iLaw
9h
#ม็อบ18มิถุนา65 #ราษฎรไล่ตู่
.
.
วันที่ 18 มิถุนายน 2565 เวลา 15.00 น. เฟซบุ๊กเพจชื่อว่า “ราษฎรไล่ตู่ คนแดงปฏิวัติ” นัดรวมตัวที่แยกปทุมวันเพื่อเคลื่อนขบวนไปที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ระบุว่า ไปบอกข้าราชการตำรวจให้หยุดรับใช้อำนาจเผด็จการ "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ได้แล้ว ในเมื่อมันไม่เห็นหัวประชาชนและใช้เจ้าหน้าที่มาทำร้ายประชาชน ประชาชนอย่างเราจะยอมได้อย่างไร วันนี้ผู้ชุมนุมมีจำนวนเริ่มต้นเพียงประมาณ 20 คนและส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคน ด้านรองโฆษกสตช.กล่าวทำนองว่า ยึดหลักการเจรจาและอดทนอดกลั้น ในข้อกฎหมายปัจจุบันอยู่ภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่ได้มีการบังคับใช้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ “ฉะนั้นท่านลืมไปได้เลยเรื่องของการชุมนุมทางการเมือง ถ้าท่านทำผิดก็เป็นการฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ...บางท่านอาจจะเข้าใจผิดว่า อยู่ภายใต้การบริหารงานของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯแล้วยังมีสิทธิในการที่จะชุมนุมทางการเมือง คำตอบคือไม่มี”
.
.
ต่อมาเวลา 16.21 น. เริ่มเคลื่อนขบวนลงบนถนนพระราม 1 และมีผู้ชุมนุมมาสมทบรวมไม่น้อยกว่า 50 คน ผู้ชุมนุมให้สัมภาษณ์ต่อสื่อทำนองว่า วันนี้เป็นการแสดงออกเพื่อเรียกร้องให้ตำรวจอำนวยความสะดวกในการชุมนุมที่เรียกร้องเรื่องปากท้อง เมื่อเคลื่อนขบวนมาถึงแยกเฉลิมเผ่าตำรวจปิดการจราจรถนนพระรามหนึ่ง จากแยกเฉลิมเผ่าจนถึงแยกราชประสงค์ ฝั่งด้านหน้าสตช. ทำให้ผู้ชุมนุมเดินเลาะไปทางฝั่งตรงข้ามและไปหยุดที่เกาะกลางด้านหน้าสตช.แทน ตำรวจใช้เครื่องขยายเสียงให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุม ไล่เรียงความผิดที่ผู้ชุมนุมอาจจะถูกดำเนินคดีตั้งแต่ตั้งแต่ฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.จราจรฯ, พ.ร.บ.ความสะอาดฯ, ดูหมิ่นเจ้าพนักงานและทำลายทรัพย์สินราชการ จากนั้นเวลา 18.07 น. ผู้ชุมนุมประกาศยุติการชุมนุม
.
.
ปัจจุบันสถานการณ์โควิด 19 เริ่มคลี่คลาย แต่ประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มากว่าสองปีแล้วเป็นผลให้พ.ร.บ.ชุมนุมฯไม่ใช้บังคับ นายกรัฐมนตรีและผู้มีอำนาจหน้าที่ออกข้อกำหนดและประกาศต่างๆที่จำกัดสิทธิในการชุมนุมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคโควิด 19 (อ้างอิง : https://freedom.ilaw.or.th/node/902) ข้อเท็จจริงจากการสังเกตการณ์การชุมนุมอย่างต่อเนื่องพบว่า ผู้ชุมนุมจัดกิจกรรมในที่โล่ง มีอากาศถ่ายเทและมีความพยายามในการใช้นวัตกรรมหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโควิด 19 แต่ยังไม่รอดถูกตำรวจ “บังคับใช้กฎหมาย” ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรวบรวมข้อมูลพอสรุปได้ว่า มีอย่างน้อย 11 คดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง ล่าสุดคือคดีของเอกชัย หงส์กังวานและชาญชัย ปุสรังษี จากการชุมนุมที่แยกดินแดงเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564 คำสั่งตอนหนึ่งระบุว่า สถานที่ชุมนุมไม่ใช่ที่แออัดและผู้ชุมนุมส่วนใหญ่มีการสวมหน้ากากอนามัย ส่วนคดีที่ขึ้นสู่ศาล ศาลเริ่มทยอยยกฟ้องแล้วอย่างน้อย 12 คดี เช่น คดีคาร์ม็อบลพบุรีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ระบุทำนองว่า การชุมนุมไม่ถึงกับแออัดเต็มพื้นที่และการปราศรัยเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ (อ้างอิง : https://tlhr2014.com/archives/41328)
ปลายปี 2564 คณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรายงานผลการตรวจสอบและมีข้อเสนอแนะให้คณะรัฐมนตรีหลีกเลี่ยงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ เป็นไปเพื่อป้องกันภัยร้ายแรงที่กระทบต่อความมั่นคง ไม่อาจนำไปใช้ในการชุมนุมทางการเมืองทั่วไป ขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรหลีกเลี่ยงการตั้งข้อหาที่เป็นการจำกัดหรือสร้างภาระแก่ผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพเกินสมควรแก่เหตุ (อ้างอิง : https://freedom.ilaw.or.th/node/1007)
.
