วันเสาร์, กรกฎาคม 02, 2565

‼️บุ้ง-ใบปอ ‘อดอาหารประท้วง’ ครบ 1 เดือน ‼️ ‘บุ้ง’ อาการวิกฤต


อานนท์ นำภา
14h

บุ้ง-ใบปอ ‘อดอาหารประท้วง’ ครบ 1 เดือน
.
บุ้งและใบปอ ถูกคุมขังในคดี ม.112 จากการทำโพลความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จ โดยถูกคุมขังอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลางตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 2565 จากการถูกศาลสั่งถอนประกัน และเริ่มต้นอดอาหารประท้วงศาล เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2565
.
จนถึงขณะนี้ เป็นเวลา 30 วัน หรือ 1 เดือนแล้ว ที่ทั้งสองคนอดอาหารประท้วงเพื่อทวงคืน “#สิทธิในการให้ประกันตัว” ล่าสุดทั้งสองอดอาหารโดยกินแต่เพียงน้ำเปล่าและเกลือแร่เท่านั้น ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายอย่างชัดเจน นอกจากอาการอ่อนเพลีย ปวดแสบท้อง มึนงง และตาพร่ามัวแล้ว อาการน่าจับตาของบุ้งก็คือ “#ภาวะโพสแทสเซียมต่ำ” ที่แพทย์ชี้ว่าอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายได้
.
อาการวิกฤตของ “บุ้ง”
.
- มีภาวะโพแทสเซียมต่ำจน #กล้ามเนื้อหัวใจเกือบตาย
- หายใจไม่ออก หายใจแล้วเจ็บหน้าอก
- ตอนนี้รักษาตัวอยู่ รพ.ราชทัณฑ์ ต้องให้น้ำเกลือตลอดเวลา
- ซูบลงเยอะมาก แก้มตอบและเห็นส่วนคอชัดเจน
- มือสั่น ตาพร่า เหนื่อยล้า ตาลอย มึนเบลอ และตอบคำถามได้ช้า
- น้ำหนักตัวลดไปถึง 13 กก. (ตั้งแต่เข้าเรือนจำ)
.
อาการวิกฤตของ “ใบปอ”
.
- รู้สึกร้อนบริเวณหลอดอาหาร
- น้ำหนักลดลงไปถึง 6 กก. (ตั้งแต่เข้าเรือนจำ)
- อ่อนเพลีย ความดันตก นอนไม่หลับ
.
.
อ่านเหตุผลการตัดสินใจอดอาหารประท้วงของทั้งสองคน
.
บุ้ง: https://tlhr2014.com/archives/44709
ใบปอ: https://tlhr2014.com/archives/44591
.
อาการล่าสุดของทั้งสองคน: https://tlhr2014.com/archives/45478)
.....

