วันพุธ, ธันวาคม 28, 2559

บุคคลแห่งปี 2559 น่าจะเป็นคนนี้ (ดูรูป) กลุ่มโดดเด่นแห่งปี น่าจะเป็นกลุ่มนี้... พลเมืองต่อต้าน Single Gateway : Thailand Internet Firewall #opsinglegateway




aka นายกำแหง


บุคคลแห่งปีน่าจะเป็นคนนี้

ส่วนปิีบเอาไปคลุมหัวทหารไทย

.....

(กลุ่ม) บุคคลโดดเด่น ที่สุดในปี 2559




มาแรงแซงทางโค้งจริง ๆ ณ นาทีนี้ ตี 2 ครึ่งของวันที่ 27 ธันวาคม 2559 ผมยกให้ พลเมืองต่อต้าน Single Gateway : Thailand Internet Firewall #opsinglegateway
เป็น (กลุ่ม) บุคคลโดดเด่น ที่สุดในปี 2559

เสนอโดย Thanapol Eawsakul 

ooo




ที่มา
พลเมืองต่อต้าน Single Gateway : Thailand Internet Firewall #opsinglegateway


ไม่อยากตบปากคนแก่เลยยยยยย
(แฉหลักฐาน การจัดหาและทดสอบเครื่องถอดรหัส SSL)

อ่านเอาเอง.......

1) ผอ.ศูนย์ไซเบอร์สงคราม บอกว่า .... ย้ำ ทบ. ไม่มีการจัดหาเครื่องถอดรหัสSSLเลย... เพราะ กองทัพบกไม่มีการจัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวแม้แต่รายการเดียว.... "

2) แต่มีคำสั่งให้จัดหา เครื่องมือถอดรหัส SSL ตาม คำสั่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ 163/2557 ระบุว่า

".... การปฏิบัติงานภายใต้อำนาจหน้าที่ตามคำสั่งดังกล่าว พบว่ามีอุปสรรคในการตรวจสอบและปิดกั้นเว็บไซต์ที่มีการเข้ารหัสป้องกันข้อมูล (SSL : Secure Socket Layer) จึงเห็นควรให้มีการจัดหาและทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์....."

(กรรมการชุดนี้ มีตัวแทนจากกองทัพบก 4 นาย)

3) แล้วทีมนักเจาะ #กำแหงทีม แหกไปเจอรายการอุปกรณ์ดังกล่าว ใน บ้านลุงตู่ ในรายการ เปิดบ้านลุงตู่ Day 2

แล่้วแบบนี้ จะตอบยังไง.......

สรุปว่า....กองทัพบก มีหรือไม่มี.....โกหกให้เนียนนะลุง อย่ามาเสียคนตอนแก่เลยยยย ว่าแต่ที่ทดสอบนะ เครื่องมือของใคร แล้วที่ทดสอบนะ ใช้อำนาจตามกฎหมายอะไร อยากได้ยินชัดๆ....ว่าใครมีอำนาจตามกฎหมาย

>>>>>>>>>>>>>>>

‘ผอ.ศูนย์ไซเบอร์ ทบ.’ โต้ข้อมูลอ้าง ทบ. จัดซื้ออุปกรณ์เครื่องถอดรหัสSSL บิดเบือน เพราะทบ.ไม่มีอำนาจล้วงข้อมูลเข้ารหัสปชช. และโต้คนเผยแพร่ทำไม่เนียน เพราะไปอยู่ในบัญชีอุปกรณ์ทหารช่างได้อย่างไร ย้ำ ทบ. ไม่มีการจัดหาเครื่องถอดรหัสSSLเลย

วันนี้(26ธ.ค.) พล.ต.ฤทธี อินทราวุธ ผอ.ศูนย์ไซเบอร์ ทบ. กล่าวถึงกรณีข้อมูลอุปกรณ์เครื่องถอดรหัส SSL ที่เป็นข่าวนั้น บิดเบือนข้อมูล เพราะ กองทัพบกไม่มีการจัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวแม้แต่รายการเดียว ข้อมูลที่ปรากฎเป็นการสร้างกระแสโจมตีกองทัพ ทำให้เกิดความเสียหาย

อีกทั้งถูกโยงไปเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการสอดแนมหรือล้วงดูข้อมูลที่เข้ารหัสของประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเมิดกฎหมาย และทางกองทัพบกไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าวตามกฎหมาย จึงไม่มีความจำเป็นในการจัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวมาประจำการตามที่มีการกล่าวอ้าง

