไก่’ เสียนิ

ตอนต่อ ประธานสภาหลังจากเลื่อนวันประชุมร่วมสองค่ายออกไปก่อน ทำให้กลุ่มบริหารเพื่อไทยยังไม่ได้ยื่นคำขาดเรื่อง ประธานฯ ต้องของอันดับสอง ก้าวไกลก็เลยแจ้งชื่อ หมออ๋องปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก เป็นแคนดิเดท

เท่านี้แหละ อดิศร เพียงเกษ สั่นเป็นเจ้าเข้า หาว่า ลักไก่ อ้างว่ายังไม่ได้เจรจากันเลยว่าตำแหน่งนี้เป็นของพรรคใด เฮ้ย ทำไมจะแจ้งชื่อไม่ได้ล่ะ หรือว่าของตัวเองเอาไว้ทำแบบลักหลับสุดซอยเหรอ แค่บอกชื่อคนที่เขาต้องการมันจะได้เปรียบเสียเปรียบแค่ไหน

แม้นว่า หมออ๋อง คนนี้เป็นนกหวีดเก่า อาจได้เปรียบตรงที่เคยเป็น นกหวีด มาก่อน ถึงตอนเข้าไปโหวต ๔ กรกฎา ไม่เจอด่านของพวกเครือข่ายซ่าหริ่มขวาง เท่านั้น ก็เลยเกิดไอเดียเจ๋งสูตรใหม่ เพื่อไทยยอมได้แค่ ๑๓ บวก ๑

เพื่อให้ตำแหน่งประธานสภาฯ อยู่กับเพื่อไทยจงได้ ยอมให้ก้าวไกลเอาไป ๑๕ บวก ๑ ซึ่งอดิสรว่า “ไม่เอา” ของเก่าลงตัวแล้ว ไม่อยากให้เข้าไปยุ่งเดี๋ยวเหยิง ไปสะเทือนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เหมือน “ตีหัวปลาสะเทือนหัวนาค

ลงท้าย ดูเหมือนเสียงที่ควรจะฟังเป็นของคนนอกวง แม้อาจจะ ติ่ง สามกีบอยู่ไม่น้อย แต่น่าฟังว่า “สองพรรคใหญ่ ควรจับมือกัน เอาคำขวัญสมัย #ไทยรักไทย คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน กลับมาใช้ดีกว่ามั๊ยครับ” น.ต.ศิธา ทิวารี ตั้งท่าขวาง

ขออย่า “ใช้มาตรฐาน #โจรปล้นประชาธิปไตย มาตั้งเป็นบรรทัดฐาน การเมืองไทย เพื่อส่งต่อประเทศชาติ ให้คนรุ่นต่อไป”

(https://thestandard.co/adisorn-said-mfp-no-manners/) 

ใครทำ... FC หรือ IO ยอมรับมาดีๆ - เศรษฐา ยืนยัน ไม่ทรยศ ไม่พลิกขั้ว จับมือก้าวไกลตั้งรัฐบาล


Pravit Rojanaphruk
11h ·
ตัวอย่างอารมณ์แฟนคลับ #ก้าวไกล vs #เพื่อไทย ตอนนี้ <<ผมบอกแล้วว่าอย่าลดตนไปเป็น fc #ป #ประธานสภา
.....





อานนท์ นำภา
ถ้าปลายทางคือการร่วมกันเปลี่ยนแปลงสังคม สภาพมันจะไม่เป็นแบบนี้
...
ส่วนตัว ผมเชื่อว่าแกนนำพรรคทีมเจรจาจะไม่ทำให้ทุกคนผิดหวัง ทั้งเพื่อไทยและก้าวไกล
ให้กำลังใจทุกคนครับ

หมอชลน่าก็บอกว่าเหตุที่ต้องให้เพื่อไทย เป็นประธานสภาให้ได้ เพราะจะใช้เป็นเงื่อนไขให้พิธาเป็นนายกให้ได้ (โปรดเข้าใจตามนี้ด้วย)

