วันศุกร์, กรกฎาคม 08, 2565

ชัดเลย ต้นตอของการก่อร่างและดำรงอยู่ของ ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’ มาจาก ความสัมพันธ์ที่ได้ผลประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ของกองทัพกับสถาบันกษัตริย์


The101.world
11h ·

“ไม่มีเหตุผลที่จะคาดหวังว่าทหารจะเชื่อฟังพลเมืองที่ปราศจากอาวุธ หรือคาดหวังว่าพระมหากษัตริย์ที่ไร้ซึ่งอาวุธจะทรงดำรงอยู่อย่างปลอดภัยเมื่อผู้รับใช้ของพระองค์มีอาวุธครบมือ” – ส่วนหนึ่งจากบทนำในหนังสือ A Soldier King: Monarchy and Military in the Thailand of Rama X โดย สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี
.
.
นับตั้งแต่การอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เป็นเวลากว่า 90 ปีแล้วที่เส้นทางสู่การเมืองประชาธิปไตยไทยไม่เคยหลุดพ้นจากร่มเงาอิทธิพลของ ‘กองทัพ’
.
ยิ่งกองทัพมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นและแข็งแกร่งกับสถาบันกษัตริย์ อำนาจของ ‘เครือข่ายกษัตริย์’ (Network Monarchy) ยิ่งดำรงอยู่ในภูมิทัศน์การเมืองไทยอย่างมีพลวัต
.
101 ชวนทำความเข้าใจ ‘ระบอบการเมืองบนความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์และกองทัพ’ ที่บทบาททางการเมืองของกองทัพและสถาบันกษัตริย์นำไปสู่การก่อร่างและดำรงอยู่ของ ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’ ผ่านทัศนะของ สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ผู้เขียนหนังสือ A Soldier King: Monarchy and Military in the Thailand of Rama X นักวิจัยจากวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พอล แชมเบอร์ นักวิชาการด้านเอเชียศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร, อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดันแคน แม็กคาร์โก ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษานอร์ดิกและศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน
.
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่: https://www.the101.world/monarchy-military-nexus-and.../
…….
“การถอนทหารออกจากการเมืองเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะการปกครองที่นำโดยพลเรือนเป็นแนวคิดที่ยอมรับไม่ได้สำหรับกองทัพ” - สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี
.
“ในประเทศไทย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับกองทัพคือความสัมพันธ์เชิงระบบอุปถัมภ์ เป็นรัฐคู่ขนานที่นำโดยสถาบันกษัตริย์และมีทหารเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ความใกล้ชิดของกองทัพกับสถาบันกษัตริย์หรือ Monarchized Military คือความสัมพันธ์ที่ได้ผลประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ (win-win relationship) กองทัพได้รับความชอบธรรมต่างๆ จากการปกป้องสถาบันกษัตริย์ ในขณะที่สถาบันกษัตริย์ได้รับการปกป้องคุ้มครองโดยทหารและมีอำนาจควบคุมกองทัพ”
“Monarchized Military เป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับการรัฐประหารที่ขัดต่อกฎหมาย และเป็นรูปแบบหนึ่งของการปกครองประเทศโดยทหารซึ่งมักจะสมรู้ร่วมคิดกับชนชั้นสูงและชนชั้นนายทุน (khaki-aristocracy)” - พอล แชมเบอร์
.
“ในช่วงทศวรรษ 2520 เกิดความขัดแย้งภายในระหว่างผู้นำทหารระดับสูงในไทยอย่างชวลิต ยงใจยุทธ สุจินดา คราประยูร และจำลอง ศรีเมือง และต่อมาช่วงทศวรรษ 2530 ก็เกิดความขัดแย้งกันระหว่าง 3 ป. ในกลุ่มทหารสายบูรพาพยัคฆ์ ได้แก่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประวิตร วงษ์สุวรรณ และอนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่น่าสนใจคือประมาณ 10 ปีต่อมา ทั้ง 3 คนนี้ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำทหารในกองทัพทั้งสิ้น แต่ประเด็นสำคัญคือในปี 2562 ได้เกิดปัญหาขึ้นอีกครั้งเมื่อ ‘ทหารคอแดง’ เข้ามามีบทบาทมากขึ้น”
“ผมวิเคราะห์ว่าในช่วงเดือนกันยายนปีหน้า ผู้ที่จะมาเป็นผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่น่าจะเป็นทหารสายบูรพาพยัคฆ์อีก เพราะพลเอกณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. คนปัจจุบันเองก็เป็นทหารคอแดง นี่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่ใช่ประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง เพราะตอนนี้การเมืองเป็นเรื่องของคน 2 กลุ่ม คือกลุ่มของทหารสายบูรพาพยัคฆ์และกลุ่มของทหารคอแดง” - อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์
.
“พูดง่ายๆ ว่า Network Monarchy ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน เพียงแต่ว่ากระบวนการการทำงานได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพราะผู้ที่มีบทบาทสำคัญในเครือข่ายเปลี่ยนไปจากแต่ก่อน คือสถาบันกษัตริย์มีบทบาทโดยตรงมากขึ้น แต่ถึงอย่างไร Network Monarchy ก็ยังคงเป็นเครือข่ายที่ทรงพลังทางการเมือง”
“ในปัจจุบัน ผมไม่คิดว่าสถาบันกษัตริย์จะไม่แสดงความประสงค์ของพระองค์ออกมา และผมไม่คิดว่าประชาชนจะไม่รู้ว่าสถาบันตั้งใจจะทำอะไร เพราะเราเห็นได้อย่างชัดเจนมากมาโดยตลอด อย่างเช่นพระราชโองการที่เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้งปี 2562 ซึ่งนำไปการยุบพรรคการเมืองหนึ่งในไทย และการที่ในหลวงรัชกาลที่ 10 โปรดเกล้าฯ อัญเชิญพระบรมราโชวาทของรัชกาลที่ 9 ที่ว่า “ส่งเสริมคนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ” แสดงให้เห็นว่าสถาบันเข้ามาแทรกแซงกิจกรรมทางการเมืองโดยตรงมากขึ้น” - ดันแคน แม็กคาร์โก
.
.
เรียบเรียง: ภัคจิรา มาตาพิทักษ์
ภาพประกอบ: ณัฐพล อุปฮาด