Petitioning พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา and 6 others
ปล่อยไผ่ ดาวดิน
FriendZone started this petition
ร่วมรณรงค์ให้ปล่อย 'ไผ่ ดาวดิน' ได้ที่
Change.org
“ท่านเหมือนพ่อ เราก็เหมือนลูกๆ ชาวบ้านได้รับผลกระทบ ได้โปรดให้ชาวบ้านเข้าไปเถอะ” คือประโยคที่ไผ่ ดาวดินอ้อนวอนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจรายหนึ่งเพื่อขอให้ชาวบ้าน ได้เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย ในวันนั้นมีตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐมากว่า 700 นายเพื่อกันไม่ให้ชาวบ้านร่วมเวที ตำรวจผู้ได้ฟังไผ่ขอร้องน้ำตาไหล ขอให้ตำรวจรายอื่นมาอยู่ตรงทางเข้าแทน...
ไผ่ หรือ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา เกิดในครอบครัวทนายความ พ่อของไผ่ ทนายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา เป็นทนายด้านสิทธิมนุษยชนร่วมทีมเดียวกับทองใบ ทองเปาด์ วิบูลย์ทำงานช่วยเหลือด้านกฎหมายและต่อสู้เคียงข้างชาวบ้านมาเสมอ โดยเฉพาะประเด็นชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและการปฏิรูปที่ดิน แม่ของไผ่คือทนายพริ้ม บุญภัทรรักษา เป็นทนายความคดีครอบครัว ไผ่คลุกคลีกับชาวบ้านตั้งแต่เด็กเพราะตามพ่อไปทำงาน แต่ตั้งมั่นว่าโตขึ้นจะไม่ทำงานช่วยชาวบ้านแบบพ่อ
“ผมเกลียดพ่อด้วยซ้ำ เพราะก่อนหน้านั้นเรามีฐานะ มีรถ มีบ้านหลังใหญ่ แต่พอพ่อทำแบบนี้ รับคดีชาวบ้านคนจนมา รับเขามาหมด เลยต้องขายทุกอย่าง แต่ก็ได้ความรู้สึกว่าเติบโตกับชาวบ้าน"
แต่ความตั้งใจของไผ่ต้องเปลี่ยนไป เมื่อเขาไปเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น และพบ “ดาวดิน” กลุ่มนักศึกษาซึ่งได้รับการจุดประกายในการทำกิจกรรมมาจากการออกค่ายกับมูลนิธิอาสาสมัครพัฒนาเพื่อสังคมเมื่อปี 2547 หลังจากนั้นนักศึกษาหนุ่มกลุ่มนี้ได้ออกเดินทางสำรวจปัญหาต่างๆ ในภาคอีสาน แล้วทำวารสารเล่าเรื่องปัญหาชาวบ้าน แจกฟรีในมหาวิทยาลัยขอนแก่นชื่อว่า “ดาวดิน” ซึ่งได้กลายเป็นชื่อกลุ่มสืบต่อมา
ปี 2547-2549 ดาวดินโจมตีการทุจริตของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรอย่างเข้มข้น ดาวดินรุ่น 1-2 ได้ไปร่วมขับไล่ทักษิณกับม็อบพันธมิตรฯส่วนไผ่ซึ่งเป็นดาวดินรุ่นหลังได้ต่อต้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรมสุดซอยในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่การใช้อำนาจพิเศษนอกเหนือไปจากประชาธิปไตยมาแก้ปัญหาไม่ใช่แนวทางของดาวดิน เพราะกล่าวได้ว่าดาวดินเป็นกลุ่มที่เห็นความสำคัญของกฎหมาย (ที่มีที่มาจากอำนาจของประชาชน) และเห็นข้อดีของประชาธิปไตยอย่างเป็นรูปธรรมจากการลงพื้นที่สัมผัสปัญหาชาวบ้าน
