วันอังคาร, ธันวาคม 20, 2559

#พรบคอม ผ่านแล้ว แต่ยังมีร่างกฎหมายในสนช. ที่ต้องช่วยกันจับตาต่อ อีกเพียบ!!! อย่าปล่อยผ่านง่าย ๆ ร่วมจับตาสนช.กับไอลอว์...





ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... ผ่านความเห็นชอบจากสนช. ด้วยคะแนนเห็นชอบ 168 เสียง ไม่เห็นชอบ 0 เสียง และงดออกเสียง 5 เสียง ท่ามการเสียงคัดค้านจากประชาชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากสามแสนคนที่ลงชื่อผ่านเว็บไซต์ change.org

ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ นับเป็นร่างพ.ร.บ.ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด แต่ในรอบสองปีกว่าของสนช.ยังมีร่างพ.ร.บ.จำนวนมากที่ผ่านไปได้รวดเร็ว โดยที่ประชาชนไม่รับรู้แล้วไม่มีโอกาสได้ส่งเสียงคัดค้านด้วยซ้ำ

http://bit.ly/2htUeat




สมาชิกสนช.มีจำนวนไม่เกิน 250 คน มาจากการแต่งตั้งโดย คสช. เกินครึ่งหนึ่งของสนช.เป็นทหารและตำรวจทั้งในและนอกราชการรวมประมาณ 130 คน ส่วนที่เหลือประกอบด้วยข้าราชการพลเรือน อธิการบดีมหาวิทยาลัยทั้งในและนอกราชการเช่นกัน

๐ รู้จัก สนช.และการเดินทางของกฎหมายใน สนช. https://ilaw.or.th/node/3350

๐ ดูรายชื่อสมาชิก สนช. http://bit.ly/2gRyEIZ




๐ รู้จัก สนช.และการเดินทางของกฎหมายใน สนช. https://ilaw.or.th/node/3350

๐ ดูรายชื่อสมาชิก สนช. http://bit.ly/2gRyEIZ




สนช. เริ่มทำงานตั้งแต่เดือน 8 สิงหาคม 2557

รวบรวมผลงาน
๐ iLaw ขอสรุปผลงาน สนช. ปี 2557
๐ รายงานหนึ่งปี สนช. 1/3 : การพิจารณากฎหมายในสภา https://ilaw.or.th/node/3800
๐ รายงานหนึ่งปี สนช. 2/3: การแต่งตั้ง-ถอดถอน https://ilaw.or.th/node/3798
๐ รายงานหนึ่งปี สนช. 3/3: การใช้งบประมาณพิจารณากฎหมาย https://ilaw.or.th/node/3799
๐ สนช.: การเห็นชอบบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง https://ilaw.or.th/node/3779
๐ รวมกฎหมาย สนช.ที่ผ่านอย่างคาใจ https://ilaw.or.th/node/3971
๐ 2 ปีสนช.: ผ่านกฎหมายอย่างน้อย 179 ฉบับ แม้ผ่านกฎหมายน้อยลง แต่ปัญหายังมีอยู่ https://ilaw.or.th/node/4257




สนช. เริ่มทำงานตั้งแต่เดือน 8 สิงหาคม 2557 นับถึงก่อนสิ้นปี 2559 ผ่านร่างพ.ร.บ.อย่างน้อย 207 ฉบับ คิดเฉลี่ยเดือนละ 7 ฉบับ หรือปีละ 84 ฉบับ มีร่างพ.ร.บ.จำนวน 7 ฉบับ ที่ใช้เวลาเพียงวันเดียวในการผ่านเป็นกฎหมาย

จำนวนร่างกฎหมายที่ออกปริมาณมากเป็นความภาคภูมิใจของคสช. เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับ 7 ปีก่อนหน้าการเข้ามาทำหน้าที่ของคสช.สภาสามารถออกกฎหมายเพียง 120 ฉบับ เฉลี่ยปีละ 17 ฉบับเท่านั้น

อย่างไรก็ตามในแง่คุณภาพยังคงเป็นคำถาม?




