กว่า 100 วันประท้วงอิหร่าน กับสังคมที่ “มิอาจกลับเป็นดังเดิม”
27 ธันวาคม 2022
บีบีซีไทย
การประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ยาวนานที่สุดในอิหร่าน นับแต่การปฏิวัติอิสลามในปี 1979 ได้ดำเนินมาเป็นเวลากว่า 100 วันแล้ว การเคลื่อนไหวครั้งนี้ไม่เพียงจะสั่นคลอนอำนาจรัฐ แต่ยังสร้างความสูญเสียใหญ่หลวงให้ประชาชนอิหร่าน
สำนักข่าวของนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Activists' News Agency หรือ HRANA) ระบุว่า นับแต่ประชาชนลุกฮือขึ้นประท้วงทั่วประเทศเมื่อเดือน ก.ย. มีผู้ประท้วงเสียชีวิตแล้วกว่า 500 คน ในจำนวนนี้มีเด็กรวมอยู่ 69 คน มีการประหารชีวิตผู้ประท้วงแล้ว 2 คน และอีกอย่างน้อย 26 คนถูกตัดสินให้รับบทลงโทษเดียวกัน ซึ่งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกว่า “การพิจารณาคดีจอมปลอม”
การประท้วงครั้งนี้มีขึ้นหลังจากหญิงสาววัย 22 ปีคนหนึ่งที่ชื่อมาห์ซา อามินี เสียชีวิตขณะถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งรู้จักกันในนาม "ตำรวจศีลธรรม" เพราะถูกกล่าวหาว่าทำผิดกฎการสวมผ้าคลุมศีรษะที่เรียกว่าฮิญาบ
ที่ผ่านมา ชาวอิหร่านเคยออกมาประท้วงใหญ่ทั่วประเทศมาก่อน เช่นคราวปี 2017 ที่ดำเนินไปจนถึงต้นปี 2018 และอีกครั้งในเดือน พ.ย. 2019 แต่การประท้วงครั้งล่าสุดนี้มีลักษณะเฉพาะ คือ มีคนจากทุกภาคส่วนในสังคมเข้าร่วม และผู้หญิงได้กลายเป็นหัวหอกหลักในการประท้วงภายใต้คำขวัญ "สตรี ชีวิต และเสรีภาพ" (Woman, life, freedom)
นอกจากนี้ คนดังมากมายได้ออกมาแสดงจุดยืนสนับสนุนการประท้วงโดยไม่เกรงกลัวผลกระทบที่จะตามมา
ทาราเนห์ อาลีดุสตี นักแสดงหญิงแถวหน้าของอิหร่านกำลังถูกจองจำในเรือนจำเอวินอันอื้อฉาว หลังกล่าวประณามการประหารชีวิตผู้ประท้วงคนหนึ่ง ก่อนหน้านี้เธอเคยโพสต์รูปตัวเองโดยไม่สวมผ้าคลุมศีรษะตามกฎของทางการ พร้อมกับถือแผ่นป้ายที่มีคำขวัญ "สตรี ชีวิต และเสรีภาพ"
อัสการ์ ฟาร์ฮาดี ผู้กำกับที่เคยร่วมงานกับอาลีดุสตีในภาพยนตร์ดีกรีรางวัลออสการ์เรื่อง The Salesman โพสต์ข้อความทางอินสตาแกรมว่า “ผมเคยทำงานกับทาราเนห์ในหนัง 4 เรื่อง และตอนนี้เธอต้องติดคุกจากการสนับสนุนเพื่อนร่วมชาติโดยชอบธรรม และคัดค้านการพิพากษาที่ไม่เป็นธรรม”
“หากการแสดงความสนับสนุนเช่นนี้ถือเป็นอาชญากรรม ผู้คนหลายสิบล้านคนในประเทศนี้ก็คงจะเป็นอาชญากรกันหมด” เขาระบุ
“คำขู่ฆ่า”
เพกาห์ อาฮานการานี นักแสดงหญิงชื่อดังของอิหร่านที่เพิ่งเดินทางออกนอกประเทศ ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีแผนกภาษาเปอร์เซียว่า รัฐบาลใช้มาตรการสุดโต่งในการปราบปรามประชาชน ขณะเดียวกันคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็ตอบโต้อย่างสุดโต่งเช่นกัน