พวกเขาตระหนักว่ากฎหมายไม่กี่มาตราในรัฐธรรมนูญ หากเป็นกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้ประชาชนอย่างแท้จริง ประชาชนก็สามารถใช้กฎหมายนั้นเป็นเครื่องมือปกป้องตนเองได้ การเดินทางและแสวงหาความรู้ ทำให้ไผ่และดาวดินทุกคนรู้ว่า ประเทศไทยนำก๊าซจากใต้พิภพอีสานมาใช้นานกว่าสองทศวรรษ ภาคอีสานครอบครองแม่น้ำโขง ชี มูน ป่าทาม แร่มูลค่าเจ็ดแสนล้านบาท ทองคำนับร้อยๆ ตัน และทรัพยากรอันอุดมใต้ผืนแผ่นดินไว้มากมาย และรัฐไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ให้สัมปทานแหล่งก๊าซและแหล่งปิโตรเลียมแก่บรรษัทข้ามชาติเกือบหมดแล้วเช่นกัน ภาคอีสานเป็นที่จับจ้องของกลุ่มทุนมาเนิ่นนาน และหากจะเอาของจากบ้านใคร เราก็ต้องไล่เจ้าของบ้านเขาไปเสียก่อน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนอีสานมาตลอดหลายทศวรรษ การที่เราพบเห็นคนอีสานจากบ้านมาหางานทำในกรุงเทพฯ มากกว่าคนภาคอื่นๆ นั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเพราะการถูกเบียดขับออกจากพื้นที่อย่างเป็นระบบทั้งทางตรงและทางอ้อม
ขณะที่กลุ่มทุนขุดก๊าซ สูบน้ำมัน พลิกภูเขาหาสินแร่ ควักคว้านทองคำ สิ่งที่เหลือคือเศษดินเศษหินจำนวนมหาศาลจากการระเบิดที่ปนเปื้อนสารโลหะหนักเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ สารพิษจากกากอุตสาหกรรมปนเปื้อนในในสายน้ำที่เชื่อมต่อมาถึงแหล่งน้ำของคนไทยทุกคน ป่าไม้มากมายถูกทำลาย คนไทยได้ประโยชน์จากสภาพเหล่านี้เพียงน้อยนิด โดยเฉพาะคนอีสานที่ต้องอยู่กับเศษซากสารพิษ ทว่าเส้นทางการเดินทางของผลประโยชน์ท่วมท้นเหล่านี้กลับเป็นที่ตรวจสอบได้ว่าไปอยู่ในกระเป๋าคนเพียงหยิบมือหนึ่ง กฎหมายสิทธิชุมชน กฎหมายผังเมือง กฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่ผลักดันมาจากภาคประชาชนจนไปปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 และกฎหมายซึ่งเป็นผลมาจากข้อผูกพันด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยผูกพันไว้กับประชาคมโลก เป็นก้างขวางคอสำคัญของการตักตวงทรัพยากรอย่างโอชะ และกฎหมายเหล่านี้นี่เองที่ปกป้องคนเล็กคนน้อยไว้จากการถูกรังแก
ไผ่ และดาวดินทุกคนจึงต้องปกป้องกฎหมาย และสะท้อนออกมาในรูปแบบของการต้านรัฐประหาร สิ่งที่ไผ่และดาวดินคนอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ทำคือศึกษากฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ศึกษาปัญหา ตลอดจนข้อพิพาทของแต่ละพื้นที่อย่างละเอียด แล้วอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจด้วยภาษาของคนบ้านเดียวกัน พวกเขาเผยแพร่ความรู้ทั่วภาคอีสานเป็นเวลานับสิบปี ไผ่และเพื่อนๆ ปกป้องชาวบ้านจากเหมืองโพแทช จ.อุดร เหมืองทองคำ จ.