Sujane Kanparit
2h
จากการเฝ้าดูวิกฤติการเมืองในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ผมพบว่า วัฒนธรรมการเมืองไทยฝั่งกองเชียร์ อาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรม “พ่อยก-แม่ยกลิเก” กันเสียมาก
รากของพุทธ+ผี หลายทศวรรษของการถูกทำให้เชื่อโดยไม่ตั้งคำถาม วัฒนธรรมการเชียร์นักการเมืองของบ้านเรา รวมถึงการอวยคนดัง จึงมีลักษณะแกว่งสุดขั้ว
คือถ้าพึงใจ ก็อวยแบบเหยียบคันเร่งมิด นักร้องวิ่งเรี่ยไร ก็ซาบซึ้งน้ำ (ตา) แตก อาการป่วยต่อมาก็คือจะเริ่มยุให้เป็นรัฐมนตรี เป็นนายกฯ สักพักก็เริ่มปั้นรูปเหมือนอวยเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สนองตอบการโหยหาพระผู้ไถ่ที่ประเทศนี้ถูกทำให้เชื่อว่าต้องมี (แต่ไม่เคยเขื่อมั่นในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ด้วยตัวเอง)
อาการลงแดงขั้นสุดคือ ล่าแม่มดคนที่วิจารณ์และวิพากษ์ ไอดอล ซึ่งแน่นอนว่าตัวศาสดาส่วนมากก็ระยำพอที่จะไม่ห้ามกองเชียร์
หากยังฟีเวอร์ต่อไป นักวิชาการ นักข่าว ก็จะเริ่มห้อยโหน แปลงร่างเป็นลิงเป็นค่าง ขออวยดิไอดอลด้วยคน จะได้มีพื้นที่ทำมาหากิน เลิกตรวจสอบ แต่กูจะโหนด้วยคน ตอนนั้นนักวิชาการคนนึงก็จัดการโหน “หลานตูน” หลังทานกระแสไม่ไหว (ไม่ต้องพูดถึงหลายปีต่อมาที่เด็กมันด่า พวกคนเหล่านี้อมสาก ไม่พูดถึงอีกเลย)
แต่ถ้ากองเชียร์เกลียดก็ตีมึนด่าแบบกลับลำ ราวกับลืมว่าตัวเองอวยมาก่อยเสียหัวทิ่ม
หาจุดสมดุลไม่ได้อย่างน่าประหลาด
กลับสู่ประเด็นคือ นักการเมือง ยังไงก็เป็นคน มีพลาดมีผิดได้ ที่สุดคือ absolute power absolutely corrupt อำนาจคือที่มาของความเสื่อม
วิจารณ์ไม่ได้ พังแน่นอน
กองเชียร์พ่อยกแม่ยกลิเกนี้ ยังคงส่งต่อวัฒนธรรมรุ่นสู่รุ่นโดยไม่รู้ตัว แน่นอน เป็นกันเสียมาก ในฝั่งที่อ้าง ปชต
ถ้าเปลี่ยนวัฒนธรรมเชียร์ลิเกให้มาเป็นวัฒนธรรมแบบที่มีการตรวจสอบแบบถ้วนหน้าไม่ได้
การเมืองประเทศนี้ “ไร้อนาคต”
เห็นด้วยอย่างยิ่ง นับวันเราจะมีบุคคลที่แตะต้องไม่ได้เพิ่มขึ้นทุกที ต่างฝ่ายต่างสร้างให้คนของตัวเองถูกต้องทุกกรณีเสมอ ทั้งๆ ที่ตัวอย่างมีปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า ไม่มีใครถูกต้องทุกกรณี ควรวิพากษ์วิจารณ์ได้ด้วยถ้อยคำอันสุภาพและมีเหตุผล https://t.co/3WjeX9HN1C
— พีระ สุวรรณศรีนนท์ (@peerasrinon) July 4, 2022
ชัชชาติเป็นนักการเมืองคนแรกที่ใช้ FB Live ต่อเนื่อง+ทรงพลัง มีคนเลือก1.3 ล้าน แต่ FB ชัชชาติมีผู้ติดตาม 2.5 ล้าน >ที่ห่วงคือ ความสัมพันธ์ระหว่างปชช.กับ #ชัชชาติ จะเปลี่ยนเป็นแฟนคลับการเมือง ไม่เป็นผลดีต่อปชต.เพราะสังคมต้องการปชช.ตรวจสอบนักการเมือง มิใช่มองนักการเมืองเป็นไอดอล #ป pic.twitter.com/myNnS9Rivr
— Pravit Rojanaphruk (@PravitR) July 3, 2022