ไม่อยากเป็นผู้เสียสละ ปากคำชาวบ้านทุ่งรับน้ำ
By กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
31 ตุลาคม 2560
เปิดปากคำชาวบ้านทุ่งรับน้ำเจ้าพระยาเดือดร้อนหนักท่วมนานเกิน 6เดือนขณะที่ค่าชดเชยแค่ไร่ละ1000 บาท ลั่นไม่อยากเป็นผู้เสียสละ เรียกร้องบริหารจัดการเฉลี่ยน้ำกระจายไปให้พื้นที่อื่น
พล เอก ประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมาขอบคุญชาวบ้านอ่างทอง ที่เป็นพื้นที่รับน้ำ ขณะที่ พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็อออกมายอมรับว่า ปริมาณน้ำในปีนี้ใกล้เคียงกับเหตุการณ์น้ำท่วม ใหญ่เมื่อปี 2554 มีปริมาณน้ำฝนรวมสะสมที่ 1,798 มิลลิเมตร
แต่ในปีนี้เตรียมการบริหารจัดการเอาไว้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 60 เป็นต้นมา กรมชลประทานเริ่มระบายน้ำเข้า 12 ทุ่งเจ้าพระยา นับตั้งแต่ใต้จังหวัดนครสวรรค์ เริ่มจาก ทุ่งเชียงราก จ.สิงห์บุรี ทุ่งฝั่งซ้าย ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งป่าโมก จ.อ่างทอง
ส่วนจ.พระนครศรีอยุธยา ทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด ทุ่งพระยาบรรลือ ทุ่งโพธิ์พระยา ทุ่งบางบาล และ ปทุมธานี ที่ทุ่งรังสิตใต้ โดยปัจจุบันทั้ง12ทุ่งรับน้ำเต็มทั้งหมดมีปริมาณน้ำ 1,300 ล้านลบ.ม.
ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่รับน้ำ กลายเป็นผู้เสียสละรับน้ำเพื่อป้องกันน้ำเข้าท่วมกรุงเทพฯมานานกว่า 6เดือน กองบรรณาธิการวอยซ์ทีวี ออนไลน์ ลงพื้นที่เพื่อสำรวจความเป็นอยู่ของชาวบ้านในทุ่งรับน้ำบางบาล ที่ ต.บางชะนี อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งชาวบ้านบอกไม่ต้องการเสียสละเพราะลำบากและเดือดร้อนมากเกินไป
คนบางบาล ไม่อยากเสียสละ
พื้นที่รับน้ำทุ่งบางบาล ถือเป็นด่านสุดท้ายในการป้องกันน้ำท่วมของ ลุ่มเจ้าพระยาเพื่อป้องกันเขตเมือง และ กรุงเทพฯ ก่อนระบายออกไปฝั่งตะวันตก ท่าจีน ออกทะเล ดังนั้น คนบางบาลจึงต้องกลาย “ผู้เสียสละ” เป็นพื้นที่รับน้ำ เพื่อป้องกันเมือง
รสสุคนธ์ งามจั่นศรี เกษตกรในพื้นที่ ต.บางชะนี อ.บางบาล เป็นพื้นที่รับน้ำ บอกว่า ไม่ได้อยากเป็นผู้เสียสละ เพราะการเป็นเกษตกรในพื้นที่รับน้ำลำบากมาก ปีนี้บ้านของเธอและพื้นที่เกษตกรจมน้ำมาแล้ว6 ครั้ง แม้จะอยู่ในคันกั้นน้ำ
