วันศุกร์, เมษายน 08, 2565

กรณีปารีณา คือ ความผิดปกติของรัฐธรรมนูญ 2560 สร้างกลไกใหม่ไว้เข่นฆ่านักการเมือง เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง - ปิยบุตร


Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
12h ·
[กรณีปารีณา คือ ความผิดปกติของรัฐธรรมนูญ 2560]
รัฐธรรมนูญ 2560 ได้สร้างกลไกใหม่ไว้เข่นฆ่านักการเมือง นั่นคือ มาตรฐานทางจริยธรรม โดยกำหนดให้ ป.ป.ช.ทำหน้าที่ไต่สวนกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง เพื่อเสนอเรื่องให้ศาลฎีกาวินิจฉัย
หากศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้นั้นฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงจริง ผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งและถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอีกไม่เกินสิบปีด้วย
การสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมและกลไกการบังคับใช้ขึ้นมาในรัฐธรรมนูญ 2560 มีข้อควรวิจารณ์ใน 3 ประการ
ประการแรก การกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของนักการเมืองโดยองค์กรอื่น
มาตรฐานทางจริยธรรม เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดกรอบทางจริยธรรมหรือจรรยาบรรณของวิชาชีพ อาชีพ หรือผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว องค์กรต่างๆต้องปรึกษาหารือพูดคุยกันเพื่อออกแบบมาตรฐานเหล่านี้ใช้ร่วมกันเองในลักษณะ Code of conduct พร้อมกับสร้างกระบวนการบังคับใช้ ตรวจสอบ พิจารณาเรื่องร้องเรียน และมาตรการลงโทษกันเอง
แต่กรณีมาตรฐานทางจริยธรรมที่ใช้บังคับกับ ส.ส. ส.ว. และ รมต. นั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 219 กลับกำหนดให้นำมาตรฐานทางจริยธรรมที่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระร่วมกันกำหนดขึ้นใช้กันในองค์กร มาใช้กับ ส.ส. ส.ว. และ รมต.ด้วย โดย ส.ส. ส.ว. และ รมต. ทำได้แต่เพียงกำหนดจริยธรรมเพิ่มขึ้นให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองเท่านั้น
ประการที่สอง การให้ศาลฎีกาวินิจฉัยกรณีฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
การฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม แบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่ ฝ่าฝืนแบบทั่วไป กับ ฝ่าฝืนที่มีลักษณะร้ายแรง
โดยกรณีฝ่าฝืนแบบทั่วไป ก็ให้ดำเนินกันเองในองค์กรของตน แต่กรณีฝ่าฝืนอย่างร้ายแรง ให้ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวน ถ้า ป.ป.ช.เห็นว่าฝ่าฝืนอย่างร้ายแรงจริง ก็จะเสนอเรื่องให้ศาลฎีกาวินิจฉัยต่อไป
การฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม ไม่ใช่เรื่องชี้ขาดในทางกฎหมาย ไม่ใช่ประเด็นชี้ขาดว่าถูกหรือผิดกฎหมาย แต่เป็นเรื่องความเหมาะสมของการปฏิบัติหน้าที่ จึงไม่ควรให้องค์กรตุลาการเข้ามาชี้ขาดถูกผิด เพราะ องค์กรตุลาการมีหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทโดยใช้กฎหมายเป็นมาตรวัด ไม่ใช่ใช้ความเหมาะสม
อาจมีกรณีที่ศาลเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องจริยธรรมหรือวินัยอยู่บ้าง แต่นั่นคือการเข้าไปตรวจสอบทบทวน หรือ Judicial Review ว่าคำสั่งลงโทษทางวินัยนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เช่น ข้าราชการถูกลงโทษทางวินัยจากผู้บังคับบัญชา ข้าราชการย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อพิจารณาว่าคำสั่งลงโทษนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่ศาลปกครองไม่ได้พิจารณาว่าผิดวินัยหรือไม่ และไม่ได้เป็นคนตัดสินลงโทษเอง
การกำหนดให้ศาลฎีกามีอำนาจวินิฉัยกรณีฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง จึงเป็นเรื่อง “ผิดฝาผิดตัว” นำเรื่องที่ไม่ใช่ข้อพิพาท ไม่ใช่ประเด็นทางกฎหมาย ไปให้องค์กรตุลาการวินิจฉัยชี้ขาด นำเรื่องภายในของแต่ละองค์กรที่จะต้องพิจารณาและลงโทษกันเอง ไปให้องค์กรตุลาการจัดการ
ประการที่สาม บทกำหนดโทษกรณีฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง สูงเกินไป
ในกรณีที่ศาลฎีการับฟ้อง ให้ผู้ถูกกล่าวหาหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลพิพากษา และถ้าศาลฎีกาพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหาฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงจริง ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับตั้งแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่ และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และอาจเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้อีกไม่เกิน 10 ปี
ในส่วนของการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง มาตรา 235 วรรคสี่ ได้ขยายความต่อไปว่า ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ตลอดไป ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็น ส.ว. ตลอดไป และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ
พูดง่ายๆ อัตราโทษของการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง นอกจากพ้นจากตำแหน่งแล้ว ก็ยังมี ห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งใดๆตลอดชีวิต ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆตลอดชีวิต และไม่มีสิทธิไปกากบาทลงคะแนนเลือกตั้งในทุกระดับอีกไม่เกิน 10 ปี
นี่คือ “การประหารชีวิตทางการเมือง” ไม่ต่างอะไรกับการเอานักการเมืองขึ้นเครื่องประหารกีโยตีนในสมัยก่อน เพียงแต่สมัยนั้น ตัดคอ ปลิดชีวิตทางกายภาพ ส่วนสมัยนี้ คือ ตัดสิทธิ ปลิดชีวิตทางการเมือง
การกำหนดโทษสูงขนาดนี้ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำอันเป็นความผิด และเป็นการลงโทษหลายครั้งในเหตุจากการกระทำเดียว (ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมทางร้ายแรงครั้งเดียว แต่ถูกลงโทษไล่มาเป็นลูกระนาด ตั้งแต่ พ้นจากตำแหน่ง เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปี)
รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดโทษการตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต และห้ามดำรงตำแหน่ง รมต ตลอดชีวิตไว้ใน 6 กรณี
กรณีแรก บุคคลที่เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ (มาตรา 98 (8))
กรณีที่สอง บุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สัดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (มาตรา 98 (9))
กรณีที่สาม บุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดฐานต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต ความผิดเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก ค้า ยาเสพติด ความผิดฐานเป็นเจ้ามือเจ้าสำนักการพนัน ความผิดตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์และการฟอกเงิน (มาตรา 98 (10))
กรณีสี่ บุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง (มาตรา 98 (11))
กรณีที่ห้า บุคคลที่ศาลฎีกาพิพากษาว่าฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง (มาตรา 235 วรรคสาม วรรคสี่)
กรณีที่หก บุคคลที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาว่าจงใจไม่ยื่น ยื่นเท็จ ปกปิด รายการทรัพย์สิน (มาตรา 235 วรรคสาม สี่ เจ็ด)
ทั้งหกกรณีนี้ บุคคลต่างได้รับโทษในการกระทำของตนไปเรียบร้อยแล้ว (เช่น จำคุก ปลดออก พ้นจากตำแหน่ง) แต่กลับต้องรับโทษต่อเนื่องอีกจากการกระทำเดียวกัน (ห้ามสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต ห้ามเป็น รมต ตลอดชีวิต) และยังเป็นโทษที่ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำผิด ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักสากล
บทบัญญัติ “เข่นฆ่า” นักการเมืองแบบนี้เองที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญนำมาโฆษณาอวดอ้างว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ รัฐธรรมนูญ “ปราบโกง”
แต่เอาเข้าจริง มันไม่สามารถใช้ “ปราบโกง” ได้ อัตราการทุจริตคอรัปชั่นในประเทศนี้ไม่ได้มีทีท่าว่าจะลดลง ตรงกันข้าม บทลงโทษแบบนี้กลับกลายเป็นเครื่องมือให้ใช้กลั่นแกล้งกันในทางการเมือง กลายเป็น “อาวุธ” ให้ฝักฝ่ายทางการเมืองต่างๆนำมาใช้ก่อ “นิติสงคราม” เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมืองของตน

กรณีศาลฎีกาพิพากษาว่าคุณปารีณา ไกรคุปต์ ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง และต้องถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอีก 10 ปี จึงไม่ควรนำมาซึ่งการไชโยโห่ร้องของฝ่ายที่ไม่ชอบพฤติกรรมและการปฏิบัติหน้าที่ของคุณปารีณา
ตรงกันข้าม มันควรเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นพิษภัยของรัฐธรรมนูญ 2560 ความไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่เป็นไปตามหลักการสากลของรัฐธรรมนูญ 2560
ไม่ว่าจะสนับสนุนพรรคการเมืองใด กลุ่มการเมืองใด
ไม่ว่าจะรักชอบนักการเมืองคนไหน
ก็ไม่ควรยินดีกับกรณีคุณปารีณา เช่นเดียวกันกับไม่ควรยินดีกับกรณีคุณหมอสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี นักการเมืองน้ำดีมีฝีมือ ผู้มีส่วนสำคัญในการทำนโยบาย “30 บาทรักษาทุกโรค” ที่ต้องรับพิษภัยจากรัฐธรรมนูญแบบนี้ ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง และไม่สามารถเป็น รมต.ได้อีกตลอดไป
เราไม่ควรดีใจ สนับสนุน การเข่นฆ่านักการเมืองผู้ใดอีกเลยด้วยวิธีการแบบนี้
แต่ต้องรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้ ยกเลิกรัฐธรรมนูญนี้ ทำรัฐธรรมนูญใหม่
หยุด “นิติสงคราม” ที่นำมาเข่นฆ่านักการเมืองและประชาชน
หยุด “การยื่นดาบ” ให้องค์กรตุลาการมาประหารชีวิตทางการเมืองของนักการเมืองกันเอง
2. มาตรฐานทางจริยธรรมไม่ใช่เรื่องเกณฑ์ทางกฎหมาย ไม่ใช่ถูกหรือผิดกฎหมาย แต่เป็นเรื่องความเหมาะสม จึงไม่ควรให้ศาลชี้ขาด ลงโทษ ศาลเกี่ยวข้องได้แบบรีวิวทบทวน เช่น ข้าราชการถูกลงโทษทางวินัย ก็อาจฟ้องศาลให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษได้ เป็นการตรวจสอบว่าคำสั่งลงโทษชอบด้วย กม หรือไม่ (2/5)