ปัจจุบันสถานการณ์โควิด 19 เริ่มคลี่คลาย แต่ประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มากว่าสองปีแล้วเป็นผลให้พ.ร.บ.ชุมนุมฯไม่ใช้บังคับ นายกรัฐมนตรีและผู้มีอำนาจหน้าที่ออกข้อกำหนดและประกาศต่างๆที่จำกัดสิทธิในการชุมนุมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคโควิด 19 (อ้างอิง : https://freedom.ilaw.or.th/node/902) ข้อเท็จจริงจากการสังเกตการณ์การชุมนุมอย่างต่อเนื่องพบว่า ผู้ชุมนุมจัดกิจกรรมในที่โล่ง มีอากาศถ่ายเทและมีความพยายามในการใช้นวัตกรรมหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโควิด 19 แต่ยังไม่รอดถูกตำรวจ “บังคับใช้กฎหมาย” ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรวบรวมข้อมูลพอสรุปได้ว่า มีอย่างน้อย 11 คดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง ล่าสุดคือคดีของเอกชัย หงส์กังวานและชาญชัย ปุสรังษี จากการชุมนุมที่แยกดินแดงเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564 คำสั่งตอนหนึ่งระบุว่า สถานที่ชุมนุมไม่ใช่ที่แออัดและผู้ชุมนุมส่วนใหญ่มีการสวมหน้ากากอนามัย ส่วนคดีที่ขึ้นสู่ศาล ศาลเริ่มทยอยยกฟ้องแล้วอย่างน้อย 12 คดี เช่น คดีคาร์ม็อบลพบุรีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ระบุทำนองว่า การชุมนุมไม่ถึงกับแออัดเต็มพื้นที่และการปราศรัยเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ (อ้างอิง : https://tlhr2014.com/archives/41328)
ปลายปี 2564 คณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรายงานผลการตรวจสอบและมีข้อเสนอแนะให้คณะรัฐมนตรีหลีกเลี่ยงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ เป็นไปเพื่อป้องกันภัยร้ายแรงที่กระทบต่อความมั่นคง ไม่อาจนำไปใช้ในการชุมนุมทางการเมืองทั่วไป ขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรหลีกเลี่ยงการตั้งข้อหาที่เป็นการจำกัดหรือสร้างภาระแก่ผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพเกินสมควรแก่เหตุ (อ้างอิง : https://freedom.ilaw.or.th/node/1007)
——-
ลำดับเหตุการณ์
๐ เวลา 14.50 น. ผู้ชุมนุมเริ่มทยอยมานั่งรอที่ลานหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ
.
.
