ที่ลือๆ กันอยู่ช่วงนี้น่ะ ‘นิกเคอิ’ เขาคอนเฟิร์มแล้ว ‘บูรพาพยัคฆ์’ ส่งไม้ต่อให้ ‘วงศ์เทวัญ’
ครองบ้านครองเมืองสู่อสงไขย
“ทหารรักษาพระองค์ (วงศ์เทวัญ) รวบตำแหน่งผู้นำกองทัพขณะรัฐบาลฮุนต้ากระชับอำนาจแน่นต่อไป”
เป็นพาดหัวรองของบทความในวารสารนิกเคอิ เอเซียน รีวิว ที่เจาะจงถึงการครองอำนาจทางการเมืองโดยคณะทหารไทย
ล้วนๆ เรื่อง ‘Thai Military Maneuvers to Stay on Top’
มาร์วาน เมแคน-มาร์การ์ ผู้สื่อข่าวประจำภาคพื้นเอเซียของนิกเคอิอ้างถึงการแต่งตั้งและโยกย้ายนายทหาร
๙๙๐ นาย ประจำปี ที่เพิ่งประกาศออกมาในเดือนกันยานี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงอันสำคัญเมื่อ
พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ได้รับการต่ออายุราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกอีก ๑ ปี
นอกเหนือจากว่านี่จะเป็นครั้งแรกที่พระเจ้าอยู่หัวมหาจุฬาลงกรณ์จะทรงโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งนายทหารในรัชสมัยของพระองค์แล้ว นักวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นว่า “เป็นการกลับมาสู่สถานะอันทรงอำนาจของหน่วยทหารรักษาพระองค์
หรือ พล.๑ รอ. แห่งกองทัพภาคที่ ๑ ซึ่งควบคุมพื้นที่กรุงเทพฯ”
มาร์วานระบุด้วยว่านักวิเคราะห์แนะให้จับตาดู พล.อ.อภิรัชต์
คงสมพงษ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและแม่ทัพภาคที่ ๑ “นายทหารสายเหยี่ยวในวงศ์เทวัญ”
ที่จ่อจะขึ้นเป็น ผบ.ทบ. ต่อจาก พล.อ.เฉลิมชัย
ในบทความยังกล่าวถึงการแบ่งเป็นสองพวกของระดับนำ ‘elites’ ในกองทัพไทย ฝ่าย รอ. หรือ King’s Guard เรียกว่าวงศ์เทวัญ
อีกฝ่าย Queen’s Guard เรียก ‘บูรพาพยัคฆ์’ ที่มาจากกองพลทหารราบที่ ๒ โดยเฉพาะในกรมทหารราบที่ ๒๑ รอ.
“นายทหารในสายการบังคับบัญชาเกือบทั้งหมด (อันประกอบด้วยนายพล
๑,๗๕๐ คน มากกว่าสหรัฐที่มีเพียง ๘๘๐ ตำแน่งในระดับนี้) ยกเว้นสองคนซึ่งพล.อ.เฉลิมชัยเป็นหนึ่งในนั้น
ล้วนเป็นพวกบูรพาพยัคฆ์มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗
กลุ่มนี้แหละที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดเลือกตั้งเมื่อปี ๒๕๕๗” บทความชี้
การขึ้นมาเป็น ผบ.ทบ. ของ พล.อ.เฉลิมชัยเมื่อปีที่แล้วเป็นสัญญานการ
‘สลับขา’ เปลี่ยนขั้วอำนาจ ซึ่งมายืนยันในการต่ออายุราชการครั้งนี้ว่า
“เขาจะเป็นมาตรวัดทิศทางการเมืองไทยในอนาคต นับแต่คณะรัฐประหาร...ได้ ‘ตีตรวน’ พรรคการเมืองเอาไว้หมดแล้ว”
“แนวโน้มทั่วไปในการแต่งตั้งนายทหารต่อจากนี้จะมีพวกคิงส์การ์ดเข้าสู่สายการบังคับบัญชามากขึ้นเรื่อยๆ”
พอล เชมเบอร์ นักวิชาการมหาวิทยาลัยนเรศวรให้ความเห็นกับนิกเคอิ “ถ้าอภิรัชต์ขึ้นมาต่อจากเฉลิมชัยในปี
