ราคารับซื้อข้าวเปลือกลดลงเหลือ 6,500-7,000 บาท/ตัน https://t.co/GfJqJMfGCe— Joy_จิตนภา (@joydaynapas) August 11, 2017
เหตุใดราคารับซื้อข้าวใหม่ลดฮวบ?
by จิตนภา จรูญโรจน์ ณ อยุธยา
11 สิงหาคม 2560
Voice TV
ราคารับซื้อข้าวนาปรัง ที่ผู้ส่งออกประกาศรับซื้อจากโรงสีและเอกชน เดือนสิงหาคมนี้ ลดลงมาเหลือตันละ 7,600 บาท ทั้งที่เดือนก่อนราคาอยู่ที่ 9,000 บาท หนึ่งในผู้ประกอบการของอุตสาหกรรมนี้ ระบุว่า มีหลายสาเหตุที่ทำให้ราคารับซื้อข้าวตกต่ำ
อนาวินท่าข้าวในช่วงฤดูฝน มีรถบรรทุกข้าวจากชาวนา นำข้าวเปียกมาขายตลอดทั้งวัน ทั้งที่ข้าวยังไม่สุกดี แต่หากปล่อยข้าวเปียกไว้ ข้าวจะล้มและดำ จนขายไม่ได้ สีของธงที่ปักบนกองข้าว เป็นสัญลักษณ์เพื่อแยกความชื้นของข้าว ธงสีขาวคือ ข้าวชื้นสูง ราคารับซื้อ 4,000-5,000 บาทต่อตัน ธงสีฟ้าความชื้นต่ำ ราคารับซื้ออยู่ที่ 6,000 บาทต่อตัน ส่วนข้าวที่สุก แห้ง เต็มเมล็ดจะถูกคัดไว้ในกองนี้ ราคารับซื้อ 6,700 บาทขึ้นไป ในช่วงฤดูฝนทุกปี ถือเป็นเรื่องปกติที่ข้าวจะชื้นสูงและถูกรับซื้อในราคาต่ำ
ทุกวันราคารับซื้อข้าวจากเกษตรกรจนถึงมือผู้บริโภค ผู้ส่งออก คือกำหนดราคาไปยังกลุ่มโรงสี เพื่อส่งต่อราคามายังท่าข้าว ราคารับซื้อข้าว ณ วันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้ส่งออกประกาศราคารับซื้อข้าว 5% อยู่ที่กิโลกรัมละ 11 บาท 60 สตางค์ หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนราคารับซื้ออยู่ที่ 13 บาท ราคาที่ท่าข้าวรับซื้อ อยู่ที่กิโลกรัมละ 6 - 7 บาท ต่ำกว่าราคารับซื้อปีก่อน ซึ่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 7 - 8 บาท
ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงเดือนเมษายน 2560 รัฐบาล คสช.ระบายข้าวเพื่อการบริโภคและอุตสาหกรรม รวม 21 ครั้ง ปริมาณ 14 ล้าน 4 แสน 5 หมื่นตัน จากข้าวในสต๊อก 17 ล้าน 7 แสน 6 หมื่นตัน โดยการระบายนี้ไม่รวมคำสั่งซื้อ , GtoG, การนำไปชดเชยค่าข้าว และการอายัดในระหว่างเป็นคดีความ
ส่วนเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา (ก.ค.60) โรงสีประกาศราคารับซื้อจากท่าข้าว อยู่ที่ตันละ 9,000 บาท แต่เดือนนี้ราคาลดฮวบลงมาอยู่ที่ 7,600 - 7,700 บาท ส่วนต่างราคาห่างกันเกือบ 2,000 บาท ทั้งที่ผ่านไปเพียงแค่เดือนเดียว
...
