วันจันทร์, กรกฎาคม 04, 2565

เส้นทางทหารของพระราชา ทำให้กองทัพไทย พยายามหนีห่างจากความเป็นประชาธิปไตยไปทุกที ?



ที่มา เส้นทางทหารของพระราชา
Voice TV

จากการเป็นกองหน้าในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ผ่านไป 90 ปี อะไรทำให้กองทัพไทยยูเทิร์น 180 องศา พยาพยามหนีห่างจากความเป็นประชาธิปไตยไปทุกที

การทำรัฐประหารทั้ง 13 ครั้ง ตลอด 90 ปีที่ผ่านมา อำนาจทหารมีพลวัตเปลี่ยนแปลงไปอย่่างไร จากหน้าที่รั้วของชาติ กำลังถูกตั้งคำถามถึงบทบาทในการหันไปปกป้องสถาบันกษัตริย์เป็นหลัก การทำความเข้าใจโครงสร้างเครือข่ายอำนาจและทิศทางของกองทัพจึงเป็นสิ่งที่สังคมไทยเลี่ยงไม่ได้ที่่น่าจับตามอง

ความสัมพันธ์และความการเปลี่ยนแปลง

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี นักวิชาการอิสระ อดีตบรรณาธิการบริหาร นสพ. The Nation กล่าวถึงความเข้าใจเรื่องกองทัพในโลกประชาธิปไตยว่าอำนาจสูงสุดของประชาชนอยู่เหนือกองทัพ แต่สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพกับราชวงศ์ไทยแตกต่างกันออกไป

เริ่มจากในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งกองทัพไทยขึ้นเพื่อจุดประสงค์ทางความมั่นคงและความปลอดภัยของราชวงศ์ แสดงให้เห็นว่าอำนาจของกองทัพถูกกำหนดให้อยู่ใต้สถาบันกษัตริย์ แม้ว่าในช่วงปี 2455 ทหารหนุ่มบางกลุ่มต้องการที่จะดึงอำนาจของสถาบันกษัตริย์ลง จนเป็นเหตุการณ์กบฎร.ศ.130

จนกระทั่งปี 2475 ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนประสบความสำเร็จ แม้ว่าปี 2476 จะเกิดการก่อกบฏของพระองค์เจ้าบวรเดช เพื่อให้สถาบันกษัตริย์กลับมามีอำนาจสูงสุดอีกครั้ง แต่ก็พ่ายให้กับจอมพล ป.พิบูลสงครามไป

เมื่่อ จอมพล ป. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการสร้้างแนวคิดชาตินิยมของรัฐไทยขึ้นมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนความจงรักภักดีเดิมที่อยู่กับสถาบันกษัติรย์ ให้มาอยู่ที่รัฐบาลและตัวจอมพล ป. แทน

จนกระทั่งการดำรงตำแหน่งนายกฯ ครั้งที่ 2 ของจอมพล ป. เกิดความขัดแย้งภายในกองทัพเป็นช่องว่างทำให้สถาบันกษัตริย์มีโอกาสใกล้ชิดกับกองทัพอีก ซึ่งเริ่มต้นในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่สร้างเครือข่ายอำนาจระหว่างกองทัพกับสถาบันกษัตริย์จนสืบเนื่องต่อมาจนสิ้นสุดในยุคของรัชกาลที่ 9

สุภลักษณ์ แสดงให้เห็นภาพของความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างสถาบันกษัตริย์และกองทัพผ่านภาพถ่ายของพล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีต ผบ.ทบ. ที่มีเบื้องหลังเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ในชุดทหาร และอ้างถึงคำพูดของ พล.อ.อภิรัชต์ ว่า "ทั้งสถาบันทหารและสถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งแยกจากกันไม่ได้"



สุภลักษณ์ ชี้ว่ากองทัพพยายามสร้างมายาคติผ่านประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงภาพที่กองทัพกับกษัตริย์สู้เคียงบ่าเคียงไหล่กันเพื่อปกป้องบ้านเมือง เป็นการสร้างสร้างบทบาทความสัมพันธ์ของกษัตริย์กับกองทัพผ่านประวัติศาสตร์ โดยไม่ได้กล่าวถึงบริบทในประวัติศาสตร์ทั้งหมด เพียงแต่ต้องการฉายภาพระบอบศักดินาที่ทำหน้าที่รักษาบ้านเมือง