“คนกรุงเทพฯขอบคุณคนบางบาลว่า เสียสละช่วยรับน้ำไว้ แต่ไม่มีใครมาถามคนบางบาลว่าเต็มใจเสียสละหรือเปล่า”
รสสุคนธ์ ไม่อยากเป็นผู้เสียสละ เพราะตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมาไม่เคยมีใครมาถามว่าต้องการเป็นพื้นที่รับน้ำหรือไม่ มีเพียงความสับสนอย่างไม่เป็นทางการที่บอกว่า บ้านของเธอ เป็นพื้นที่แก้มลิง พื้นที่สำรองแก้มลิง จนล่าสุดพึ่งรับรู้จากคนภายนอกว่า เป็นพื้นที่รับน้ำ
“ไม่เคยชัดเจนเลยสักครั้งว่า บางบาลเป็นพื้นที่อะไรกันแน่ ตอนแรกบอกว่าเป็นที่สำรองแก้มลิง ต่อมาบอกว่าเป็นพื้นที่แก้มลิง จนตอนนี้มีคนบอกว่าเป็นพื้นที่รับน้ำ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยได้รับการชี้แจง”
เช่นเดียวกับ รุ่งฟ้า ผึ้งไม้ ชาวบ้านนอกคันกั้นน้ำ ต.บางชะนี อ. บางบาล บอกว่า ชาวบางบาลรับรู้กันเองว่าเป็นพื้นที่รับน้ำไม่เคยได้รับคำชี้แจงจากหน่วยงานรัฐที่ชัดเจน บางบาลเป็นพื้นที่รับน้ำ
แม้เธอจะยอมรับว่า บ้านของเธอเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำต้องไหล แต่การที่น้ำมาพักที่ บางบาลนานเกินไป ก็สร้างความเสียหายจนอยากให้พื้นที่อื่นๆรับน้ำเฉลี่ยๆความเดือดร้อนออกไปบ้าง
“ ถ้าเป็นไปได้อยากให้พื้นที่อื่นๆแบ่งเบารับน้ำไปจากคนบางบาลบ้าง เพราะปีนี้ท่วมนานกว่าทุกปี”
ระดับน้ำเท่าปี54แต่ท่วมนาน 6 เดือน
ระดับน้ำปีนี้จะใกล้เคียงกับปี 2554เพราะห่างกันประมาณ 1 ฟุต แต่ปีนี้ ชาวบางบาลต้องรับน้ำนานกว่าทุกครั้ง โดยปีนี้ระดับน้ำขึ้นลงตั้งแต่ 1.5 เมตร ไปจนถึง 2 เมตร มาแล้วกว่า 6 ครั้งนับตั้งแต่ เดือนมิถุนายน จนถึง ตุลาคม 2560
สนอง นัยยุติ อายุ 83 ปี ซึ่งเกิดและโตที่นี้ บอกว่า ตอนอายุ 8 ขวบน้ำท่วมใหญ่บางบาลในปี 2485 แต่ลักษณะท่วมแล้วก็ระบายออกไปเลย เหมือนน้ำก็ผ่นลงไปทะเลแต่ไม่ได้ขังนานเหมือนเช่นกันปัจจุบัน
แม้แต่ปี2554 ปริมาณน้ำมาก แต่ก็ท่วมแค่ 3เดือนแล้วน้ำก็หมด แต่ปีนี้ น้ำท่วมขึ้นๆลงๆมาแล้ว 6 ครั้ง กว่า 6 เดือนแล้ว ครั้งแรกน้ำมาถึง ทุ่งบางบาลประมาณ เดือนสิงหาคมระดับน้ำที่ปล่อยเข้ามา 1,500 ลบ.ม. ในเดือนเดือน กันยายน อีก 3 รอบ และล่าสุดเดือนตุลาคม 2 รอบคือ วันที่ 22 ต.ค. และวันที่ 27 ต.ค. ระดับการปล่อยน้ำอยู่ที่ 2,700 ลบ.ม.