๐ เวลา 15.00 น. พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าว ระบุว่า ทางกลุ่มผู้ชุมนุมคงมีแนวคิดในการเรียกร้องให้ตำรวจเลือกข้างให้ถูกต้อง จริงๆแล้วตำรวจยืนอยู่ข้างประชาชนอยู่แล้ว แต่ยืนอยู่ข้างประชาชนที่ปฏิบัติตามกฎหมายและเรายืนยันที่จะบังคับใช้กฎหมาย ยืนยันที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง อยากจะฝากน้องๆที่ยังมีแนวคิดคนละแบบกัน อยากให้น้องๆมีแนวคิดที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย อย่าไปฝ่าฝืนกฎหมายเพราะว่า ที่ผ่านมาการชุมนุมในช่วงสองปีที่ผ่านมาประมาณ 4,000 ครั้งดำเนินคดีไปประมาณ 1,400 คดี ในพื้นที่กรุงเทพมหานครประมาณ 900 คดี ในจำนวนนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแยกดินแดงประมาณ 200 กว่าคดี หมายความว่า เป็นคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคงเกินกว่าร้อยละ 30 และเกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนประมาณร้อยละ 50
ประการต่อไปคือ ช่วงที่ผ่านมามีการจัดกิจกรรมและก่อความไม่สงบเรียบร้อยตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา ล่าสุดมีการใช้ประทัดยักษ์ยิงเข้าใส่ตำรวจ มีการออกหมายจับและได้ตัวมาดำเนินคดีแล้ว สิ่งที่เราจะส่งข้อความคือ ระหว่างที่ท่านอาจจะสนุกทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ก่อเหตุความไม่สงบก็ดี...เราก็ดำเนินคดีอยู่แล้วทุกราย ฝากบอกว่า อย่าเสี่ยง อย่าออกมา อย่าไปเป็นเครื่องมือของใคร ท่านอยากจะเรียกร้องมีช่องทางในการเรียกร้องอย่างสันติอยู่แล้ว อย่าออกมาเพื่อก่อความไม่สงบเรียบร้อย
วันนี้เตรียมกำลังไว้อย่างเพียงพอ จำนวนเท่าไหร่ไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญ สำคัญคือ ทำอย่างไรให้เกิดความสงบเรียบร้อย ประชาชนที่อาศัยบริเวณนี้เดินทางไปมา วันนี้เป็นวันเสาร์เป็นวันที่ทุกคนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน ช็อปปิ้งกินข้าว ไม่ควรจะเป็นช่วงเวลาที่จะมาตรวจสอบว่า จะปลอดภัยไหม ทั้งยังอยู่ใกล้แยกราชประสงค์ แหล่งธุรกิจควรจะมีความสงบ อยากจะฝากว่า ผู้ที่มีแนวคิดแบบนี้ขออนุญาตให้ปรับแนวคิดเพราะเวลาถูกดำเนินคดีแล้ว เวลามันนับหนึ่งไปแล้วมันถอยไม่ได้และที่ผ่านมาประเทศเราก็บอบช้ำกับเรื่องนี้มาพอสมควรแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจบังคับใช้กฎหมายจะเน้นการเจรจาต่อรอง อดทนอดกลั้นอยู่แล้ว เหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวานหน้ากระทรวงพลังงานเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนการถอยหลังคนละก้าว เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามเข้าใจ
อยากจะฝากเรียนว่า ภาพบางภาพ คลิปบางคลิปที่บางคนในกลุ่มอยากจะสื่อออกไปคืออะไร สื่อถึงความรุนแรง สื่อถึงการเผชิญหน้า จริงๆแล้วมันไม่ใช่ อยากจะฝากว่า เวลาท่านดูภาพยนตร์ อ่านหนังสือ ควรจะดูให้ครบไม่ใช่ท่านเปิดหนัง เปิดหนังสือมาเจอภาพตำรวจกำลังใช้โล่ผลักดัน มันก็คงไม่ใช่มันมีเหตุมีผลของมันอยู่