กฎหมายทั้ง 7 ฉบับที่สนช. ผ่านในเวลาเพียงวันเดียว ประกอบด้วย

1) พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 63)
2) พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน
3) พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
4) พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย
5) พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มติมประมวลรัษฎากร (มาตรการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการถาวร)
6) พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559
7) พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย https://ilaw.or.th/node/4142







วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 ที่ประชุมสนช.เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.กำลังพลสำรอง เป็นกฎหมาย โดยพ.ร.บ.ฉบับนี้ก็ถูกวิจารณ์อย่างมากในโลกออนไลน์ เนื้อหาคือให้อำนาจกระทรวงกลาโหม เรียกตัวชายไทยที่ผ่านการเกณฑ์ทหารหรือผ่านการเรียน รด. รวมทั้งผู้ที่จับใบดำได้ กลับมารับราชการทหารอีกครั้งเพื่อเป็นกำลังพลสำรอง นอกจากนี้ผู้ประกอบการต้องให้ความร่วมมือด้วยการปล่อยลูกจ้างของตนเป็นกำลังพลสำรอง พร้อมทั้งต้องจ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้างขณะเป็นกำลังพลสำรองด้วย กฎหมายฉบับเป็นที่ถกเถียงถึงความเหมาะสม เพราะปัจจุบันประเทศไทยมีทหารกองประจำการจำนวนมาก ยังไม่มีแนวโน้มจะเกิดภัยสงคราม และยังหวั่นว่ากฎหมายจะเป็นช่องทางใหม่ให้ทหารคอร์รัปชั่น

https://ilaw.or.th/node/3971




วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 ที่ประชุมสนช.เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ เป็นกฎหมาย พ.ร.บ.ฉบับนี้มีการพูดถึงกันมาหลายสมัย เนื่องจากประเทศไทยเผชิญการชุมนุมอยู่เป็นประจำ เจ้าหน้าที่รัฐจึงต้องการเครื่องมือในการควบคุม อย่างไรก็ตามก็เกิดการตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของการออกพ.ร.บ.ฉบับนี้ในช่วงรัฐบาลทหาร สำหรับเนื้อหาที่ภาคประชาชนสะท้อนถึงปัญหา เช่น การกำหนดห้ามจัดการชุมนุมภายในพื้นที่ของรัฐสภา หรือทำเนียบรัฐบาล การห้ามชุมนุมในสถานที่ดังกล่าวอาจจะทำให้อำนาจต่อรองของประชาชนลดลง, การต้องแจ้งชุมนุมล่วงหน้า 24 ชั่วโมง อาจส่งผลต่อบางกรณีที่เป็นเหตุเร่งด่วน เช่น คนงานถูกเลิกจ้างแล้วนายจ้างปิดโรงงานหนี ซึ่งแบบนี้ไม่สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ หรือนิยามของผู้จัดการชุมนุม ขยายครอบคลุมถึง ผู้ที่เชิญชวน หรือนัดให้ผู้อื่นมาร่วมชุมนุม ซึ่งอาจจไม่ใช่ ผู้จัดการชุมนุมที่มีอำนาจตัดสินใจ

https://ilaw.or.th/node/3971



วันที่ 7 เมษายน 2559 ที่ประชุมสนช.เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมาย โดยเนื้อหาที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากคือ มาตรา 61 วรรคสอง ที่กำหนดว่าผู้ใดเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ผ่านช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง ก้าวร้าว หยาบคาย เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยกำหนดโทษจําคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท และศาลอาจสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนดไม่เกิน5 ปี