แต่กรณีนักการเมืองกลับนำมาตรฐานจริยธรรมที่ศาล รธน และองค์กรอิสระออกมาปรับใช้ และยังให้ ปปช มาชี้มูล ส่งให้ศาลฎีกาชี้ขาด 3.โทษสูง การตัดสิทธิสมัครเลือกตั้งลอดชีวิต ไม่ควรมี นี่คือการทำลายสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างรุนแรง ประหารชีวิตทางการเมือง (3/5)

รธน 60 เอามาใช้สองกรณี คือ ติดคุกเพราะคอรัปชั่น และละเมิดจริยธรรมร้ายแรง ซึ่งผู้ร่างเที่ยวเอาไปโฆษณาว่านี่คือ “รธน ปราบโกง” แต่จริงๆแล้วการโกงก็ยังมี และเพิ่มขึ้น ส่วนช่องทางนี้ก็เอาไว้เล่นงานนักการเมืองกันไปมา (4/5)

ผมจึงไม่เห็นด้วยกับกรณีศาลฎีกาตัดสินคุณปารีณา และเสนอว่าเราไม่ควรดีใจกับเรื่องแบบนี้ ตรงกันข้าม เราควรรณรงค์ชี้ปัญหาพิษภัย รธน 60 และต่อสู้กับ “นิติสงคราม” ครับ (5/5)


Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
9h ·

ย้อนฟังปิยบุตรอภิปราย "จริยธรรม ส.ส." ความลักลั่น รธน.'60

จากกรณี 'ปารีณา' วันนี้ ผมอยากชวนทุกท่านกลับไปฟังการอภิปรายของผมเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 ในญัตติพิจารณาร่างข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ. …. ที่ชี้ให้เห็นถึงความลักลั่นของกลไกตรวจสอบจริยธรรมนักการเมืองที่ถูกใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 และขอนำข้อเขียนที่เผยแพร่เมื่อวันนี้มาย้ำอีกรอบ ตามที่แปะไว้ด้านล่างนี้ครับ
-------
รัฐธรรมนูญ 2560 ได้สร้างกลไกใหม่ไว้เข่นฆ่านักการเมือง นั่นคือ มาตรฐานทางจริยธรรม โดยกำหนดให้ ป.ป.ช.ทำหน้าที่ไต่สวนกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง เพื่อเสนอเรื่องให้ศาลฎีกาวินิจฉัย
หากศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้นั้นฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงจริง ผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งและถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอีกไม่เกินสิบปีด้วย
การสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมและกลไกการบังคับใช้ขึ้นมาในรัฐธรรมนูญ 2560 มีข้อควรวิจารณ์ใน 3 ประการ
ประการแรก การกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของนักการเมืองโดยองค์กรอื่น
มาตรฐานทางจริยธรรม เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดกรอบทางจริยธรรมหรือจรรยาบรรณของวิชาชีพ อาชีพ หรือผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว องค์กรต่างๆต้องปรึกษาหารือพูดคุยกันเพื่อออกแบบมาตรฐานเหล่านี้ใช้ร่วมกันเองในลักษณะ Code of conduct พร้อมกับสร้างกระบวนการบังคับใช้ ตรวจสอบ พิจารณาเรื่องร้องเรียน และมาตรการลงโทษกันเอง
แต่กรณีมาตรฐานทางจริยธรรมที่ใช้บังคับกับ ส.ส. ส.ว. และ รมต. นั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 219 กลับกำหนดให้นำมาตรฐานทางจริยธรรมที่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระร่วมกันกำหนดขึ้นใช้กันในองค์กร มาใช้กับ ส.ส. ส.ว. และ รมต.ด้วย โดย ส.ส. ส.ว. และ รมต. ทำได้แต่เพียงกำหนดจริยธรรมเพิ่มขึ้นให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองเท่านั้น
ประการที่สอง การให้ศาลฎีกาวินิจฉัยกรณีฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
การฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม แบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่ ฝ่าฝืนแบบทั่วไป กับ ฝ่าฝืนที่มีลักษณะร้ายแรง
โดยกรณีฝ่าฝืนแบบทั่วไป ก็ให้ดำเนินกันเองในองค์กรของตน แต่กรณีฝ่าฝืนอย่างร้ายแรง ให้ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวน ถ้า ป.ป.ช.เห็นว่าฝ่าฝืนอย่างร้ายแรงจริง ก็จะเสนอเรื่องให้ศาลฎีกาวินิจฉัยต่อไป
การฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม ไม่ใช่เรื่องชี้ขาดในทางกฎหมาย ไม่ใช่ประเด็นชี้ขาดว่าถูกหรือผิดกฎหมาย แต่เป็นเรื่องความเหมาะสมของการปฏิบัติหน้าที่ จึงไม่ควรให้องค์กรตุลาการเข้ามาชี้ขาดถูกผิด เพราะ องค์กรตุลาการมีหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทโดยใช้กฎหมายเป็นมาตรวัด ไม่ใช่ใช้ความเหมาะสม
อาจมีกรณีที่ศาลเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องจริยธรรมหรือวินัยอยู่บ้าง แต่นั่นคือการเข้าไปตรวจสอบทบทวน หรือ Judicial Review ว่าคำสั่งลงโทษทางวินัยนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เช่น ข้าราชการถูกลงโทษทางวินัยจากผู้บังคับบัญชา ข้าราชการย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อพิจารณาว่าคำสั่งลงโทษนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่ศาลปกครองไม่ได้พิจารณาว่าผิดวินัยหรือไม่ และไม่ได้เป็นคนตัดสินลงโทษเอง
การกำหนดให้ศาลฎีกามีอำนาจวินิฉัยกรณีฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง จึงเป็นเรื่อง “ผิดฝาผิดตัว” นำเรื่องที่ไม่ใช่ข้อพิพาท ไม่ใช่ประเด็นทางกฎหมาย ไปให้องค์กรตุลาการวินิจฉัยชี้ขาด นำเรื่องภายในของแต่ละองค์กรที่จะต้องพิจารณาและลงโทษกันเอง ไปให้องค์กรตุลาการจัดการ
ประการที่สาม บทกำหนดโทษกรณีฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง สูงเกินไป
ในกรณีที่ศาลฎีการับฟ้อง ให้ผู้ถูกกล่าวหาหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลพิพากษา และถ้าศาลฎีกาพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหาฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงจริง ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับตั้งแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่ และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และอาจเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้อีกไม่เกิน 10 ปี
ในส่วนของการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง มาตรา 235 วรรคสี่ ได้ขยายความต่อไปว่า ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ตลอดไป ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็น ส.ว. ตลอดไป และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ
พูดง่ายๆ อัตราโทษของการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง นอกจากพ้นจากตำแหน่งแล้ว ก็ยังมี ห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งใดๆตลอดชีวิต ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆตลอดชีวิต และไม่มีสิทธิไปกากบาทลงคะแนนเลือกตั้งในทุกระดับอีกไม่เกิน 10 ปี
นี่คือ “การประหารชีวิตทางการเมือง” ไม่ต่างอะไรกับการเอานักการเมืองขึ้นเครื่องประหารกีโยตีนในสมัยก่อน เพียงแต่สมัยนั้น ตัดคอ ปลิดชีวิตทางกายภาพ ส่วนสมัยนี้ คือ ตัดสิทธิ ปลิดชีวิตทางการเมือง
การกำหนดโทษสูงขนาดนี้ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำอันเป็นความผิด และเป็นการลงโทษหลายครั้งในเหตุจากการกระทำเดียว (ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมทางร้ายแรงครั้งเดียว แต่ถูกลงโทษไล่มาเป็นลูกระนาด ตั้งแต่ พ้นจากตำแหน่ง เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปี)
รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดโทษการตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต และห้ามดำรงตำแหน่ง รมต ตลอดชีวิตไว้ใน 6 กรณี
กรณีแรก บุคคลที่เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ (มาตรา 98 (8))
กรณีที่สอง บุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สัดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (มาตรา 98 (9))
กรณีที่สาม บุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดฐานต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต ความผิดเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก ค้า ยาเสพติด ความผิดฐานเป็นเจ้ามือเจ้าสำนักการพนัน ความผิดตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์และการฟอกเงิน (มาตรา 98 (10))
กรณีสี่ บุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง (มาตรา 98 (11))
กรณีที่ห้า บุคคลที่ศาลฎีกาพิพากษาว่าฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง (มาตรา 235 วรรคสาม วรรคสี่)
กรณีที่หก บุคคลที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาว่าจงใจไม่ยื่น ยื่นเท็จ ปกปิด รายการทรัพย์สิน (มาตรา 235 วรรคสาม สี่ เจ็ด)
ทั้งหกกรณีนี้ บุคคลต่างได้รับโทษในการกระทำของตนไปเรียบร้อยแล้ว (เช่น จำคุก ปลดออก พ้นจากตำแหน่ง) แต่กลับต้องรับโทษต่อเนื่องอีกจากการกระทำเดียวกัน (ห้ามสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต ห้ามเป็น รมต ตลอดชีวิต) และยังเป็นโทษที่ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำผิด ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักสากล
บทบัญญัติ “เข่นฆ่า” นักการเมืองแบบนี้เองที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญนำมาโฆษณาอวดอ้างว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ รัฐธรรมนูญ “ปราบโกง”
แต่เอาเข้าจริง มันไม่สามารถใช้ “ปราบโกง” ได้ อัตราการทุจริตคอรัปชั่นในประเทศนี้ไม่ได้มีทีท่าว่าจะลดลง ตรงกันข้าม บทลงโทษแบบนี้กลับกลายเป็นเครื่องมือให้ใช้กลั่นแกล้งกันในทางการเมือง กลายเป็น “อาวุธ” ให้ฝักฝ่ายทางการเมืองต่างๆนำมาใช้ก่อ “นิติสงคราม” เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมืองของตน

กรณีศาลฎีกาพิพากษาว่าคุณปารีณา ไกรคุปต์ ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง และต้องถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอีก 10 ปี จึงไม่ควรนำมาซึ่งการไชโยโห่ร้องของฝ่ายที่ไม่ชอบพฤติกรรมและการปฏิบัติหน้าที่ของคุณปารีณา
ตรงกันข้าม มันควรเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นพิษภัยของรัฐธรรมนูญ 2560 ความไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่เป็นไปตามหลักการสากลของรัฐธรรมนูญ 2560
ไม่ว่าจะสนับสนุนพรรคการเมืองใด กลุ่มการเมืองใด
ไม่ว่าจะรักชอบนักการเมืองคนไหน
ก็ไม่ควรยินดีกับกรณีคุณปารีณา เช่นเดียวกันกับไม่ควรยินดีกับกรณีคุณหมอสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี นักการเมืองน้ำดีมีฝีมือ ผู้มีส่วนสำคัญในการทำนโยบาย “30 บาทรักษาทุกโรค” ที่ต้องรับพิษภัยจากรัฐธรรมนูญแบบนี้ ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง และไม่สามารถเป็น รมต.ได้อีกตลอดไป
เราไม่ควรดีใจ สนับสนุน การเข่นฆ่านักการเมืองผู้ใดอีกเลยด้วยวิธีการแบบนี้
แต่ต้องรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้ ยกเลิกรัฐธรรมนูญนี้ ทำรัฐธรรมนูญใหม่
หยุด “นิติสงคราม” ที่นำมาเข่นฆ่านักการเมืองและประชาชน
หยุด “การยื่นดาบ” ให้องค์กรตุลาการมาประหารชีวิตทางการเมืองของนักการเมืองกันเอง