JVPWIEN
นายเซบาสเตียน คูร์ซ ระหว่างการหาเสียงเมื่อปี 2011
ผู้นำประเทศรุ่นเยาว์ก้าวขึ้นสู่อำนาจกันอย่างไร ?
18 ตุลาคม 2017
BBC Thai
ด้วยวัยเพียง 31 ปี นายเซบาสเตียน คูร์ซ ฉายา "หนุ่มน้อยมหัศจรรย์" (Wunderwuzzi ) ได้ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของออสเตรีย กระทบไหล่กับบรรดาผู้นำอายุน้อยหลายคนที่ทยอยกันเข้าสู่ทำเนียบผู้นำประเทศบ่อยครั้งขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
แต่หลายคนก็ยังสงสัยว่า พวกคนหนุ่มหน้าตาดีที่ดูเหมือนยังอยู่ในวัยไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมเหล่านี้ สามารถสร้างความน่าเชื่อถือ เอาชนะใจผู้คน และฟันฝ่าเกมการเมืองของคนรุ่นอาวุโสมาได้อย่างไร ?
ทะเยอทะยานอย่างก้าวกระโดด
ผู้นำวัยหนุ่มนั้นต่างมีความมุ่งมั่นที่จะ "กระโดดค้ำถ่อ" ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุด โดยไม่สนใจต่อระบบระเบียบเชิงสถาบัน ลำดับอาวุโส หรือการรอคอยตามลำดับขั้นอย่างไร้จุดหมาย แต่จะรู้จักมองหาโอกาสนอกกรอบดั้งเดิม และกล้านำการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันที
ในจำนวนนี้หลายคนมีบทบาทในการปฏิรูปพรรคเก่าแก่หรือก่อตั้งพรรคใหม่ เช่น ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง วัย 39 ปีของฝรั่งเศส ไม่ยอมอยู่ในพรรคสังคมนิยมต่อไปและได้ออกมาก่อตั้งพรรคอองมาร์ช (เดินหน้า) ของตนเอง ซึ่งต่อมาหลังชนะการเลือกตั้งเขาได้เปลี่ยนชื่อพรรคอีกครั้งเป็น ลา รีพุบลิก ออง มาร์ช (สาธารณรัฐเดินหน้า)
นายจัสติน ทรูโด (ซ้าย) และนายเอ็มมานูเอล มาครง (ขวา) จับมือกันในการประชุมสุดยอดจี 7
ส่วนนายมัตเตโอ เรนซี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ซึ่งขึ้นเป็นผู้นำประเทศเมื่อปี 2014 ขณะอยู่ในวัย 39 ปี ไม่เคยผ่านการเป็นสมาชิกรัฐสภามาก่อนและยังถือว่าอ่อนประสบการณ์ในเวทีการเมืองระดับชาติ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่สำคัญสำหรับเขา เช่นเดียวกับนายทาวี รูยวาส อดีตนายกรัฐมนตรีเอสโตเนียระหว่างปี 2014-2016 ซึ่งขณะขึ้นดำรงตำแหน่งมีอายุเพียง 38 ปีเท่านั้น
ส่วนนายมัตเตโอ เรนซี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ซึ่งขึ้นเป็นผู้นำประเทศเมื่อปี 2014 ขณะอยู่ในวัย 39 ปี ไม่เคยผ่านการเป็นสมาชิกรัฐสภามาก่อนและยังถือว่าอ่อนประสบการณ์ในเวทีการเมืองระดับชาติ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่สำคัญสำหรับเขา เช่นเดียวกับนายทาวี รูยวาส อดีตนายกรัฐมนตรีเอสโตเนียระหว่างปี 2014-2016 ซึ่งขณะขึ้นดำรงตำแหน่งมีอายุเพียง 38 ปีเท่านั้น
นักการเมืองหนุ่มวัย 31 ปี ตัวเก็งผู้นำคนใหม่ออสเตรีย
นายกฯ แคนาดาพาลูก 3 ขวบมาทำงานด้วย
การที่คนหนุ่มเหล่านี้สามารถชนะใจผู้คนและโกยคะแนนเสียงในการเลือกตั้งมาได้อย่างท่วมท้น แสดงว่าประชาชนกำลังมองหาบางสิ่งบางอย่างจากนักการเมือง ที่มากไปกว่าประสบการณ์ที่เจนจัดเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นความสดใหม่และการมีบุคลิกโดดเด่นไม่เหมือนใคร รวมทั้งการมีวาทศิลป์จูงใจที่ใช้คำพูดใหม่ ๆ ไม่ซ้ำซากจำเจอีกด้วย
กล้าเปลี่ยนแปลงและใส่ใจภาพลักษณ์