พ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 61 ถูกคัดค้านจากหลายภาคส่วนทั้งภาคประชาชน และพรรคการเมือง ที่เห็นไปในทางสอดคล้องกันว่า อาจถูกตีความเพื่อนำมาเล่นงานกับผู้ที่เห็นต่างกับร่างรัฐธรรมนูญ จนนำไปสู่การที่ภาคประชาชนกลุ่มหนึ่งยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่ามาตราดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิเสรีภาพไว้ สุดศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามาตราดังกล่าวไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ

https://ilaw.or.th/node/4177, https://ilaw.or.th/node/4133





วันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 ที่ประชุมสนช.เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ เป็นกฎหมาย โดยเนื้อหาเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระทำเพื่อจำหน่ายให้ผู้ถูกล่าวหาว่าครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่ายมีโอกาสพิสูจน์ความบริสุทธ์ และมีการแก้ไขอัตราโทษให้มีความยืดหยุ่นมากกว่าเดิม เช่น

ปริมาณการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย จากเดิมที่กำหนดว่าการครอบครองให้ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่ายแน่นอน แต่ร่างฉบับนี้แก้ไขให้สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อครองครองไว้ก่อน การแก้ไขในส่วนนี้จะทำให้จำเลยสามารถอ้างข้อเท็จจริงต่างๆ ขึ้นต่อสู้ในศาลได้ เพื่อพิสูจน์เจตนาของตน

อัตราลงโทษการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย จากเดิมต้องประหารชีวิตอย่างเดียว แต่การแก้ไขมีการเพิ่มอัตราโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต และเพิ่มอัตราโทษปรับเข้ามาด้วย

การบังคับใช้ สำหรับผู้ที่ทำความผิด ก่อนพ.ร.บ.นี้บังคับใช้ หากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว ให้บังคับใช้โทษตามกฎหมายเดิมจนกว่าคดีจะถึงที่สุด แต่หากคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้น คู่ความสามารถยื่นคำแถลงต่อศาล ขอเพิ่มเติมการสืบพยานได้ เพื่อพิสูจน์ความผิด เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้พิสูจน์ความจริงตามกฎหมายใหม่

https://ilaw.or.th/node/4352





วันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 ที่ประชุมสนช.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นกฎหมาย มีสาระสำคัญ คือ ผู้กู้เงินกองทุน กยศ. มีหน้าที่ต้องยินยอมให้ กยศ.เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้ และนำข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับการชำระหนี้เปิดเผยให้บุคคลอื่นทราบได้ ต้องแจ้งให้กับนายจ้างทราบภายใน 30 วันนับแต่เริ่มทำงานว่า มีสถานะเป็นหนี้กองทุน กยศ. อยู่เท่าใด เพื่อให้นายจ้างหักเงินเดือนนำส่งกรมสรรพากรชำระหนี้ ในลักษณะเดียวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย

นอกจากนั้นยังเพิ่มเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ กยศ. อาจเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้ ไม่เกินร้อยละ 7.5 ต่อปี พร้อมเรียกให้ผู้กู้จัดหาผู้ค้ำประกันได้เต็มที่

https://ilaw.or.th/node/4355





๐ ดูรายชื่อร่างพ.ร.บ. ที่เข้าสู่การพิจารณาของสนช. https://ilaw.or.th/NLAWatch

๐ ติดตามร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ https://ilaw.or.th/node/4316




วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เคยกล่าวในงานแถลงผลงานสองปี คสช.ว่า หนึ่งปีข้างหน้าจะมีกฎหมายทะลักตามออกมาอีกนับร้อยฉบับ รัฐบาลจะมีภาระหนักกว่าที่ผ่านมา ทั้งการที่ต้องผลักดันกฎหมายที่รัฐบาลต้องการออก ไม่ได้เกี่ยวกับใคร แต่เกี่ยวกับรัฐบาลอยากออกให้ประชาชน ส่วนราชการอยากได้อยากเห็นอีกประมาณ 50 ฉบับ และยังเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ส่วนที่เป็นกฎหมายใหม่ 59 ฉบับ ส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ 7 ด้าน และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

http://bit.ly/2gRwg4V








ที่มา