“พวกเราไม่สามารถย้อนกลับไปสู่ยุคก่อนเกิดเหตุการณ์ของมาห์ซา อามินีได้” นักแสดงหญิงบรรยายถึงการเสียชีวิตของหญิงสาววัย 22 ปีเมื่อ 16 ก.ย.ที่จุดกระแสโกรธแค้นไปทั่วประเทศ
ส่วนฮามิด ฟาร์โรกห์เนซาด นักแสดงชายชื่อดังอีกคนเพิ่งย้ายไปอยู่ในสหรัฐฯ เมื่อต้นเดือน ธ.ค. และเรียก อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดอิหร่าน ว่า “จอมเผด็จการ” โดยเปรียบเทียบเขากับนายพลฟรังโก ของสเปน, สตาลิน ของโซเวียต และมุสโสลินี ของอิตาลี
อาลี คาริมี อดีตนักบอลขวัญใจชาวอิหร่าน ซึ่งอาศัยอยู่ในนครรัฐดูไบก็เป็นอีกคนที่สนับสนุนการประท้วงครั้งนี้ เขาระบุว่าได้รับคำขู่เอาชีวิตจากเจ้าหน้าที่ข่าวกรองอิหร่าน ส่งผลให้เขาต้องย้ายไปอยู่สหรัฐฯ ในที่สุด
คาริมี ซึ่งมีผู้ติดตามทางอินสตาแกรมกว่า 14 ล้านคน ถือเป็นหนึ่งในผู้วิจารณ์รัฐบาลอิหร่านอย่างตรงไปตรงมามากที่สุด
ส่วน อาลี ดาอี นักเตะชาวอิหร่านอีกคนที่ออกมาสนับสนุนการผละงานประท้วงทั่วประเทศก็ถูกทางการอิหร่านสั่งปิดร้านขายอัญมณีและร้านอาหาร
สิ่งที่ทำให้การประท้วงในอิหร่านครั้งล่าสุดแตกต่างไปจากในอดีตคือการที่ผู้ประท้วงใช้ระเบิดขวดเป็นอาวุธโจมตีกองกำลังบาซิจ (Basij militia) ซึ่งเป็นกลุ่มทหารอาสาของรัฐบาลอิหร่าน รวมทั้งโรงเรียนสอนศาสนาของบรรดาผู้นำมุสลิมนิกายชีอะห์
ปัดผ้าโพกหัว
กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ก้าวขึ้นเป็นแกนนำสำคัญในการประท้วงครั้งนี้ ด้วยการขัดขืนกฎข้อบังคับทางศาสนาที่เคร่งครัด และจุดกระแสใหม่ในเรื่องต่าง ๆ เช่น การเผาผ้าคลุมศีรษะ
นอกจากนี้ยังรวมถึงสิ่งที่เรียกว่า “การปัดผ้าโพกหัว” ซึ่งเป็นการย่องเข้าไปด้านหลังผู้นำมุสลิมนิกายชีอะห์ ปัดผ้าโพกหัวแล้ววิ่งหนีออกมา
คำเตือน: บีบีซีไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่มาจากภายนอก
เด็กหนุ่มวัย 16 ปีคนหนึ่งที่ชื่อ อาร์เชีย อีมามโกห์ลิซาห์เดห์ ถูกจับกุมฐาน “ปัดผ้าโพกหัว” ในเมืองทาบริซเมื่อเดือนก่อน
เขาถูกคุมขังอยู่ 10 วันก่อนได้รับการปล่อยตัว ทว่า 2 วันต่อมาเขาได้ตัดสินใจฆ่าตัวตาย ซึ่งครอบครัวเชื่อว่าเป็นผลมาจากการที่เขาถูกปฏิบัติในคุก
แหล่งข่าวใกล้ชิดกับครอบครัวเปิดเผยกับบีบีซีว่า อาร์เชียถูกทุบตีด้วยกระบอง และถูกบังคับให้กินยาบางอย่าง
ทางการอิหร่านไม่ได้ใช้แค่กำลังปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงอย่างโหดเหี้ยมเท่านั้น แต่ยังใช้ศพของผู้ที่เสียชีวิตระหว่างถูกคุมขังหรือถูกสังหารจากการประท้วงเป็นเครื่องต่อรองเพื่อปิดปากครอบครัวของเหยื่อเหล่านี้
แหล่งข่าวรายหนึ่งเล่าให้บีบีซีฟังว่า ความหวาดกลัวแรงกดดันดังกล่าวทำให้พี่ชายของผู้ประท้วงที่ถูกสังหารคนหนึ่งตัดสินใจขโมยร่างน้องชายออกจากห้องดับจิต
เมห์ราน ซามัก วัย 27 ปีถูกยิงที่ศีรษะที่เมืองบันดาห์ อันซาลี ทางภาคเหนือ จากกรณีที่เขาบีบแตรรถยนต์เป็นการฉลองที่ทีมชาติอิหร่านตกรอบการแข่งขันฟุตบอลโลกเมื่อ 29 พ.ย.