The MATTER
12h

BRIEF: ‘บุ้ง ทะลุวัง’ อาการวิกฤต แพทย์ชี้ กล้ามเนื้อหัวใจอาจตายได้ หลังอดอาหารครบ 1 เดือน
.
วันนี้ (1 ก.ค. 2565) ครบ 30 วัน หรือ 1 เดือน ที่ ใบปอ–ณัฐนิช ดวงมุสิทธิ์ และ บุ้ง–เนติพร เสน่ห์สังคม นักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุวัง ได้อดอาหารในเรือนจำเพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัว โดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนก็ได้เปิดเผยถึงอาการที่น่าจับตาของ ‘บุ้ง’ ว่า มีภาวะโพแทสเซียมต่ำ จนแพทย์ชี้ว่า อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายได้
.
ศูนย์ทนายฯ รายงานอาการของ ‘บุ้ง’ ประกอบด้วย
.
- มีภาวะโพแทสเซียมต่ำ จนแพทย์ชี้ว่า กล้ามเนื้อหัวใจเกือบตาย
- หายใจไม่ออก หายใจแล้วเจ็บหน้าอก
- ตอนนี้รักษาตัวอยู่ที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ต้องให้น้ำเกลือตลอดเวลา
- ซูบลงเยอะมาก แก้มตอบและเห็นส่วนคอชัดเจน
- น้ำหนักตัวลดไปถึง 13 กก. ตั้งแต่เข้าเรือนจำ
- มือสั่น ตาพร่า เหนื่อยล้า ตาลอย มึนเบลอ และตอบคำถามได้ช้า
.
ขณะที่อาการของ ‘ใบปอ’ ประกอบด้วย รู้สึกร้อนบริเวณหลอดอาหาร น้ำหนักลด 6 กก. ตั้งแต่เข้าเรือนจำ และมีอาการอ่อนเพลีย ความดันตก นอนไม่หลับ
.
บุ้งยังได้ฝากข้อความมากับทนาย ถึงกรณีที่แม่ของบุ้งมีความคิดอดอาหารจนกว่าเธอจะได้ประกันตัว โดยเปิดเผยว่า “พอบุ้งทราบข่าวก็เป็นกังวลมาก เพราะแม่กับบุ้งป่วยหลายโรค ทั้งโรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคเบาหวาน โรคความดัน และโรคหัวใจ และแม่ก็อายุมากเกือบ 60 ปีแล้ว ลำพังตัวบุ้งเอง อุดมการณ์ไม่สั่นไหวเลย ต่อให้ตัวบุ้งเจ็บแค่ไหน
.
“บุ้งเข้าใจว่า ทำไมแม่ถึงทุกข์ใจขนาดนั้น และอยากประกาศอดอาหาร เพราะแม่เลี้ยงบุ้งมา บุ้งได้ความเข้มแข็ง ความกล้าหาญ และความจริงใจมาจากแม่เต็มๆ เลย เป็นส่วนที่ดีที่บุ้งรับมาจากแม่ อย่างไรก็ตาม บุ้งอยากให้แม่รักษาสุขภาพ รอวันที่บุ้งและใบปอกลับไปหาแม่”
.
จนถึงวันนี้ ใบปอและบุ้งถูกคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลางมาเป็นเวลาเกือบ 2 เดือนแล้ว หลังศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งเพิกถอนประกันของทั้งสองเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2565 ซึ่งเป็นคดีที่ถูกกล่าวหาตาม ม.112 จากการทำโพลเกี่ยวกับขบวนเสด็จเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565
.
.
อ้างอิงจาก
https://tlhr2014.com/archives/45478
https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/pfbid0unMGBJ2acVwPGEj9DUmfAFFZ1v584DqfiAhK3ntUWF3K4adFMMg3iSAUZQSJdpf4l
.....

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
11h

วันที่ 1 ก.ค. 2565 ทนายความได้ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อขออนุญาตให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่รักษาอาการก้อนเนื้อในมดลูกเข้าตรวจดูอาการและวางแผนรักษา บุ้ง เนติพร (สงวนนามสกุล) นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวัง ผู้ต้องหาในคดีมาตรา 112 เพื่อให้ความเห็นและวางแผนการรักษาพยาบาลโดยด่วน หลังจากที่เธอมีอาการทรุดหนักจนต้องส่งตัวเข้าโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมา
.
อ่านข้อมูลอาการบุ้งล่าสุด >>> บุ้งยังอยู่โรงพยาบาล มีภาวะโพแทสเซียมต่ำ ฝากจดหมายช่วยดูแลใจแม่ https://tlhr2014.com/archives/45478
.
ทั้งนี้ หนังสือที่ทนายความได้ส่งถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์ มีสรุปใจความสำคัญว่า ‘ด้วยปรากฎว่า เนติพร (สงวนนามสกุล) จำเลยที่ 3 ซึ่งขณะนี้ถูกขังตามหมายจับของศาลอาญากรุงเทพใต้ อยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร เกิดอาการเจ็บป่วย ร่างกายอ่อนเพลีย เจ็บและปวดท้องเป็นระยะ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2565 เจ้าหน้าที่ได้ส่งตัวเนติพร ไปรักษาอาการ ณ โรงพยาบาลราชทัณฑ์ ต่อมาแพทย์มีความเห็นว่าเนติพร มีภาวะโพแทสเซียมต่ำ ซึ่งอาการดังกล่าวหากไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายได้’
.
นอกจากนี้ ทนายความยังได้ระบุเหตุผลเพิ่มเติมว่า ก่อนที่บุ้งจะถูกคุมขังในคดีนี้ เธอได้มีอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับมดลูกมาก่อน และได้เข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทนายได้แนบเอกสารใบสรุปประวัติการรักษาพยาบาลและส่งตัวผู้ป่วยมาพร้อมกับหนังสือฉบับนี้ด้วย
.
อย่างไรก็ตาม ทนายความขอให้สังคมจับตามองกรมราชทัณฑ์ ในกรณีที่มีการยื่นหนังสือขออนุญาตให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เข้าไปตรวจอาการและวางแผนรักษาอาการป่วยของบุ้งต่อไป ซึ่งในวันนี้ทางกรมราชทัณฑ์ก็ได้รับหนังสือฉบับนี้ไปแล้ว
.
ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 2565 บุ้งและใบปอ ได้ทำการประท้วงอดอาหารเพื่อทวงสิทธิประกันตัว เป็นระยะเวลา #หนึ่งเดือนเต็มแล้ว
.
อ่านบนเว็บไซต์ https://tlhr2014.com/archives/45540.....