รุ่งฟ้า บอกว่าปีนี้น้ำท่วมหลายรอบทำใหเธอต้องขัดบ้านหลายครั้งและครั้งสุดท้ายคิดว่า น้ำหมดแล้วแต่ก็ปล่อยมาแบบไม่รู้ตัวในวันที่ 27 ตุลาคม และครั้งนี้ระดับสูง มาอย่างรวดเร็วทำให้เก็บข้าวของไม่ทัน
ขณะที่ ประเวช สุขพอดี เจ้าพนักงานป้องกันปฏิบัติงาน เทศบาลตำบลบางบาล ยอมรับว่าระดับน้ำปีนี้ใกล้เคียงกับปี 2554 โดยระดับน้ำปีนี้ต่ำกว่าประมาณ 3 เซ็นติเมตร ซึ่งส่วนใหญ่น้ำถูกระบายลงทุ่งทั้งหมดทำให้บริหารจัดการได้ไม่ยาก แต่อาจจะท่วมนานกว่าทุกครั้ง
“ปีนี้น้ำที่ปล่อยจากเขื่อนเจ้าพระยาจะไล่ระดับลงมาตั้งแต่ 1,500 ลบ.ม. ตั้งแต่เดือน ก.ค. จนถึงปัจจุบัน ซึ่งครั้งล่าสุดในเดือนต.ค.ปล่อยมากที่สุดประมาณ 2,600 ลบ.ม.
หากประมวลระยะเวลาน้ำท่วมที่ผ่านมาพบว่าปีนี้น้ำท่วมบางบาลนาน 5-6 เดือน ขณะที่ปี 2554 ระยะเวลา 3 เดือน ปี2538 ระยะเวลา 3 เดือนเช่นกัน
ประเวช บอกว่า ในปีนี้น้ำที่ระบายเข้าทุ่งบางบาล ต้องใช้เวลาในระบายน้ำออกประมาณ 1 เดือน คาดว่าภายในเดือน พ.ย. นี้น้ำจึงจะแห้งทั้งหมด
ค่าชดเชยไม่คุ้มกับความเสียสละ
การเป็นคนในพื้นที่รับน้ำ นอกจากต้องทำใจแล้ว ยังต้องปรับวิถีชีวิต เพื่อช่วยเหลือตัวเอง โดยทุกบ้านนอกจากมีรถยนต์แล้ว ต้องมีเรือประจำบ้านเพื่อใช้สัญจรกันเองในช่วงน้ำท่วมที่มักจะมาทุกปี
นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ตื่นตัวในการับรู้ข่าวสาร ในการทำเกษตร ที่ต้องปรับตัวตามระยะเวลาการปล่อยน้ำ
รสสุคนธ์ งามจั่นศรี บอกว่า การเป็นคนในพื้นที่รับน้ำ ยากและเหนื่อยเพราะต้องช่วยเหลือตัวเอง ค่อยฟังข่าวสารว่าต้องทำนาและเร่งเก็บเกี่ยวกันอย่างไร โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ประชาสัมพันธ์
“ เราจะรู้จากการฟังข่าวว่าปีนี้น้ำจะมาจะน้อย แล้วต้องเร่งปลูกข้าวยังไงบ้าง ถ้าไม่รู้เรื่องเก็บเกี่ยวไม่ทันปล่อยน้ำมาก็ท่วมเสียหาย “
เหมือนเช่นกับปีนี้ เจ้าหน้าที่บอกเธอว่า น้ำไม่มาก ทำให้เธอลงมะนาว 70 ต้น กล้วย หอม300 ต้น กล้วยน้ำหว้า 500 ต้นซึ่งทั้งหมด น้ำท่วมเสียหาย โดยที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะได้ค่าชดเชยเท่าไร่
เจ้าหน้าที่บอกว่าจะได้ค่าชดเชยประมาณไร่ละ 1,000 บาท แต่ต้องมีคนเซ็นรับรองความเสียหายทั้งหมด 6 คน คือเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล กำนัน ผอ.โรงพยาบาลตำบล เทศบาลตำบลบางบาล