ส่วนอีกครอบครัวเล่าว่า พบร่องรอยการทรมานที่น่าตกใจบนศพลูกชายวัย 23 ปีที่ชื่อฮาเหม็ด ซาลาห์ชูร์ ซึ่งเสียชีวิตระหว่างถูกทางการคุมขัง และถูกนำร่างไปฝังห่างจากเมืองที่เขาอยู่ 30 กม. โดยที่ครอบครัวไม่ยินยอม
การประหารและทรมาน
ปัจจุบันมีชาย 2 คนถูกทางการอิหร่านประหารชีวิตจากข้อหาที่คลุมเครือเกี่ยวกับการประท้วง ซึ่งกลุ่มเพื่อสิทธิมนุษยชนประณามว่าเป็นความบกพร่องของกระบวนการยุติธรรม
ส่วนผู้ถูกตัดสินให้รับโทษประหารชีวิตหลายคนระบุว่าต้องเผชิญกับการทรมาน
เครือข่ายสิทธิมนุษยชนเคอร์ดิสถาน (Kurdistan Human Rights Network) ระบุว่า ซามาน ยาซิน ศิลปินเพลงแร็ปเชื้อสายเคิร์ด ซึ่งถูกพิพากษาประหารชีวิตได้พยายามฆ่าตัวตายเมื่อ 20 ธ.ค. หลังจากถูกทรมานในระหว่างการคุมขัง
ไฟล์เสียงที่บีบีซีแผนกภาษาเปอร์เซียได้รับจาก ซาฮันด์ นูร์โมฮัมมาซาเดห์ ระบุว่าเขาถูกก่อกวนหลายครั้งจากการจำลองการประหารชีวิตในเรือนจำ
ซาฮันด์ นูร์โมฮัมมาซาเดห์ ยืนยันความบริสุทธิ์หลังถูกตัดสินประหารชีวิตเมื่อเดือน พ.ย.
นักเพาะกายสมัครเล่นวัย 26 ปีผู้นี้ถูกพิพากษาประหารชีวิตในเดือน พ.ย. หลังจากถูกตัดสินให้มีความผิดฐาน “เป็นศัตรูกับพระเจ้า” (เป็นความผิดตามกฎหมายอิหร่านฐานสร้างความไม่สงบในสังคมด้วยการใช้อาวุธ) เขาถูกกล่าวหาว่าปิดกั้นการจราจรบนทางหลวงสายหนึ่งด้วยการรื้อถอนรั้วกั้นถนนระหว่างการประท้วงในกรุงเตหะรานเมื่อ 23 ก.ย. ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่เขาปฏิเสธ
บีบีซีแผนกภาษาเปอร์เซียยังได้รับภาพเอกซเรย์ของ นพ.ฮามิด การ์-ฮาซานลู ซึ่งแสดงให้เห็นกระดูกซี่โครงของเขาหัก 3 ซี่และทิ่มทะลุปอด
รังสีแพทย์ผู้นี้ถูกตัดสินให้มีความผิดฐาน “ทุจริตบนโลก” ซึ่งมีโทษประหารชีวิต แหล่งข่าวรายหนึ่งเปิดเผยกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่า นพ. การ์-ฮาซานลู เป็นเหยื่อการทรมานและการปฏิบัติอย่างเลวร้ายเพื่อรีด “คำสารภาพ”
บีบีซีไทย
การประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ยาวนานที่สุดในอิหร่าน นับแต่การปฏิวัติอิสลามในปี 1979 ได้ดำเนินมาเป็นเวลากว่า 100 วันแล้ว การเคลื่อนไหวครั้งนี้ไม่เพียงจะสั่นคลอนอำนาจรัฐ แต่ยังสร้างความสูญเสียใหญ่หลวงให้ประชาชนอิหร่าน
สำนักข่าวของนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Activists' News Agency หรือ HRANA) ระบุว่า นับแต่ประชาชนลุกฮือขึ้นประท้วงทั่วประเทศเมื่อเดือน ก.ย. มีผู้ประท้วงเสียชีวิตแล้วกว่า 500 คน ในจำนวนนี้มีเด็กรวมอยู่ 69 คน มีการประหารชีวิตผู้ประท้วงแล้ว 2 คน และอีกอย่างน้อย 26 คนถูกตัดสินให้รับบทลงโทษเดียวกัน ซึ่งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกว่า “การพิจารณาคดีจอมปลอม”