ทั้งนี้ตนข้อสังเกตรายการอุปกรณ์ดังกล่าว ควรจะต้องอยู่ในบัญชีอุปกรณ์สายสื่อสาร และเกี่ยวข้องกับ ศูนย์ไซเบอร์ ทบ.โดยตรง แต่กลับอยู่ในบัญชีอุปกรณ์สายทหารช่างลำดับสุดท้าย ไม่รู้ว่าภาพข้อมูลดังกล่าวเอามาจากไหน ดูแล้วไม่เนียน

จึงขอยืนยันว่าอุปกรณ์กล่าวไม่มีอยู่ในรายการแผนงานการจัดหาของกองทัพบก สามารถตรวจสอบได้ เพราะหน่วยไม่มีความจำเป็นในการใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าว นอกจากอุปกรณ์ด้าน Cyber Security

ต้นฉบับ : http://www.matichon.co.th/news/407987

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ปี 2557 (อยุ่ในปีงบประมาณ 58)

คำสั่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ 163/2557

เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์

ตามที่ คณะกรรมการเพื่อติดตามการเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะ ได้มีคำสั่งที่ 3/2557 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 แต่งตั้งคณะทำงานด้านสื่อออนไลน์ เพื่อติดตาม กลั่นกรอง ตรวจสอบ รวบรวม วิเคราะห์การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสื่อออนไลน์ทุกประเภท และให้พิจารณาในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติมาตรการป้องกันและยับยั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาวให้เกิดความชัดเจนและมีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โดยมีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน ซึ่งการปฏิบัติงานภายใต้อำนาจหน้าที่ตามคำสั่งดังกล่าว พบว่ามีอุปสรรคในการตรวจสอบและปิดกั้นเว็บไซต์ที่มีการเข้ารหัสป้องกันข้อมูล (SSL : Secure Socket Layer) จึงเห็นควรให้มีการจัดหาและทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะทำงานด้านสื่อออนไลน์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

อาศัยอำนาจตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงแต่งตั้งคณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์ โดยให้มีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

องค์ประกอบ
...

อำนาจหน้าที่

1. ควบคุมการทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์ที่มีการเข้ารหัสป้องกันข้อมูล (SSL : Secure Socket Layer) และประเมินผล เพื่อให้ได้ระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เหมาะสมในการใช้งานสำหรับประเทศไทย

2. ประสานทางเทคนิคกับผู้ประกอบการและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศและที่เชื่อมต่อกับต่างประเทศโดยตรง (International Internet Gateway) ในการทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์

3. ประสานหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดในการทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์

4. เสนอแนะ ปัญหา อุปสรรค แนวทางการปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2557

(ลายมือชื่อ)

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

26 ม.ค. 2558 จาก FB Thailand เปิดเผยว่าพบ คำสั่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ 163/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์ ลงวันที่ 15 ธ.ค. 2557 โดยคณะทำงานดังกล่าวมีขึ้นเพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคจากการเข้ารหัส SSL (SSL: Secure Socket Layer) ซึ่งจะทำให้ตรวจสอบเนื้อหาและปิดกั้นเว็บไซต์ไม่ได้

กรณีดังกล่าวสอดคล้องกับเครือข่ายผู้ใช้เฟสบุ๊กและไลน์ รายงานว่า ขณะนี้มีการขอความร่วมมือไปยังโอเปอเรเตอร์ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยในการเอาอุปกรณ์ไปติดตั้งที่ดาต้าเซ็นเตอร์ โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 15 ก.พ. 2558 เพื่อดักจับทราฟฟิกผู้ใช้เฟซบุ๊ก ผลคือจะทำให้ดูยูสเซอร์เนมกับพาสเวิร์ดได้ โดยล่าสุดมีผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายราย พบเหตุการณ์ที่หน้าจอปรากฏขึ้นมาให้ระบุตัวตนอีกครั้ง และมีการแจ้งจากทางเฟซบุ๊กว่ามีการเข้าใช้งานจากแหล่งที่มาไม่ปลอดภัย เป็นลักษณะของผู้ใช้ที่ถูกเข้าถึงข้อมูลในเฟซบุ๊ก

อ้างอิง : https://108thinks.blogspot.it/2015/01/4fbline.html?m=1

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

มีการตั้งข้อสังเกตุ หลายกรณี แต่ที่น่าสงสัยมากที่สุดคือ กรณีแม่จ่านิวส์ ว่า อาจเป็นเพราะโดนดักไปแล้วเช่นกัน....

ดังนั้นในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความพยายาม ฟิชชิ่งผู้ใช้งานเฟซบุ๊คจำนวนมาก ก็น่าจะมีสาเหตุ มาจากเรื่องนี้เช่นกัน...