Paul Adithep
13h
มวยไทย ธุรกิจบันเทิงบนความเจ็บปวดและความตาย ที่นักธุรกิจไม่ต้องรับผิดโดยตรง
เหตุการณ์ “ปานเพชร ผดุงชัยมวยไทยยิม” ตายเป็นเรื่องที่น่าเสียใจครับ แต่ก็เชื่อว่าน่าจะเป็นเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะความรุนแรงคือจุดขายของกีฬาชนิดนี้ คนดูมวยไม่ได้อยากมาดูนักมวยมาออกอาวุธเก็บคะแนนกันหรอก ส่วนใหญ่ก็อยากเห็นนักมวยต่อยเตะคู่ต่อสู้จนเลือดสาด หรือถูกน็อกคาเวทีกันทั้งนั้น นักมวยที่ชนะน็อกได้เยอะก็ยิ่งเรียกคนดูได้มาก
ย้อนไปดูคลิปการต่อยครั้งสุดท้ายของปานเพชรก็ได้ ในขณะที่เค้าหมดสติกลางอากาศ คนดูส่วนใหญ่กลับร้องเฮ สะใจที่ได้เห็นภาพที่เค้าลงไปนอนแน่นิ่ง
หรือจะลองไปดูตัวอย่างความเห็นจากผู้ติดตามเฟซบุ๊ก Amarin TV ที่ลงคลิปข่าว ปานเพชร จะเห็นว่า จำนวนไม่น้อยครับ ที่แสดงความเห็นใจกับปานเพชร แต่ขณะเดียวกันก็มองไม่เห็นว่า กติกาและมาตรการการจัดการแข่งขันมวยไทยที่เป็นอยู่จะมีปัญหาตรงไหน เช่น
“เขาต่อยกันเป็นพันคู่ตายไม่กี่คู่คับมันเป็นอุบัตเหตุ”
“ถ้ามันไม้อันตลายไขจะลงทุนเปันแสนเปันล้านไห้คุนสกมวย”
“คนขับรถบนถนนตายเยอะกว่าอีก”
“อย่าโลกสวยนักเลยโชร์ห่วยทั้งหลาย ไปแข่งขันกันในครีย์บอดร์ดีว่าไหมจะได้ไม่ต้องโลกสวย”
ดังนั้นต่อให้มีนักมวยไทยตายคาเวทีอีกกี่คนก็คงเปลี่ยนอะไรไม่ได้ ขนาดเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจยิ่งกว่าปานเพชร คือ กรณีของ “เพชรมงคล ป.พีณภัทร” เด็กอายุเพียง 13 ปี ที่เสียชีวิตคาเวที ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนในวงการมวยไทยได้ โดยเฉพาะในความเห็นของ คนดู เซียนมวย และโปรโมเตอร์
ถ้าคนวงการมวยส่วนใหญ่ (ตลกร้ายคือ นักมวยถือเป็นส่วนน้อยในวงการนี้) คิดกันอย่างนี้ ความตายของนักมวยจึงไม่ใช่ “ปัญหา” เพราะสำหรับพวกเค้า มันเป็นแค่อุบัติเหตุ หรือจะพูดได้ว่า “ก็รู้อยู่แล้วอยากเสี่ยงชีวิตเองทำไม?”
แต่จริงๆ นักมวยอาชีพหลายคนไม่ได้อยาก “เสี่ยงชีวิต” เอง หลายคนถูกกล่อมเกลาให้เข้าวงการตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ต่อยมวยเลี้ยงครอบครัวตั้งแต่เด็กๆ (ถูกหลอกล่อด้วยคำว่า “ความกตัญญู” “ผู้สืบสานศิลปะของชาติ”) จนเปลี่ยนเส้นทางอาชีพได้ยาก ถึงไม่ตายคาเวทีแต่หลายคนก็ต้องเจอกับปัญหาสุขภาพในระยะยาว
นอกจากนี้ เมื่อนักมวยคนหนึ่งต้องมาเสียชีวิตหรือพิการ คนที่จะมาช่วยพวกเค้ากลับเป็นนักมวยคู่ต่อสู้ที่ “สำนึกผิด” แม้นักมวยคนนั้นจะสู้ตามกติกาทุกอย่าง และกติกาเหล่านี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่พวกเค้าเขียนขึ้นเอง ในขณะที่ผู้กำหนดกติกา ซึ่งมักไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในสังเวียน และเป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ในวงการมวยไทย กลับไม่ต้องมีส่วนรับผิดชอบโดยตรงแต่อย่างใด
เพราะถ้าไปดู พรบ.กีฬามวย 2542 คณะกรรมการมวยคือ ตัวแทนจากกระทรวงต่างๆ และ “ผู้ทรงคุณวุฒิ” ซึ่งมักเป็นผู้มีอิทธิพลในวงการมวย ไม่ใช่นักมวยที่ยังเลี้ยงชีพด้วยการต่อยมวยซึ่งต้องเห็นความสำคัญของสวัสดิภาพของตัวเองและเพื่อนร่วมอาชีพเป็นสำคัญ
และเมื่ออ่าน พรบ.กีฬามวยฯ จนจบก็จะพบว่า กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ร่างขึ้นโดยมองเห็นสวัสดิภาพของนักมวยเป็นเรื่องใหญ่ ที่สำคัญที่สุดของกฎหมายฉบับนี้คือ การควบคุมผูกขาดการจัดการแข่งขัน เพราะในบทกำหนดโทษมีแต่การกำหนดโทษเฉพาะกรณีไม่ขึ้นทะเบียน ไม่ขออนุญาตต่างๆ และมีเรื่องคุ้มครองค่าแรงนักมวยเข้ามาหน่อย