การประท้วงครั้งนี้มีขึ้นหลังจากหญิงสาววัย 22 ปีคนหนึ่งที่ชื่อมาห์ซา อามินี เสียชีวิตขณะถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งรู้จักกันในนาม "ตำรวจศีลธรรม" เพราะถูกกล่าวหาว่าทำผิดกฎการสวมผ้าคลุมศีรษะที่เรียกว่าฮิญาบ
ที่ผ่านมา ชาวอิหร่านเคยออกมาประท้วงใหญ่ทั่วประเทศมาก่อน เช่นคราวปี 2017 ที่ดำเนินไปจนถึงต้นปี 2018 และอีกครั้งในเดือน พ.ย. 2019 แต่การประท้วงครั้งล่าสุดนี้มีลักษณะเฉพาะ คือ มีคนจากทุกภาคส่วนในสังคมเข้าร่วม และผู้หญิงได้กลายเป็นหัวหอกหลักในการประท้วงภายใต้คำขวัญ "สตรี ชีวิต และเสรีภาพ" (Woman, life, freedom)
นอกจากนี้ คนดังมากมายได้ออกมาแสดงจุดยืนสนับสนุนการประท้วงโดยไม่เกรงกลัวผลกระทบที่จะตามมา
ทาราเนห์ อาลีดุสตี นักแสดงหญิงแถวหน้าของอิหร่านกำลังถูกจองจำในเรือนจำเอวินอันอื้อฉาว หลังกล่าวประณามการประหารชีวิตผู้ประท้วงคนหนึ่ง ก่อนหน้านี้เธอเคยโพสต์รูปตัวเองโดยไม่สวมผ้าคลุมศีรษะตามกฎของทางการ พร้อมกับถือแผ่นป้ายที่มีคำขวัญ "สตรี ชีวิต และเสรีภาพ"
อัสการ์ ฟาร์ฮาดี ผู้กำกับที่เคยร่วมงานกับอาลีดุสตีในภาพยนตร์ดีกรีรางวัลออสการ์เรื่อง The Salesman โพสต์ข้อความทางอินสตาแกรมว่า “ผมเคยทำงานกับทาราเนห์ในหนัง 4 เรื่อง และตอนนี้เธอต้องติดคุกจากการสนับสนุนเพื่อนร่วมชาติโดยชอบธรรม และคัดค้านการพิพากษาที่ไม่เป็นธรรม”
“หากการแสดงความสนับสนุนเช่นนี้ถือเป็นอาชญากรรม ผู้คนหลายสิบล้านคนในประเทศนี้ก็คงจะเป็นอาชญากรกันหมด” เขาระบุ
“คำขู่ฆ่า”
เพกาห์ อาฮานการานี นักแสดงหญิงชื่อดังของอิหร่านที่เพิ่งเดินทางออกนอกประเทศ ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีแผนกภาษาเปอร์เซียว่า รัฐบาลใช้มาตรการสุดโต่งในการปราบปรามประชาชน ขณะเดียวกันคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็ตอบโต้อย่างสุดโต่งเช่นกัน
“พวกเราไม่สามารถย้อนกลับไปสู่ยุคก่อนเกิดเหตุการณ์ของมาห์ซา อามินีได้” นักแสดงหญิงบรรยายถึงการเสียชีวิตของหญิงสาววัย 22 ปีเมื่อ 16 ก.ย.ที่จุดกระแสโกรธแค้นไปทั่วประเทศ
ส่วนฮามิด ฟาร์โรกห์เนซาด นักแสดงชายชื่อดังอีกคนเพิ่งย้ายไปอยู่ในสหรัฐฯ เมื่อต้นเดือน ธ.ค. และเรียก อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดอิหร่าน ว่า “จอมเผด็จการ” โดยเปรียบเทียบเขากับนายพลฟรังโก ของสเปน, สตาลิน ของโซเวียต และมุสโสลินี ของอิตาลี
อาลี คาริมี อดีตนักบอลขวัญใจชาวอิหร่าน ซึ่งอาศัยอยู่ในนครรัฐดูไบก็เป็นอีกคนที่สนับสนุนการประท้วงครั้งนี้ เขาระบุว่าได้รับคำขู่เอาชีวิตจากเจ้าหน้าที่ข่าวกรองอิหร่าน ส่งผลให้เขาต้องย้ายไปอยู่สหรัฐฯ ในที่สุด
คาริมี ซึ่งมีผู้ติดตามทางอินสตาแกรมกว่า 14 ล้านคน ถือเป็นหนึ่งในผู้วิจารณ์รัฐบาลอิหร่านอย่างตรงไปตรงมามากที่สุด
ส่วน อาลี ดาอี นักเตะชาวอิหร่านอีกคนที่ออกมาสนับสนุนการผละงานประท้วงทั่วประเทศก็ถูกทางการอิหร่านสั่งปิดร้านขายอัญมณีและร้านอาหาร
สิ่งที่ทำให้การประท้วงในอิหร่านครั้งล่าสุดแตกต่างไปจากในอดีตคือการที่ผู้ประท้วงใช้ระเบิดขวดเป็นอาวุธโจมตีกองกำลังบาซิจ (Basij militia) ซึ่งเป็นกลุ่มทหารอาสาของรัฐบาลอิหร่าน รวมทั้งโรงเรียนสอนศาสนาของบรรดาผู้นำมุสลิมนิกายชีอะห์
ปัดผ้าโพกหัว
กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ก้าวขึ้นเป็นแกนนำสำคัญในการประท้วงครั้งนี้ ด้วยการขัดขืนกฎข้อบังคับทางศาสนาที่เคร่งครัด และจุดกระแสใหม่ในเรื่องต่าง ๆ เช่น การเผาผ้าคลุมศีรษะ
นอกจากนี้ยังรวมถึงสิ่งที่เรียกว่า “การปัดผ้าโพกหัว” ซึ่งเป็นการย่องเข้าไปด้านหลังผู้นำมุสลิมนิกายชีอะห์ ปัดผ้าโพกหัวแล้ววิ่งหนีออกมา
A schoolgirl without a headscarf in Tehran knocks off a cleric’s turban & runs away. “#TurbanTossing is a campaign to protest against the symbol of access to the ruling system, privilege, corruption and oppression. #MahsaAmini #مهسا_امینی #عمامه_پرانی pic.twitter.com/rdwrTXQ2Nr
— Omid Memarian (@Omid_M) November 13, 2022
คำเตือน: บีบีซีไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่มาจากภายนอก
เด็กหนุ่มวัย 16 ปีคนหนึ่งที่ชื่อ อาร์เชีย อีมามโกห์ลิซาห์เดห์ ถูกจับกุมฐาน “ปัดผ้าโพกหัว” ในเมืองทาบริซเมื่อเดือนก่อน
เขาถูกคุมขังอยู่ 10 วันก่อนได้รับการปล่อยตัว ทว่า 2 วันต่อมาเขาได้ตัดสินใจฆ่าตัวตาย ซึ่งครอบครัวเชื่อว่าเป็นผลมาจากการที่เขาถูกปฏิบัติในคุก
แหล่งข่าวใกล้ชิดกับครอบครัวเปิดเผยกับบีบีซีว่า อาร์เชียถูกทุบตีด้วยกระบอง และถูกบังคับให้กินยาบางอย่าง
ทางการอิหร่านไม่ได้ใช้แค่กำลังปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงอย่างโหดเหี้ยมเท่านั้น แต่ยังใช้ศพของผู้ที่เสียชีวิตระหว่างถูกคุมขังหรือถูกสังหารจากการประท้วงเป็นเครื่องต่อรองเพื่อปิดปากครอบครัวของเหยื่อเหล่านี้
แหล่งข่าวรายหนึ่งเล่าให้บีบีซีฟังว่า ความหวาดกลัวแรงกดดันดังกล่าวทำให้พี่ชายของผู้ประท้วงที่ถูกสังหารคนหนึ่งตัดสินใจขโมยร่างน้องชายออกจากห้องดับจิต
เมห์ราน ซามัก วัย 27 ปีถูกยิงที่ศีรษะที่เมืองบันดาห์ อันซาลี ทางภาคเหนือ จากกรณีที่เขาบีบแตรรถยนต์เป็นการฉลองที่ทีมชาติอิหร่านตกรอบการแข่งขันฟุตบอลโลกเมื่อ 29 พ.ย.
