วันศุกร์, เมษายน 30, 2564

“ไม่เคยคิดเลยว่าตัวเองจะรอดนะ” เรื่องราวของ สมหมาย คำสิงห์นอก วัย 64 ปี หญิงชาวอีสานที่แต่งงานและอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ที่ประเทศเดนมาร์ก เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้อยู่ในประเทศรัฐสวัสดิการ



We Fair.
April 26 at 8:00 PM ·

“ไม่เคยคิดเลยว่าตัวเองจะรอดนะ”

สมหมาย คำสิงห์นอก วัย 64 ปี หญิงชาวอีสานที่แต่งงานและอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ที่ประเทศเดนมาร์ก เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้อยู่ในประเทศรัฐสวัสดิการ โดยที่ผ่านหน้านั้นเธอป่วยอยู่ 3 ปีเต็มตั้งแต่ปี 2539-2542 ไม่สามารถทำงานได้ และต้องเข้าออกโรงพยาบาลประจำ อยู่ครั้งละ 1-2 เดือน หมอวินิจฉัยว่าไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็ทำการรักษาอย่างสุดความสามารถ สมหมายต้องฉีดยาให้ตัวเองนาน 18 เดือน พร้อมกับการไปพบหมออยู่เรื่อยๆ จากสองอาทิตย์เป็นหนึ่งเดือน จากหนึ่งเดือนเป็นสองเดือน จากสองเดือนเป็นหกเดือน และเป็นปี จนถึงปี 2546 ก็หายเป็นปกติไม่ต้องรับการรักษาอีก

“ทุกวันนี้ไปตรวจสุขภาพก็ปกติแล้ว คิดว่าหายป่วยได้ก็คือเกิดใหม่เลย แล้วเขาให้เราไปขอประวัติการป่วยของพี่สาวที่เสียชีวิตที่โรงพยาบาลมหาราช โคราช สรุปว่าเราเป็นโรคเดียวกัน แต่พี่สาวเขาไม่มีโอกาสรักษา เขาป่วยอยู่ 7 ปี เขาตายตอนอายุ 38 ถ้าเราอยู่เมืองไทย เราก็ต้องตายเหมือนเขาเพราะไม่มีโอกาสรักษา”

“เรื่องสุขภาพนี่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับชีวิตมนุษย์ อยากจะให้รัฐบาลดูแลเรื่องตรงนี้ ถ้าเกิดเรามีคนมาดูแลในส่วนตรงนี้ ทั้งสุขภาพอนามัยหรือว่าการศึกษา เราก็จะมีโอกาสได้ทำอย่างอื่นบ้าง มีรายได้มาจุนเจือครอบครัวได้บ้าง ไม่ต้องมาเป็นหนี้เป็นสิน อยากให้บ้านเรามีบ้าง”

ไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพ เดนมาร์กซึ่งถือว่าเป็นประเทศรัฐสวัสดิการ ยังมีสวัสดิการที่ครบถ้วนให้พลเมืองตั้งแต่เกิดจนตาย ด้วยแนวคิดว่า ทุกคนควรมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตไม่ว่าพวกเขาจะมีพื้นฐานหรืออุปสรรคในชีวิตอย่างไรก็ตาม

สมหมายเล่าว่าตอนที่เธอพาลูกคนเล็กมาที่เดนมาร์กเพื่อเข้าเรียนในระดับชั้น ป.1 เมื่อใกล้เปิดเทอมเธอสงสัยว่าทำไมสามีถึงไม่บอกให้ไปซื้ออุปกรณ์การเรียนให้กับลูกเลย คำตอบของนีลส์คืออุปกรณ์ทุกอย่าง หนังสือ สมุด ดินสอ โรงเรียนจัดไว้ให้พร้อมหมดแล้ว

ทั้งนี้ ข้อมูลจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกนระบุว่า สิทธิประโยชน์ที่จะได้จากรัฐสวัสดิการนี้ ยกตัวอย่างเช่น ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนในทุกระดับชั้นจนถึงอุดมศึกษา รวมทั้งการศึกษาเพิ่มเติมอื่นๆ เงินสนับสนุนส่วนนี้คิดเป็นร้อยละ 8 ของ GDP ซึ่งเทียบเท่ากับร้อยละ 14 ของงบประมาณรัฐ ยิ่งไปกว่านั้นนักเรียนนักศึกษายังได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐและค่าเบี้ยเลี้ยงรายเดือนสำหรับค่าอาหาร หนังสือ ค่าใช่จ่ายอื่นๆ ส่วนค่ารักษาพยาบาลใช้งบประมาณร้อยละ 8.6 ของ GDP นอกจากนี้ส่วนใหญ่ของรายจ่ายภาครัฐร้อยละ 43 ถูกนำไปในกับ “ประกันสังคมและสวัสดิการ” เช่น สิทธิประโยชน์ของคนว่างงาน เงินบำนาญ

อ่านเรื่องราวของสมหมาย เพิ่มเติมได้ที่ หญิงไทยผู้สร้างครอบครัวในเดนมาร์ก : เมื่อไทยไร้โอกาส แต่รัฐสวัสดิการมอบชีวิตใหม่อีกครั้ง https://prachatai.com/journal/2019/12/85504
...
เด็ดพู
ขี้เกียจพิมพ์​ ไปดูนี่​ https://youtu.be/zp4ZVlgbhp0