ภาพจาก กิตติ สิงหาปัด

Thanapol Eawsakul
19h·
ฟังหมอชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยสัมภาษณ์หมาแก่ แล้วสงสารแกมากว่าต้องมารับหน้าทั้ง ๆ ที่ตัวเองไม่ได้อะไรเลย
เพราะประกาศไปแล้วว่าจะถอนตัว ถ้ามีคนเสนอชื่อให้เป็นประธานสภา
พอหมาแก่ซักมาก แกไปไม่เป็น
หมอชลน่าก็บอกว่าเหตุที่ต้องให้เพื่อไทย เป็นประธานสภาให้ได้
เพราะจะใช้เป็นเงื่อนไขให้พิธาเป็นนายกให้ได้
แม้แกจะยอมรับว่าฟังดูแล้วจะไม่เป็นตรรกะก็ตาม
https://www.facebook.com/insidethailand/videos/210495244816048/

ในระยะเวลาเพียง 10 วันของประเด็นเก้าอี้ประธานสภา บอกอะไรเราหลายอย่าง


.....
Kowit Phothisan
10h ·
18 มิถุนายน ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ย้ำจุดยืนให้พรรคอันดับ 1 ทำหน้าที่ #ประธานสภา
20 มิถุนายน ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยืนยันหลักการพรรคอันดับ 1 ทำหน้าที่ประธานสภา ส่วนพรรคอันดับ 2 เอาตำแหน่งรองประธาน
21 มิถุนายน ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวหลังการประชุมสัมมนาพัฒนาศักยภาพของ ส.ส. ของพรรคว่า เสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส. เสนอให้ขอตำแหน่งประธานสภา แต่สมาชิกพรรคอีกส่วนบอกว่าให้ยึดหลักการฟังเสียงของประชาชน
21 มิถุนายน อดิศร เพียงเกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย บอกว่า ไม่อยากเห็นสามเณรกับพระบวชใหม่มาเป็นเจ้าอาวาส ถัดจากนั้นหนึ่งวันยังยืนยันอีกว่า ส.ส. ในพรรคมีความเห็นเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ที่จะให้เพื่อไทยได้เก้าอี้ประธานสภา เพราะแม้จะเป็นพรรคอันดับ 2 แต่คะแนนห่างกันไม่มาก
22 มิถุนายน ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย บอกว่า ตนเห็นด้วยกับหลักการของทีมเจรจาพรรคเพื่อไทย คือประธานเป็นของพรรคอันดับ 1 หลักคิดคือ คะแนนน้อยกว่า แต่ใจไม่ได้เล็กกว่า แพ้ให้คม แล้วสร้างชัยชนะขึ้นใหม่
27 มิถุนายน ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ ชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงสูตร 14+1 ก้าวไกลได้ 14 รัฐมนตรี+1 นายกรัฐมนตรี ส่วนเพื่อไทยได้ 14 รัฐมนตรี+1 ประธานรัฐสภา โดยย้ำว่าเพื่อไทยเป็นอันดับ 2 ก็จริง แต่มีคะแนนห่างกันเพียง 10 เสียง
28 มิถุนายน สื่อหลายสำนักรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวพรรคเพื่อไทยบอกว่า อาจยอมถอยจากสูตร 14+1 เป็นลูกผสมระหว่างก้าวไกล 15+1 เพื่อไทย 13+1 หรือ เพื่อไทยได้ 13 รัฐมนตรี กับ 1 ประธานสภา โดยยอมแลกเก้าอี้รัฐมนตรีไปให้ก้าวไกลได้มากกว่า
...
นี่คือท่าทีในระยะเวลาเพียง 10 วันของประเด็นเก้าอี้ประธานสภา สภาวะเช่นนี้กำลังบอกเราหลายประการ
หนึ่ง - ตอกย้ำว่าความหวาดระแวงของคนจำนวนหนึ่งที่ไม่เชื่อใจพรรคเพื่อไทยที่มีลับลมคมในตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งนั้นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างลอยๆ
สอง - ตอกย้ำความไม่เป็นเอกภาพของพรรคเพื่อไทยที่จนถึงขณะนี้ยังไม่รู้ว่าใครคือแกนนำ ถามจริงๆ เหอะ ถ้าพูดถึงเพื่อไทย คุณคิดว่าใครเป็นคนถือธงนำกันแน่ ดีไม่ดีถาม 100 คนได้ 100 คำตอบ
แน่ละว่า ส.ส. หรือสมาชิกพรรคไม่จำเป็นต้องมีเสียงเหมือนกันทุกอย่าง แต่อาการประเภท leader หรือผู้บริหารพรรคถูกโยกความคิดออกซ้ายทีขวาทีราวกับคนไม่มีสัจจะแบบนี้มันใช้ได้ที่ไหน
สาม - ตอกย้ำว่าพรรคเพื่อไทยกำลังเล่นเกมแบบแพ้ไม่เป็น เทียวยกสมการแพ้นิดหน่อย คะแนนห่างกันนิดเดียว สามเณรกับพระบวชใหม่ไม่คู่ควรเป็นเจ้าอาวาส ตรรกะเหล่านี้มันประหลาดอย่างยิ่งสำหรับพรรคที่น่าจะเชี่ยวชาญเกมและมารยาทของสภาที่สุด หากไม่นับชวน หลีกภัย ในรัฐบาลชุดที่กำลังจะหมดวาระ ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ประธานสภามาจากพรรคอันดับ 1 ทั้งสิ้น
อุทัย พิมพ์ใจชน โภคิน พลกุล ยงยุทธ ติยะไพรัช และสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ชื่อเหล่านี้คุ้นกันบ้างไหมว่ามาจากพรรคใด
สี่ - ตอกย้ำว่าพรรคเพื่อไทยกำลังประมาทต่อเสียงของประชาชน หากยังทำตัวแพ้ไม่เป็นเพื่อไทยจะกลายเป็นพรรคขนาดกลางในไม่ช้า
ปี 2562 มี new voter 7,339,772 เสียง
ปี 2566 มี new voter 3,998,309 เสียง
เฉพาะ 2 กลุ่มนี้มีเสียงรวมกันได้ 11,338,081 คะแนน ผลการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาบ่งบอกว่าคณิตศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และการเมืองเป็นเรื่องเดียวกัน
เสียงเหล่านี้จะไม่ลดลง และการเลือกตั้งครั้งหน้าจำนวน new voter จะเพิ่มเข้ามาอีกตามความนิยมของพรรคที่สัมพันธ์กับความตื่นตัวของคนรุ่นใหม่ที่ยังอยู่ในกระแสสูง ต้องบอกด้วยไหมว่าฐานเสียงของเพื่อไทยจะลดลงตามความชราของฐานเสียง
เมื่อถึงวันนั้นอย่าว่าแต่งอแงเอาเก้าอี้ประธานสภาเลย จะเอาเก้าอี้รัฐมนตรีสักตำแหน่งยังยาก