ผู้สื่อข่าวถามถึงเรื่องที่นักสิทธิมนุษยชนจะมาสังเกตการณ์มีความเห็นอย่างไร พ.ต.อ.กฤษณะตอบว่า ไม่ได้มีความเห็น ยินดีที่จะเป็นตัวกลางประสานงานในการที่จะพาเข้าไปดูการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ แต่ว่ามาดูก็อยากให้ดูลึกทุกมุม ไม่เห็นว่า นักสิทธิมนุษยชน ไม่ไปถามถึงผู้ก่อเหตุว่า การก่อเหตุไปกระทบสิทธิของประชาชนหรือเปล่า เห็นมีคำถามว่า การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจกระทบสิทธิต่อผู้ก่อเหตุ อยากจะถามกลับไปว่า เวลาเขาก่อเหตุมันกระทบสิทธิชาวบ้านไหม การเดินทางมากระทบไหม ไม่เห็นมีใครไปถามก็แค่ฝากไปนะแต่ก็ยินดีที่จะเป็นสื่อกลางในการประสานงาน การลงพื้นที่อยู่แล้ว ในการทำงานปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบของกฎหมาย สามารถตอบโจทย์ในทุกภาคส่วนได้...อาจจะมีนักวิพากษ์วิจารณ์ในหลายๆวงการอาจจะมองว่า ทุกครั้งที่มีการชุมนุมก็ดี ทุกครั้งที่มีการก่อเหตุความมั่นคงก็ดีมักจะมองว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อำนาจเกินไป ณ เวลานี้บ้านเมืองไม่ได้เอื้ออำนวย...อยู่ภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เราไม่ได้ใช้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ มาสองปีแล้ว เพราะฉะนั้นท่านลืมไปได้เลยเรื่องของการชุมนุมทางการเมือง...ถ้าท่านทำผิดก็เป็นการฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ประการที่สอง บางท่านอาจจะเข้าใจว่า อยู่ภายใต้การบริหารงานของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังมีสิทธิในการชุมนุม ต้องไปดูว่ากฎหมายว่ายังไง เราปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายแต่ยืนยันว่า ตำรวจใช้หลักเจรจา อดทนอดกลั้นอยู่แล้ว หลีกเลี่ยงการเข้าปะทะอยู่แล้ว ไม่ได้อยากมีการปะทะกัน อยากจะให้มองว่า บ้านเมืองต้องการความสงบเรียบร้อย
.
.
๐ เวลา 15.20 น. เจ้าหน้าที่ปิดสกายวอล์คทางเชื่อมระหว่างบีทีเอสสยามไปเซนทรัลเวิลด์ ที่ฟุตบาทหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ฝั่งแยกเฉลิมเผ่า ตำรวจในชุดสีกากี พร้อมอุปกรณ์ป้องกันวางกำลังประมาณ 20 นาย
๐ เวลา 15.24 น. ที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เจ้าหน้าที่นำผ้าใบมาคลุมพระบรมฉายาลักษณ์และป้ายด้านหน้า วางลวดหนามหีบเพลงที่รั้ว ภายในมีรถฉีดน้ำแรงดันสูงและรถเครื่องเสียงจอดอยู่ มีตำรวจวางกำลังที่ด้านหน้าและด้านในสตช. เวลา 16.21 น. ผู้ชุมนุมเริ่มออกเดินขบวนจากแยกปทุมวันมุ่งหน้าสตช. โดยถนนพระราม 1 ด้านหน้าสยามพารากอนไม่ได้ปิดการจราจร ผู้ชุมนุมใช้ช่องทางเดินบนผิวการจราจรหนึ่งช่องฝั่งสยามสแควร์ ขณะที่แยกเฉลิมเผ่าตำรวจยังวางกำลัง ผู้ชุมนุมคนหนึ่งระบุว่า ขอให้ตำรวจอำนวยความสะดวกในตอนที่พวกเขาออกไปเรียกร้องเรื่องปากท้อง
.
.