เลย บ่อก๊าซธรรมชาติ จ.กาฬสินธุ์ และอีกหลายพื้นที่ในภาคอีสาน ชาวบ้านที่เคยกลัวเจ้าหน้าที่รัฐ สะดุ้งและยอมทุกอย่างเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐอ้างคำว่ากฎหมาย ลนลาน ประหม่า โดนกดไม่ให้รู้สึกเสมอหน้า วันนี้พวกเขารู้แล้วว่าพวกเขามีสิทธิต่อสู้ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง และสิทธิของพวกเขานั้นสง่างาม
“ไผ่เป็นคนที่เด็ดเดี่ยวมาก แม่ๆ ไม่คิดว่าเขาจะเป็นคนที่กล้าหาญขนาดนี้ จากคนตัวเล็กๆ สิ่งที่เขาทำคนอื่นก็ทำไม่ได้ เขาเป็นคนเสียสละความสุขส่วนตัวลงมาช่วยชาวบ้านอย่างพวกเรา แม้กระทั่งเวลาเรียนของเขาเขาก็เสียสละลงมาช่วยชุมชนที่ได้รับผลกระทบและมีปัญหา เขามีจิตอาสามาช่วยโดยไม่มีสิ่งตอบแทนใดๆ ไม่มีเงินค่ารถเขาก็โบกรถมา ฝนตกแดดออกเขาก็มา” ชาวบ้านที่วังสะพุงซึ่งแทนตัวเองว่า “แม่” กับดาวดินทุกคนกล่าวถึงไผ่
ไม่ว่าในสมัยรัฐบาลเผด็จการหรือเลือกตั้ง กลุ่มทุนต่างก็ได้รับการอำนวยความสะดวกจากรัฐให้เข้ามากอบโกยด้วยกันทั้งสิ้น แต่ดาวดินพบว่าหากสู้กันสุดทาง ไม่ยอมแพ้ ประชาชนก็ยังชนะได้ หากตราบใดกติกาก็คือกติกา กฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้ประชาชนยังคงอยู่ และเป็นที่พึ่งให้พวกเขา เช่น กรณีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมน้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งเกิดขึ้นในรัฐบาลเลือกตั้ง ไผ่และเพื่อนๆ เข้าไปให้ความรู้เรื่องกฎหมายในพื้นที่ ชาวบ้านฟ้องร้องและยืนหยัดในสิทธิตามกฎหมายจนเป็นฝ่ายชนะ กลุ่มทุนไม่สามารถเข้าไปตั้งโรงงานซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้
แต่เมื่อมาถึงสมัยรัฐบาลรัฐประหาร จากการต่อสู้ที่ยากอยู่แล้ว กลายเป็นการต่อสู้ที่ปิดตาย การรวมตัวคัดค้านนายทุนของชาวบ้านอาจถูกตีความได้ว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน สิทธิในกฎหมายสิทธิชุมชนที่หายไปเพราะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้เกณฑ์การได้รับความคุ้มครองจากสิทธินี้ขึ้นอยู่กับการตีความพิจารณาของรัฐ กฎหมายผังเมืองที่ยกเลิกการคุ้มครองพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ในหลายลักษณะเอื้อให้กลุ่มทุนเข้าไปหาผลประโยชน์ ฯลฯ ดาวดินซึ่งใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือปกป้องประชาชนมาตลอด รู้ว่าคนยากจน คนเล็กคนน้อยที่ถูกเอาเปรียบอยู่แล้ว จะถูกเอาเปรียบมากขึ้น ทางตันปรากฏขึ้นทุกหนทุกแห่ง พวกเขาจึงต้านการรัฐประหาร
สิ่งที่ไผ่และเพื่อนกำลังต่อสู้นั้นใหญ่โต ไผ่เป็นศัตรูที่แท้จริงของทุนที่ไม่คำนึงถึงชีวิตชาวบ้าน และเป็นศัตรูกับทุกรัฐบาลที่เห็นว่าคนแต่ละคนมีคุณค่า สติปัญญา และราคาของชีวิตไม่เท่ากัน แต่ไผ่เป็นมิตรกับความถูกต้อง และเป็นความหวังที่สุจริตของคนไทยทุกคน
