ที่มา ประชาไท
บทสัมภาษณ์พิเศษ: จาตุรนต์ชี้แม้รัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ต้องมีการเลือกตั้งปี 60
กรกฤช สมจิตรานุกิจ สัมภาษณ์
Sat, 2016-08-06 16:51
จาตุรนต์ ฉายแสง วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ และบรรยากาศการเมืองช่วงโค้งสุดท้ายประชามติ พร้อมอ่านทุกกระแสทั้ง “Vote Yes” “Vote No” และ “No Vote” จวก กกต. จงใจปิดกั้นความเห็นต่าง ชี้ “Vote No” ชนะแน่หากไม่มีการโกง
ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการลงประชาติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คสช. ในวันที่ 7 สิงหาคมที่จะถึงนี้ แม้ว่าเป็นจะเป็นครั้งในรอบ 2 ปีที่ประชาชนคนไทยได้มีโอกาสจับปากกาในคูหาเลือกตั้ง แต่สัญญาณที่ประเทศจะกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยนั่นยังคงดูริบหรี่ หากประเมินจากลักษณะการกระชับอำนาจอย่างต่อเนื่องของ คสช. ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนประชามติในครั้งนี้ ก็จะพบว่า คสช. ดูไม่มีท่าทีที่จะโอนอ่อนผ่อนปรน หรือไม่แน่วโนมที่จะขึ้นอำนาจสู่ประชาชนแต่อย่างใด จนกลายกระแสความไม่แน่ใจว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 60 ตามที่ คสช. ได้ให้สัจวาจาไว้หรือเปล่า
แต่ถึงกระนั้น นักการเมืองผู้คร่ำหวอดในวงการมายาวนานอย่าง จาตุรนต์ ฉายแสง ก็ยังไงเชื่อว่าการเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นในปีหน้าอย่างแน่นอน ไม่ว่าผลการทำประชามติจะออกมาเป็นอย่างไร แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะได้กลับเข้าสู่ประชาธิปไตยในเร็ววัน ตรงกันข้าม จาตุรนต์มองว่าประเทศไทยยังคงห่างจากสังคมประชาธิปไตย เพราะกลุ่มผู้มีอำนาจยังคงไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตย
ประชาไท : ประเด็นใดในร่างรัฐธรรนูญฉบับมีชัยที่น่าเป็นห่วงที่สุด
จาตุรนต์ : ที่มีปัญหามากที่สุดก็คือการที่รัฐธรรมนูญนี้จะให้อำนาจแก่บุคคลและองค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจเหนือรัฐบาลและสภา ผู้ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยเฉพาะผู้ที่มาจาก คสช. จะร่วมกำหนดตัวนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งก็เท่ากับการตั้งรัฐบาลโดยมีคนของ คสช.เป็นแกน และกำหนดการบริหารประเทศต่อไป เมื่อมียุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปกำหนดอยู่ด้วย ยิ่งทำให้รัฐบาลไม่สามารถกำหนดนโยบายไปแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนได้ รัฐบาลต้องฟัง สว. ที่มาจากการ สรรหาของ คสช. 250 คน นอกจากนี้ยังมีองค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจอย่างมาก ที่จะกำกับรัฐบาลอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ในส่วนของการออกกฎหมายต่างๆ สว. ซึ่งอาจจะคุมรัฐบาลได้ด้วย ก็จะสามารถคุมเสียงข้างมากทั้งในรัฐสภา และสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. จึงไม่สามารถออกกฎหมายตามความต้องการของประชาชนได้อีกเช่นเดียวกัน ทั้งหมดนี้ก็จะทำให้เรามีรัฐบาลและรัฐสภาที่ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้ สภาพอย่างนี้จะอยู่ไปอีกนานมาก เพราะ สว. ที่มาจากคสช.จะมีอายุ 5 ปีทำให้เลือกนายกได้ 2 สมัย สภาพอย่างนี้มันจะทำให้ประเทศล้าหลัง ปัญหาของประชาชนไม่ได้รับการแก้ไขและจะกลายเป็นปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งอีกปัญหาหนึ่งก็คือรัฐธรรมนูญนี้แก้ไม่ได้ แก้ยากมากเสียจนเรียกได้ว่าแก้ไม่ได้ ซึ่งจะทำให้บ้านเมืองเข้าสู่วิกฤติที่ไม่มีทางออกตามครรลองปรกติ
คิดอย่างไรกับบรรยากาศทางกาารเมืองช่วงก่อนลงประชามติ
บรรยกาศในช่วงการลงประชามติ เป็นการทำประชามติที่ไม่เสรีและไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง คือผู้ที่เห็นต่างถูกจับผิด ข่มขู่คุกคาม ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างมาก รวมทั้งสื่อมวลชนก็ไม่ได้มีโอกาสที่จะเสนอความเห็นต่างหรือถกเถียงอภิปรายความคิดเห็นที่แตกต่าง ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลจากฝ่ายที่เห็นต่างน้อยมาก ในขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ถูกส่งถึงมือประชาชนส่นใหญ่ มีการส่งฉบับย่อให้ประชาชนจำนวนเพียงเล็กน้อย และฉบับย่อที่ส่งไปก็มีลักษณะชี้นำจูงใจด้วยเนื้อหาที่ไม่ค่อยสอดคล้องกับตัวร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดทำโดย กรธ. สนช. และ กกต. ฝ่ายร่างและฝ่ายสนับสนุนก็ใช้กลไกและงบประมาณของรัฐ ใช้บุคลลากรของรัฐจำนวนมากไปชี้แจงในลักษณะที่พูดถึงแต่ข้อดี หรือชี้นำประชาชนให้ไปออกเสียงรับร่างรัฐธรรมนูญอย่างโจ่งแจ้ง นอกจากนั้นการทำประชามติครั้งนี้ไม่เปิดให้มีการสังเกตการณ์ทั้งจากประชาชนและจากต่างประเทศ จึงทำให้มีความวิตกกันว่าจะมีการโกงการเลือกตั้ง ตั้งแต่การออกเสียงลงคะแนนไปจนถึงกระบวนการนับคะแนน พูดได้ว่าเป็นการลงประชามติที่ไม่เสรีและยุติธรรม รวมทั้งยังมีการข่มขู่คุกคามรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ มีการสร้างภาพเกินจริงว่ามีขบวนการร่างรัฐธรรมนูญปลอมบ้าง บิดเบือนข้อเท็จจริงบ้าง ป่วนประชามติบ้าง หรือจะล้มประชามติบ้าง ซึ่งในความจริงแล้วไม่มีเลย มีการเผยแพร่เอกสารที่เป็นความเห็นต่างอยู่บ้างซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเลยแต่ก็มีการภาพให้กลายเป็นเรื่องใหญ่โตร้ายแรง เหมือนกับมีการก่อการร้ายเพื่อจะข่มขู่และสกัดกั้นการแสดงความเห็นต่าง