๐ เวลา 16.42-16.53 น. ตำรวจประกาศว่า ประกาศจากเจ้าพนักงานควบคุมการชุมนุมสาธารณะ...ขณะนี้ท่านได้กระทำความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ห้ามมิให้มีการชุมนุม ทำกิจกรรมใดๆ รวมตัวกันที่จะก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 กรุงเทพมหานครเป็นเขตพื้นที่หวงห้าม การรวมตัวทำกิจกรรมทางการเมืองขณะนี้เป็นข้อห้าม...ขอให้ท่านได้ยุติการชุมนุม หากท่านได้ฝ่าฝืนลงมาในพื้นที่การจราจรก็จะมีความผิดในด้านการสัญจรของประชาชน เจ้าหน้าที่มีความปรารถนาดีกับพี่น้อง อยากจะประชาสัมพันธ์ว่า ขณะนี้ท่านได้กระทำความผิด ขอให้ท่านยุติการชุมนุม และการด่าทอเจ้าหน้าที่ด้วยคำหยาบคายเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานในขณะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ที่ยืนอยู่ตรงนี้มาปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้มีเจตนาจะมาทะเลาะ...การลงมาในพื้นที่ทางจราจรก็เป็นความผิดตามพ.ร.บ.จราจรฯ ถ้าท่านทิ้งสิ่งของลงมาก็จะเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ความสะอาดฯ ที่เรามายืนตรงนี้เพื่อป้องกันรักษาทรัพย์สินของทางราชการ ซึ่งเคยมาแล้วว่า ท่านได้มาพ่นสีป้ายของทางราชการ เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
เราไม่อยากจะให้ผู้ชุมนุมกระทำความผิด เราไม่อยากจะแจ้งข้อหาท่าน แต่ถ้าหากท่านยังฝ่าฝืน ตำรวจจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาทรัพย์สินของทางราชการและทางคมนาคม ขอให้ท่านยุติการชุมนุมในวันนี้...ขอให้ประชาชนพี่น้องให้รับทราบไว้ การกระทำที่ผิดกฎหมายต่างๆ เช่น การด่าทอก็เป็นความผิด ขอให้ท่านดูแลตัวท่านเอง เราไม่อยากให้ท่านมีความผิด บางท่านมีความผิดหลายครั้ง เดินทางไปศาลหลายครั้ง ต้องประกันตัวซ้ำซาก ขอให้ท่านยุติ ไปอยู่กับครอบครัว เป็นเด็ก เยาวชนก็ไปเรียนหนังสือ ทางการเมืองท่านมีช่องทางในการไปยื่นไปเสนอขอเรียกร้องต่างๆ นำเข้าไปสู่ระบอบรัฐสภา นักการเมืองก็สามารถไปยื่นข้อเรียกร้องตามระบบ...
.
.
สิ่งใดที่ผิดกฎหมาย เราอยากประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า เราได้บันทึกภาพ มียูทูบเบอร์เราก็จะนำมาเป็นหลักฐาน การปฏิบัติขอให้อยู่ในกฎหมาย บ้านเมืองของเราจะอยู่รอดเพราะอยู่ในกฎหมาย ความผิดของท่านคือ การฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ การด่าทอเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยืนตรงนี้...เห็นไม่ครับท่านปาแมสก์ลงที่พื้นก็เป็นความผิดในเรื่องการรักษาความสะอาด เราก็ได้บันทึกไว้แล้ว ขณะนี้ที่ท่านยืนอยู่เป็นต้นไม้ของกรุงเทพมหานคร ขอท่านระมัดระวัง ถ้าเหยียบย่ำไปแล้วก็ต้องมีงบประมาณที่ต้องมาดูแล...ให้ท่านแยกย้านกลับภูมิลำเนา เป็นการปรารถนาดีต่อพี่น้อง เวลา 16.50 น. ป้าเป้าและผู้ชุมนุมหญิงอีกคนหนึ่งเดินเข้าไปหาตำรว ตำรวจบอกว่า กำลังทำงานอยู่ อย่าฝ่าฝืนข้ามรั้วมา มีผู้ชุมนุมคนอื่นเรียกให้ทั้งสองกลับมา ตำรวจยังคงกล่าวต่อ แม้ผู้ชุมนุมจะตะโกนสวนด้วยความโกรธก็ตาม กล่าวว่า เราไม่อยากดำเนินคดี เราไม่อยากจับกุมท่าน ถ้าเราจับกุมท่านจะต้องเสียเวลาที่จะไปศาล
ระหว่างการแจ้งเตือน ตำรวจทยอยยนำป้ายไวนิลมาแสดง ข้อความคือการกระทำของท่านผิดกฎหมาย, ให้เลิกชุมนุม ให้เลิกมั่วสุมและพื้นที่หวงห้าม ห้ามเข้าเด็ดขาด
ระหว่างนี้มีผู้ชุมนุมถือป้ายรณรงค์เรียกร้อง #สิทธิการประกันตัว ใบปอและบุ้ง สองสมาชิก #ทะลุวัง ที่ถูกถอนประกันในคดี #ม112 จากการส่งโพล #ขบวนเสด็จ หน้าวังสระปทุมเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ขณะที่มีการตะโกนแซวตำรวจทำนองว่า วันนี้ผู้ชุมนุมาให้กำลังใจตำรวจที่ปิดถนน “ตำรวจสู้ๆ”
๐ เวลาประมาณ 18.10 น. ผู้ชุมนุมประกาศยุติการชุมนุม