การพยายามทำลายความชอบธรรมและลดราคาของไผ่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ช่วงก่อน 7 สิงหาคม 2559 หรือวันลงประชามติรับ-ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ไผ่แจกใบปลิวให้ความรู้ผู้คนถึงรายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญ จนถูกจับกุมตามกฎหมายประชามติและถูกขังอยู่ที่เรือนจำ จ.ชัยภูมิ ไผ่อดอาหารอยู่ในคุกกว่า 10 วัน เพื่อสื่อสารว่าประเทศนี้ไม่ปกติ คนที่พยายามพูดความจริง ให้ข้อเท็จจริง ให้ความกระจ่างแจ้งต่อประชาชนกลับต้องถูกจับ และประชาชนควรมีสิทธิที่จะพูด
ไผ่อดอาหารตั้งแต่วันแรกที่อยู่ในคุกจนล้มป่วยลง ในวันที่ 9 ไผ่ป่วยหนัก หมอของเรือนจำต้องรักษา แต่หมอให้ยาไม่ได้ เพราะไผ่ท้องว่าง หมอจึงให้กินนมและขนม เพื่อจะได้ให้ยา จากนั้นมีแถลงการณ์จากกรมราชฑัณฑ์ที่ทำให้คนเข้าใจผิดไปในวงกว้างว่าไผ่ไม่ได้อดอาหารจริง แต่กินน้ำ กินขนม เป็นการพยายามบิดเบือนและลดราคาการกระทำของไผ่ ซึ่งหลังรับการรักษาแล้วไผ่ยังแสดงเจตจำนงค์อดอาหารต่อไป
19 สิงหาคม 2559 พ่อและแม่ยื่นประกันตัวไผ่ โดยวิบูลย์ใช้ตำแหน่งทนายความของตนเองเป็นหลักประกัน แต่ยังไม่ทันได้ก้าวพ้นขอบเขตเรือนจำ จ.ชัยภูมิ หมายจับจากกรณีที่ไผ่จัดกิจกรรมครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร ก็จ่ออยู่หน้าคุกนำไผ่ไปฝากขังที่เรือนจำ จ.ขอนแก่นอย่างไร้รอยต่อ เพื่อรอขึ้นศาลทหารในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2559
ไผ่ไม่เพียงอยู่เคียงข้างชาวบ้านเรื่องทรัพยากร เขาประท้วงการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบเพราะเห็นกับตาว่าทำให้เพื่อนซึ่งเป็นคนจนหมดโอกาสเรียน เขาไม่ยอมรับกฎหมายที่ไม่ได้มีแหล่งอำนาจสูงสุดมาจากประชาชนและทำให้ประชาชนเดือดร้อน ทุกอย่างที่คนหนุ่มอายุ 20 ต้นๆ คนนี้กำลังทำ ถ้าเขาได้เติบโตต่อไป เขาจะเป็นคนกล้าหาญและทำเพื่อประเทศของเราได้สักแค่ไหน วันข้างหน้าเราในฐานะคนไทย อยากให้มีคนอย่างเขาต่อไปหรือไม่ หรือสังเวยเขาให้แก่กลไกบิดเบี้ยวของประเทศนี้ ที่ทำให้คนมีความสุจริตไม่มีที่ยืนต่อไปทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า
“พวกเราเป็นกลุ่มนักศึกษาที่ลงชุมชน ลงดิน สิ่งที่เราต้องการเป็นความฝันร่วมกันก็คือ อยากเปลี่ยนแปลงสังคมให้สวยงามกว่านี้ อยากเปลี่ยนแปลงให้ดาวเท่ากับดิน ความฝันเหล่านี้มันยังทำให้ทุกคนได้มาอยู่ร่วมกัน นำไปสู่ความฝันร่วม ที่เราอยากได้สังคมที่สวยงาม เท่าเทียมกัน”
ร่วมรณรงค์ให้ปล่อย ไผ่ ดาวดิน อย่างไม่มีเงื่อนไข ช่วยกันปล่อยสิทธิเสรีภาพและความถูกต้องให้เป็นอิสระ คุณทำได้.