แต่ในเรื่องสวัสดิภาพของนักมวยตามมาตรา 14 (บอกให้มีแพทย์ประจำสนาม ต้องตรวจร่างกาย และทำประกันอุบัติเหตุ) กลับเป็นการเขียนไว้ลอยๆ ไม่มีบทกำหนดโทษว่า ถ้าฝ่าฝืนแล้วจะมีผลอย่างไร และไม่บอกด้วยซ้ำว่าต้องเป็นหน้าที่ของใคร ข้อกำหนดในเรื่องนี้จึงไม่ครบองค์ประกอบที่จะเรียกว่าเป็น “กฎหมาย” ได้ด้วยซ้ำ
(ก่อนหน้านี้ พรบ.นี้ มี มาตรา 52 ว่าด้วย “กองทุนกีฬามวย” อยู่ด้วย เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาวงการกีฬามวย รวมถึงช่วยดูแลสวัสดิภาพของนักมวย เคยมีระเบียบกองทุนระบุไว้เลยว่า ถ้านักมวยบาดเจ็บมาเบิกค่ารักษาได้ตามจริง มีเงินทดแทนในกรณีทุพพลภาพ 20,000 บาท เสียชีวิต 100,000 บาท ซึ่งก็ไม่มาก แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย แต่สุดท้ายมาตรานี้ก็ถูกยกเลิกไปตามคำสั่งของ “คสช.” ในปี 59 โดยถูกยุบรวมไปอยู่ในกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ซึ่งให้ความสำคัญกับนักกีฬาทีมชาติและทีมจังหวัดเป็นหลัก กรณีนักมวยที่ไม่ติดทีมชาติและทีมจังหวัดจะขอความช่วยเหลือได้ก็เป็นรายกรณีเท่านั้น)
Atukkit Sawangsuk
9h ·
มันเป็นธุรกิจผูกขาด ในแวดวงมาเฟีย นักพนัน และทหาร
โดยอ้างการท่องเที่ยวบังหน้า
.....
MGR SPORT
17h
ทำใจไม่ได้!! "แอนโทนี่" แขวนนวม-ส่งเสียครอบครัว "ปานเพชร"
ภายหลังจาก ปานเพชร ผดุงชัยมวยไทย เสียชีวิต เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา จากการขึ้นชกมวยไทย รายการ "ไฟเตอร์ เอ็กซ์" เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2565
โดย ปานเพชร โดนศอกกลับแล้วหัวฟาดลงบนพื้นจนหมดสติ ก่อนที่จะเสียชีวิต ซึ่งล่าสุด แอนโทนี่ ทีเอฟซี มวยไทย คู่ชกในวันดังกล่าว ประกาศแขวนนวมทันที หลังทราบข่าวร้ายการเสียชีวิตของ ปานเพชร
ซึ่ง แอนโทนี่ เผยผ่านเฟ็ซบุ๊กส่วนตัวว่า "ผมรู้ดีว่าผมไม่ได้มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบกับเรื่องนี้ แต่ผมก็ไม่สามารถหยุดคิดได้ว่าการชกแบบนี้มันมีความเสี่ยงอยู่แล้ว คุณย่อมต้องคาดหวังงว่าบางครั้งมันอาจจะเกิดเรื่องแบบนี้ได้เป็นธรรมดา"
"เป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก เขาอาจจะบอบช้ำมามากก่อนถึงไฟต์นี้ บางทีผู้ตัดสินน่าจะจับนับเขาระหว่างการแข่งขันหลายครั้ง เขาอาจผ่านการชกมามากเกินไป หากดูสถิติการชก 80 ไฟต์ แต่มีอายุเพียง 25 ปี"
"ผมกับเขาชกกัน 5 ยก สุดท้ายเป็นการออกหมัดจากผม แน่นอนว่าผมต้องรู้สึกว่ามีส่วนร่วมรับผิดชอบกับเหตุการณ์นี้ ไม่ว่าจะมีใครส่งข้อความ หรือโทรศัพท์มาปลอบผม แต่มันไม่สามารถเปลี่ยนความคิดผมได้ ผมเสียใจมาก อธิบายไม่ได้ โชคชะตามันกำหนดมาแบบนี้ ผมเปลี่ยนมันไม่ได้"
"ตอนนี้ผมทำได้เพียงขอให้เขาไปสู่สุขคติ ผมพร้อมให้ความช่วยเหลือเรื่องการเงินกับคุณแม่, ภรรยา และ ลูกสาวตัวน้อยของเขา จนกว่าเธอจะบอกว่าไม่ต้องการความช่วยเหลือจากผมอีก"
"ผมคิดอย่างรอบคอบแล้วว่าไฟต์ที่ 28 ของผมนี้เป็นไฟต์สุดท้าย ผมจะไม่กลับไปชกอีก ไม่ใช่ว่าผมไม่มีพลังต่อสู้ แต่ผมเชื่อเช่นนั้น (เชื่อว่าต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์นี้) และผมคิดว่านี่เป็นสิ่งเล็กน้อยที่สุดที่ผมควรจะทำ"
"ผมขอบคุณทุกคนที่อยู่กับผมมาตั้งแต่แรกเริ่ม และต้องขอโทษคนเหล่านั้นด้วย เพราะผมรู้ดีว่ามีบางคนที่ยอมเสียสละหลายอย่างเพื่อที่สักวันหนึ่งจะได้เห็นผมอยู่ในจุดสูงสุดให้ได้"