ราคารับซื้อข้าวนาปรัง ที่ผู้ส่งออกประกาศรับซื้อจากโรงสีและเอกชน เดือนสิงหาคมนี้ ลดลงมาเหลือตันละ 7,600 บาท ทั้งที่เดือนก่อนราคาอยู่ที่ 9,000 บาท หนึ่งในผู้ประกอบการของอุตสาหกรรมนี้ ระบุว่า มีหลายสาเหตุที่ทำให้ราคารับซื้อข้าวตกต่ำ
อนาวินท่าข้าวในช่วงฤดูฝน มีรถบรรทุกข้าวจากชาวนา นำข้าวเปียกมาขายตลอดทั้งวัน ทั้งที่ข้าวยังไม่สุกดี แต่หากปล่อยข้าวเปียกไว้ ข้าวจะล้มและดำ จนขายไม่ได้ สีของธงที่ปักบนกองข้าว เป็นสัญลักษณ์เพื่อแยกความชื้นของข้าว ธงสีขาวคือ ข้าวชื้นสูง ราคารับซื้อ 4,000-5,000 บาทต่อตัน ธงสีฟ้าความชื้นต่ำ ราคารับซื้ออยู่ที่ 6,000 บาทต่อตัน ส่วนข้าวที่สุก แห้ง เต็มเมล็ดจะถูกคัดไว้ในกองนี้ ราคารับซื้อ 6,700 บาทขึ้นไป ในช่วงฤดูฝนทุกปี ถือเป็นเรื่องปกติที่ข้าวจะชื้นสูงและถูกรับซื้อในราคาต่ำ
ทุกวันราคารับซื้อข้าวจากเกษตรกรจนถึงมือผู้บริโภค ผู้ส่งออก คือกำหนดราคาไปยังกลุ่มโรงสี เพื่อส่งต่อราคามายังท่าข้าว ราคารับซื้อข้าว ณ วันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้ส่งออกประกาศราคารับซื้อข้าว 5% อยู่ที่กิโลกรัมละ 11 บาท 60 สตางค์ หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนราคารับซื้ออยู่ที่ 13 บาท ราคาที่ท่าข้าวรับซื้อ อยู่ที่กิโลกรัมละ 6 - 7 บาท ต่ำกว่าราคารับซื้อปีก่อน ซึ่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 7 - 8 บาท
ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงเดือนเมษายน 2560 รัฐบาล คสช.ระบายข้าวเพื่อการบริโภคและอุตสาหกรรม รวม 21 ครั้ง ปริมาณ 14 ล้าน 4 แสน 5 หมื่นตัน จากข้าวในสต๊อก 17 ล้าน 7 แสน 6 หมื่นตัน โดยการระบายนี้ไม่รวมคำสั่งซื้อ , GtoG, การนำไปชดเชยค่าข้าว และการอายัดในระหว่างเป็นคดีความ
ส่วนเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา (ก.ค.60) โรงสีประกาศราคารับซื้อจากท่าข้าว อยู่ที่ตันละ 9,000 บาท แต่เดือนนี้ราคาลดฮวบลงมาอยู่ที่ 7,600 - 7,700 บาท ส่วนต่างราคาห่างกันเกือบ 2,000 บาท ทั้งที่ผ่านไปเพียงแค่เดือนเดียว
...
วันก่อนลงพื้นที่เพชรบูรณ์ ดูการรับซื้อข้าวใหม่ ชาวนาเอาข้าวมาขายคึกคัก แต่ราคารับซื้อตกต่ำมาก และที่นำมาขายเป็นข้าวเปียก ราคาเลยต่ำ— Joy_จิตนภา (@joydaynapas) August 11, 2017
การตั้งราคารับซื้อข้าว ตามนี้ค่ะ pic.twitter.com/UL4YI5NEtt— Joy_จิตนภา (@joydaynapas) August 11, 2017
"การตั้งราคาซื้อข้าวจากผู้ส่งออกมีหลายปัจจัย ไม่รู้เค้าเล่นเกมอะไร ข้าวดีราคาถูกออกสู่ตลาด เค้าจะซื้อข้าวใหม่ทำไม"...เจ้าของท่าข้าวเพชรบูรณ์ pic.twitter.com/vizPaEEhbh— Joy_จิตนภา (@joydaynapas) August 11, 2017
ชาวนาเกี่ยวข้าวเปียกมาขาย และจะเป็นแบบนี้ทุกปีในช่วงหน้าฝน ถ้าไม่เกี่ยว ข้าวจะล้ม - ดำ ขายไม่ได้ราคา pic.twitter.com/ZB2mosYgB0— Joy_จิตนภา (@joydaynapas) August 11, 2017