“ท่านเหมือนพ่อ เราก็เหมือนลูกๆ ชาวบ้านได้รับผลกระทบ ได้โปรดให้ชาวบ้านเข้าไปเถอะ” คือประโยคที่ไผ่ ดาวดินอ้อนวอนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจรายหนึ่งเพื่อขอให้ชาวบ้าน ได้เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย ในวันนั้นมีตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐมากว่า 700 นายเพื่อกันไม่ให้ชาวบ้านร่วมเวที ตำรวจผู้ได้ฟังไผ่ขอร้องน้ำตาไหล ขอให้ตำรวจรายอื่นมาอยู่ตรงทางเข้าแทน...
ไผ่ หรือ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา เกิดในครอบครัวทนายความ พ่อของไผ่ ทนายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา เป็นทนายด้านสิทธิมนุษยชนร่วมทีมเดียวกับทองใบ ทองเปาด์ วิบูลย์ทำงานช่วยเหลือด้านกฎหมายและต่อสู้เคียงข้างชาวบ้านมาเสมอ โดยเฉพาะประเด็นชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและการปฏิรูปที่ดิน แม่ของไผ่คือทนายพริ้ม บุญภัทรรักษา เป็นทนายความคดีครอบครัว ไผ่คลุกคลีกับชาวบ้านตั้งแต่เด็กเพราะตามพ่อไปทำงาน แต่ตั้งมั่นว่าโตขึ้นจะไม่ทำงานช่วยชาวบ้านแบบพ่อ
“ผมเกลียดพ่อด้วยซ้ำ เพราะก่อนหน้านั้นเรามีฐานะ มีรถ มีบ้านหลังใหญ่ แต่พอพ่อทำแบบนี้ รับคดีชาวบ้านคนจนมา รับเขามาหมด เลยต้องขายทุกอย่าง แต่ก็ได้ความรู้สึกว่าเติบโตกับชาวบ้าน"
แต่ความตั้งใจของไผ่ต้องเปลี่ยนไป เมื่อเขาไปเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น และพบ “ดาวดิน” กลุ่มนักศึกษาซึ่งได้รับการจุดประกายในการทำกิจกรรมมาจากการออกค่ายกับมูลนิธิอาสาสมัครพัฒนาเพื่อสังคมเมื่อปี 2547 หลังจากนั้นนักศึกษาหนุ่มกลุ่มนี้ได้ออกเดินทางสำรวจปัญหาต่างๆ ในภาคอีสาน แล้วทำวารสารเล่าเรื่องปัญหาชาวบ้าน แจกฟรีในมหาวิทยาลัยขอนแก่นชื่อว่า “ดาวดิน” ซึ่งได้กลายเป็นชื่อกลุ่มสืบต่อมา
ปี 2547-2549 ดาวดินโจมตีการทุจริตของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรอย่างเข้มข้น ดาวดินรุ่น 1-2 ได้ไปร่วมขับไล่ทักษิณกับม็อบพันธมิตรฯส่วนไผ่ซึ่งเป็นดาวดินรุ่นหลังได้ต่อต้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรมสุดซอยในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่การใช้อำนาจพิเศษนอกเหนือไปจากประชาธิปไตยมาแก้ปัญหาไม่ใช่แนวทางของดาวดิน เพราะกล่าวได้ว่าดาวดินเป็นกลุ่มที่เห็นความสำคัญของกฎหมาย (ที่มีที่มาจากอำนาจของประชาชน) และเห็นข้อดีของประชาธิปไตยอย่างเป็นรูปธรรมจากการลงพื้นที่สัมผัสปัญหาชาวบ้าน
