ชวน หลีกภัย
เคยใช้บริการฉกข้อมูลส่วนตัวพลเมืองเน็ตของ ‘เอสซีแอลกรุ๊ป’ บริษัทแม่ ‘เคมบริดจ์ แอนาลิติก้า’ ที่อื้อฉาวจากการรับงานหาเสียงให้ทรั้มพ์ชนะเลือกตั้งปี ๒๕๕๙ มาปั่นหาเสียงเลือกตั้งไทย
‘เคมบริดจ์ แอนาลิติก้า’ (ซีเอ) เป็นบริษัทเก็บเกี่ยวข้อมูลบุคคล (จากฐานข้อมูลผู้ใช้เฟชบุ๊ค) เอาไปใช้หาเสียงทางอินเตอร์เน็ต
ด้วยวิธีการเจาะเป้าหมายผู้ออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ในปี ๒๕๕๙ จน ดอแนลด์
ทรั้มพ์ ได้ชัยชนะ โดยร่วมมือกับเว็บไซ้ท์ฝ่ายขวาจัด ‘ไบร๊ท์บาร์ท’
ของ สตี๊ฟ แบนน่อน อดีตที่ปรึกษาพิเศษประธานาธิบดีทรั้มพ์
(https://www.publicintegrity.org/2018/03/20/21623/john-bolton-eyed-trump-post-leads-super-pac-employed-cambridge-analytica?-EMAIL_CAMPAIGN_2018_02_20)
แม้แต่นายจอห์น โบลตัน
ที่ประธานาธิบดีทรั้มพ์ตั้งเป็นที่ปรึกษาความมั่นคงแทนนายพลแม็คมาสเตอร์
ก็ใช้บริการของเคมบริจ์ แอนาลิติก้า สำหรับ ‘ซูเปอร์แพ็ค’
(องค์กรเอกชนสนับสนุนพรรคการเมือง)
ของเขาในการหาเสียงสนับสนุนนักการเมืองพรรครีพับลิกันกลุ่มขวาจัด
ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๑๔ เป็นต้นมา ซูเปอร์แพ็คของนายโบลตันจ่ายค่าจ้างให้แก่เคมบริดจ์ฯ
ไปแล้ว ๑.๑ ล้านเหรียญสหรัฐ และวางงบประมาณ ๑ ล้านเหรียญสำหรับปีนี้
เพื่อว่าจ้างเคมบริดจ์ฯ ช่วยหาเสียงสนับสนุนนายเควิน นิโคลสัน พรรครีพับลิกันแข่งขันชิงตำแหน่งจากวุฒิสมาชิกเดโมแครท
แทมมี่ บอลด์วิน
‘ซีเอ’ ตกเป็นข่าวอื้อฉาวช่วงเดือนที่ผ่านมาจากการเปิดโปงของอดีตผู้ร่วมก่อตั้ง
คริสโตเฟอร์ ไวลี่ เป็นบริษัทเชื้อสายอังกฤษซึ่งจัดตั้งในสหรัฐด้วยทุนของสองพ่อลูกมหาเศรษฐีอเมริกัน
รอเบิร์ต และรีเบกาห์ เมอร์เซอร์ ผู้สนับสนุนรายสำคัญระหว่างการหาเสียงของประธานาธิบดีทรั้มพ์
ความอื้อฉาวเนื่องจาก
การใช้บริษัทต่างชาติช่วยหาเสียงเป็นความผิดกฎหมายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของสหรัฐประการหนึ่ง
กับบริษัทเคมบริดจ์ฯ
เก็บเกี่ยวข้อมูลส่วนบุคคลจากเฟชบุ๊คโดยไม่ได้รับการยินยอมจากบรรดาเจ้าของบัญชีส่วนใหญ่ใน
๕๐ ล้านราย มีผู้แสดงการยินยอมเพียงจำนวนแสน
เหตุประเด็นที่สองนั่นเองทำให้เฟซบุ๊คถูกโจมตีอย่างหนักจนราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของเฟซบุ๊คตกฮวบฮาบเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