คิดอย่างไรกับบทบาทของ กกต. ในการจัดทำประชามติครั้งนี้
ตามหลักการจริงๆ แล้ว กกต. ควรจะเป็นองค์กรที่มีไว้เพื่อเป็นองค์กรอิสระจากรัฐหรือหน่วยราชการต่างๆ เพื่อทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง หรือจัดทำการลงประชามติอย่างเป็นกลาง แต่ว่าในครั้งนี้ กกต.มีบทบาทที่เอนเอียงอย่างเห็นได้ชัด มีการออกหลักเกณฑ์ที่อ้างว่าเป็นไปตามกฎหมายประชามติ ซึ่งก็เกินจริง เน้นไปทางข้อห้าม มักมาจับผิด หรือมาตอกย้ำว่าอะไรทำได้แต่ไม่มีการส่งเสริมในสิ่งที่ทำได้หรือควรจะเกิดขึ้น ซึ่งได้แก่การแสดงความคิดเห็นและการให้ข้อมูลของทุกฝ่าย นอกจากนี้กกต.ยังมีการร่วมมือกับ กรธ และ สนช. ในการทำเอกสารเผยแพร่ซึ่งมีความเอนเอียงอย่างชัดเจน เอกสารเช่นนี้ถ้าจะมีก็ควรเป็นฝ่ายที่รับผิดชอบเรื่องเนื้อหารัฐธรรมนูญเป็นคนดำเนินการ แล้วกกต. ควรจะตรวจสอบว่ามีลักษณะชี้นำเกินจริงหรือไม่ ไม่ใช่ไปร่วมด้วยจนเหมือนไปรับรองเอกสารพวกนั้นไปในตัว นอกจากนี้หลักเกณฑ์ต่างๆ ของ กกต. ก็เป็นการปิดกั้นเสรีภาพ เช่นหลักเกณฑ์ที่ใช้กับสื่อ โดยเฉพาะทางโทรทัศน์ เราจะเห็นได้ว่าการอภิปรายถกแถลงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญมีอย่างจำกัดมาก มีอยู่เพียงช่องเดียวหรือไม่กี่ช่องที่มาการถกแถลงกันได้ แต่ก็มีน้อยครั้งน้อยประเด็น แทนที่จะเปิดให้สื่อทั้งหลายทีวีทุกช่องทำได้อย่างเสรีนอกจากนี้ก็มีการกำหนดหลักเกณฑ์ว่าต้องมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นมาพูดคุยกัย ฝ่ายผู้ร่างหรือผู้สนับสนุนก็จะใช้วิธีการไม่มาร่วม เพื่อที่จะได้อ้างหลักเกณฑ์ดังกล่าวของ กกต. ไม่ให้เกิดรายการต่างๆ เหล่านั้น เป็นลักษณะสมคบกันจงใจให้เกิดเงื่อนไขเหล่านี้ ซึ่งถือว่าเป็นการปิดกั้นเสรีภาพ เพราะฉะนั้นงานของ กกต. โดยส่วนใหญ่แล้วจึงมีลักษณะตรงข้ามกับสิ่งที่ควรจะทำ
หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านคิดว่าจะยังคงมีเลือกตั้งในปี 60 ตามที่ คสช. สัญญาไว้อยู่ไหม
จะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะต้องมีการเลือกตั้งตามกำหนดเดิมในปี 60 นี่เป็นคำพูดของ คสช.เอง ผู้นำหรือคนในคณะก็พูดไปหลายครั้ง มันก็เหมือนการทำสัญญาประชาคมกลายๆ ไปแล้ว การจะเปลี่ยนจากนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และผมคิดว่าคนในสังคมเริ่มมีความรู้สึกมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าอยากให้มีการเลือกตั้งตามกำหนดหรืออย่างน้อยก็ไม่ล่าช้าออกไป เพราะบ้านเมืองของเราอยู่ในสภาพเสียหายภายใต้การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและอยู่กับรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมานานมากแล้ว เพราะฉะนั้นจะผ่านหรือไม่ผ่านก็ต้องมีการเลือกตั้งตามกำหนดและสังคมก็จะเรียกร้องให้เป็นอย่างนั้นด้วย แต่ถ้าไม่ผ่าน แน่นอน ก็จะมีการร่างรัฐฐธรรมนูญกันใหม่ ตอนนี้ภาคประชาสังคมต่างๆ ที่สนใจเรื่องการเมือง คนจากหลายสีหลายฝ่ายก็มีความเห็นร่วมกันเรียกร้องให้การทำประชาตินี้มีเสรีภาพมากขึ้น เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญในกรณีที่ร่างปัจจุบันไม่ผ่านประชามติ หลายฝ่ายที่มาร่วมกันนี้ก็เห็นว่ามันมีทางออกที่เป็นสันติวิธีแบบไม่ต้องเผชิญหน้า นั่นคือผ่านการหารือร่วมกันมันเป็นแนวโน้มที่ดีที่เราจะสามารถมีรัฐธรรมนูญที่เป็นที่ยอมรับจากคนในสังคมมากขึ้น การหารือนี้ก็ร่วมถึงการหารือกับ คสช. และแม่น้ำห้าสายด้วย มันจึงเป็นวิธีการที่ไม่มีการเผชิญหน้า ถ้า คสช. จะรับเอาแนวคิดเหล่านี้ไปใช้ เปิดให้มีการหารือ มันก็จะทำให้การร่างรัฐธรรมนูญใหม่มีความสอดคล้องกับความเห็นของคนส่วนใหญ่มากยิ่งขึ้น การร่างรัฐธรรมนูญใหม่มันก็อาจจะไม่ต้องใช้เวลานานมาก เพราะความจริง หลายๆฝ่ายในสังคมก็มีความคิดเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญอยู่แล้วพอสมควร แต่ถ้าจะให้ดี มันต้องใช้เวลา มันก็มีวิธีที่จะให้มีการเลือกตั้งขึ้นก่อน โดยอาจจะหยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งขึ้นมาใช้ก่อนเพื่อให้สามารถจัดการเลือกตั้งได้ เมื่อเรามีรัฐบาลและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว เราก็จะสามารถกำหนดกระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา อาจจะใช้เวลานานหน่อยแต่เราก็จะได้รัฐธรรมนูญที่ดี สิ่งเหล่านี้ก็เป็นข้อเสนอทางหนึ่ง แต่ผมเน้นย้ำเสมอว่ามันไม่จำเป็นต้องอย่างนี้เสมอไป แต่ที่ควรจะเป็นก็คือเมื่อรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ควรมีการเปิดให้หลายฝ่ายมีส่วนร่วมมีการพูดจาหารือกันอย่างกว้างขวางและหาทางออกร่วมกัน
ความจริงปัญหาที่ใหญ่กว่าที่จะเกิดกับประเทศไทยคือถ้ารัฐธรรมูญผ่าน ซึ่งคนอาจจะมองง่ายๆว่าถ้าผ่านก็จะมีการเลือกตั้งตามกำหนดและอะไรต่างๆ มันจะค่อยๆ ดีขึ้น ซึ่งในความจริงแล้วหลังจากรัฐธรรมนูญผ่านในช่วง ปีหกเดือนถึงปีเก้าเดือน คสช. จะยังคงมีอำนาจเหมือนเดิม หรือจะอาจจะเข้มแข็งขึ้นด้วยซ้ำ เพราะสามารถอ้างได้ว่าได้รับความเห็นชอบจากประชาชนมาแล้ว บรรยากาศความไม่เป็นประชาธิปไตยจะมากขึ้น การดำเนินการต่างๆของ คสช. ร่วมถึงองค์กรต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นในสภาพที่ประชาชนไม่มีเสรีภาพและไม่มีส่วนร่วม ซึ่งมันจะเป็นปัญหามาก เพราะหากมีการออกกฎหมายในช่วงเวลาดังกล่าว กฎหมายเหล่านั้นจะแก้ได้ยากมาก เพราะเขาจะอ้างว่ากฎหมายสำหรับการปฏิรูป สิ่งเหล่านี้จะเป็นวิกฤตของประเทศนี้ไปอีกยาวนาน