สลิ่มบอก คดีขบวนเสด็จรอด เพราะพระบารมี


iLaw
10h·

ยกฟ้องทุกข้อหา 5 จำเลยคดีขวางขบวนเสด็จ ศาลเชื่อจำเลยไม่รู้เลยว่าขบวนเสด็จจะผ่านมาก่อน

28 มิถุนายน 2566 เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัดเอกชัย บุญเกื้อหนุน สุรนาถ และจำเลยอีกสองคนที่ถูกกล่าวหาว่าร่วมกันประทุษร้ายต่อเสรีภาพของสมเด็จพระราชินีด้วยการร่วมชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ ระหว่างที่ขบวนรถพระที่นั่งเคลื่อนผ่านถนนพิษณุโลกบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลซึ่งจำเลยทั้งห้ากับพวกร่วมชุมนุมอยู่เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ถูกกล่าวหาว่า เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 110 ชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่สิบคนก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 และความผิดฐานกีดขวางการจราจร โดยศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อหา หลังศาลมีคำพิพากษาทั้งเอกชัยและบุญเกื้อหนุนแถลงต่อศาลยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเองและขอบคุณศาลที่พิจารณาคดีไปตามพยานหลักฐานที่นำเสนอต่อศาลระหว่างการพิจารณาคดี

สำหรับบรรยากาศการฟังคำพิพากษา ศาลนัดอ่านคำพิพากษาที่ห้องพิจารณาคดี 904 นอกจากจำเลยทั้งห้าคนแล้ว ยังมีเพื่อนของจำเลยมาติดตามอย่างใกล้ชิด และประชาชนที่ร่วมเคลื่อนไหวชุมนุมบนท้องถนน รวมถึงตัวแทนองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ผู้แทนจากสถานทูตแคนาดาและสถานทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย คำพิพากษาโดยสรุปดังนี้

