การเลือกตั้งครั้งใหม่เป็นการเลือกระหว่างพรรคที่สนับสนุนและพรรคที่ไม่สนับสนุนคสช.
ขณะนี้แน่นอนแล้วว่าต้องมีการเลือกตั้ง
แต่จะเป็น กพ.62 หรือไม่ก็คงต้องจับตากันดูต่อไป
แม้ว่าคสช.โดยรองนรม.วิษณุเครืองามจะออกมาส่งเสียงเตือนว่า
พรรคการเมืองสนับสนุน นรม.ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้
แต่ห้ามพูดเรื่องนโยบาย
เรื่องนี้ไม่ต่างอะไรจากการห้าม ดวงอาทิตย์ไม่ให้ขึ้นทางตะวันออกครับ
คนไทยทั้งประเทศเขารอการเลือกตั้งครั้งนี้
เพื่อจะตัดสินใจทางการเมืองว่าจะเดินไปตามเส้นทางที่คสช.บังคับจัดวางไว้
หรือจะปฏิเสธและเดินไปบนเส้นทางที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง
แม้แต่พล.อ.ประยุทธ์ยังพูดซ้ำๆอยู่เสมอว่า
จะเอาแบบผม หรือจะเอาแบบเก่า
เอาแบบผมก็คือเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ2560ของคสช.
เช่น สว.แต่งตั้งโดยคสช.250คน
มีอำนาจเหนือสส.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ20ปี ที่ร่างโดยคณะของคสช.
การปฏิรูปประเทศใน11ด้านที่กำหนดโดยคณะของคสช.
องค์กรอิสระห้าองค์กรรวมศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากคสช.
แต่มีอำนาจเหนืออำนาจของประชาชนที่ผ่านจากการเลือกตั้ง
มาตรฐานทางจริยธรรมที่ร่างโดยศาลรธน.และองค์กรอิสระทั้งห้าที่มาจากคสช.
(ซึ่งพวกเขาหาทางเลี่ยงบาลีไม่ต้องรับโทษได้ แต่หากเป็นผู้มาจากการเลือกตั้งยากที่จะรอดได้)
ยังมีการเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียว
การนับคะแนนแบบจัดสรรปันส่วนแบบผสม
การลงโทษสี่ชั่วโคตร
การใช้กฏหมายย้อนหลังกับผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายอำนาจนิยม
ฯลฯ
ดังนั้นพรรคการเมืองที่จะลงสนามเลือกตั้งครั้งนี้
จึงจัดกลุ่มได้เพียงสองฟากเท่านั้นคือ
ฟากที่เดินไปตามเส้นทางของคสช.
กับฟากที่ปฎิเสธเส้นทางของคสช.และ
เปลี่ยนไปใช้เส้นทางอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง
พวกที่ต้องการรักษาและสืบทอดการรังสรรค์ของคสช.
ได้ประกาศชัดเจนว่าจะเดินตามรอยคสช.โดยไม่เคอะเขินแต่อย่างไร
ไม่ว่าจะเป็นพรรคกปปส.ของพวกนายสุเทพ(จะจดทะเบียบเมื่อไรและชื่ออะไรไม่สำคัญ)
พรรคประชาชนปฎิรูปของนายไพบูลย์นิติตะวันและอีกหลายพรรคที่แสดงตัวอย่างชัดเจนแล้ว
ก็ยังแต่พรรคฝั่งประชาธิปไตยเท่านั้นเองที่จะกล้าหาญชาญชัย
ในแสดงออกอย่างชัดแจ้งหรือไม่ว่า
พวกท่านปฎิเสธเส้นทางคสช.
และกลับไปสู่เส้นทางประชาธิปไตยของอารยะประเทศทั้งหลาย
คนไทยทั้งประเทศกำลังเฝ้ารออยู่ครับ
ที่มา FB
นพ.เหวง โตจิราการ
ooo
จาก FB
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