วันศุกร์, เมษายน 10, 2563

เหตุเกิดที่สหรัฐอเมริกา แต่เป็นตัวอย่างอันดีให้ประเทศไทย




ภาพจาก Forbes

เหตุเกิดที่สหรัฐอเมริกา
แต่เป็นตัวอย่างอันดีให้ประเทศไทย
ว่าอย่าเดินซ้ำรอยในเรื่องการเยียวยาช่วยเหลือประชาชนและธุรกิจรายเล็กรายน้อย ที่ล้มทั้งยืนเพราะพิษโควิด-19
...
เพราะถึงวันนี้ ธุรกิจรายย่อยในสหรัฐจำนวนมาก
ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลืออย่างที่รัฐบาลประกาศ
ในวงเงิน 2.2 ล้านล้านเหรียญ ที่รัฐบาล-รัฐสภาสหรัฐอนุมัติออกมา เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดและเยียวนาเศรษฐกิจ
349,000 ล้านเหรียญ ถูกจัดไว้ให้ธุรกิจขนาดเล็กโดยเฉพาะ
เงินจำนวนนี้จะออกมาในรูปเงินกู้ที่ไม่ต้องจ่ายคืน
หากกิจการที่รับเงินไปนั้นปฏิบัติเข้าหลักเกณฑ์
เช่น เอาเงินไปจ่ายเงินเดือนพนักงาน
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ คำขอกู้เงินนี้ทะลักเข้ามาเป็นจำนวนมาก จนระบบคอมพิวเตอร์ของธนาคารตั้งรับไม่ทัน
เนื่องจากขั้นตอนในการกรอกแบบฟอร์มนั้นยุ่งยาก
บางธนาคารก็ไม่มีเวลาจัดทำคู่มือแนะนำลูกค้า
หรือไม่ก็ทำขึ้นมาเอง ไม่สอดคล้องกับแบบฟอร์มที่รัฐบาลต้องการ
เลยยิ่งมั่วกันเข้าไปใหญ่
คำร้องทั้งหลายจึงอัดแน่นอยู่หน้าประตูแบงก์
ไหนจะต้องมาเจอคอขวด อันเนื่องจากการพิจารณาว่า ใครเข้าข่าย/ไม่เข้าข่ายจะได้รับการช่วยเหลือ
นานเป็นสัปดาห์แล้ว เงินก็ยังไม่ออกมา
ธุรกิจรายเล็กรายน้อยทั่งหลายก็นอนพะงาบๆ รอความตาย
...
ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลยังไม่ประกาศชื่อ”ผู้ตรวจการทั่วไป”คนใหม่แทนที่คนเก่าที่ลาออกเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน
ทั้งที่ตำแหน่งนี้มีหน้าที่ดูแลการใช้จ่ายในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง
จนคนทั่วไปนินทาว่า ทำเนียบขาวอาจไม่อยากให้ใครมาสอดส่องว่าเงินก่อนนี้ไหลไปที่ไหน
ในขณะที่รัฐสภาดูเหมือนจะมีปฏิกิริยาตอบสนองเร็วกว่า
ผู้นำวุฒิสมาชิกเสียงข้างมาก มิทช์ แมคคอนเนล ระบุว่า
ปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกิดคอขวด
เพราะจำนวนคำร้องและเงินที่ขอมา ทีวมวงเงินที่เตรรยมไว้
ทำให้ธนาคารที่รับเรื่องต้องพิจารณาละเอียดขึ้น
จึงหารือกับสตรีเว่น มนูขิน รัฐมนตรีคลัง จะเพิ่มวงเงินส่วนนี้ขึ้นมาอีก 250,000 ล้านเหรียญ
โดยจะเร่งให้สภาอนุมัติเงินก้อนนี้ในวันพรุ่งนี้
...
ธุรกิจ SME ของสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 44 ของระบบเศรษฐกิจทั้งหมด
และจ้างงานครึ่งหนึ่งของแรงงานในภาคเอกชน
จะเป็นกิจการที่ทำคนเดียว หรือมีลูกจ้างแค่คนเดียว
ก็อยู่ในข่ายที่จะได้รับการช่วยเหลือทั้งหมด
...