ในช่วงบ่ายวันเกิดเหตุผู้ชุมนุมที่รวมตัวกันบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเคลื่อนขบวนไปที่ทำเนียบรัฐบาล ตำรวจประสานแกนนำผู้ชุมนุมว่าจะมีขบวนเสด็จเคลื่อนขบวนผ่าน แต่ผู้ชุมนุมก็ยืนยันที่จะชุมนุมต่อไป ทางตำรวจจึงตั้งจุดสกัดเจรจาตามเส้นทางที่จะไปยังทำเนียบรัฐบาล และมีการนำรถตู้ตำรวจมาใช้เป็นแนวกีดขวางบนสะพานชมัยมรุเชฐด้วย ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่หยุดขบวนที่แยกนางเลิ้ง แต่มีผู้ชุมนุมส่วนน้อยที่เดินเท้าไปถึงหน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อขบวนรถพระที่นั่งเคลื่อนมาถึงบริเวณถนนพิษณุโลกหน้าทำเนียบรัฐบาลรถนำขบวนได้ขอให้เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนเปิดช่องทางเพื่อให้ขบวนรถพระที่นั่งเคลื่อนผ่านไปได้ เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนได้เข้ามาตั้งแนวล้อมรถพระที่นั่งเพื่อถวายการอารักขา ในช่วงเวลาดังกล่าวมีประชาชนบันทึกภาพเคลื่อนไหวเหตุการณ์ขณะที่เอกชัยกับพวกกำลังขัดขวางขบวนเสด็จอยู่บนผิวจราจร หลังเกิดเหตุ ศรายุทธ สังวาลย์ทอง ประชาชนที่อยู่ในที่เกิดเหตุได้รวบรวมพยานหลักฐานนำไปร้องทุกข์กล่าวโทษเอกชัยเนื่องจากเป็นบุคคลเดียวในที่ชุมนุมที่ศรายุทธ์รู้จักว่าเป็นใคร ขณะที่ทางตำรวจก็ตั้งคณะทำงานหาตัวผู้กระทำความผิดจนนำมาสู่การดำเนินคดี

ฝ่ายจำเลยนำสืบต่อสู้คดีว่าจำเลยแต่ละคนไม่ได้นัดหมายไปร่วมชุมนุม เป็นการไปร่วมชุมนุมในลักษณะต่างคนต่างไป จำเลยไม่ทราบว่าจะมีขบวนเสด็จผ่านเข้ามาในบริเวณดังกล่าว เมื่อเห็นว่ามีตำรวจควบคุมฝูงชนเคลื่อนเข้ามาก็เข้าใจว่าตำรวจจะสลายการชุมนุมจึงได้ลงมาผลักดันขณะที่สุรนาถเมื่อเห็นแนวตำรวจเคลื่อนเข้ามาก็เข้าใจว่าตำรวจจะสลายการชุมนุมจึงบอกให้ผู้ชุมนุมนั่งลงเพื่อลดความรุนแรง ฝ่ายจำเลยยังมีพล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ มาเบิกความด้วยว่าตามที่ตัวพยานเคยปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัย การเตรียมการรับขบวนเสด็จพระราชดำเนินจะต้องมีการตรวจสอบความปลอดภัยล่วงหน้าสองชั่วโมง แต่การจัดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินในวันเกิดเหตุยังไม่เรียบร้อย มีรถบัส รถตู้จอดอยู่บนเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน และมีเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนวางกำลังอยู่บริเวณทำเนียบรัฐบาลด้วย จึงไม่มีสัญญาณที่จะแสดงให้เห็นว่าจะมีขบวนเสด็จเคลื่อนผ่าน

ในการสืบพยาน พยานโจทก์ยังรับด้วยว่าแม้รัฐบาลจะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบว่าจะมีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใด แต่จะไม่ได้ประกาศว่าเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินเป็นเส้นทางใด และข้อมูลดังกล่าวก็เป็นข้อมูลลับที่ประชาชนทั่วไปไม่ทราบ ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จะมีขบวนเสด็จเคลื่อนผ่านเป็นประจำจึงอาจจะไม่ทราบว่าจะมีขบวนเสด็จเคลื่อนผ่าน พยานโจทก์ที่เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน ปฏิบัติหน้าที่บริเวณทำเนียบรัฐบาลก็ไม่ทราบภารกิจการถวายอารักขาขบวนเสด็จมาก่อน ทราบเพียงภารกิจป้องกันไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลเท่านั้น เพิ่งมาทราบภารกิจการถวายอารักขาขบวนเสด็จก่อนขบวนรถพระที่นั่งเคลื่อนผ่านไม่นานและไม่ทราบด้วยว่าเป็นขบวนเสด็จพระราชดำเนินของผู้ใด ทั้งเมื่อตรวจสอบคลิปวิดีโอก็ไม่มีการประกาศว่าจะมีขบวนเสด็จ