รายละเอียดของจดหมายเปิดผนึก

ท่านกงจักร์ โพธิ์พร้อม
ประธาน ศาลอาญากรุงเทพฯใต้

ท่านมนัส ภักดิ์ภูวดล
รองประธาน ศาลอาญากรุงเทพฯใต้


เรียนท่านผู้พิพากษาที่เคารพ

ในฐานะของนักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ของกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และในฐานะของมนุษย์ที่ห่วงการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเพื่อนมนุษย์ เราเขียนถึงท่านเพราะเป็นห่วงการที่ศาลปฏิเสธการขอประกันตัวซ้ำแล้วซ้ำอีกของนางสาวใบปอ และนางสาวบุ้ง เนติพร ที่ถูกกักขังไว้ในช่วงก่อนการพิจารณาคดีจะเริ่มต้นที่ทัณฑสถานหญิงกลางกรุงเทพฯ ทั้งสองคนกูกกักขังตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 และเริ่มอดอาหารประท้วงการปฏิเสธการประกันตัวตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2565 การจับ การกักขัง และการปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวในกรณีของบุคคลสองคนนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์การปราบปรามสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย และเนื่องจากสุขภาพของทั้งสองคนกำลังทรุดลงเรื่อย ๆ เราขอเรียกร้องให้ศาลให้การประกันตัวบุคคลทั้งสองโดยทันที โดยยึดถือตามหลักการความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ที่ถูกระบุไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีรัฐ

การจับกุมและดำเนินคดีต่อนางสาวบุ้ง และนางสาวใบปอ สะท้อนถึงแนวโน้มที่น่าวิตกของการปราบปรามสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่ามีคนอย่างน้อย 202 คนที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดมาตรา 112 ระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2565

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 นางสาวบุ้ง นางสาวใบปอ และนักเคลื่อนไหวอีกสี่ท่านทำโพลล์ที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน มีโปสเตอร์และสติ๊กเกอร์เชิญชวนคนที่เดินผ่านไปมาให้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อคำถามที่ว่า “คุณคิดว่า ขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือไม่” นักเคลื่อนไหวหกคนและนักข่าวอิสระอีกสองคนที่ไลฟ์กิจกรรมทำโพลล์ได้ถูกจับกุมและถูกกล่าวหาว่าละเมิดประมวลกฎหมายอาญาสี่มาตรา ประกอบด้วย มาตรา 368, 136, 116 และ 112 แม้กระทั่งว่าการทำโพลล์ที่เป็นการแสดงออกอย่างสันติ อันถูกระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 34 และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights, ICCPR) มาตรา 19 ด้วยความเคารพต่อศาล เราขอทักท้วงว่าประเทศไทยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามในฐานะภาคีรัฐ

นางสาวบุ้ง อายุ 26 ปี เป็นติวเตอร์สอนภาษาอังกฤษ และมีภาระดูแลคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวอยู่ นางสาวใบปอ อายุ 20 ปี เป็นนักศึกษาปีหนึ่งที่วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การถูกกักขังทำให้นางสาวใบปอต้องพลาดงานการเรียนที่ต้องทำในฐานะนักศึกษา ด้วยความเคารพต่อศาล เราขอทักท้วงว่า การเข้าถึงการศึกษาเป็นสิทธิที่ถูกระบุไว้ใน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights, ICESCR) มาตรา 13 แบะประเทศไทยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามในฐานะภาคีรัฐ

ในการขอประกันตัวครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ทนายร้องขอประกันโดยอ้างหลักการทั้งทางด้านกฎหมายและด้านมนุษยธรรม หากไม่ได้ประกันตัว การเตรียมการต่อสู้คดีในระหว่างที่ถูกกักขังอยู่นั้น ยากที่จะเตรียมการได้อย่างเต็มที่ และหากยิ่งอดอาหารเป็นเวลานาน สุขภาพของนางสาวใบปอ และนางสาวบุ้ง ก็จะยิ่งทรุดลงไปอีก ศาลอาญากรุงเทพฯใต้ได้ปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวในวันที่ 24 มิถุนายน 2565 และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้เปลี่ยนคำสั่งในวันที่ 27 มิถุนายน 2565 ศาลตัดสินใจปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวแม้ว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้ขัดขว้างการขอประกันตัวครั้งนี้ก็ตาม

ทั้งนางสาวบุ้งและนางสาวใบปอมีอาการอ่อนเพลียและปวดท้องอย่างรุนแรงจากการที่อดอาหารเป็นเวลานาน ปัจจุบันนี้น้ำหนักของนางสาวบุ้ง ลดลงสิบห้ากิโลกรัม และ น้ำหนักของนางสาวใบปอ ลดลงห้ากิโลกรัม นางสาวบุ้งเริ่มอาเจียนและเป็นระยะๆ เธอถูกส่งต่อไปโรงพยาบาลราชทัณฑ์กลางดึกของวันที่ 28 มิถุนายน เพราะอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ วันที่ 29 มิถุนายน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่าแพทย์ให้น้ำเกลือ ยา และวิตามินทางหลอดเลือด เพื่อรักษาอาการที่เกิดจากการอดอาหาร

ด้วยความเคารพต่อศาล เราขอทักท้วงว่าทุกคนต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด การปฏิเสธไม่ให้การประกันตัวซ้ำแล้วซ้ำอีกในกรณี นางสาวใบปอ นางสาวบุ้ง และอีกหลายคนที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในขณะที่คนที่ถูกกล่าวหาในคดีอื่นๆ เช่นคดีความที่ก่อความรุนแรง กลับได้รับการประกันตัว คงสะท้อนว่ามีสองมาตรฐานที่ทำให้คนที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดมาตรา 112 ไม่มีสิทธิเท่าคนอื่น ด้วยความเคารพต่อศาล เราขอทักท้วงว่า ICCPR มาตรา 9(3) ระบุได้ว่ามิใหถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลที่รอการพิจารณาคดี

สุดท้ายนี้ เราขอเรียกร้องให้ศาลยึดถือหลักการสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างเต็มที่ อันประกอบด้วยการทำตามทั้ง ICCPR และ ICESCR ถ้าหากท่านไม่ยึดถือหลักการนี้ ในระยะสั้น ชีวิตของนางสาวบุ้ง นางสาวใบปอ และคนอื่น ๆ อีกหลายคนที่กำลังถูกข่มเหงรังแกจะถูกทำร้าย เนื่องจากกล้าที่จะใช้สิทธิเสรีภาพ และในระยะยาวการพัฒนาส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยเองก็จะถูกทำร้ายตามไปด้วย

ด้วยความเคารพอย่างสูงและความขอบพระคุณ
.....
ทั้งนี้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานด้วยว่า จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ณ วันที่ 20 มิ.ย. ที่ผ่านมา ยังคงมีผู้ถูกคุมขังในเรือนจำจากการแสดงออกทางการเมือง หรือมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดี จำนวนอย่างน้อย 22 คน โดยการคุมขังบุคคลเหล่านี้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อตั้งแต่ต้นกลางเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา

ที่มา ประชาไท