“ ตอนนี้ชาวบ้านไม่อยากได้ค่าชดเชยเพราะว่าเสียเวลามากกว่าจะไปหาคนมาเซ็นรับรองได้ทั้งหมด 6 คนต้องเสียเวลาไปหาใช้ค่าเดินทางมากกว่าค่าชดเชยทำให้หลายคนถอดใจไม่รับค่าชดเชย “
เธอบอกว่า มันไม่คุ้มกันเลยที่จะเสียสละเป็นพื้นที่รับน้ำเพราะว่าต้องเสียโอกาสประกอบอาชีพไปเป็นจำนวนมากโดยที่เรียกร้องกับใครไม่ได้นอกจากต้องยอมรับมัน
รุ่งฟ้าบอกเช่นกันว่า ตั้งแต่น้ำท่วมมาเธอได้รับถุงยังชีพ 3 รอบ บ้านของเธอมีที่ดินไม่ถึงไร่ประมาณ 29 ตารางวา ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขรับค่าชดเชยการทำเกษตรกรรม แม้ว่าจะมีพืชสวนครัวที่ปลูกเอาไว้กิน เช่นพริก มะเขือ กล้วย และมะละกอก็ตาม
“ ไม่เคยได้รับการแจ้งเตือนหรือชดเชยเพราะเหมือนเขาบอกว่าเป็นพื้นที่น้ำท่วมอยู่แล้ว อาจจะได้ค่าบ้านเสียหายแต่คงไม่มากนัก “ รุ่งฟ้าบอก
หากเป็นไปได้ รุ่งฟ้า ไม่อยากเป็นพื้นที่รับน้ำ อยากขอเป็นเพียงพื้นที่น้ำผ่าน เพราะที่เคยรับน้ำก็เดือดร้อนกันมากเกินกว่าจะรับได้แล้ว
ส่วนเจ้าหน้าที่เทศบาลก็ยอมรับว่าค่าชดเชยต้องเป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด ส่วนจะเพิ่มขึ้นหรือมีค่าชดเชยพิเศษมากขึ้นหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล เพราะที่ผ่านมาเทศบาลได้ช่วยเหลือเท่ากับศักยภาพที่หน่วยงานท้องถิ่นได้ดำเนินการอย่างดีที่สุดแล้ว
เปิดปากคำชาวบ้านทุ่งรับน้ำเจ้าพระยาเดือดร้อนหนักท่วมนานเกิน 6เดือนขณะที่ค่าชดเชยแค่ไร่ละ1000 บาท ลั่นไม่อยากเป็นผู้เสียสละ เรียกร้องบริหารจัดการเฉลี่ยน้ำกระจายไปให้พื้นที่อื่น
พล เอก ประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมาขอบคุญชาวบ้านอ่างทอง ที่เป็นพื้นที่รับน้ำ ขณะที่ พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็อออกมายอมรับว่า ปริมาณน้ำในปีนี้ใกล้เคียงกับเหตุการณ์น้ำท่วม ใหญ่เมื่อปี 2554 มีปริมาณน้ำฝนรวมสะสมที่ 1,798 มิลลิเมตร
แต่ในปีนี้เตรียมการบริหารจัดการเอาไว้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 60 เป็นต้นมา กรมชลประทานเริ่มระบายน้ำเข้า 12 ทุ่งเจ้าพระยา นับตั้งแต่ใต้จังหวัดนครสวรรค์ เริ่มจาก ทุ่งเชียงราก จ.สิงห์บุรี ทุ่งฝั่งซ้าย ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งป่าโมก จ.อ่างทอง
ส่วนจ.พระนครศรีอยุธยา ทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด ทุ่งพระยาบรรลือ ทุ่งโพธิ์พระยา ทุ่งบางบาล และ ปทุมธานี ที่ทุ่งรังสิตใต้ โดยปัจจุบันทั้ง12ทุ่งรับน้ำเต็มทั้งหมดมีปริมาณน้ำ 1,300 ล้านลบ.ม.
ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่รับน้ำ กลายเป็นผู้เสียสละรับน้ำเพื่อป้องกันน้ำเข้าท่วมกรุงเทพฯมานานกว่า 6เดือน กองบรรณาธิการวอยซ์ทีวี ออนไลน์ ลงพื้นที่เพื่อสำรวจความเป็นอยู่ของชาวบ้านในทุ่งรับน้ำบางบาล ที่ ต.บางชะนี อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งชาวบ้านบอกไม่ต้องการเสียสละเพราะลำบากและเดือดร้อนมากเกินไป
คนบางบาล ไม่อยากเสียสละ
พื้นที่รับน้ำทุ่งบางบาล ถือเป็นด่านสุดท้ายในการป้องกันน้ำท่วมของ ลุ่มเจ้าพระยาเพื่อป้องกันเขตเมือง และ กรุงเทพฯ ก่อนระบายออกไปฝั่งตะวันตก ท่าจีน ออกทะเล ดังนั้น คนบางบาลจึงต้องกลาย “ผู้เสียสละ” เป็นพื้นที่รับน้ำ เพื่อป้องกันเมือง
รสสุคนธ์ งามจั่นศรี เกษตกรในพื้นที่ ต.บางชะนี อ.บางบาล เป็นพื้นที่รับน้ำ บอกว่า ไม่ได้อยากเป็นผู้เสียสละ เพราะการเป็นเกษตกรในพื้นที่รับน้ำลำบากมาก ปีนี้บ้านของเธอและพื้นที่เกษตกรจมน้ำมาแล้ว6 ครั้ง แม้จะอยู่ในคันกั้นน้ำ
“คนกรุงเทพฯขอบคุณคนบางบาลว่า เสียสละช่วยรับน้ำไว้ แต่ไม่มีใครมาถามคนบางบาลว่าเต็มใจเสียสละหรือเปล่า”
รสสุคนธ์ ไม่อยากเป็นผู้เสียสละ เพราะตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมาไม่เคยมีใครมาถามว่าต้องการเป็นพื้นที่รับน้ำหรือไม่ มีเพียงความสับสนอย่างไม่เป็นทางการที่บอกว่า บ้านของเธอ เป็นพื้นที่แก้มลิง พื้นที่สำรองแก้มลิง จนล่าสุดพึ่งรับรู้จากคนภายนอกว่า เป็นพื้นที่รับน้ำ
“ไม่เคยชัดเจนเลยสักครั้งว่า บางบาลเป็นพื้นที่อะไรกันแน่ ตอนแรกบอกว่าเป็นที่สำรองแก้มลิง ต่อมาบอกว่าเป็นพื้นที่แก้มลิง จนตอนนี้มีคนบอกว่าเป็นพื้นที่รับน้ำ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยได้รับการชี้แจง”
เช่นเดียวกับ รุ่งฟ้า ผึ้งไม้ ชาวบ้านนอกคันกั้นน้ำ ต.บางชะนี อ. บางบาล บอกว่า ชาวบางบาลรับรู้กันเองว่าเป็นพื้นที่รับน้ำไม่เคยได้รับคำชี้แจงจากหน่วยงานรัฐที่ชัดเจน บางบาลเป็นพื้นที่รับน้ำ