จากการตรวจสอบคลิปวิดีโอ หากเป็นคลิปวิดีโอที่ติดตั้งอยู่บนมุมสูงก็จะพอเห็นขบวนรถเคลื่อนเข้ามา แต่เมื่อตรวจสอบคลิปวิดีโอที่ถ่ายจากระดับพื้นถนนปกติจะเห็นเพียงแนวเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนไม่เห็นว่าด้านหลังแนวดังกล่าว จำเลยทั้งห้าที่ยืนอยู่ในระดับพื้นถนนปกติ เมื่อจำเลยเห็นแนวเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนที่ล้อมขบวนรถพระที่นั่งเพื่อถวายการอารักขาเคลื่อนเข้ามาก็อาจทำให้เข้าใจว่าจะเข้ามาสลายการชุมนุม จึงได้ลงมายืนด้านหน้าแนวเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนที่ถวายความอารักขา แต่เมื่อมีการตะโกนบอกต่อๆกันมาว่ามีขบวนเสด็จเคลื่อนผ่านผู้ชุมนุมก็ถอยไปโดยไม่ได้มีการขว้างปาสิ่งของใดๆ

การที่ขบวนรถพระที่นั่งเคลื่อนตัวไปได้ช้าในขณะนั้นจึงน่าจะเกิดจากการสื่อสารที่ไม่ตรงกัน ผู้ชุมนุมเข้าใจว่าตำรวจจะเข้ามาสลายการชุมนุม เมื่อทราบว่ามีขบวนเสด็จผ่านเข้ามาผู้ชุมนุมก็ล่าถอยออกไป เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งห้าทราบมาก่อนว่าจะมีขบวนเสด็จพระราชดำเนินเคลื่อนผ่าน จึงต้องยกฟ้องจำเลยในความผิดฐานประทุษร้ายต่อเสรีภาพของพระราชินี ส่วนที่มีผู้ชุมนุมชูสามนิ้วก็น่าจะเกิดจากความโกรธเพราะเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่จะสลายการชุมนุม เมื่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจคลี่คลายลงอย่างรวดเร็ว จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งห้ามีเจตนาจะก่อความวุ่นวายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 และเมื่อการปิดการจราจรดำเนินการโดยตำรวจจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานกีดขวางการจราจร จึงพิพากษายกฟ้องจำเลยทุกข้อกล่าวหา

หลังศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จผู้เข้าฟังการพิจารณาบางส่วนปรบมือและพูดแสดงความดีใจ ทนายของจำเลยท่านหนึ่งได้ขอให้ผู้เข้าฟังการพิจารณาคดีอยู่ในความสงบ จากนั้นศาลถามจำเลยทั้งห้าว่าประสงค์จะแถลงอะไรหรือไม่ บุญเกื้อหนุนแถลงต่อศาลว่าตัวเองยืนยันมาตั้งแต่ต้นแล้วว่าไม่ได้มีเจตนาจะขัดขวางขบวนเสด็จ สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดเกิดจากความเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่จะสลายการชุมนุม จึงต้องขอขอบคุณศาลที่พิจารณาคดีไปตามพยานหลักฐานอย่างตรงไปตรงมา ขณะที่เอกชัยแถลงว่าตัวเขาถูกดำเนินคดีมา 30 คดี ที่ผ่านมาก็มักมีคนกล่าวหาว่าศาลไม่เป็นธรรม แต่ตัวเขายังเชื่อมั่นว่ากระบวนการยุติธรรมยังเป็นที่พึ่งได้ จึงพร้อมเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีทุกคดี รวมถึงคดีนี้ที่มีคนแนะนำให้เขาหนีแต่เขาไม่หนีเพราะเชื่อในความบริสุทธิ์ของตัวเองและเชื่อมั่นว่าศาลยังเป็นที่พึ่ง

พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นหนึ่งในทนายความที่ร่วมว่าความคดีนี้เปิดเผยหลังศาลอ่านคำพิพากษาว่า ข้อเท็จจริงของคดีนี้ค่อนข้างชัดเจนและตัวจำเลยทั้งห้าไม่ได้มีเจตนาจะขัดขวางขบวนเสด็จ เพราะการที่จะบอกว่าจำเลยทั้งห้าขัดขวางขบวนเสด็จของพระราชินี จำเลยจะต้องรู้ก่อนว่าจะมีขบวนเสด็จมาและต้องรู้ด้วยว่าขบวนดังกล่าวเป็นของสมเด็จพระราชินี แต่ข้อเท็จจริงคือไม่มีใครทราบว่าจะมีขบวนของสมเด็จพระราชินีเคลื่อนผ่านบริเวณดังกล่าว ซึ่งคดีนี้ศาลพิจารณาเรื่องแผนถวายความปลอดภัยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง จำเลยมีพยานที่เป็นอดีตตำรวจมาเบิกความเรื่องแผนการถวายความปลอดภัย ประกอบกับคลิปวิดีโอหลักฐานต่างๆซึ่งจะเห็นได้ว่าคลิปที่ถ่ายจากมุมสูงและคลิปที่ถ่ายจากแนวราบที่จำเลยยืนอยู่จะเห็นภาพเหตุการณ์แตกต่างกัน

พูนสุขระบุว่าแม้ระหว่างการสืบพยานจะมีพยานโจทก์บางคนเบิกความว่ามีการประกาศว่าจะมีขบวนเสด็จ แต่ไม่มีการประกาศดังกล่าวปรากฎในคลิปหลักฐาน และในที่ชุมนุมก็มีเสียงอื้ออึงที่ฟังไม่ได้ศัพท์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าจำเลยไม่ทราบมาก่อนว่าจะมีขบวนเสด็จและขบวนเสด็จที่มาเป็นของบุคคลใด ในทางกฎหมายก็ต้องถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาทำความผิด และขบวนเสด็จก็ใช้เวลาสั้นๆเพียงสี่นาทีเท่านั้นในการเคลื่อนผ่านที่เกิดเหตุและสิ่งที่กีดขวางทางอยู่บนสะพานชมัยมรุเชฐก็เป็นรถตู้ของตำรวจ พูนสุขระบุด้วยว่าคดีนี้แม้จะเป็นคดีที่อัตราโทษสูงและเป็นคดีใหญ่ แต่ศาลก็พิจารณาไปตามพยานหลักฐาน ตามสิ่งที่ควรจะเป็น

สำหรับมูลเหตุแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ที่มีผู้ชุมนุมคณะราษฎร 63 นัดหมายชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและระหว่างนั้นมีขบวนเสด็จของสมเด็จพระราชินีเคลื่อนผ่านบริเวณดังกล่าว ระหว่างนั้นตำรวจควบคุมฝูงชนได้เข้ามาตั้งแนวล้อมขบวนรถพระที่นั่งเพื่อถวายความอารักขา ขณะที่เมื่อขบวนรถเคลื่อนเข้ามาใกล้ก็มีผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งรวมทั้งจำเลยคดีนี้อยู่บนพื้นถนนเพราะเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่จะเข้ามาสลายการชุมนุมแต่เมื่อมีการตะโกนบอกกันว่ามีขบวนเสด็จผู้ชุมนุมก็ถอยออกไปและขบวนรถยนต์พระที่นั่งก็เคลื่อนออกไปได้แม้จะชะลอตัวเล็กน้อยระหว่างเคลื่อนผ่านจุดที่มีคนรวมตัวกัน (https://www.mobdatathailand.org/case-file/1617508758362/) ในเวลาต่อมามีการออกหมายจับจำเลยสามคนได้แก่เอกชัย สุรนาถ และบุญเกื้อหนุน ก่อนที่จะมีการออกหมายเรียกผู้ต้องหามาเพิ่มอีกสองคน

สำหรับคดีนี้แม้ท้ายที่สุดศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งห้าคน แต่ก็มีจำเลยสองคนที่ถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีคือเอกชัยและสุรนาถ

เอกชัยทราบว่าตัวเองถูกออกหมายจับในวันที่ 15 ตุลาคม 2563 เขาจึงโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่าจะไปมอบตัวที่สน.ดุสิตในวันที่ 16 ตุลาคม โดยในวันดังกล่าวสมยศ พฤกษาเกษมสุขได้ขับรถมารับเอกชัยที่บ้านเพื่อพาไปส่งที่สน.ดุสิต แต่ปรากฎว่าทั้งสองถูกเจ้าหน้าที่สน.ลาดพร้าวดักจับระหว่างทางบนถนนก่อนพาตัวไปที่สน.ลาดพร้าว เอกชัยถูกพาตัวไปฝากขังที่ศาลอาญาในวันที่ 17 ตุลาคม ในวันนั้นเขาเตรียมหลักทรัพย์มาไม่พอจึงถูกนำตัวไปขังที่เรือนจำ ต่อมาวันที่ 19 ตุลาคม เอกชัยใช้สลากออมสินมูลค่า 1,000,000 บาท วางต่อศาลเพื่อขอประกันตัวแต่ไม่ได้รับอนุญาต เอกชัยถูกคุมขังจนถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 จึงได้รับการปล่อยตัวเพราะศาลไม่อนุญาตให้ตำรวจฝากขังต่อ รวมเวลาที่ถูกฝากขัง 17 วัน

สุรนาถถูกตำรวจนำกำลังเข้าจับกุมที่บ้านในช่วงเช้าวันที่ 21 ตุลาคม 2563 แม้ว่าเขาจะทราบว่าตัวเองถูกออกหมายจับและได้ประสานกับพนักงานสอบสวนว่าจะเข้ามอบตัวแล้วก็ตาม สุรนาถถูกนำตัวไปฝากขังที่ศาลอาญาในวันที่ 22 ตุลาคม 2563 เขาได้ใช้หลักทรัพย์มูลค่า 1,300,000 บาท วางต่อศาลเพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราวแต่ศาลไม่อนุญาต เขาจึงถูกส่งตัวไปคุมขังที่เรือนจำเป็นเวลา 12 วัน ก่อนได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 พร้อมเอกชัย ในส่วนของบุญเกื้อหนุน แม้จะถูกออกหมายจับด้วยแต่เขาก็ได้ประสานเข้ามอบตัวกับตำรวจและไม่ถูกจับกุมตัวเหมือนสุรนาถและเอกชัย และเมื่อเขาถูกนำตัวไปฝากขังที่ศาล ศาลก็อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเขาในวันเดียวกันโดยตีราคาประกัน 200,000 บาท

ทั้งนี้กรณีขัดขวางขบวนเสด็จเป็นหนึ่งในเหตุผลที่พล.อ.ประยุทธ์ใช้อ้างในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ด้วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>> https://freedom.ilaw.or.th/th/case/942


สัมภาษณ์: อ. พนัส ได้เวลาเช็คบิล ส.ว.บกพร่องจริยธรรมการเมือง ไม่เคารพเสียงประชาชน: Matichon TV


สัมภาษณ์: อ. พนัส ได้เวลาเช็คบิล ส.ว.บกพร่องจริยธรรมการเมือง ไม่เคารพเสียงประชาชน: Matichon TV

Jun 26, 2023 

สัมภาษณ์พิเศษ : อ.พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ข้อเสนอใหม่จัดการ ส.ว.บกพร่อง จริยธรรม ไม่เคารพหลักประชาธิปไตย ขัดขวางฉันทามติประชาชน สองมาตรฐานเลือกประยุทธ์กับเลือกพิธาเป็นนายกฯ 

.....

วันชัย บุนนาค
2d·
ทนายวันชัย บุนนาค
ได้อ่านข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภา 2563 แล้ว
เชื่อว่า สว.ไม่ได้มีอำนาจเหนือกว่าประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตย
สว.ต้องทำหน้าที่ ตัวแทนปวงชนชาวไทยนะท่าน มิได้มีอำนาจเหนือประชาชนนะท่าน ตาม รธน.2560 มาตรา 114 +มาตรา 272
สว.ต้องทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและความผาสุขของประชาชน
ในการโหวตเลือกนายก ที่มาตามมาตรา 88 และมีคุณสมบัติตาม มาตรา 160 และสามารถรวบรวมเสียง สส.ได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร
ตามมาตรา 159
ถ้า สส.ที่ประชาชนเลือกแล้วนั้นทำตาม รธน.2560 มาตรา 88 , มาตรา 159 มาตรา 160 ครบถ้วนแล้ว
และยังไม่มีศาลตัดสินว่าขาดคุณสมบัติที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี
หาก สว.ไม่โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีให้กับบุคคลที่ประชาชนเลือกแล้วล่ะก็ ท่าน สว.ต้องอ่านข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมขิงสมาชิกวุฒิสภา 2563 ให้ละเอียดนะท่าน
ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยจะใช้ดำเนินการกับ สว.ได้นะท่าน
ทนายวันชัย บุนนาค
26 มิ.ย.2566