รายได้คนไทยแต่ละจังหวัดต่างกันมากแค่ไหน?...
.
เมื่อเราพูดถึงการเติบโตของเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศหรือระดับจังหวัดก็ตาม 1 ในตัวชี้วัดที่ต้องพูดถึงกันอยู่บ่อยๆคือ “รายได้” วันนี้ #WOWThailand จึงอาสาพาทุกท่านมาถอดข้อมูลรายได้ต่อครัวเรือน ทั้งในระดับประเทศ รายภาค และรายจังหวัด ของสำนักงานสถิติแห่งชาติกัน
.
สำหรับสถิตินี้พบว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนของคนไทยในปี 2558 อยู่ที่ 26,915 บาท กรุงเทพฯและปริมณฑล (กรุงเทพฯ, นนทบุรี, สมุทรปราการ, ปทุมธานี) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนสูงถึง 41,002 บาท และภาคกลางเป็นภาคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนสูงที่สุด 26,601 บาท ตามมาด้วยภาคใต้ 26,268 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 21,049 บาท และภาคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนน้อยที่สุดคือภาคเหนือ 18,952 บาท
.
เมื่อมองลึกลงไปรายจังหวัด แล้วจำแนกออกเป็นจังหวัดที่มีรายได้มากที่สุดและน้อยที่สุดอย่างละ 5 จังหวัด พบว่า
5 จังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนมากที่สุดคือ
กรุงเทพฯ 45,572 บาท
ปทุมธานี 41,057 บาท
นครปฐม 40,347 บาท
นนทบุรี 36,884 บาท
สุราษฎร์ธานี 36,466 บาท
.
5 จังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนนน้อยที่สุดคือ
เชียงราย 13,497 บาท
เชียงใหม่ 14,950 บาท
แม่ฮ่องสอน 15,119 บาท
กาฬสินธุ์ 15,452 บาท
ยะลา 15,584 บาท
.
โดยจังหวัดที่มีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ (26,915 บาท) มีเพียงแค่ 18 จังหวัด แต่ขณะเดียวกันจังหวัดที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมีอยู่อยู่ถึง 69 จังหวัด นั่นทำให้เราสามารถวิเคราะห์เป็นนัยยะได้ว่า มีจังหวัดที่รายได้สูงกระจุกตัวเพียงไม่กี่จังหวัด และยังมีรายได้ที่ค่อนข้างสูงและห่างกับค่าเฉลี่ยอยู่พอสมควร โดยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักคือ
ปทุมธานี 41,057 บาท
นครปฐม 40,347 บาท
นนทบุรี 36,884 บาท
สุราษฎร์ธานี 36,466 บาท
.
5 จังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนนน้อยที่สุดคือ
เชียงราย 13,497 บาท
เชียงใหม่ 14,950 บาท
แม่ฮ่องสอน 15,119 บาท
กาฬสินธุ์ 15,452 บาท
ยะลา 15,584 บาท
.
โดยจังหวัดที่มีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ (26,915 บาท) มีเพียงแค่ 18 จังหวัด แต่ขณะเดียวกันจังหวัดที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมีอยู่อยู่ถึง 69 จังหวัด นั่นทำให้เราสามารถวิเคราะห์เป็นนัยยะได้ว่า มีจังหวัดที่รายได้สูงกระจุกตัวเพียงไม่กี่จังหวัด และยังมีรายได้ที่ค่อนข้างสูงและห่างกับค่าเฉลี่ยอยู่พอสมควร โดยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักคือ
-เป็นเมืองหลวงหรือเมืองเศรษฐกิจ เช่น กรุงเทพฯ และจังหวัดในเขตปริมณฑล
-เป็นเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว(ทางทะเล)โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตอนใต้ของประเทศไทย ซึ่งเป็นอีกกลุ่มที่มีรายได้ของประชากรสูง
-เป็นกลุ่มของจังหวัดที่เป็นฐานที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ระยอง สระบุรี
.
และจากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมท่องเที่ยวของชาวไทย ของ ททท. ที่ร่วมมือกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ เรื่องการจัดสรรเงินเพื่อเดินทางท่องเที่ยว พบว่า กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่ประชากรให้ความสำคัญด้านการท่องเที่ยวและจัดสรรเงินเพื่อการท่องเที่ยวสูงที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มจังหวัดในภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งก็สอดคล้องไปในทำนองเดียวกับรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนที่สื่อให้เห็นว่ากลุ่มคนยิ่งรายได้ดีขึ้น ย่อมมีความสามารถในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวยิ่งมากขึ้นตามมา เพราะการท่องเที่ยวเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย
.
แต่ในขณะเดียวกันจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีความน่าสนใจด้านการท่องเที่ยว และผู้คนนิยมเดินทางมาเยือน แต่กลับมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนน้อยจนน่าตกใจ เหตุผลหนึ่งน่าจะเป็นเพราะ 2 จังหวัดนี้นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปกันอย่างคึกคักเฉพาะฤดูหนาวเท่านั้น แล้วพวกคุณมีความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลนี้อย่างไร? ร่วมแชร์ Comment กันได้ครับ
.
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.tourismthailand.org/TATIC
ที่มา FB
WOW Thailand