พวกเขาตระหนักว่ากฎหมายไม่กี่มาตราในรัฐธรรมนูญ หากเป็นกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้ประชาชนอย่างแท้จริง ประชาชนก็สามารถใช้กฎหมายนั้นเป็นเครื่องมือปกป้องตนเองได้ การเดินทางและแสวงหาความรู้ ทำให้ไผ่และดาวดินทุกคนรู้ว่า ประเทศไทยนำก๊าซจากใต้พิภพอีสานมาใช้นานกว่าสองทศวรรษ ภาคอีสานครอบครองแม่น้ำโขง ชี มูน ป่าทาม แร่มูลค่าเจ็ดแสนล้านบาท ทองคำนับร้อยๆ ตัน และทรัพยากรอันอุดมใต้ผืนแผ่นดินไว้มากมาย และรัฐไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ให้สัมปทานแหล่งก๊าซและแหล่งปิโตรเลียมแก่บรรษัทข้ามชาติเกือบหมดแล้วเช่นกัน ภาคอีสานเป็นที่จับจ้องของกลุ่มทุนมาเนิ่นนาน และหากจะเอาของจากบ้านใคร เราก็ต้องไล่เจ้าของบ้านเขาไปเสียก่อน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนอีสานมาตลอดหลายทศวรรษ การที่เราพบเห็นคนอีสานจากบ้านมาหางานทำในกรุงเทพฯ มากกว่าคนภาคอื่นๆ นั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเพราะการถูกเบียดขับออกจากพื้นที่อย่างเป็นระบบทั้งทางตรงและทางอ้อม
ขณะที่กลุ่มทุนขุดก๊าซ สูบน้ำมัน พลิกภูเขาหาสินแร่ ควักคว้านทองคำ สิ่งที่เหลือคือเศษดินเศษหินจำนวนมหาศาลจากการระเบิดที่ปนเปื้อนสารโลหะหนักเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ สารพิษจากกากอุตสาหกรรมปนเปื้อนในในสายน้ำที่เชื่อมต่อมาถึงแหล่งน้ำของคนไทยทุกคน ป่าไม้มากมายถูกทำลาย คนไทยได้ประโยชน์จากสภาพเหล่านี้เพียงน้อยนิด โดยเฉพาะคนอีสานที่ต้องอยู่กับเศษซากสารพิษ ทว่าเส้นทางการเดินทางของผลประโยชน์ท่วมท้นเหล่านี้กลับเป็นที่ตรวจสอบได้ว่าไปอยู่ในกระเป๋าคนเพียงหยิบมือหนึ่ง กฎหมายสิทธิชุมชน กฎหมายผังเมือง กฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่ผลักดันมาจากภาคประชาชนจนไปปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 และกฎหมายซึ่งเป็นผลมาจากข้อผูกพันด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยผูกพันไว้กับประชาคมโลก เป็นก้างขวางคอสำคัญของการตักตวงทรัพยากรอย่างโอชะ และกฎหมายเหล่านี้นี่เองที่ปกป้องคนเล็กคนน้อยไว้จากการถูกรังแก
ไผ่ และดาวดินทุกคนจึงต้องปกป้องกฎหมาย และสะท้อนออกมาในรูปแบบของการต้านรัฐประหาร สิ่งที่ไผ่และดาวดินคนอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ทำคือศึกษากฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ศึกษาปัญหา ตลอดจนข้อพิพาทของแต่ละพื้นที่อย่างละเอียด แล้วอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจด้วยภาษาของคนบ้านเดียวกัน พวกเขาเผยแพร่ความรู้ทั่วภาคอีสานเป็นเวลานับสิบปี ไผ่และเพื่อนๆ ปกป้องชาวบ้านจากเหมืองโพแทช จ.อุดร เหมืองทองคำ จ.เลย บ่อก๊าซธรรมชาติ จ.กาฬสินธุ์ และอีกหลายพื้นที่ในภาคอีสาน ชาวบ้านที่เคยกลัวเจ้าหน้าที่รัฐ สะดุ้งและยอมทุกอย่างเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐอ้างคำว่ากฎหมาย ลนลาน ประหม่า โดนกดไม่ให้รู้สึกเสมอหน้า วันนี้พวกเขารู้แล้วว่าพวกเขามีสิทธิต่อสู้ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง และสิทธิของพวกเขานั้นสง่างาม