ขณะนี้ยังมีประชาชนบางส่วนที่ยังไม่ได้รับร่างฉบับเต็ม รวมถึงคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้เรื่องประชามติ คิดว่าเป็นปัญหามากแค่ไหน
ก็เป็นปัญหามากพอสมควร เพราะว่ากกต.ทำงานล่าช้ามาก และน่าสงสัยว่าเป็นการจงใจไม่ต้องการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญให้คนทราบจริงๆ อาจจะต้องการเน้นแค่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญ และก็ร่วมมือกับ กรธ. และ สนช. ทำจุลสารเกี่ยวกับประชามติที่มีการชี้นำฝ่ายเดียว เน้นแต่ข้อดี จงใจที่จะไม่ชี้แจงหลายเรื่องที่คนวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก ทำให้คนเห็นแต่เรื่องที่เป็นข้อดีไม่เห็นส่วนนที่คนวิจารณ์กันซึ่งเป็นเรื่องที่เสียหายมาก เพราะ กกต. ควรวางตัวเป็นกลางแต่กลับมารับรองเอกสารที่ไม่เป็นกลาง
จากการลงพื้นที่ของคุณจาตุรนต์ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นอย่างไร
เนื่องจากไม่มีการเผยแพร่ร่างฉบับเต็ม ทำให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลเฉพาะใจความสำคัญ และให้ความสำคัญกับสองส่วนคือ หนึ่งคือส่วนของการเมือง เรื่องของอำนาจ การเลือกตั้ง พรรคการเมือง อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง เช่นโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคจะเป็นอย่างไร นโยายเรียนฟรีสิบสองปี เบี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ หรือการแทรกแซงสินค้าเกษตร นอกนั้นก็จะเป็นเรื่องที่ค่อนไปทางความรู้สึกเกี่ยวกับว่าถ้ารัฐร่างรัฐธรรมนูญผ่านจะได้เลือกตั้งเร็วขึ้น การตัดสินใจของประชาชนก็วางอยู่บนแนวคิดเหล่านี้ จะว่าผิดเสียทีเดียวก็คงไม่ได้ แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้ไปดูในรายละเอียด การตัดสินใจของประชาชนก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุผลทางการเมืองค่อนข้างมาก การถกเถียงหรือรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างก็ไม่มีมากที่ควร อันนี้ก็เป็นจุดอ่อนสำคัญของการทำประชามติในครั้งนี้ ความรู้สึกพอใจไม่พอใจต่อการบริหารประเทศ ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สภาวะที่ไม่มีเสรีภาพ และการคุกคามอย่างหนัก สิ่งเหล่านี้ล้วนส่วนต่อการตัดสินใจของประชาชนไม่น้อยเหมือนกัน
คิดอย่างไรกับกระแส ไม่รับร่างเพื่อให้ คสช. อยู่ยาวๆ
ผมคิดว่ามีไม่มาก คนที่อยากให้ คสช. อยู่ยาวจริงๆ จะรับร่างเสียมากกว่า เพราะเขารู้ว่า คสช. จะกำกับการบริหารประเทศโดยผ่าน สว. ไปได้อีกหลายปี และแผนการปฏิรูป แผนยุทธศาสตร์ก็จะมีผลไปอีกยาวนาน มีที่คิดว่าจะให้ผ่านเพราะอยากให้ คสช.ไปเร็วๆ พวกนี้ก็มีไม่น้อย แต่ก็ลดลงเรื่อยๆ พวกนี้คือพวกที่รับฟังข้อมูลมาอย่างผิวเผินและคิดง่ายๆ นึกว่าพอมีรัฐธรรมนูญแล้ว คสช. จะยุติไปทันที และจะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งปลอด คสช. แต่คนพวกนี้ถ้าได้รับฟังข้อเท็จจริงแล้วก็จะเข้าใจว่าถ้าผ่าน คสช. จะอยู่ยาว คนส่วนนี้มีการเพิ่มขึ้นทุกวันในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา
อีกกระแสหนึ่งคือกระแสบอยคอต หรือ No Vote กระแสนี้มีมาตั้งแต่ต้นและก็แผ่วลง มาถึงวันนี้คนก็คงเห็นความไม่เป็นเสรี ความไม่ยุติธรรมของการประชามติครั้งนี้ดี นอกจากนี้ยังมีการปิดกั้นประชาชนไม่ให้แสดงความคิดเห็น ยิ่งทำให้ประชามติครั้งนี่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน แต่เนื่องจากกระแสการไม่ยอมรับ และการแส vote no มันมาแรงกว่ามาก ผู้ที่เคยบอยคอตน่าจะเป็นเปลี่ยนใจและเลือกที่จะโหวตในทางใดทางหนึ่ง จึงไม่น่าจะมีผลมากนัก
ผมเชื่อว่า คสช. จะรู้เองในทันทีว่าหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน สถานะของตนจะสั่นคลอนมาก ความเชื่อถือต่อ คสช. จะลดลงมาก จน คสช.อยู่ในสภาพลุกลี้ลุกลน ต้องหาทางลดความไม่พอใจ โดยการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้เสร็จโดยเร็ว และการเลือกตั้งตามกำหนด มันน่าจะเกิดขึ้นแบบนี้มากกว่า เพราะในการลงประชามติครั้งนี้ประชาชนยังไม่ได้สรุปว่าจะเอาหรือไม่เอา คสช. แต่ประชาชนสรุปว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรนูญของแม่น้ำห้าสาย ซึ่งมาจากการกำกับโดย คสช. เป็นหลัก หาก Vote No ขนะก็หมายความว่าประชาชนไม่สนับสนุนให้ คสช. อยู่ยาวๆ และไม่ต้องการให้เกิดการสืบทอดอำนาจไปอีกสิบปียี่สิบปีอย่างที่ คสช.ต้องการ
ประเมินว่า Yes หรือ No จะชนะ
เมื่อเริ่มต้น ผมคิดว่าโอกาสที่จะผ่านมีมากกว่า เมื่อถึงวันนี้คิดว่าโอกาสที่จะผ่านมีน้อยแล้ว โอกาสที่จะไม่ผ่านสูงกว่ามาก และจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้าใกล้วันประชามติ แต่ที่เป็นห่วงคือ 2 อย่าง หนึ่งคืออาจมีการทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้ผลพลิกไปได้ แต่ก็คิดว่าไม่น่าจำได้ง่ายๆ สองคือ เป็นห่วงว่าจะมีการล้มประชามติไม่ว่าจะอ้างเหตุอะไรก็แล้วแต่ แต่โชคดีที่ไม่มีการป่วนประชามติเกิดขึ้น ซึ่งก็ทำให้การหาข้ออ้างมาล้มการทำประชามติยากขึ้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าน่าจะไม่ผ่านแน่ๆ แต่ประชาชนก็ต้องไม่ประมาท คนที่ไม่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญต้องไม่นอนหลับทับสิทธิ์ และไปลงคะแนนกันอย่างจริงจัง ผลจึงจะออกมาอย่างนั้น
ถ้าไม่มีการโกงอย่างได้ผล ผมคิดว่าจะชนะอย่างค่อนข้างชัดเจน แต่ผมก็ถือหลักว่าไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง ประชาชนต้องช่วยกันทั้งไปออกเสียงให้มาก และป้องกันการโกงให้ถึงที่สุด ก็คงจะใช้ smart phone ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด เมื่อเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 35 ประชาชนเอาชนะเผด็จการได้ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือธรรมดาในการติดต่อสื่อสารกัน มาคราวนี้การสื่อสารผ่าน smart phone และโซเชียลมีเดียทำให้เราสามารถถ่ายวีดีโอคลิปและส่งถึงกันได้อย่างรวดเร็ว นี่คือเครื่องมือป้องกันการโกงที่สำคัญ ป้องกันไม่ให้มีการกาบัตรใส่เอง นับคำแนนคลาดเคลื่อน รวมคะแนนคลาดคเลื่่อน หรือเอาคนเวียนมาลงคะแนนซ้ำ ประชาชนต้องตื่นตัว มาเฝ้าหน่วยเลือกตั้งใช้ smart phone ของตัวเองให้เป็นประโยชน์
คิดว่าอีกนานแค่ไหนกว่าเราจะกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย
มีคนถามคำถามนี้กับผมมาหลายรอบแล้ว นับตั้งแต่มาเป็นนักการเมืองใหม่ๆ เมื่อปีสามสิบปีก่อน ก็มีคนถามคำถามนี้กับผมทั้งคนไทยและต่างชาติ เวลาคนต่างชาติถามคำถามนี้ ผมก็จะไม่ค่อยได้คิดอะไรลึกซึ้ง มักจะตอบไปว่าคงอีกนาน สิบปีสิบห้าปีอะไรแบบนั้น ต่อมามีการรัฐประหารสมัย รสช. ปี 34 หลังจากนั้นก็เกิดพฤภาทมิฬปี 35 ผมก็คิดว่าเราคงจะได้อยู่กับประชาธิปไตยไปนานๆ และจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเราได้รัฐธรรมนูญปี 40 มา การเมืองก็เข้าที่เข้าทางมากขึ้น แต่เราก็มีรัฐประหารปี 49 ปีนั้นก็มีคนมาถามผมว่าเมื่อไหร่เราจะมีประชาธิปไตย ผมก็ตอบเหมือนเดิมว่าอีกคงจะนานมาก แต่ไม่สามารถคิดเป็นตัวเลขได้ว่ากี่ปี แต่เอาเป็นว่าอีกห้าปีสิบปีก็น่าจะยังไม่มีประชาธิปไตย และมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ สิบปีต่อมา ปี 59 เราอยู่ในสภาพที่เป็นประชาธิปไตยน้อยกว่า ล้าหลังยิ่งกว่าปี 49 เสียอีก เพราะฉะนั้นในสภาพที่ยื้อกันไปยื้อกันมาระหว่างพลังของชนชั้นนำ ผู้ไม่นิยมศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยผู้ที่ไม่เชื่อว่าประชาชนจะปกครองตนเองได้ กับฝ่ายประชาธิปไตยซึ่งมีทั้งองค์กรต่างๆ มีพรรคการเมือง ผู้สนับสนุน ผู้ที่พร้อมจะออกเสียงเลือกตั้ง และผู้ที่ต้องการประชาธิปไตยจากภาคประชาสังคม ในความขัดแย้งภายในฝ่ายประชาธิปไตย มันยังอยู่ในสภาพที่ไม่มีฝ่ายใดเหนือกว่ากันอย่างเด็ดขาด ยังพอจะยื้อกันไปยื้อกันมาได้ แต่ในทางกลับกันฝ่ายที่ไม่ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยกลับอยู่ในสภาพที่เหนือกว่า เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะได้เป็นประชาธิปไตยเร็วๆนี้จึงยากมาก เพราะประชาธิปไตยมันต้องอาศัยความเข้าใจของประชาชนจำนนมาก และกลุ่มพลังต่างๆ ในสังคมต้องมีความเข้าใจในประชาธิปไตย แต่ทุกวันนี้กลุ่มพลังส่วนที่มีความสำคัญและมีเสียงดัง คือชนชั้นนำ กลุ่มธุรกิจ หรือชนชั้นกลางค่อนไปทางสูง กลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่มีความเข้าใจและความเชื่อถือในเรื่องประชาธิปไตย มันจึงยากที่เราจะมีประชาธิปไตยในเวลาอันใกล้นี้
ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านมันก็จะหยุดยั้งกระบวนการสืบทอดอำนาจ และหยุดยั้งความพยายามของ คสช. ในการทำให้บ้านเมืองอยู่ภายใต้การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไปอีกยาวนาน หลังจากนั้นก็อาจจะมีการตั้งหลักกันใหม่ว่าจะทำยังไงให้ประชาธิปไตยกลับคืนมา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถดึงกลับมาได้ในทันที มันยังต้องใช้เวลาให้ฝ่ายต่างๆ ค่อยๆเรียนรู้ และพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยให้มากขึ้น แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่าน สังคมก็จะอยู่ภายใต้การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไปอีกยาวนานมาก ตีเป็นตัวเลขสักประมาณ 10 ปีที่เราจะต้องอยู่ในระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างยิ่ง ไม่รู้ด้วยว่าจะถอยหลังกว่าวันนี้หรือไม่ เพราะว่ามันเป็นการวางระบบการปกครองที่มัดประชาธิปไตยไว้อย่างแน่นหนามาก มีโครงสร้าง กลไก ที่มีความซับซ้อน เพื่อทำให้ระบบนี้มีความมั่นคง ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือระบบนี้จะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้และนำไปสู่ความขัดแย้ง ซึ่งหากเราขาดความเข้าใจ ขาดการพัฒนาเรื่องประชาธิปไตย ปัญหาดังกล่าวอาจจะนำไปสู่การใช้กำลังและการยึดอำนาจกันอีกก็ได้และมันก็จะกลับมาแบบเดิม หรืออาจจะย้อนหลังไปกว่าวันนี้ ซึ่งคำว่าวันนี้ของเรา ความจริงแล้วมันย้อนหลังกลับไปอีก 40-50 ปี ที่สำคัญที่สุด ผมว่าเราต้องส่งเสริมให้หลายฝ่ายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ หลักยุติธรรมให้มากขึ้น ช่วยการสร้างทางเลือกทางออกให้กับสังคม ให้สังคมเห็นว่าถ้าบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร
.....
จาตุรนต์ ฉายแสง วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ และบรรยากาศการเมืองช่วงโค้งสุดท้ายประชามติ พร้อมอ่านทุกกระแสทั้ง “Vote Yes” “Vote No” และ “No Vote” จวก กกต. จงใจปิดกั้นความเห็นต่าง ชี้ “Vote No” ชนะแน่หากไม่มีการโกง
ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการลงประชาติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คสช. ในวันที่ 7 สิงหาคมที่จะถึงนี้ แม้ว่าเป็นจะเป็นครั้งในรอบ 2 ปีที่ประชาชนคนไทยได้มีโอกาสจับปากกาในคูหาเลือกตั้ง แต่สัญญาณที่ประเทศจะกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยนั่นยังคงดูริบหรี่ หากประเมินจากลักษณะการกระชับอำนาจอย่างต่อเนื่องของ คสช. ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนประชามติในครั้งนี้ ก็จะพบว่า คสช. ดูไม่มีท่าทีที่จะโอนอ่อนผ่อนปรน หรือไม่แน่วโนมที่จะขึ้นอำนาจสู่ประชาชนแต่อย่างใด จนกลายกระแสความไม่แน่ใจว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 60 ตามที่ คสช. ได้ให้สัจวาจาไว้หรือเปล่า
แต่ถึงกระนั้น นักการเมืองผู้คร่ำหวอดในวงการมายาวนานอย่าง จาตุรนต์ ฉายแสง ก็ยังไงเชื่อว่าการเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นในปีหน้าอย่างแน่นอน ไม่ว่าผลการทำประชามติจะออกมาเป็นอย่างไร แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะได้กลับเข้าสู่ประชาธิปไตยในเร็ววัน ตรงกันข้าม จาตุรนต์มองว่าประเทศไทยยังคงห่างจากสังคมประชาธิปไตย เพราะกลุ่มผู้มีอำนาจยังคงไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตย
00000
ประชาไท : ประเด็นใดในร่างรัฐธรรนูญฉบับมีชัยที่น่าเป็นห่วงที่สุด
จาตุรนต์ : ที่มีปัญหามากที่สุดก็คือการที่รัฐธรรมนูญนี้จะให้อำนาจแก่บุคคลและองค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจเหนือรัฐบาลและสภา ผู้ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยเฉพาะผู้ที่มาจาก คสช. จะร่วมกำหนดตัวนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งก็เท่ากับการตั้งรัฐบาลโดยมีคนของ คสช.เป็นแกน และกำหนดการบริหารประเทศต่อไป เมื่อมียุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปกำหนดอยู่ด้วย ยิ่งทำให้รัฐบาลไม่สามารถกำหนดนโยบายไปแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนได้ รัฐบาลต้องฟัง สว. ที่มาจากการ สรรหาของ คสช. 250 คน นอกจากนี้ยังมีองค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจอย่างมาก ที่จะกำกับรัฐบาลอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ในส่วนของการออกกฎหมายต่างๆ สว. ซึ่งอาจจะคุมรัฐบาลได้ด้วย ก็จะสามารถคุมเสียงข้างมากทั้งในรัฐสภา และสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. จึงไม่สามารถออกกฎหมายตามความต้องการของประชาชนได้อีกเช่นเดียวกัน ทั้งหมดนี้ก็จะทำให้เรามีรัฐบาลและรัฐสภาที่ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้ สภาพอย่างนี้จะอยู่ไปอีกนานมาก เพราะ สว. ที่มาจากคสช.จะมีอายุ 5 ปีทำให้เลือกนายกได้ 2 สมัย สภาพอย่างนี้มันจะทำให้ประเทศล้าหลัง ปัญหาของประชาชนไม่ได้รับการแก้ไขและจะกลายเป็นปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งอีกปัญหาหนึ่งก็คือรัฐธรรมนูญนี้แก้ไม่ได้ แก้ยากมากเสียจนเรียกได้ว่าแก้ไม่ได้ ซึ่งจะทำให้บ้านเมืองเข้าสู่วิกฤติที่ไม่มีทางออกตามครรลองปรกติ
คิดอย่างไรกับบรรยากาศทางกาารเมืองช่วงก่อนลงประชามติ
บรรยกาศในช่วงการลงประชามติ เป็นการทำประชามติที่ไม่เสรีและไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง คือผู้ที่เห็นต่างถูกจับผิด ข่มขู่คุกคาม ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างมาก รวมทั้งสื่อมวลชนก็ไม่ได้มีโอกาสที่จะเสนอความเห็นต่างหรือถกเถียงอภิปรายความคิดเห็นที่แตกต่าง ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลจากฝ่ายที่เห็นต่างน้อยมาก ในขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ถูกส่งถึงมือประชาชนส่นใหญ่ มีการส่งฉบับย่อให้ประชาชนจำนวนเพียงเล็กน้อย และฉบับย่อที่ส่งไปก็มีลักษณะชี้นำจูงใจด้วยเนื้อหาที่ไม่ค่อยสอดคล้องกับตัวร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดทำโดย กรธ. สนช. และ กกต. ฝ่ายร่างและฝ่ายสนับสนุนก็ใช้กลไกและงบประมาณของรัฐ ใช้บุคลลากรของรัฐจำนวนมากไปชี้แจงในลักษณะที่พูดถึงแต่ข้อดี หรือชี้นำประชาชนให้ไปออกเสียงรับร่างรัฐธรรมนูญอย่างโจ่งแจ้ง นอกจากนั้นการทำประชามติครั้งนี้ไม่เปิดให้มีการสังเกตการณ์ทั้งจากประชาชนและจากต่างประเทศ จึงทำให้มีความวิตกกันว่าจะมีการโกงการเลือกตั้ง ตั้งแต่การออกเสียงลงคะแนนไปจนถึงกระบวนการนับคะแนน พูดได้ว่าเป็นการลงประชามติที่ไม่เสรีและยุติธรรม รวมทั้งยังมีการข่มขู่คุกคามรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ มีการสร้างภาพเกินจริงว่ามีขบวนการร่างรัฐธรรมนูญปลอมบ้าง บิดเบือนข้อเท็จจริงบ้าง ป่วนประชามติบ้าง หรือจะล้มประชามติบ้าง ซึ่งในความจริงแล้วไม่มีเลย มีการเผยแพร่เอกสารที่เป็นความเห็นต่างอยู่บ้างซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเลยแต่ก็มีการภาพให้กลายเป็นเรื่องใหญ่โตร้ายแรง เหมือนกับมีการก่อการร้ายเพื่อจะข่มขู่และสกัดกั้นการแสดงความเห็นต่าง
คิดอย่างไรกับบทบาทของ กกต. ในการจัดทำประชามติครั้งนี้
ตามหลักการจริงๆ แล้ว กกต. ควรจะเป็นองค์กรที่มีไว้เพื่อเป็นองค์กรอิสระจากรัฐหรือหน่วยราชการต่างๆ เพื่อทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง หรือจัดทำการลงประชามติอย่างเป็นกลาง แต่ว่าในครั้งนี้ กกต.มีบทบาทที่เอนเอียงอย่างเห็นได้ชัด มีการออกหลักเกณฑ์ที่อ้างว่าเป็นไปตามกฎหมายประชามติ ซึ่งก็เกินจริง เน้นไปทางข้อห้าม มักมาจับผิด หรือมาตอกย้ำว่าอะไรทำได้แต่ไม่มีการส่งเสริมในสิ่งที่ทำได้หรือควรจะเกิดขึ้น ซึ่งได้แก่การแสดงความคิดเห็นและการให้ข้อมูลของทุกฝ่าย นอกจากนี้กกต.ยังมีการร่วมมือกับ กรธ และ สนช. ในการทำเอกสารเผยแพร่ซึ่งมีความเอนเอียงอย่างชัดเจน เอกสารเช่นนี้ถ้าจะมีก็ควรเป็นฝ่ายที่รับผิดชอบเรื่องเนื้อหารัฐธรรมนูญเป็นคนดำเนินการ แล้วกกต. ควรจะตรวจสอบว่ามีลักษณะชี้นำเกินจริงหรือไม่ ไม่ใช่ไปร่วมด้วยจนเหมือนไปรับรองเอกสารพวกนั้นไปในตัว นอกจากนี้หลักเกณฑ์ต่างๆ ของ กกต. ก็เป็นการปิดกั้นเสรีภาพ เช่นหลักเกณฑ์ที่ใช้กับสื่อ โดยเฉพาะทางโทรทัศน์ เราจะเห็นได้ว่าการอภิปรายถกแถลงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญมีอย่างจำกัดมาก มีอยู่เพียงช่องเดียวหรือไม่กี่ช่องที่มาการถกแถลงกันได้ แต่ก็มีน้อยครั้งน้อยประเด็น แทนที่จะเปิดให้สื่อทั้งหลายทีวีทุกช่องทำได้อย่างเสรีนอกจากนี้ก็มีการกำหนดหลักเกณฑ์ว่าต้องมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นมาพูดคุยกัย ฝ่ายผู้ร่างหรือผู้สนับสนุนก็จะใช้วิธีการไม่มาร่วม เพื่อที่จะได้อ้างหลักเกณฑ์ดังกล่าวของ กกต. ไม่ให้เกิดรายการต่างๆ เหล่านั้น เป็นลักษณะสมคบกันจงใจให้เกิดเงื่อนไขเหล่านี้ ซึ่งถือว่าเป็นการปิดกั้นเสรีภาพ เพราะฉะนั้นงานของ กกต. โดยส่วนใหญ่แล้วจึงมีลักษณะตรงข้ามกับสิ่งที่ควรจะทำ
หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านคิดว่าจะยังคงมีเลือกตั้งในปี 60 ตามที่ คสช. สัญญาไว้อยู่ไหม
จะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะต้องมีการเลือกตั้งตามกำหนดเดิมในปี 60 นี่เป็นคำพูดของ คสช.เอง ผู้นำหรือคนในคณะก็พูดไปหลายครั้ง มันก็เหมือนการทำสัญญาประชาคมกลายๆ ไปแล้ว การจะเปลี่ยนจากนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และผมคิดว่าคนในสังคมเริ่มมีความรู้สึกมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าอยากให้มีการเลือกตั้งตามกำหนดหรืออย่างน้อยก็ไม่ล่าช้าออกไป เพราะบ้านเมืองของเราอยู่ในสภาพเสียหายภายใต้การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและอยู่กับรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมานานมากแล้ว เพราะฉะนั้นจะผ่านหรือไม่ผ่านก็ต้องมีการเลือกตั้งตามกำหนดและสังคมก็จะเรียกร้องให้เป็นอย่างนั้นด้วย แต่ถ้าไม่ผ่าน แน่นอน ก็จะมีการร่างรัฐฐธรรมนูญกันใหม่ ตอนนี้ภาคประชาสังคมต่างๆ ที่สนใจเรื่องการเมือง คนจากหลายสีหลายฝ่ายก็มีความเห็นร่วมกันเรียกร้องให้การทำประชาตินี้มีเสรีภาพมากขึ้น เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญในกรณีที่ร่างปัจจุบันไม่ผ่านประชามติ หลายฝ่ายที่มาร่วมกันนี้ก็เห็นว่ามันมีทางออกที่เป็นสันติวิธีแบบไม่ต้องเผชิญหน้า นั่นคือผ่านการหารือร่วมกันมันเป็นแนวโน้มที่ดีที่เราจะสามารถมีรัฐธรรมนูญที่เป็นที่ยอมรับจากคนในสังคมมากขึ้น การหารือนี้ก็ร่วมถึงการหารือกับ คสช. และแม่น้ำห้าสายด้วย มันจึงเป็นวิธีการที่ไม่มีการเผชิญหน้า ถ้า คสช. จะรับเอาแนวคิดเหล่านี้ไปใช้ เปิดให้มีการหารือ มันก็จะทำให้การร่างรัฐธรรมนูญใหม่มีความสอดคล้องกับความเห็นของคนส่วนใหญ่มากยิ่งขึ้น การร่างรัฐธรรมนูญใหม่มันก็อาจจะไม่ต้องใช้เวลานานมาก เพราะความจริง หลายๆฝ่ายในสังคมก็มีความคิดเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญอยู่แล้วพอสมควร แต่ถ้าจะให้ดี มันต้องใช้เวลา มันก็มีวิธีที่จะให้มีการเลือกตั้งขึ้นก่อน โดยอาจจะหยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งขึ้นมาใช้ก่อนเพื่อให้สามารถจัดการเลือกตั้งได้ เมื่อเรามีรัฐบาลและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว เราก็จะสามารถกำหนดกระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา อาจจะใช้เวลานานหน่อยแต่เราก็จะได้รัฐธรรมนูญที่ดี สิ่งเหล่านี้ก็เป็นข้อเสนอทางหนึ่ง แต่ผมเน้นย้ำเสมอว่ามันไม่จำเป็นต้องอย่างนี้เสมอไป แต่ที่ควรจะเป็นก็คือเมื่อรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ควรมีการเปิดให้หลายฝ่ายมีส่วนร่วมมีการพูดจาหารือกันอย่างกว้างขวางและหาทางออกร่วมกัน
ความจริงปัญหาที่ใหญ่กว่าที่จะเกิดกับประเทศไทยคือถ้ารัฐธรรมูญผ่าน ซึ่งคนอาจจะมองง่ายๆว่าถ้าผ่านก็จะมีการเลือกตั้งตามกำหนดและอะไรต่างๆ มันจะค่อยๆ ดีขึ้น ซึ่งในความจริงแล้วหลังจากรัฐธรรมนูญผ่านในช่วง ปีหกเดือนถึงปีเก้าเดือน คสช. จะยังคงมีอำนาจเหมือนเดิม หรือจะอาจจะเข้มแข็งขึ้นด้วยซ้ำ เพราะสามารถอ้างได้ว่าได้รับความเห็นชอบจากประชาชนมาแล้ว บรรยากาศความไม่เป็นประชาธิปไตยจะมากขึ้น การดำเนินการต่างๆของ คสช. ร่วมถึงองค์กรต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นในสภาพที่ประชาชนไม่มีเสรีภาพและไม่มีส่วนร่วม ซึ่งมันจะเป็นปัญหามาก เพราะหากมีการออกกฎหมายในช่วงเวลาดังกล่าว กฎหมายเหล่านั้นจะแก้ได้ยากมาก เพราะเขาจะอ้างว่ากฎหมายสำหรับการปฏิรูป สิ่งเหล่านี้จะเป็นวิกฤตของประเทศนี้ไปอีกยาวนาน
ขณะนี้ยังมีประชาชนบางส่วนที่ยังไม่ได้รับร่างฉบับเต็ม รวมถึงคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้เรื่องประชามติ คิดว่าเป็นปัญหามากแค่ไหน
ก็เป็นปัญหามากพอสมควร เพราะว่ากกต.ทำงานล่าช้ามาก และน่าสงสัยว่าเป็นการจงใจไม่ต้องการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญให้คนทราบจริงๆ อาจจะต้องการเน้นแค่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญ และก็ร่วมมือกับ กรธ. และ สนช. ทำจุลสารเกี่ยวกับประชามติที่มีการชี้นำฝ่ายเดียว เน้นแต่ข้อดี จงใจที่จะไม่ชี้แจงหลายเรื่องที่คนวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก ทำให้คนเห็นแต่เรื่องที่เป็นข้อดีไม่เห็นส่วนนที่คนวิจารณ์กันซึ่งเป็นเรื่องที่เสียหายมาก เพราะ กกต. ควรวางตัวเป็นกลางแต่กลับมารับรองเอกสารที่ไม่เป็นกลาง
จากการลงพื้นที่ของคุณจาตุรนต์ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นอย่างไร
เนื่องจากไม่มีการเผยแพร่ร่างฉบับเต็ม ทำให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลเฉพาะใจความสำคัญ และให้ความสำคัญกับสองส่วนคือ หนึ่งคือส่วนของการเมือง เรื่องของอำนาจ การเลือกตั้ง พรรคการเมือง อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง เช่นโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคจะเป็นอย่างไร นโยายเรียนฟรีสิบสองปี เบี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ หรือการแทรกแซงสินค้าเกษตร นอกนั้นก็จะเป็นเรื่องที่ค่อนไปทางความรู้สึกเกี่ยวกับว่าถ้ารัฐร่างรัฐธรรมนูญผ่านจะได้เลือกตั้งเร็วขึ้น การตัดสินใจของประชาชนก็วางอยู่บนแนวคิดเหล่านี้ จะว่าผิดเสียทีเดียวก็คงไม่ได้ แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้ไปดูในรายละเอียด การตัดสินใจของประชาชนก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุผลทางการเมืองค่อนข้างมาก การถกเถียงหรือรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างก็ไม่มีมากที่ควร อันนี้ก็เป็นจุดอ่อนสำคัญของการทำประชามติในครั้งนี้ ความรู้สึกพอใจไม่พอใจต่อการบริหารประเทศ ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สภาวะที่ไม่มีเสรีภาพ และการคุกคามอย่างหนัก สิ่งเหล่านี้ล้วนส่วนต่อการตัดสินใจของประชาชนไม่น้อยเหมือนกัน
คิดอย่างไรกับกระแส ไม่รับร่างเพื่อให้ คสช. อยู่ยาวๆ
ผมคิดว่ามีไม่มาก คนที่อยากให้ คสช. อยู่ยาวจริงๆ จะรับร่างเสียมากกว่า เพราะเขารู้ว่า คสช. จะกำกับการบริหารประเทศโดยผ่าน สว. ไปได้อีกหลายปี และแผนการปฏิรูป แผนยุทธศาสตร์ก็จะมีผลไปอีกยาวนาน มีที่คิดว่าจะให้ผ่านเพราะอยากให้ คสช.ไปเร็วๆ พวกนี้ก็มีไม่น้อย แต่ก็ลดลงเรื่อยๆ พวกนี้คือพวกที่รับฟังข้อมูลมาอย่างผิวเผินและคิดง่ายๆ นึกว่าพอมีรัฐธรรมนูญแล้ว คสช. จะยุติไปทันที และจะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งปลอด คสช. แต่คนพวกนี้ถ้าได้รับฟังข้อเท็จจริงแล้วก็จะเข้าใจว่าถ้าผ่าน คสช. จะอยู่ยาว คนส่วนนี้มีการเพิ่มขึ้นทุกวันในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา
อีกกระแสหนึ่งคือกระแสบอยคอต หรือ No Vote กระแสนี้มีมาตั้งแต่ต้นและก็แผ่วลง มาถึงวันนี้คนก็คงเห็นความไม่เป็นเสรี ความไม่ยุติธรรมของการประชามติครั้งนี้ดี นอกจากนี้ยังมีการปิดกั้นประชาชนไม่ให้แสดงความคิดเห็น ยิ่งทำให้ประชามติครั้งนี่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน แต่เนื่องจากกระแสการไม่ยอมรับ และการแส vote no มันมาแรงกว่ามาก ผู้ที่เคยบอยคอตน่าจะเป็นเปลี่ยนใจและเลือกที่จะโหวตในทางใดทางหนึ่ง จึงไม่น่าจะมีผลมากนัก
ผมเชื่อว่า คสช. จะรู้เองในทันทีว่าหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน สถานะของตนจะสั่นคลอนมาก ความเชื่อถือต่อ คสช. จะลดลงมาก จน คสช.อยู่ในสภาพลุกลี้ลุกลน ต้องหาทางลดความไม่พอใจ โดยการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้เสร็จโดยเร็ว และการเลือกตั้งตามกำหนด มันน่าจะเกิดขึ้นแบบนี้มากกว่า เพราะในการลงประชามติครั้งนี้ประชาชนยังไม่ได้สรุปว่าจะเอาหรือไม่เอา คสช. แต่ประชาชนสรุปว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรนูญของแม่น้ำห้าสาย ซึ่งมาจากการกำกับโดย คสช. เป็นหลัก หาก Vote No ขนะก็หมายความว่าประชาชนไม่สนับสนุนให้ คสช. อยู่ยาวๆ และไม่ต้องการให้เกิดการสืบทอดอำนาจไปอีกสิบปียี่สิบปีอย่างที่ คสช.ต้องการ
ประเมินว่า Yes หรือ No จะชนะ
เมื่อเริ่มต้น ผมคิดว่าโอกาสที่จะผ่านมีมากกว่า เมื่อถึงวันนี้คิดว่าโอกาสที่จะผ่านมีน้อยแล้ว โอกาสที่จะไม่ผ่านสูงกว่ามาก และจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้าใกล้วันประชามติ แต่ที่เป็นห่วงคือ 2 อย่าง หนึ่งคืออาจมีการทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้ผลพลิกไปได้ แต่ก็คิดว่าไม่น่าจำได้ง่ายๆ สองคือ เป็นห่วงว่าจะมีการล้มประชามติไม่ว่าจะอ้างเหตุอะไรก็แล้วแต่ แต่โชคดีที่ไม่มีการป่วนประชามติเกิดขึ้น ซึ่งก็ทำให้การหาข้ออ้างมาล้มการทำประชามติยากขึ้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าน่าจะไม่ผ่านแน่ๆ แต่ประชาชนก็ต้องไม่ประมาท คนที่ไม่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญต้องไม่นอนหลับทับสิทธิ์ และไปลงคะแนนกันอย่างจริงจัง ผลจึงจะออกมาอย่างนั้น
ถ้าไม่มีการโกงอย่างได้ผล ผมคิดว่าจะชนะอย่างค่อนข้างชัดเจน แต่ผมก็ถือหลักว่าไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง ประชาชนต้องช่วยกันทั้งไปออกเสียงให้มาก และป้องกันการโกงให้ถึงที่สุด ก็คงจะใช้ smart phone ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด เมื่อเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 35 ประชาชนเอาชนะเผด็จการได้ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือธรรมดาในการติดต่อสื่อสารกัน มาคราวนี้การสื่อสารผ่าน smart phone และโซเชียลมีเดียทำให้เราสามารถถ่ายวีดีโอคลิปและส่งถึงกันได้อย่างรวดเร็ว นี่คือเครื่องมือป้องกันการโกงที่สำคัญ ป้องกันไม่ให้มีการกาบัตรใส่เอง นับคำแนนคลาดเคลื่อน รวมคะแนนคลาดคเลื่่อน หรือเอาคนเวียนมาลงคะแนนซ้ำ ประชาชนต้องตื่นตัว มาเฝ้าหน่วยเลือกตั้งใช้ smart phone ของตัวเองให้เป็นประโยชน์
คิดว่าอีกนานแค่ไหนกว่าเราจะกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย
มีคนถามคำถามนี้กับผมมาหลายรอบแล้ว นับตั้งแต่มาเป็นนักการเมืองใหม่ๆ เมื่อปีสามสิบปีก่อน ก็มีคนถามคำถามนี้กับผมทั้งคนไทยและต่างชาติ เวลาคนต่างชาติถามคำถามนี้ ผมก็จะไม่ค่อยได้คิดอะไรลึกซึ้ง มักจะตอบไปว่าคงอีกนาน สิบปีสิบห้าปีอะไรแบบนั้น ต่อมามีการรัฐประหารสมัย รสช. ปี 34 หลังจากนั้นก็เกิดพฤภาทมิฬปี 35 ผมก็คิดว่าเราคงจะได้อยู่กับประชาธิปไตยไปนานๆ และจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเราได้รัฐธรรมนูญปี 40 มา การเมืองก็เข้าที่เข้าทางมากขึ้น แต่เราก็มีรัฐประหารปี 49 ปีนั้นก็มีคนมาถามผมว่าเมื่อไหร่เราจะมีประชาธิปไตย ผมก็ตอบเหมือนเดิมว่าอีกคงจะนานมาก แต่ไม่สามารถคิดเป็นตัวเลขได้ว่ากี่ปี แต่เอาเป็นว่าอีกห้าปีสิบปีก็น่าจะยังไม่มีประชาธิปไตย และมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ สิบปีต่อมา ปี 59 เราอยู่ในสภาพที่เป็นประชาธิปไตยน้อยกว่า ล้าหลังยิ่งกว่าปี 49 เสียอีก เพราะฉะนั้นในสภาพที่ยื้อกันไปยื้อกันมาระหว่างพลังของชนชั้นนำ ผู้ไม่นิยมศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยผู้ที่ไม่เชื่อว่าประชาชนจะปกครองตนเองได้ กับฝ่ายประชาธิปไตยซึ่งมีทั้งองค์กรต่างๆ มีพรรคการเมือง ผู้สนับสนุน ผู้ที่พร้อมจะออกเสียงเลือกตั้ง และผู้ที่ต้องการประชาธิปไตยจากภาคประชาสังคม ในความขัดแย้งภายในฝ่ายประชาธิปไตย มันยังอยู่ในสภาพที่ไม่มีฝ่ายใดเหนือกว่ากันอย่างเด็ดขาด ยังพอจะยื้อกันไปยื้อกันมาได้ แต่ในทางกลับกันฝ่ายที่ไม่ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยกลับอยู่ในสภาพที่เหนือกว่า เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะได้เป็นประชาธิปไตยเร็วๆนี้จึงยากมาก เพราะประชาธิปไตยมันต้องอาศัยความเข้าใจของประชาชนจำนนมาก และกลุ่มพลังต่างๆ ในสังคมต้องมีความเข้าใจในประชาธิปไตย แต่ทุกวันนี้กลุ่มพลังส่วนที่มีความสำคัญและมีเสียงดัง คือชนชั้นนำ กลุ่มธุรกิจ หรือชนชั้นกลางค่อนไปทางสูง กลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่มีความเข้าใจและความเชื่อถือในเรื่องประชาธิปไตย มันจึงยากที่เราจะมีประชาธิปไตยในเวลาอันใกล้นี้
ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านมันก็จะหยุดยั้งกระบวนการสืบทอดอำนาจ และหยุดยั้งความพยายามของ คสช. ในการทำให้บ้านเมืองอยู่ภายใต้การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไปอีกยาวนาน หลังจากนั้นก็อาจจะมีการตั้งหลักกันใหม่ว่าจะทำยังไงให้ประชาธิปไตยกลับคืนมา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถดึงกลับมาได้ในทันที มันยังต้องใช้เวลาให้ฝ่ายต่างๆ ค่อยๆเรียนรู้ และพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยให้มากขึ้น แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่าน สังคมก็จะอยู่ภายใต้การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไปอีกยาวนานมาก ตีเป็นตัวเลขสักประมาณ 10 ปีที่เราจะต้องอยู่ในระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างยิ่ง ไม่รู้ด้วยว่าจะถอยหลังกว่าวันนี้หรือไม่ เพราะว่ามันเป็นการวางระบบการปกครองที่มัดประชาธิปไตยไว้อย่างแน่นหนามาก มีโครงสร้าง กลไก ที่มีความซับซ้อน เพื่อทำให้ระบบนี้มีความมั่นคง ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือระบบนี้จะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้และนำไปสู่ความขัดแย้ง ซึ่งหากเราขาดความเข้าใจ ขาดการพัฒนาเรื่องประชาธิปไตย ปัญหาดังกล่าวอาจจะนำไปสู่การใช้กำลังและการยึดอำนาจกันอีกก็ได้และมันก็จะกลับมาแบบเดิม หรืออาจจะย้อนหลังไปกว่าวันนี้ ซึ่งคำว่าวันนี้ของเรา ความจริงแล้วมันย้อนหลังกลับไปอีก 40-50 ปี ที่สำคัญที่สุด ผมว่าเราต้องส่งเสริมให้หลายฝ่ายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ หลักยุติธรรมให้มากขึ้น ช่วยการสร้างทางเลือกทางออกให้กับสังคม ให้สังคมเห็นว่าถ้าบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร
.....
— Chaturon/จาตุรนต์ (@chaturon) August 6, 2016.....
นอกจากช่องทางของกกต.แล้ว ยังสามารถรายงานได้ที่ We Watch อาสาสมัครเยาวชนสังเกตการณ์ประชามติ https://t.co/m10SazumPQ ติด tag #ส่องประชามติ— เครือข่ายพลเมืองเน็ต (@thainetizen) August 6, 2016