วันศุกร์, ธันวาคม 13, 2562

องค์กรอิสระ ภาษาชาวบ้านตั้งชื่อเล่นกันว่า "องค์กรรับงานซักผ้าดำให้ขาว" การจะสร้างองค์กรอิสระที่มีความเป็นอิสระและยึดโยงกับประชาชนมากกว่านี้ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องพูดถึงการ #แก้รัฐธรรมนูญ ด้วย




คำถามจากประชาชน จนมีข้อเรียกร้องให้ที่มาขององค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญยึดโยงกับประชาชนให้มากขึ้น แต่ทว่า "คณะกรรมการสรรหา" ตามรัฐธรรมนูญ 2560 กลับมีสัดส่วนตัวแทนที่ยึดโยงกับประชาชนเป็นเสียงส่วนน้อยมากๆ เดินสวนทางกับอำนาจที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ให้องค์กรอิสระมีบทบาทในทางการเมืองได้มากขึ้น

รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน ระบุว่า การสรรหาคนเข้ารับตำแหน่งในองค์กรอิสระ ยกเว้นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ถือว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งใช้ชุดเดียวกันทั้งหมด สำหรับการสรรหาแทบทุกองค์กร อันประกอบไปด้วย

1) ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน
2) ประธานสภาผู้แทนราฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 3) ประธานศาลปกครองสูงสุด
4) บุคคลที่องค์กรอิสระแห่งอื่นๆ แต่งตั้งให้มาร่วมเป็นกรรมการ

ในระหว่างการปกครองของ คสช. ซึ่งไม่มีสภาผู้แทนราษฎร และไม่มีผู้นำฝ่ายค้าน มีเพียงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด จึงเป็น พรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. คนเดียวที่ทำหน้าที่แทนทั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้าน ด้วยโควต้า "นักการเมือง" ที่เข้าไปอยู่ในคณะกรรมการสรรหา

หากเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า อย่างในรัฐธรรมนูญปี 2540 จะพบว่า ที่มาของคณะกรรมการสรรหาในแต่ละองค์กรจะมีความต่างกันไป อย่างเช่น คณะกรรมการสรรหาของผู้ตรวจการแผ่นดินจะประกอบไปด้วยผู้แทนของพรรคการเมือง อธิการบดีจากมหาวิทยาลัยของรัฐ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนศาลฎีกา แต่ทว่า คณะกรรมการสรรหาของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จะมีประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลฏีกา เพิ่มขึ้นมา ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามหน้าที่ของแต่ละองค์กร

รัฐธรรมนูญปี 2540 กำหนดให้สัดส่วนของคณะกรรมการสรรหาแต่ละองค์กรต้องมีตัวแทนของพรรคการเมืองในสภาและมีนักวิชาการซึ่งเป็นอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเข้าไปด้วย

เหตุที่รัฐธรรมนูญฉบับมีชัยรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจในการสรรหาบุคคลเข้ารับตำแหน่งในองค์กรอิสระมีแบบอย่างมาจากรัฐธรรมนูญปี 2550 เพราะในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ระบุให้ คณะกรรมการสรรหาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นคณะกรรมการชุดเดียวกันทั้งหมด

นอกจากนี้ เมื่อคณะกรรมการสรรหาคัดเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระได้แล้ว รัฐธรรมนูญก็สั่งให้ส่งรายชื่อดังกล่าวให้วุฒิสภาเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ ซึ่งวุฒิสภาชุดปัจจุบันมาจากการคัดเลือกของ คสช. ทั้งหมด และตลอดเวลา 5 ปีก่อนหน้านี้ที่ไม่มีวุฒิสภา ผู้ที่บลงมติให้ความเห็นชอบก็คือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มาจาก คสช. ทั้งหมดเช่นกัน

การจะสร้างองค์กรอิสระที่มีความเป็นอิสระและยึดโยงกับประชาชนมากกว่านี้ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องพูดถึงการ #แก้รัฐธรรมนูญ ด้วย

ดูสรุปรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาองค์กรอิสระ ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/4210
ดูสรุป อำนาจ ส.ว. ชุดปัจจุบัน ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/5395
ดูสรุปรัฐธรรมนูญรายประเด็น ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/5209