ในกรณีของ "หนุ่มน้อยมหัศจรรย์" เซบาสเตียน คูร์ซ เขาให้ความสำคัญกับรายละเอียดในเรื่องภาพลักษณ์ของผู้นำและพรรคการเมืองอย่างมาก โดยพยายามเปลี่ยนแปลง "พรรคของประชาชน" ที่เขาสังกัดอยู่ให้กลายเป็น "พรรคของประชาชนใหม่" หลายครั้ง เช่นในการเลือกตั้งปี 2011 นายคูร์ซได้ลงทุนถ่ายทำโปสเตอร์รณรงค์หาเสียงให้ดูถูกใจวัยรุ่น โดยเขาขึ้นไปนั่งบนฝากระโปรงหน้ารถยนต์ มีข้อความเขียนว่า "สีดำเจ๋ง" (Black is Cool ) ซึ่งสีดำก็คือสีประจำพรรคของเขานั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเขาลงสนามในศึกเลือกตั้งครั้งล่าสุด เขากล้าที่จะลงทุนเปลี่ยนภาพลักษณ์ของพรรคอีกครั้ง โดยคราวนี้เปลี่ยนสีประจำพรรคมาเป็นสีฟ้าน้ำทะเล เพื่อให้ดูมีความสงบมั่นคงและน่าเชื่อถือมากขึ้น แต่ก็ไม่ดูคร่ำครึจนเกินไป
นักวิจารณ์การเมืองบางคนมองว่า การวางตัวและการแต่งกายของนายคูร์ซในแบบ "สมาร์ตแคชวล" ที่ดูประณีตและสุภาพแต่ก็ไม่เคร่งขรึมเป็นทางการนัก ทำให้เขาดูแตกต่างจากนักการเมืองรุ่นเก่าอย่างสิ้นเชิง ซึ่งผู้นำรุ่นใหม่อย่างนายกรัฐมนตรีอิตาลีและนายกรัฐมนตรีแคนาดาก็แต่งกายเช่นนี้
GETTY IMAGES
นายมัตเตโอ เรนซี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ชอบสวมแจ็กเก็ตหนัง
นางโซฟี แกสตัน รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาเชิงนโยบายเดมอสในสหราชอาณาจักร บอกว่าผู้นำรุ่นเยาว์เหล่านี้ได้แสดงให้เห็นว่ามีความเข้าใจต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในการรณรงค์หาเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเชื่อมต่อสื่อสารกับผู้มีสิทธิ์ออกเสียงได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเกิดเหตุวิกฤตการเงินในปี 2008 ที่ผู้คนพากันเบื่อระอาและปฏิเสธการเมืองแบบเดิม ๆ
"ผู้นำอายุน้อยเหล่านี้มักเป็นผู้นำการปฏิรูปต่าง ๆ เช่นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของพรรคหรือนโยบายที่หลากหลาย ซึ่งทำให้ผู้คนมีความเชื่อมั่นว่า พวกเขาคือเลือดใหม่ที่ไม่แปดเปื้อนด้วยสายสัมพันธ์ที่ยึดโยงกับกลุ่มผู้ครองอำนาจเก่า" นางแกสตันกล่าว
AFP
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กำลังเล่นบาสเก็ตบอล
ผู้นำที่ยังหนุ่มหลายคน ชอบแสดงออกถึงภาพลักษณ์อีกด้านที่เป็นนักกีฬาด้วย เช่นภาพถ่ายอันโด่งดังของอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา ที่กำลังเล่นบาสเก็ตบอล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความปราดเปรียวแข็งแกร่งและสื่อถึงโอกาสของความสำเร็จในอนาคต
การโฆษณาประชาสัมพันธ์คือหัวใจของทุกอย่างจริงหรือ ?
ดูเหมือนว่าผู้นำรุ่นเยาว์จะพุ่งทะยานแซงหน้าคนรุ่นเก่า ๆ ไปด้วยความได้เปรียบเรื่องภาพลักษณ์เป็นสำคัญ แต่ก็น่าสงสัยว่าแนวโน้มแบบนี้จะทำให้การเมืองเต็มไปด้วยเรื่องการแข่งขันสร้างภาพ มากกว่าจะสนใจกันตรงเนื้อหาสาระที่แท้จริงหรือไม่ ?
REUTERS
ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ร่วมเล่นวีลแชร์เทนนิส
นางคาดรี ลีก ผู้เชี่ยวชาญการเมืองเอสโตเนียประจำสภายุโรปแสดงความเห็นว่า "พวกเขาดูดี แต่จะดีเหมือนเนื้อแท้ข้างในสักเท่าไหร่กัน ? พวกเขาอาจกลายเป็นนักการเมืองแบบเดวิด คาเมรอน คือบุคลิกดูดี พูดจาดี มีเจตนาดี แต่ขาดความตั้งใจจริงจังก็เป็นได้"
"น่ากลัวว่าต่อไปผู้คนจะคล้อยตามกันว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตขึ้นอยู่กับการโฆษณาประชาสัมพันธ์เท่านั้น ทั้งเรื่องประสิทธิภาพ ผลงาน และการเมืองระบบพรรค" นางลีกกล่าว
ooo