(มากที่สุดถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์) จนบัดนี้เฟซบุ๊คยังต้องเผชิญกับกระแสหนักหน่วงในรณรงค์ให้ลบบัญชีจากเฟซบุ๊ค
#DeleteFacebook หลังจากที่
อีลอน มัสค์ ซีอีโอของสเปชเอ็กซ์ และเทสลา ลบบัญชีสองบริษัทของเขาจากเฟชบุ๊ค
เมื่อวันศุกร (๒๓ มีนา)
เว็บไว้ท์กึ่งวิชาการ ‘บล็อกนัน’ รายงานเรื่อง “พรรคประชาธิปัตย์เคยใช้บริการ SCL บริษัทที่เพิ่งถูกแบนจากเฟซบุ๊ก
ให้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเลือกตั้ง”
ระบุว่าอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย นายชวน หลีกภัย เคยใช้บริการของ ‘เอสซีแอลกรุ๊ป’
ในการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ ในปี ๒๕๓๙
ทั้งนี้เนื่องมาจากผู้ใช้บัญชีทวิตเตอร์ในนาม
‘เจมส์ รีซิสส์’ หรือนายเจมส์
ต่อต้าน ที่อ้างตนว่าเป็น “เสรีนิยม/เดโมแครท/บุรุษผู้ท่องไปทั่ว เขียนข้อความตอกกลับเคมบริดจ์ฯ
ซึ่งโพสต์ตอบโต้รายงานข่าวโทรทัศน์ช่อง ๔
อังกฤษว่าให้ภาพลักษณ์ของบริษัทไม่ตรงไปตรงมา
“เว็บไซ้ท์ของซีเอและเอสซีแอลกรุ๊ปได้ลบเนื้อหาผลงานบริษัทด้านการปั่นคะแนนเสียงเลือกตั้งออกไปแล้ว
โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งในนานาประเทศ
นี่ผมจัดเก็บภาพถ่ายหน้าเว็บของเอสซีแอลกรุ๊ป ในเดือนธันวาคมปี ๒๕๕๙ ไว้ได้ ดูเอาเองแล้วกันว่าพวกเขาพูดถึงตัวเองอย่างไร”
หนึ่งในภาพหน้าเว็บเกี่ยวกับการแทรกแซงเลือกตั้งด้วยข้อมูลปรุงแต่งจากสื่อสังคม
นำคำชมเชยของนายชวน หลีกภัย ต่อบริการของเอสซีแอลมาโฆษณาไว้
“การชนะเลือกตั้งนั้นขึ้นอยู่กับการเลือกสนามรบด้วยความระมัดระวัง
เอสซีแอลทำให้เห็นกระจ่างในการต่อสู้ที่สามารถเอาชนะได้กับที่ไม่อาจทำได้
และบรรดาความขัดแย้งที่จะต้องต่อสู้อย่างหนักหน่วงเพื่อจะเอาชนะให้ได้” -อดีตนายกรัฐมนตรี
ชวน หลีกภัย
เอสซีแอลเสริมคำของนายชวนด้วยข้อความประชาสัมพันธ์ประสิทธิภาพของบริษัทตอนหนึ่งว่า
“...เอสซีแอลแผนกเลือกตั้งสามารถที่จะวินิจฉัยความประพฤติของผู้ออกเสียงเลือกตั้งชาวไทยได้อย่างถูกต้อง
ลงไปถึงในระดับเขตเลือกตั้ง อันเป็นผลให้ลูกค้าของเราประหยัดรายจ่ายในการรณรงค์หาเสียง
ด้วยการใช้งบประมาณเจาะจงลงไปยังเป้าหมายได้แม่นยำ...”
การนี้เว็บ blognone.com สันนิษฐานว่า “SCL อาจเข้ามาทำแคมเปญการเลือกตั้งให้นายชวนและพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งปี
1996 (2539)” ก็ได้