ส่วนเรื่องนี้จะเป็นอุทาหรณ์ให้ไทยอย่างไร
เดี๋ยวจะมาว่ากันในชิ้นต่อไปครับ
ooo

ปัญหาคล้ายๆ กัน
แต่รากเหง้าและทัศนคติที่มาต่างกันลิบลับ
...
กำลังจะพูดถึงแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากภัยเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 นี่ละครับ
โพสต์ที่แล้ว พูดถึงความติดขัดและปัญหาในการช่วยเหลือธุรกิจ SME ในสหรัญอเมริกา
ที่คำขอทะลักเข้ามา จนแบงก์(ที่รัฐบาลกลางใช้ให้ทำหน้าที่รับเรื่อง รับคำร้อง)รับมือไม่ทัน ติดปัญหาเป็นคอขวด
ทำให้หลายสัปดาห์แล้ว เงินช่วยเหลือธุรกิจ SME (ที่มีสัดส่วนร้อยละ 44 ของเศรษฐกิจสหรัฐ และจ้างงานร้อยละ 50 ในภาคเอกชน)ยังไม่ออกมา
แต่รัฐสภาและรัฐบาลที่นั่นตอบสนองไว บอกว่าปัญหาที่ต้องคัดกรองมาก ก็เพราะคำขอเกินวงเงิน 349,000 บ้านเหรียญที่ตั้งไว้ จนแบงก์ต้องสกรีนชั้นหนึ่งก่อน
เพื่อให้สกรีนน้อยลง เขาจะประชุมสภากันวันนี้เพื่อเพิ่มวงเงินให้อีก 250,000 ล้านเหรียญ
การคัดกรองจะได้ทำเร็วขึ้น
และเงินจะได้ถึงมือผู้ประกอบการเร็วขึ้น
...
เห็นทัศนคติที่อยู่เบื้องหลังการทำงานแบบนี้ไหมครับ
ทัศนคติที่เอา"ทุกข์ประชาชน"เป็นตัวตั้ง
เพราะฉะนั้น เมื่อมีปัญหาเมื่อมีข้อติดขัด เขาจะรีบจัดการกับอุปสรรคเหล่านั้นก่อน
ไม่มีตั้งแง่รังเกียจรังงอน หรือหงุดหงิดฉุนเฉียวอารมณ์เสียแบบ"เจ้าใหญ่นายโต"ในบางสังคม
...
ทีนี้ลองกลับมาย้อนดูในบ้านเรา
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกันก็คือ
เมื่อตระหนักแล้วว่า วิกฤติเศรษฐกิจหนนี้หนักหนานัก
ท่านก็เริ่ม"ปล่อยของ"ออกมาทีละขยัก
เริ่มจาก 200,000 ล้านก่อน พอมีคนทักท้วงว่าน้อยไปก็เพิ่มมาอีกขยักเป็นประมาณ 300,000 กว่าล้าน
และรวมมาตรการการเงินไปด้วยจะประมาณ 3% ของจีดีพี
ก็มีคนเอาข้อมูลมาใให้ดู ว่าทั้งโลกนั้นเขาอัดฉีด-กระตุ้นเศรษฐกิจกันเกินร้อยละ 10 ของจีดีพีขึ้นไป
ท่านก็เลยฮึด เสนอแพคเกจใหม่คราวนี้เริ่มต้นจาก 1.68 ล้านล้าน หรือประมาณ 10% ของจีดีพี
แล้วปรับเพิ่มอีกเป็น 1.9 ล้านล้าน หรือประมาณ 12% ของจีดีพี
ตัววงเงินพอ-ไม่พอ เพิ่มได้อีกหรือไม่
เดี๋ยวไปว่ากันอีกรอบ
วันนี้เอาเรื่องทัศนคติและกระบวนการล้วนๆ
...