"ปัจจุบัน รัชกาลที่ 10 ถือเป็นกษัตริย์องค์แรกของไทยหลังการปฎิวัติ 2475 และเป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 ในราชวงค์จักรี (คนที่ 1 รัชกาลที่ 6 คนที่ 2 รัชกาลที่ 7) ที่จบการศึกษาด้านการทหาร และเคยประจำการในกองทัพ รวมถึงมีประสบการณ์รบในการทำสงครามกับคอมมิวนิสต์ ในช่วงปี 2513"

สุภลักษณ์ อธิบายต่อว่่่าภายใต้รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการออกกฎหมายหลายฉบับตั้งแต่ปี 2560 – 2562 ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปโครงสร้างและความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพกับสถาบันกษัตริย์ มีการจัดหมวดหมู่ทหารที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน

ตั้งแต่การจัดระเบียบการรักษาความปลอดภัยเกิดขึ้นผ่านการกองทัพส่วนพระองค์ ทั้งกองกำลัง 904 ภายใต้คำสั่ง พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ., กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ รวมถึงหน่วยงานตำรวจที่เดิมทีมีชื่อว่าตำรวจมหาดเล็กรักษาพระองค์ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อใหม่เมื่อปี 2563 ให้ออกจากขอบเขตของพระราชวัง แต่หน้าที่ของหน่วยงานนี้ยังคงทำหน้าที่ปกป้องราชวงศ์ผ่านความสัมพันธ์ของคนในหน่วยที่ใกล้ชิดกับพระราชวังเป็นพิเศษ

จากข้อมูลที่ปรากฏ สุภลักษณ์ กล่าวว่่า รูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าวต่างไปจากสมัยยุคพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่เป็นผู้มีบทบาทในการสร้้างเครือข่ายทางอำนาจในฐานะหัวหน้าองคมนตรี

หลังการเสียชีวิตของพล.อ.เปรม แม้ว่าตำแหน่งหัวหน้าองคมนตรีใหม่จะตกเป็นของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แต่ก็ไม่ได้มีบารมีมากพอที่จะเชื่อมสถาบันกษัตริย์กับกองทัพเหมือนที่ผ่านมา เพราะพระมหากษัตริย์สามารถเข้าถึงกองทัพด้วยตัวพระองค์เอง ผ่านกองกำลัง 904 หรือที่รู้จักกันในนามทหารคอแดงเป็นหลัก

จากการสืบค้นของสุภลักษณ์ มีทหาร 15 นายที่เคยดำรงตำแหน่งใน 904 และได้รับการเลื่อนยศไปดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ในกองทัพเพื่อปฎิบัติการให้สถาบันกษัตริย์มีความแข็งแกร่งมากขึ้น

ทั้งนี้ สุภลักษณ์ ยังยกตัวอย่างการรื้อถอนอนุสาวรีย์ปราบกบฏที่วงเวียนหลักสี่ในปี 2561 การรื้อถอนหมุดคณะราษฎรในปี 2560 ว่าเป็นหนึ่งในความพยายามทำให้สัญลักษณ์ของการต่อต้านระบอบกษัตริย์หายไป ทั้งยังมีการเปลี่ยนชื่อสถานที่ต่างๆ ที่เคยตั้งตามสมาชิกผู้ก่อการ 2575 ให้กลายเป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์แทน

ทหารของพระราชา

พอล แชมเบอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ไม่มีเหตุผลอะไรที่ยอมรับได้ว่าคนมีอาวุธจะเชื่อฟังคนที่ไม่มีอาวุธ เหมือนกับกษัตริย์ที่ไร้อาวุธจะอยู่อย่างปลอดภัยและมั่นคงอย่างไรในเมื่อเหล่าผู้รับใช้ถืออาวุธครบมือ

พอล บอกว่า network monarchy เป็นคำนิยามที่กว้างกว่า monarchized Military หรือทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะแบบแรกสามารถขยายความไปได้ถึงการใช้เครือข่ายของสถาบันในการควบคุมอำนาจในหลายภาคส่วน ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในกองทัพเท่านั้น

"ทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นพลวัตที่สืบเนื่องมาจากมรดกทางประวัติศาสตร์ที่ทหารต้องรับหน้าที่ปกป้องดูแลสถาบันกษัตริย์ สิ่งนี้เองเป็นการสร้างความชอบธรรมให้การรัฐประหาร"

หรือที่พอลนิยามว่า "การปกครองโดยคนโง่ (khaki-stocracy)" พร้อมยกตัวอย่างการทำรัฐประหารปี 2549 และการสร้้างอุทยานราชภักดิ์ ที่เป็นสัญลักษณ์ว่ากองทัพนั้นอยู่ภายใต้สถาบันกษัตริย์

การปฏิบัติการณ์ของกองทัพลักษณะนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่ารัฐคู่ขนานที่นอกเหนือจากอำนาจฝ่ายปกครองอย่างเป็นทางการ ตามกลไกทางการเมืองของพลเรือนแล้วยังมีอีกฝ่ายอำนาจที่ใช้ปกครองอย่างไม่เป็นทางการอีกด้วย เพื่อเป็นการรักษาสมดุลย์ทางการเมือง แต่อีกใจความสำคัญของรัฐคู่ขนานคือการใช้ความรุนแรง

เขาเปรียบเทียบการใช้อำนาจของรัฐคู่ขนานให้เห็นภาพชัดขึ้นโดยยกตัวอย่่างภาพยนตร์เรื่อง The Godfather ที่นำเสนอเรื่องราวการใช้อำนาจมาเฟียปกครองผ่านการอาศัยแรงจากมือปืน

รัฐคู่ขนานไทยในมุมมองของพอลจึงออกมาเป็นการที่สถาบันกษัตริย์สร้างกองทัพที่มีอุดมการณ์ รวมถึงจารีตต่างๆ เพื่อสร้างความชอบธรรม โดยพอลกล่าวว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ต่างฝ่ายต่างได้ผลประโยชน์ เพราะทั้งกองทัพได้รับความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่

ส่วนสถาบันกษัตริย์ได้รับความมั่นคงผ่านการปฏิบัติหน้าที่ของกองทัพอีกที เป็นการทำให้กองทัพมอบความภักดีเพื่อให้สถาบันกษัตริย์ยังคงอยู่และขยายอำนาจได้ ไม่ใช่การรวมกองทัพกับสถาบันกษัตริย์ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

ความไม่มั่นคงของประชาธิปไตย

อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ จากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มอธิบายสั้นๆ ว่่า ตั้งแต่การปฎิรูปสยามในศตวรรษที่ 19 เป็นตนมา ทหารพระราชาหรือทหารไทยสมัยใหม่ ไม่ได้ทำการรบกับศัตรูที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ แต่มีหน้าที่หลักเพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์เป็นส่วนใหญ่

เขาตั้งคำถามถึงความไม่มั่นคงของประชาธิไตยไทย เนื่องจากทหารพระราชามักอ้างถึงหลักสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของทหารว่าด้วย ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ แม้ว่าทหารทุกคนจะเป็นทหารของพระราชาอยู่แล้ว แต่กลุ่มทหารที่เกิดขึ้นใหม่อย่าง "ทหารคอแดง" ก็มีความสำคัญและเป็นปัญหาใหม่เช่นกัน

เมื่ออำนาจพลเรือนไทยไม่เคยได้เติบโต กองทัพก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองตลอดเวลา ส่งผลให้ที่ผ่านมาเกิดความขัดแย้งภายในระหว่างนักเรียนนายร้อย จปร. ตั้งแต่ช่วงปี 2523 ระหว่าง จปร. รุ่นที่ 1 พล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธ, รุ่นที่ 5 พล.อ.สุจินดา คราประยูร และ รุ่นที่ 7 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เรืื่อยมาจนถึง กลุ่ม 3 ป. ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งในกองทัพอย่างรวดเร็ว จนสร้างไม่พอใจให้กับ จปร. รุ่นใกล้เคียง แต่ในยุคปัจจุบันความขัดแย้งระหว่างรุ่นก็เปลี่ยนไป หลังมีทหารคอแดงขึ้นมา