“ไผ่เป็นคนที่เด็ดเดี่ยวมาก แม่ๆ ไม่คิดว่าเขาจะเป็นคนที่กล้าหาญขนาดนี้ จากคนตัวเล็กๆ สิ่งที่เขาทำคนอื่นก็ทำไม่ได้ เขาเป็นคนเสียสละความสุขส่วนตัวลงมาช่วยชาวบ้านอย่างพวกเรา แม้กระทั่งเวลาเรียนของเขาเขาก็เสียสละลงมาช่วยชุมชนที่ได้รับผลกระทบและมีปัญหา เขามีจิตอาสามาช่วยโดยไม่มีสิ่งตอบแทนใดๆ ไม่มีเงินค่ารถเขาก็โบกรถมา ฝนตกแดดออกเขาก็มา” ชาวบ้านที่วังสะพุงซึ่งแทนตัวเองว่า “แม่” กับดาวดินทุกคนกล่าวถึงไผ่
ไม่ว่าในสมัยรัฐบาลเผด็จการหรือเลือกตั้ง กลุ่มทุนต่างก็ได้รับการอำนวยความสะดวกจากรัฐให้เข้ามากอบโกยด้วยกันทั้งสิ้น แต่ดาวดินพบว่าหากสู้กันสุดทาง ไม่ยอมแพ้ ประชาชนก็ยังชนะได้ หากตราบใดกติกาก็คือกติกา กฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้ประชาชนยังคงอยู่ และเป็นที่พึ่งให้พวกเขา เช่น กรณีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมน้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งเกิดขึ้นในรัฐบาลเลือกตั้ง ไผ่และเพื่อนๆ เข้าไปให้ความรู้เรื่องกฎหมายในพื้นที่ ชาวบ้านฟ้องร้องและยืนหยัดในสิทธิตามกฎหมายจนเป็นฝ่ายชนะ กลุ่มทุนไม่สามารถเข้าไปตั้งโรงงานซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้
แต่เมื่อมาถึงสมัยรัฐบาลรัฐประหาร จากการต่อสู้ที่ยากอยู่แล้ว กลายเป็นการต่อสู้ที่ปิดตาย การรวมตัวคัดค้านนายทุนของชาวบ้านอาจถูกตีความได้ว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน สิทธิในกฎหมายสิทธิชุมชนที่หายไปเพราะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้เกณฑ์การได้รับความคุ้มครองจากสิทธินี้ขึ้นอยู่กับการตีความพิจารณาของรัฐ กฎหมายผังเมืองที่ยกเลิกการคุ้มครองพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ในหลายลักษณะเอื้อให้กลุ่มทุนเข้าไปหาผลประโยชน์ ฯลฯ ดาวดินซึ่งใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือปกป้องประชาชนมาตลอด รู้ว่าคนยากจน คนเล็กคนน้อยที่ถูกเอาเปรียบอยู่แล้ว จะถูกเอาเปรียบมากขึ้น ทางตันปรากฏขึ้นทุกหนทุกแห่ง พวกเขาจึงต้านการรัฐประหาร
สิ่งที่ไผ่และเพื่อนกำลังต่อสู้นั้นใหญ่โต ไผ่เป็นศัตรูที่แท้จริงของทุนที่ไม่คำนึงถึงชีวิตชาวบ้าน และเป็นศัตรูกับทุกรัฐบาลที่เห็นว่าคนแต่ละคนมีคุณค่า สติปัญญา และราคาของชีวิตไม่เท่ากัน แต่ไผ่เป็นมิตรกับความถูกต้อง และเป็นความหวังที่สุจริตของคนไทยทุกคน