เพราะตั้งแต่เริ่มจะออกแพคเกจเยียวยาเป็นต้นมา
ไม่ว่ากระทรวงการคลังหรือกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กอดเงิน(ของชาวบ้าน แต่ผ่าไปคิดว่าเป็นเงินส่วนตัว)กันเอาไว้แน่น
เช่น คลังประกาศรอบแรกว่าคนอยู่ในข่ายจะได้รับความช่วยเหลือน่าจะประมาณ 3 ล้านคน
พอไปเจอของจริงเข้า ก็ปรับตัวเลขใหม่ บอกว่าน่าจะประมาณ 9 ล้านคน
ในขณะที่ตลาดคาดว่าไม่น่าจะต่ำกว่า 18-20 หรือเผลอๆ อาจจะ 24 ล้านคน
พอถึงเวลาปฏิบัติจริง ท่านก็มีแง่เงื่อนต่างๆมากมาย
ยกตัวอย่างเช่น หลังจากจ่าย 4 กลุ่มแรก(คนขายล็อตเตอรี่-คนขับแท็กซี่-วินมอเตอร์ไซค์) ไปแล้วส่วนหนึ่ง
8 กลุ่ม(ที่ท่านคัดแยกไว้)ต่อมา ที่ยื่นขอความช่วยเหลือเข้าไปกว่า 10 ล้านราย
ได้รับการพิจารณาไม่ถึงร้อยละ 10-15
ในขณะที่คนตกสำรวจจำนวนมาก ตั้งข้อสงสัย(หาอ่านได้จากข่าวของข่าวสด มติชน ประชาชาติธุรกิจ) ว่า เขาก็ตกงานเหมือนกัน บาวครอบครัวตกกันทั้งบ้าน
ทำไมไม่มีใครอยู่ในเกณฑ์ได้รับความช่วยเหลือเลย
นี่ถ้าใครเอาคำถามประเภทนี้ไปถามท่านผู้มีอำนาจรับผิดชอบ
ท่านก็อาจจเบ้หน้าใส่ บอกว่า
พวกนี้เข้ามาฉวยโอกาสบ้าง หรืออาจจะพลาดตกสำรวจไปบ้าง เดี๋ยวจะไปตรวจสอบให้(แต่ไม่รู้เมื่อไหร่)
แต่สรุปก็คือ ท่านทำเหมือนไม่ค่อยอยากให้เงินออก
หรือมีขั้นตอนที่ทำให้เงินออกช้าแบบที่อื่นๆ
แต่ไม่คิดจะแก้ไขความล่าช้านั้น หรือไม่หันมาตรวจสอบว่าปัญหาเกิดจากใคร
...
ล่าสุดท่านก็ให้สัมภาษณ์เขย่าขวัญกันอีกว่า
ที่ว่าจะช่วยเหลือ 6 เดือนนั้น ไม่แน่เสียแล้ว
จะให้ 3 เดือนก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยดูว่าสถานการณ์เป็นอย่างไรต่อไป
ถามจริงๆ เถอะครับ ว่านี่เอาอะไรคิด
คิดอย่างคนไม่เคยตกงาน สิ้นเดือนก็รับเงินเดือนเต็ม อยู่บ้านมีรั้ว ต่อให้เวิร์คฟรอมโฮมเป็นปีก็ไม่เดือดร้อน
เพราะหิวก็สั่งอาหารเดลิเวอรี่ได้ ว่างก็กดดูเน็ตฟลิกซ์ไป
อย่างนั้นหรือเปล่า
ไม่รู้จริงๆ หรือว่า ต่อให้วิกฤติโควิด-19 ในเมืองไทยจบลงไปใน 1-2 เดือนข้างหน้า
เศรษฐกิจก็ไม่มีทางกลับมาเป็นปกติได้ใน 3-6 เดือน
ยิ่งถ้าทั้งโลกเขายังไม่หายไข้(ดูจากอาการของสหรัฐและยุโรป)เข้าไว้
วิกฤตินี้อาจจะลากยาวเป็นปี
ที่กำหนดการช่วยเหลือไว้ 6 เดือน อาจจะน้อยไปด้วยซ้ำ
ไม่เคยถูกสั่งสอนมาหรือว่า ในเวลาวิกฤติ จะต้องคิดตั้งรับในทางร้ายที่สุด
เพื่อเจออะไรร้ายๆ จะได้รับมือได้ ถ้าเจอร้ายน้อยก็จะได้ถือเป็นกำไร
ถามอีกครั้งเถอะครับว่า
นี่เอาอะไรมาคิด
...
