วันศุกร์, กรกฎาคม 01, 2565

สัจจธรรมของ ก้อง ห้วยไร่ ‘กงกรรมกงเกวียน’ ของ ‘เติมน้ำมัน’ กับ ‘ไปทำงาน’

ในสัจจธรรมของคนทำงาน รุ่นใหม่ ทุกวันนี้ มันมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างการประกอบอาชีพกับค่าใช้จ่ายพลังงาน ดังโพสต์ของ ก้อง ห้วยไร่ ใช่ไหม

ตื่นมาก็ เติมน้ำมัน เพื่อ ไปทำงาน หาเงินมาได้ก็เอาไปใช้ เติมน้ำมัน ไว้ ไปทำงาน และถ้าไม่ได้ทำงานก็จะไม่มีเงิน เติมน้ำมัน สำหรับเดินทาง ไปทำงานมันเป็น กงกรรมกงเกวียน หรืออย่างไร

อจ.Decharut Sukkumnoed เอาไปคิด กับอีกหลายคนแล้ว feeling sad จึงมี feed back ด้วยหลักคณิตศาสตร์ และสมมุติฐาน ประมาณเอาว่าประชากรคนหนึ่งต้องเดินทางด้วยรถยนต์เพื่อไปทำงานแต่ละวัน จากสายใต้ฯ ถึงรัชดาฯ

ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร และรถที่ใช้ขับขี่ “บริโภคน้ำมัน ๑๕ กม./ลิตร แปลว่า ไป-กลับรถของเราจะบริโภคน้ำมันไป ๔ ลิตร ถ้าราคาน้ำมัน ๔๕ บาท/ลิตร วันนั้น เราจะใช้เงินไป ๑๘๐ บาท

และมนุษย์ทำงานผู้นี้ “เรามีรายได้ ๒๐,๐๐๐ บาท ทำงาน ๒๒ วันต่อเดือน เท่ากับเรามีรายได้วันละ ๙๐๙ บาท/วัน หรือถ้าหาร ๘ ชั่วโมงเราจะมีรายได้ ๑๑๔ บาท/ชั่วโมง

เท่ากับว่าการทำงานแต่ละวัน ผลิตผลที่ได้เป็นค่าจ้างนั้นเป็นค่าน้ำมันรถ หักไปจากเวลาทำงาน ๙๕ นาทีหรือชั่วโมงครึ่ง อจ.เดชรัตบอกว่า นี่ “ไม่นับรวมค่าผ่อนรถ” และไม่นับรวมเวลาที่ใช้เดินทางอีก ๙๐-๑๒๐ นาทีต่อวัน

นั่นแปลว่า ค่าตอบแทนจากการทำงานแต่ละวัน เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางเสีย ๓ ชั่วโมง รวมค่าผ่อนรถเดือนละราวๆ ๙ พันบาท “หรือประมาณ ๔๑๐ บาท/วัน นั่นแปลว่า การทำงานของเราอีก ๓ ชั่วโมงครึ่ง จะเป็นค่าผ่อนรถของเราเอง”

สรุปจากการคำนวณของ อจ.เดชรัต คำบ่นของคุณก้องถูกต้อง เพราะแต่ละวันของการทำงาน ๘ ชั่วโมง เป็นค่าจ้างที่เอาไปใช้เติมน้ำมันและพาหนะเดินทางเสียแล้ว ๖ ชั่วโมง เท่ากับมีรายได้เหลือสำหรับตัวเองเพียง ๒๐๐ บาทกว่าๆ หรืออาจจะน้อยกว่านั้น

ดังนั้นใครที่เป็นนักการศาสนา (พุทธ คริสต์ อิสลาม ขงจื๊อ) ลองเอาไปคิดในทางธรรม ว่านี่เป็นสัจจธรรมของกงกรรมกงเกวียนหรือไม่

(https://www.facebook.com/decharut.sukkumnoed/posts/pfbid02ni3fWeb)