แม้เธอจะยอมรับว่า บ้านของเธอเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำต้องไหล แต่การที่น้ำมาพักที่ บางบาลนานเกินไป ก็สร้างความเสียหายจนอยากให้พื้นที่อื่นๆรับน้ำเฉลี่ยๆความเดือดร้อนออกไปบ้าง
“ ถ้าเป็นไปได้อยากให้พื้นที่อื่นๆแบ่งเบารับน้ำไปจากคนบางบาลบ้าง เพราะปีนี้ท่วมนานกว่าทุกปี”
ระดับน้ำเท่าปี54แต่ท่วมนาน 6 เดือน
ระดับน้ำปีนี้จะใกล้เคียงกับปี 2554เพราะห่างกันประมาณ 1 ฟุต แต่ปีนี้ ชาวบางบาลต้องรับน้ำนานกว่าทุกครั้ง โดยปีนี้ระดับน้ำขึ้นลงตั้งแต่ 1.5 เมตร ไปจนถึง 2 เมตร มาแล้วกว่า 6 ครั้งนับตั้งแต่ เดือนมิถุนายน จนถึง ตุลาคม 2560
สนอง นัยยุติ อายุ 83 ปี ซึ่งเกิดและโตที่นี้ บอกว่า ตอนอายุ 8 ขวบน้ำท่วมใหญ่บางบาลในปี 2485 แต่ลักษณะท่วมแล้วก็ระบายออกไปเลย เหมือนน้ำก็ผ่นลงไปทะเลแต่ไม่ได้ขังนานเหมือนเช่นกันปัจจุบัน
แม้แต่ปี2554 ปริมาณน้ำมาก แต่ก็ท่วมแค่ 3เดือนแล้วน้ำก็หมด แต่ปีนี้ น้ำท่วมขึ้นๆลงๆมาแล้ว 6 ครั้ง กว่า 6 เดือนแล้ว ครั้งแรกน้ำมาถึง ทุ่งบางบาลประมาณ เดือนสิงหาคมระดับน้ำที่ปล่อยเข้ามา 1,500 ลบ.ม. ในเดือนเดือน กันยายน อีก 3 รอบ และล่าสุดเดือนตุลาคม 2 รอบคือ วันที่ 22 ต.ค. และวันที่ 27 ต.ค. ระดับการปล่อยน้ำอยู่ที่ 2,700 ลบ.ม.
รุ่งฟ้า บอกว่าปีนี้น้ำท่วมหลายรอบทำใหเธอต้องขัดบ้านหลายครั้งและครั้งสุดท้ายคิดว่า น้ำหมดแล้วแต่ก็ปล่อยมาแบบไม่รู้ตัวในวันที่ 27 ตุลาคม และครั้งนี้ระดับสูง มาอย่างรวดเร็วทำให้เก็บข้าวของไม่ทัน
ขณะที่ ประเวช สุขพอดี เจ้าพนักงานป้องกันปฏิบัติงาน เทศบาลตำบลบางบาล ยอมรับว่าระดับน้ำปีนี้ใกล้เคียงกับปี 2554 โดยระดับน้ำปีนี้ต่ำกว่าประมาณ 3 เซ็นติเมตร ซึ่งส่วนใหญ่น้ำถูกระบายลงทุ่งทั้งหมดทำให้บริหารจัดการได้ไม่ยาก แต่อาจจะท่วมนานกว่าทุกครั้ง
“ปีนี้น้ำที่ปล่อยจากเขื่อนเจ้าพระยาจะไล่ระดับลงมาตั้งแต่ 1,500 ลบ.ม. ตั้งแต่เดือน ก.ค. จนถึงปัจจุบัน ซึ่งครั้งล่าสุดในเดือนต.ค.ปล่อยมากที่สุดประมาณ 2,600 ลบ.ม.