ถ้าที่คลังแห่งเดียวไม่พอ
ให้มาดูที่ประกันสังคมอีกแห่ง
เริ่มจากการลดเงินส่งประกันสังคมจากร้อยละ 5 ให้มาเหลือร้อยละ 0.5 เพื่อลดภาษระของบริษัทและพนักงานในช่วงวิกฤติ
ครม. ผ่านแล้ว เจ้ากระทรวงก็นั่งอยู่ในที่ประชุม
แต่ถึงเวลาปฏิบัติ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ต้องเอาเรื่องเข้าครม. กันใหม่ คราวนี้ยอมลดจากร้อยละ 5 มาเหลือร้อยละ 1
แต่ช้าไปแล้วสองสัปดาห์
ในช่วงที่เวลา(และเศษเงินน้อยนิดของคนทำงานทั้งหลาย)คือความเป็นความตายของชีวิต
และที่ยกตัวอย่างไปแล้วในข้อเขียนชิ้นก่อนๆ ก็คือ
ต่อให้อยู่ในข่ายได้รับการช่วยเหลือตกงานจากประกันสังคม
ลงทะเบียนวันนี้ คุณจะได้เงินอีก 60 วันข้างหน้า
ถามว่าตกงานวันนี้ เงินไม่มีในกระเป๋า
บอกให้ไปรออีก 2 เดือนค่อยเอาสตางค์
ให้กินลมกินแกลบประทังชีวิตไปหรือครับ
นี่ยังไม่นับแง่เงื่อน ที่ตั้งเอาไว้ยิบยับว่า ใครจะอยู่ในข่ายได้รับความช่วยเหลือ
จนกระทั่งจำนวนผู้คนที่จะได้สตางค์ลดน้อยถอยลงไปเป็นลำดับ
...
ตัวอย่างข้างต้น สะท้อนทัศนคติและวิธีการทำงานที่ยึดเอาระเบียบ(เชยๆ ล้าสมัย ไม่เคยตอบสนองปัญหาอะไรชาวบ้านได้ทั้งในยามปกติและในยามวิกฤติ) ของระบบราชการไทย
สะท้อนทัศนคติ"อำนาจนิยม"ชัดเจน
ก็เงินที่จะช่วยเหลือชาวบ้านผู้ตกทุกข์ได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นในคลัง เป็นกู้มา หรือว่าในประกันสังคม
มันเงินชาวบ้านทั้งนั้น
ผ่าไปคิดว่าเป็นสมบัติส่วนตัว ท่านกำลังรักษาผลประโยชน์ประเทศชาติ(ซึ่คืออะไรไม่รู้ เป็นคำเท่ๆ ลอยๆ)
แต่ไม่เห็นหัวชาวบ้าน-ประชาชน(ซึ่งคือประเทศชาติตัวจริง ก็ไม่มีคนมันจะรวมกันเป็นชาติขึ้นมาได้ไง)ที่กำลังจะสิ้นลมหายใจ
ไม่ได้คิดจะเอามาใช้ในยามจำเป็นคับขัน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เพราะฉะนั้น ถ้าจะหวังให้มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากภัยเศรษฐกิจรอบนี้
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ไม่ว่าจะกับคนตกงาน คนว่างงานชั่วคราว คนมีรายได้ลดลงแบบกว่าครึ่ง หรือบริษัทห้างร้านที่กำลังจะสิ้นลม
สงสัยจะเป็นฝันนะครับ
...
ยาวไปหน่อยแล้ว
เลยต้องขออนุญาตยกยอดเรื่องข้อเสนอ
ว่าจะแจกยังไงให้ทั่วถึงเท่าเทียมไปตอนหน้าครับ
...