๒๕๖๑ เขาจะได้อยู่ในตำแหน่ง ๒ ปี นานพอที่จะแต่งตั้งวงศ์เทวัญไว้เต็มระดับสูง”
บทความยังกล่าวถึงคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติที่
คสช.แต่งตั้งว่าเป็น ‘straitjacket’ หรือเสื้อรัดแขนไม่ให้ขยับได้
บวกกับการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ๒๕๐ คนโดย คสช.อีกเช่นกัน “ล้วนเป็นการวางแนวกำกับให้สามารถอยู่ในอำนาจต่อไปอีกยาว”
นิกเคอิอ้างคำของ กานต์ ยืนยง ผู้อำนวยการบริหารของ
สยามอินเทลิเจ๊นต์ยูนิต (SIU) หน่วยงาน ‘think-tank’ ยุทธศาสตร์การเมือง ว่า “นี่เป็นนวัตกรรมใหม่ คณะโปลิสบิวโรแบบไทย
ที่เอาระบบคณะกรรมการกลางคอมมิวนิสต์ของจีนมาผสมพันธุ์กับประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของตะวันตก”
แม้กระทั่งศาลสูงของไทยที่เป็นเสาหลักแห่งค่านิยมอนุรักษ์สุดโต่ง
ก็ยังร่วมด้วยช่วยกันเสริมส่งความทะเยอทะยานที่จะอยู่ในอำนาจนานๆ ของคณะทหาร
ด้วยการตัดสินว่าการยิงกระสุนจริงใส่ผู้ชุมนุมที่คัดค้านรัฐบาล ไม่มีความผิด
คำตัดสินของศาลฏีกายกฟ้องคดีอภิสิทธิ์และสุเทพสลายการชุมนุมปี
๕๓ ที่มีคนตายกว่า ๙๘ ราย เป็นพลเรือนเกือบ ๙๐ มีการเบิกกระสุนจริงออกมา ๕๙๗,๕๐๐
นัด ใช้ยิงออกไป ๑๑๗,๙๒๓ นัด กับกระสุนสไน้เปอร์ที่ยิง ๒,๑๒๐ นัด จากที่เบิกมา ๓
พันนัด “จนกระทั่งวันนี้ ยังไม่มีทหารในปฏิบัติการนั้น ถูกนำตัวมาดำเนินคดีแม้แต่คนเดียว
สุณัย ผาสุก นักวิจัยของฮิวแมนไร้ท์ว้อทช์ประจำประเทศไทยเห็นว่า
การตัดสินของศาลฎีกาเช่นนี้ “วางหลักปักเสาให้การไม่ต้องรับผิดเป็นกฎหมาย” และ “ต่อนี้ไปรัฐบาลกับฝ่ายความมั่นคง
จะปฏิบัติการโดยยึดมั่นหลักการใช้ความรุนแรงจัดการต่อผุ้ชุมนุมได้โดยไม่มีความผิด”
ผู้เขียนอ้างอิงความเห็นของอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ กษิต
ภิรมย์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐประหารให้เป็นสมาชิก สปท. (สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป)
ว่ามันเป็น ‘ลายแทงบนกำแพง’ ที่พวกนายพลต้องการกุมอำนาจไว้กำกับและขังกรงพวกนักการเมือง
“คณะยึดอำนาจฮุนต้า ไม่มีทางยอมให้พลเรือนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างเด็ดขาด
พวกเขาเตรียมทั้งยุทธศาสตร์และโครงการปฏิรูปเอาไว้หมดแล้ว เขาจะไม่ทำแบบนี้ถ้าหากไม่ได้อยุ่ในฐานะผู้กุมอำนาจ”
“มิน่าเล่า” มาร์วานลงท้าย “ในแวดวงผู้สันทัดกรณีทางการเมืองบางส่วนพูดกันแล้วว่า
ชื่อของเฉลิมชัยขึ้นมาเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากประยุทธ์ในฐานะนายกรัฐมนตรี”
คณะองคมนตรีชุดใหม่ในรัชกาลที่
๑๐ “อาจจะแสดงให้ประจักษ์ได้ว่า พร้อมรับเมื่อโอกาสนั้นมาถึง”