ส่วนอีกครอบครัวเล่าว่า พบร่องรอยการทรมานที่น่าตกใจบนศพลูกชายวัย 23 ปีที่ชื่อฮาเหม็ด ซาลาห์ชูร์ ซึ่งเสียชีวิตระหว่างถูกทางการคุมขัง และถูกนำร่างไปฝังห่างจากเมืองที่เขาอยู่ 30 กม. โดยที่ครอบครัวไม่ยินยอม
การประหารและทรมาน
ปัจจุบันมีชาย 2 คนถูกทางการอิหร่านประหารชีวิตจากข้อหาที่คลุมเครือเกี่ยวกับการประท้วง ซึ่งกลุ่มเพื่อสิทธิมนุษยชนประณามว่าเป็นความบกพร่องของกระบวนการยุติธรรม
ส่วนผู้ถูกตัดสินให้รับโทษประหารชีวิตหลายคนระบุว่าต้องเผชิญกับการทรมาน
เครือข่ายสิทธิมนุษยชนเคอร์ดิสถาน (Kurdistan Human Rights Network) ระบุว่า ซามาน ยาซิน ศิลปินเพลงแร็ปเชื้อสายเคิร์ด ซึ่งถูกพิพากษาประหารชีวิตได้พยายามฆ่าตัวตายเมื่อ 20 ธ.ค. หลังจากถูกทรมานในระหว่างการคุมขัง
ไฟล์เสียงที่บีบีซีแผนกภาษาเปอร์เซียได้รับจาก ซาฮันด์ นูร์โมฮัมมาซาเดห์ ระบุว่าเขาถูกก่อกวนหลายครั้งจากการจำลองการประหารชีวิตในเรือนจำ
ซาฮันด์ นูร์โมฮัมมาซาเดห์ ยืนยันความบริสุทธิ์หลังถูกตัดสินประหารชีวิตเมื่อเดือน พ.ย.
นักเพาะกายสมัครเล่นวัย 26 ปีผู้นี้ถูกพิพากษาประหารชีวิตในเดือน พ.ย. หลังจากถูกตัดสินให้มีความผิดฐาน “เป็นศัตรูกับพระเจ้า” (เป็นความผิดตามกฎหมายอิหร่านฐานสร้างความไม่สงบในสังคมด้วยการใช้อาวุธ) เขาถูกกล่าวหาว่าปิดกั้นการจราจรบนทางหลวงสายหนึ่งด้วยการรื้อถอนรั้วกั้นถนนระหว่างการประท้วงในกรุงเตหะรานเมื่อ 23 ก.ย. ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่เขาปฏิเสธ
บีบีซีแผนกภาษาเปอร์เซียยังได้รับภาพเอกซเรย์ของ นพ.ฮามิด การ์-ฮาซานลู ซึ่งแสดงให้เห็นกระดูกซี่โครงของเขาหัก 3 ซี่และทิ่มทะลุปอด
รังสีแพทย์ผู้นี้ถูกตัดสินให้มีความผิดฐาน “ทุจริตบนโลก” ซึ่งมีโทษประหารชีวิต แหล่งข่าวรายหนึ่งเปิดเผยกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่า นพ. การ์-ฮาซานลู เป็นเหยื่อการทรมานและการปฏิบัติอย่างเลวร้ายเพื่อรีด “คำสารภาพ”