การพยายามทำลายความชอบธรรมและลดราคาของไผ่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ช่วงก่อน 7 สิงหาคม 2559 หรือวันลงประชามติรับ-ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ไผ่แจกใบปลิวให้ความรู้ผู้คนถึงรายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญ จนถูกจับกุมตามกฎหมายประชามติและถูกขังอยู่ที่เรือนจำ จ.ชัยภูมิ ไผ่อดอาหารอยู่ในคุกกว่า 10 วัน เพื่อสื่อสารว่าประเทศนี้ไม่ปกติ คนที่พยายามพูดความจริง ให้ข้อเท็จจริง ให้ความกระจ่างแจ้งต่อประชาชนกลับต้องถูกจับ และประชาชนควรมีสิทธิที่จะพูด
ไผ่อดอาหารตั้งแต่วันแรกที่อยู่ในคุกจนล้มป่วยลง ในวันที่ 9 ไผ่ป่วยหนัก หมอของเรือนจำต้องรักษา แต่หมอให้ยาไม่ได้ เพราะไผ่ท้องว่าง หมอจึงให้กินนมและขนม เพื่อจะได้ให้ยา จากนั้นมีแถลงการณ์จากกรมราชฑัณฑ์ที่ทำให้คนเข้าใจผิดไปในวงกว้างว่าไผ่ไม่ได้อดอาหารจริง แต่กินน้ำ กินขนม เป็นการพยายามบิดเบือนและลดราคาการกระทำของไผ่ ซึ่งหลังรับการรักษาแล้วไผ่ยังแสดงเจตจำนงค์อดอาหารต่อไป
19 สิงหาคม 2559 พ่อและแม่ยื่นประกันตัวไผ่ โดยวิบูลย์ใช้ตำแหน่งทนายความของตนเองเป็นหลักประกัน แต่ยังไม่ทันได้ก้าวพ้นขอบเขตเรือนจำ จ.ชัยภูมิ หมายจับจากกรณีที่ไผ่จัดกิจกรรมครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร ก็จ่ออยู่หน้าคุกนำไผ่ไปฝากขังที่เรือนจำ จ.ขอนแก่นอย่างไร้รอยต่อ เพื่อรอขึ้นศาลทหารในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2559
ไผ่ไม่เพียงอยู่เคียงข้างชาวบ้านเรื่องทรัพยากร เขาประท้วงการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบเพราะเห็นกับตาว่าทำให้เพื่อนซึ่งเป็นคนจนหมดโอกาสเรียน เขาไม่ยอมรับกฎหมายที่ไม่ได้มีแหล่งอำนาจสูงสุดมาจากประชาชนและทำให้ประชาชนเดือดร้อน ทุกอย่างที่คนหนุ่มอายุ 20 ต้นๆ คนนี้กำลังทำ ถ้าเขาได้เติบโตต่อไป เขาจะเป็นคนกล้าหาญและทำเพื่อประเทศของเราได้สักแค่ไหน วันข้างหน้าเราในฐานะคนไทย อยากให้มีคนอย่างเขาต่อไปหรือไม่ หรือสังเวยเขาให้แก่กลไกบิดเบี้ยวของประเทศนี้ ที่ทำให้คนมีความสุจริตไม่มีที่ยืนต่อไปทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า
“พวกเราเป็นกลุ่มนักศึกษาที่ลงชุมชน ลงดิน สิ่งที่เราต้องการเป็นความฝันร่วมกันก็คือ อยากเปลี่ยนแปลงสังคมให้สวยงามกว่านี้ อยากเปลี่ยนแปลงให้ดาวเท่ากับดิน ความฝันเหล่านี้มันยังทำให้ทุกคนได้มาอยู่ร่วมกัน นำไปสู่ความฝันร่วม ที่เราอยากได้สังคมที่สวยงาม เท่าเทียมกัน”
ร่วมรณรงค์ให้ปล่อย ไผ่ ดาวดิน อย่างไม่มีเงื่อนไข ช่วยกันปล่อยสิทธิเสรีภาพและความถูกต้องให้เป็นอิสระ คุณทำได้.
พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา
รศ. ดร. กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล
นายวัส ติงสมิตร
พล.ต.ท.บุญเลิศ ใจประดิษฐ
พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์
พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา