ส่องเพจเก่ารัฐบาล ก่อนเปิดตัว "สายตรงไทยนิยม" เกาะกระแสบุพเพฟีเวอร์
3 เมษายน 2018
ที่มา BBC Thai
รัฐบาลเปิดตัว "สายตรงไทยนิยม" ช่องทางรับเรื่องร้องทุกข์ รับฟังความคิดเห็น ดีเดย์ด้วยการเฟซบุ๊กไลฟ์ นักแสดงนำจาก "บุพเพสันนิวาส" เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อรณรงค์ส่งเสริมภาพยนตร์และละครที่เกี่ยวกับการเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
เพจสายตรงไทยนิยม ที่เป็นชื่อเดียวกับโครงการ "ไทยนิยมยั่งยืน" โครงการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศที่รัฐบาลพยายามปลุกปั้น เปิดตัวท่ามกลางกระแสฟีเวอร์ของละครบุพเพสันนิวาสที่เพิ่งพาให้สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 โดยเรตติ้งช่องทีวีดิจิทัลขึ้นอันดับหนึ่งในเดือนมีนาคม
เพจใหม่ 'ทีมงาน พล.อ.ประยุทธ์' พบกับคำวิจารณ์บนโลกโซเชียล
"นิ่งเสียตำลึงทอง"ของ ประวิตร ก่อ "วิกฤตรัฐบาล"?
ละครนี้จุดกระแสให้คนไทยจำนวนมากหันมาให้ความสนใจกับประวัติศาสตร์ ปรากฏการณ์แต่งชุดไทยตามรอยละคร เยี่ยมชมโบราณสถานในพระนครศรีอยุธยา ทั้งกระทรวงวัฒนธรรม ก็ถือโอกาสนี้รณรงค์ให้ข้าราชการแต่งชุดไทยไปทำงานสัปดาห์ละครั้ง
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวในวันนี้ (3 เม.ย.) ว่า ไม่ได้โหนกระแส แต่ขอให้สานต่อความเป็นไทย นี่คือไทยนิยม ซึ่งเขามีแนวคิดให้กระทรวงวัฒนธรรมผลิตละครที่สานต่อวัฒนธรรมไทยเหมือนเช่นต่างประเทศ
อย่างไรก็ดี การเปิดตัวเพจเฟซบุ๊กด้วยรูปโฉมใหม่ครั้งนี้ ที่มาพร้อมกับเว็บไซต์และแอปพลิเคชันทางมือถือ ไม่ใช่เพจ ประชาสัมพันธ์แรกที่เป็นช่องทางบอกกล่าวของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลชุดนี้ บีบีซีไทย พาย้อนดูเพจของรัฐบาลที่มีมาก่อนหน้า
ไทยคู่ฟ้า
เพจไทยคู่ฟ้า คือเพจประชาสัมพันธ์ข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ปัจจุบันมีผู้กดติดตามกว่า 35,000 คน เปิดเพจเมื่อเดือน ม.ค.2560 เนื้อหาที่โพสต์ในเพจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแจ้งกำหนดการ ข่าวสารการปฏิบัติภารกิจของนายกฯ การแถลงข่าวมติคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล
BBC THAI
คำบรรยายภาพ เมื่อนายกฯไปจันทบุรีเมือต้นเดือนก.พ. จนท.ได้ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรที่มารอพบนายกฯกดติดตามเพจเฟซบุ๊ก "ไทยคู่ฟ้า" เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของรัฐบาล เมื่อเกษตรกรคนใดกดติดตามเพจดังกล่าวจะมีเจ้าหน้าที่แจกหมวกไทยคู่ฟ้า จากสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นของรางวัล
พล.อ.ประยุทธ เคยกล่าวถึงเพจนี้ในรายการศาสตร์พระราชาฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 ก.พ. ว่า "เฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า ของสำนักโฆษกฯ ปรับรูปแบบการนำเสนอ ให้สอดรับการไลฟ์สไตล์ของประชาชน ยุค 4.0"
ในระหว่างการเดินทางไปประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ที่ จ.จันทบุรี เมื่อต้นเดือน ก.พ. ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรกดติดตามเพจเฟซบุ๊กไทยคู่ฟ้า เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของรัฐบาล เมื่อเกษตรกรคนใดกดติดตามเพจดังกล่าวจะมีเจ้าหน้าที่แจกหมวกไทยคู่ฟ้า จากสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นของรางวัล
Gen.Prayut Chan-o-cha ทีมงาน
เพจนี้เริ่มโพสต์ข้อความและรูปภาพเกี่ยวกับการทำงานของนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เดือน ส.ค.ปีที่แล้ว มีผู้กดไลก์เพจอยู่ 16,644 คน เมื่อดูเนื้อหาที่ถูกโพสต์บนหน้าเพจแทบไม่ต่างจากเพจไทยคู่ฟ้า ที่มักจะเป็นการประชาสัมพันธ์ถึงภารกิจของนายกรัฐมนตรี
ปัจจุบันเพจนี้ยังคงเปิดใช้งานอยู่ มีโพสต์ล่าสุด คือ ภารกิจประชุมสุดยอดผู้นำในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 31 มี.ค.
เปรี้ยง
เพจ "เปรี้ยง" เปิดตัวสู่สายตาชาวเน็ต เมื่อเดือน มิ.ย.2560 เรียกเสียงฮือฮาเป็นครั้งแรกจากการโพสต์บทกลอนที่เขียนด้วยลายมือของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนที่สื่อมวลชนกระแสหลักจะเสนอข่าว
กลอน "หายใจเป็นไทย" พล.อ.ประยุทธ์ ประพันธ์ขึ้นเพื่อมอบให้กับข้าราชการระดับสูงในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการในวันที่ 29 มิ.ย.
กรุงเทพธุรกิจรายงานว่า เพจเปรี้ยงถูกตั้งคำถามว่า มีการนำข้อมูลมาจากแหล่งใด เพราะโดยปกติวงประชุมของนายกฯ มักจะไม่มีข้อมูลอินไซต์หลุดออกจากที่ประชุม "ดังนั้นจึงถูกมองได้ว่า "ทีมงานรัฐบาล" ทำกันเอง"
หลังถูกตั้งข้อสังเกตดังกล่าว เพจเปรี้ยง ออกมายืนยันว่าไม่ใช่ทีมงานรัฐบาล แต่เป็นอดีตคนข่าวจึงพอมีแหล่งข่าว-พรรคพวก ที่รู้จักกันส่งข้อมูลมาให้ ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่าไม่รู้จักเพจนี้ พร้อมระบุว่า "อาจจะมีคนหวังดีกับรัฐบาลเลยสร้างเพจขึ้นมา"
พล.อ.ประยุทธ เคยกล่าวถึงเพจนี้ในรายการศาสตร์พระราชาฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 ก.พ. ว่า "เฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า ของสำนักโฆษกฯ ปรับรูปแบบการนำเสนอ ให้สอดรับการไลฟ์สไตล์ของประชาชน ยุค 4.0"
ในระหว่างการเดินทางไปประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ที่ จ.จันทบุรี เมื่อต้นเดือน ก.พ. ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรกดติดตามเพจเฟซบุ๊กไทยคู่ฟ้า เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของรัฐบาล เมื่อเกษตรกรคนใดกดติดตามเพจดังกล่าวจะมีเจ้าหน้าที่แจกหมวกไทยคู่ฟ้า จากสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นของรางวัล
Gen.Prayut Chan-o-cha ทีมงาน
เพจนี้เริ่มโพสต์ข้อความและรูปภาพเกี่ยวกับการทำงานของนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เดือน ส.ค.ปีที่แล้ว มีผู้กดไลก์เพจอยู่ 16,644 คน เมื่อดูเนื้อหาที่ถูกโพสต์บนหน้าเพจแทบไม่ต่างจากเพจไทยคู่ฟ้า ที่มักจะเป็นการประชาสัมพันธ์ถึงภารกิจของนายกรัฐมนตรี
ปัจจุบันเพจนี้ยังคงเปิดใช้งานอยู่ มีโพสต์ล่าสุด คือ ภารกิจประชุมสุดยอดผู้นำในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 31 มี.ค.
เปรี้ยง
เพจ "เปรี้ยง" เปิดตัวสู่สายตาชาวเน็ต เมื่อเดือน มิ.ย.2560 เรียกเสียงฮือฮาเป็นครั้งแรกจากการโพสต์บทกลอนที่เขียนด้วยลายมือของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนที่สื่อมวลชนกระแสหลักจะเสนอข่าว
กลอน "หายใจเป็นไทย" พล.อ.ประยุทธ์ ประพันธ์ขึ้นเพื่อมอบให้กับข้าราชการระดับสูงในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการในวันที่ 29 มิ.ย.
กรุงเทพธุรกิจรายงานว่า เพจเปรี้ยงถูกตั้งคำถามว่า มีการนำข้อมูลมาจากแหล่งใด เพราะโดยปกติวงประชุมของนายกฯ มักจะไม่มีข้อมูลอินไซต์หลุดออกจากที่ประชุม "ดังนั้นจึงถูกมองได้ว่า "ทีมงานรัฐบาล" ทำกันเอง"
หลังถูกตั้งข้อสังเกตดังกล่าว เพจเปรี้ยง ออกมายืนยันว่าไม่ใช่ทีมงานรัฐบาล แต่เป็นอดีตคนข่าวจึงพอมีแหล่งข่าว-พรรคพวก ที่รู้จักกันส่งข้อมูลมาให้ ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่าไม่รู้จักเพจนี้ พร้อมระบุว่า "อาจจะมีคนหวังดีกับรัฐบาลเลยสร้างเพจขึ้นมา"
โหนกระแสละครดัง
ดร.นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก ชี้ว่าการสร้างกระแสการเปิดตัวเพจวันนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะหากการเปิดเพจแบบเดิม ๆ ของรัฐบาล ข่าวสารที่ออกมาจะเป็นเพียงข่าวธรรมดาข่าวหนึ่งที่ไม่ได้มีจุดเด่นดึงดูดความสนใจแก่ผู้รับสาร
"เรียกภาษาชาวบ้านว่าเป็นการโหนกระแส นำเอาละครดังที่อยู่ในความสนใจของประชาชนมาสร้างวาระในสื่อเพื่อให้ได้พื้นที่ข่าว... การเอาการะเกดกับพี่หมื่นมา เลยทำให้ประชาชนทั่วไปที่ชอบละครเรื่องนี้มาดูมากยิ่งขึ้น สื่อก็นำเสนอกันอย่างพร้อมเพรียง"
เมื่อถามถึงเพจเดิมของรัฐบาลที่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ภารกิจของนายกฯ ดร.นันทนา ชี้ว่า คนทั่วไปไม่น่ารับรู้ช่องทางเดิมดังกล่าว ก่อนระบุว่า จากการติดตามเพจสายตรงไทยนิยม มีข้อสังเกตว่าผู้ใช้เฟซบุ๊ก มีพฤติกรรมที่เข้าไปดู "ดารา" แต่ไม่ได้ตามเพจ นั่นหมายความว่า "อาจไม่เป็นผลในการสร้างการติดตาม แต่เกิดการรับรู้แค่ในวันนี้"
GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพ สื่อออนไลน์เป็นช่องทางในการรับข่าวสารยอดนิยมของคนไทย
"สายตรงไทยนิยม ก็พยายามเชื่อมโยงกับความเป็นไทย ละครที่กำลังดัง และพยายามเข้าทางคนที่เป็นที่รัก
เป็นการโหมกระแสที่สร้างคะแนนนิยม" ดร.นันทนา กล่าว พร้อมชี้ว่า "ความเป็นไทย" นัั้นเป็นจุดขายของนายกฯ ตั้งแต่ต้น
อย่างไรก็ตาม คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง กล่าวว่า ผลตอบรับจากเพจใหม่ของนายกฯ จะมากน้อยแค่ไหน ยังประเมินได้ยาก เพราะเพิ่งเปิดตัววันแรก แต่เมื่อทีมงานใช้สื่อใหม่ในสื่อสารแล้ว รายการคืนวันศุกร์ก็หมดความจำเป็น เพราะไม่มีช่องทางการฟีดแบ็คจากคนดู
"ไหนๆ จะเปิดสื่อใหม่แล้วคอมเมนต์ต่างๆ ก็อย่าไปลบ รับฟังเป็นบวกก็รับฟังเป็นที่ลบด้วย นายกฯ จะได้เห็นว่าคนนิยม และไม่นิยมท่านตรงไหน เห็นความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมาจากประชาชน เป็นประโยชน์ และเพิ่มเรตติ้งความนิยมของนายกฯ"
"สายตรงไทยนิยม ก็พยายามเชื่อมโยงกับความเป็นไทย ละครที่กำลังดัง และพยายามเข้าทางคนที่เป็นที่รัก
เป็นการโหมกระแสที่สร้างคะแนนนิยม" ดร.นันทนา กล่าว พร้อมชี้ว่า "ความเป็นไทย" นัั้นเป็นจุดขายของนายกฯ ตั้งแต่ต้น
อย่างไรก็ตาม คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง กล่าวว่า ผลตอบรับจากเพจใหม่ของนายกฯ จะมากน้อยแค่ไหน ยังประเมินได้ยาก เพราะเพิ่งเปิดตัววันแรก แต่เมื่อทีมงานใช้สื่อใหม่ในสื่อสารแล้ว รายการคืนวันศุกร์ก็หมดความจำเป็น เพราะไม่มีช่องทางการฟีดแบ็คจากคนดู
"ไหนๆ จะเปิดสื่อใหม่แล้วคอมเมนต์ต่างๆ ก็อย่าไปลบ รับฟังเป็นบวกก็รับฟังเป็นที่ลบด้วย นายกฯ จะได้เห็นว่าคนนิยม และไม่นิยมท่านตรงไหน เห็นความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมาจากประชาชน เป็นประโยชน์ และเพิ่มเรตติ้งความนิยมของนายกฯ"