หากประมวลระยะเวลาน้ำท่วมที่ผ่านมาพบว่าปีนี้น้ำท่วมบางบาลนาน 5-6 เดือน ขณะที่ปี 2554 ระยะเวลา 3 เดือน ปี2538 ระยะเวลา 3 เดือนเช่นกัน
ประเวช บอกว่า ในปีนี้น้ำที่ระบายเข้าทุ่งบางบาล ต้องใช้เวลาในระบายน้ำออกประมาณ 1 เดือน คาดว่าภายในเดือน พ.ย. นี้น้ำจึงจะแห้งทั้งหมด
ค่าชดเชยไม่คุ้มกับความเสียสละ
การเป็นคนในพื้นที่รับน้ำ นอกจากต้องทำใจแล้ว ยังต้องปรับวิถีชีวิต เพื่อช่วยเหลือตัวเอง โดยทุกบ้านนอกจากมีรถยนต์แล้ว ต้องมีเรือประจำบ้านเพื่อใช้สัญจรกันเองในช่วงน้ำท่วมที่มักจะมาทุกปี
นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ตื่นตัวในการับรู้ข่าวสาร ในการทำเกษตร ที่ต้องปรับตัวตามระยะเวลาการปล่อยน้ำ
รสสุคนธ์ งามจั่นศรี บอกว่า การเป็นคนในพื้นที่รับน้ำ ยากและเหนื่อยเพราะต้องช่วยเหลือตัวเอง ค่อยฟังข่าวสารว่าต้องทำนาและเร่งเก็บเกี่ยวกันอย่างไร โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ประชาสัมพันธ์
“ เราจะรู้จากการฟังข่าวว่าปีนี้น้ำจะมาจะน้อย แล้วต้องเร่งปลูกข้าวยังไงบ้าง ถ้าไม่รู้เรื่องเก็บเกี่ยวไม่ทันปล่อยน้ำมาก็ท่วมเสียหาย “
เหมือนเช่นกับปีนี้ เจ้าหน้าที่บอกเธอว่า น้ำไม่มาก ทำให้เธอลงมะนาว 70 ต้น กล้วย หอม300 ต้น กล้วยน้ำหว้า 500 ต้นซึ่งทั้งหมด น้ำท่วมเสียหาย โดยที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะได้ค่าชดเชยเท่าไร่
เจ้าหน้าที่บอกว่าจะได้ค่าชดเชยประมาณไร่ละ 1,000 บาท แต่ต้องมีคนเซ็นรับรองความเสียหายทั้งหมด 6 คน คือเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล กำนัน ผอ.โรงพยาบาลตำบล เทศบาลตำบลบางบาล
“ ตอนนี้ชาวบ้านไม่อยากได้ค่าชดเชยเพราะว่าเสียเวลามากกว่าจะไปหาคนมาเซ็นรับรองได้ทั้งหมด 6 คนต้องเสียเวลาไปหาใช้ค่าเดินทางมากกว่าค่าชดเชยทำให้หลายคนถอดใจไม่รับค่าชดเชย “
เธอบอกว่า มันไม่คุ้มกันเลยที่จะเสียสละเป็นพื้นที่รับน้ำเพราะว่าต้องเสียโอกาสประกอบอาชีพไปเป็นจำนวนมากโดยที่เรียกร้องกับใครไม่ได้นอกจากต้องยอมรับมัน
รุ่งฟ้าบอกเช่นกันว่า ตั้งแต่น้ำท่วมมาเธอได้รับถุงยังชีพ 3 รอบ บ้านของเธอมีที่ดินไม่ถึงไร่ประมาณ 29 ตารางวา ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขรับค่าชดเชยการทำเกษตรกรรม แม้ว่าจะมีพืชสวนครัวที่ปลูกเอาไว้กิน เช่นพริก มะเขือ กล้วย และมะละกอก็ตาม
“ ไม่เคยได้รับการแจ้งเตือนหรือชดเชยเพราะเหมือนเขาบอกว่าเป็นพื้นที่น้ำท่วมอยู่แล้ว อาจจะได้ค่าบ้านเสียหายแต่คงไม่มากนัก “ รุ่งฟ้าบอก
หากเป็นไปได้ รุ่งฟ้า ไม่อยากเป็นพื้นที่รับน้ำ อยากขอเป็นเพียงพื้นที่น้ำผ่าน เพราะที่เคยรับน้ำก็เดือดร้อนกันมากเกินกว่าจะรับได้แล้ว
ส่วนเจ้าหน้าที่เทศบาลก็ยอมรับว่าค่าชดเชยต้องเป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด ส่วนจะเพิ่มขึ้นหรือมีค่าชดเชยพิเศษมากขึ้นหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล เพราะที่ผ่านมาเทศบาลได้ช่วยเหลือเท่ากับศักยภาพที่หน่วยงานท้องถิ่นได้ดำเนินการอย่างดีที่สุดแล้ว