อุกฤษฎ์ คาดการณ์ว่าในการเปลี่ยนวาระของผู้บัญชาการกองทัพคนใหม่ กลุ่มบูรพาพยัคฆ์จะกลับขึ้นมามีอำนาจอีกครั้ง เพราะตั้งแต่ในอดีตอย่างยุคของจอมพล ป. ความขัดแย้งภายในกองทัพมักเกิดขึ้นจากผลประโยชน์ส่วนตัวเสมอ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ความขัดแย้งในยุคใหม่จะเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มบูรพาพยัคฆ์และทหารคอแดง

สถาบันกษัตริย์เชิงเครือข่าย

ดันแคน แมคคาร์โก จากสถาบันเอเชียศึกษานอร์ดิก มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ตอบคำถามสำคัญเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เชิงเครือข่าย ผ่านการเปรียบเทียบที่เขาเคยใช้ในชั้นเรียนที่อังกฤษว่า ในช่วงที่เขาต้องสอนต่อเนื่อง 4 ชั่วโมง เมื่อถึงชั่วโมงที่ 3 เขาต้องออกไปซื้อกาแฟที่ร้านฝั่งตรงข้ามก่อนกลับมาเข้าสอนในชั่วโมงที่ 4 ซึ่งดันแคนจะต้องเป็นคนซื้อเองทุกวัน แต่ในบางสังคม ถ้ามีคนเห็นว่าดันแคนซื้อกาแฟเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ช่วงหลังๆ จะมีคนเอากาแฟมาวางให้เขาเองโดยไม่ต้องร้องขอ

จากการเปรียบเทียบดังกล่าว ดันแคนต้องการสื่อถึงการทำงานของสถาบันกษัตริย์เชิงเครือข่ายที่กษัตริย์ไม่จำเป็นต้องร้องขออะไร เป็นกระบวนการกึ่งอัตโนมัติที่สั่งสอนให้คนเชื่อว่ากษัตริย์ต้องการอะไรแล้วทำตามนั้น

ความต้องการของกษัตริย์ไม่ได้ปรากฏชัดเจน แต่ถูกขับเคลื่อนผ่านองค์กรตัวแทน เช่น องคมนตรี ทำให้ดันแคนนึกย้อนไปถึงพระราชดำริในปี 2549 เกี่ยวกับ "กษัตริย์ไม่ได้สิ่งที่ต้องการเสมอไป"

สถาบันกษัตริย์เชิงเครือข่ายจึงเป็นกลไกทำให้เกิดรัฐประหารปี 2549 และ 2557 เพราะก่อนหน้านี้กระบวนการปฏิรูปการเมืองอันเป็นผลจากรัฐธรรมนูญ 2540 และความนิยมของทักษิณ ชินวัตร ทำให้การเมืองของพลเรือนมีพัฒนาการเติบโตมากขึ้น

"อำนาจจึงถูกสร้างขึ้นมาเป็นสองขั้วคู่ขนาน ทั้งอำนาจวังและอำนาจพลเรือน ยิ่งเห็นได้ชัดในช่วงรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร"

ดันแคนแสดงความคิดเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงการบริหารอำนาจของสถาบันกษัตริย์เชิงเครือข่ายที่มีหน้าที่แตกต่างออกไปหลายรูปแบบ แม้ว่าจะเปลี่ยนรัชกาลแล้ว แต่เครือข่ายเหล่านี้ยังคงอยู่ อำนาจยังคงถูกใช้ผ่านตัวกลไกที่เปลี่ยนไปโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีตัวแสดงแทนอย่างเมื่อก่อน

"เพราะในรัชกาลปัจจุบัน หากพระองค์ต้องการกาแฟสักแก้วจะเป็นคนบอกเอง"

ดันแคน ทิ้งท้ายว่า การพูดถึงเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เชิงเครือข่ายจะยังคงถูกพูดถึงอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงในวิธีใดก็ตาม เพราะเครือข่ายอำนาจเหล่านี้เป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคตของประเทศไทย

หมายเหตุ - สรุปความจากวงเสวนาหัวข้อ Monarchy, Military-Nexus, and Resilience of Network Monarchy จัดโดยวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ในงาน PBIC RESEARCH SYMPOSIUM: 90 ปี ประชาธิปไตยไทย 88 ปีธรรมศาสตร์ 24 มิ.ย. 65