วันพุธ, มิถุนายน 15, 2559

ข้าหลวงใหญ่สิทธิ UN ห่วงไทยจำกัดการถกเถียงร่าง รธน.-พลเรือนขึ้นศาลทหาร





In Thailand, the authorities have scheduled a referendum in August so that the public can determine whether or not to support the draft constitution.

Paradoxically, they have also limited dialogue on the topic. 

People who have posted critical comments on the draft constitution have been detained and charged with “sedition”. 

The people of Thailand have a right to discuss – and to criticise – decisions about their country, and free, fair and dynamic public debate on the draft constitution is vital if the country is to return to sustainable democracy. 

I remain concerned about the increasing use of military courts to try civilians. 

I welcome the decision last month to enact the Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance Act and to ratify the International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance. 

I trust these commitments will be put into effect as a matter of priority.

See more at: http://www.ohchr.org/EN/NewsEvents/Pages/GlobalhumanrightsupdatebyHC.aspx#sthash.JwyrxDDD.dpuf

ooo

ข้าหลวงใหญ่สิทธิ UN ห่วงไทยจำกัดการถกเถียงร่าง รธน.-พลเรือนขึ้นศาลทหาร

Tue, 2016-06-14 23:42
ที่มา ประชาไท

ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนยูเอ็น ย้ำประชาชนไทยควรวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอนาคตของประเทศผ่านการลงประชามติ รวมถึงแสดงความกังวลกรณีพลเรือนขึ้นศาลทหาร

14 มิ.ย. 2559 วานนี้ (13 มิ.ย.) เซอิด อัล-ฮุสเซน ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) นำเสนอข้อมูลสถานการณ์สิทธิใน 50 ประเทศทั่วโลก ในเวทีประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 32 ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ โดยตอนหนึ่งมีการระบุถึงสถานการณ์ในประเทศไทย ในประเด็นเรื่องการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในเดือน ส.ค. นี้

เขาระบุว่า ในขณะที่การลงประชามติจะช่วยให้ประชาชนได้ตัดสินในเรื่องว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญด้วยตัวเอง แต่ก็มีเรื่องที่รัฐบาลไทยทำอะไรขัดแย้งกันในตัวเองคือการจำกัดการแลกเปลี่ยนหารือกันในประเด็นรัฐธรรมนูญ โดยมีการจับกุมผู้ที่วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญและตั้งข้อหา "ยุยงปลุกปั่น" กับพวกเขา

เขาชี้ว่า คนไทยควรมีสิทธิที่จะถกเถียงแลกเปลี่ยนและวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจเกี่ยวกับประเทศของตนเองอย่างเสรี เป็นธรรม และมีพลวัต การถกเถียงแลกเปลี่ยนสาธารณะเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งสำคัญถ้าหากประเทศต้องการกลับคืนสู่ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน

นอกจากนี้ เขาแสดงความกังวลเกี่ยวกับการใช้ศาลทหารในการดำเนินคดีกับพลเรือนเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็แสดงความยินดีต่อการตัดสินใจออกกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทารุณกรรมและการบังคับอุ้มหายเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา รวมถึงการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับอุ้มหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) และเชื่อว่าสัญญาผูกมัดเหล่านี้จะถูกนำมาใช้จริงโดยเร็ว

เรียบเรียงจาก

Hate is being mainstreamed' - global update by the High Commissioner, OHCHR
http://www.ohchr.org/EN/NewsEvents/Pages/GlobalhumanrightsupdatebyHC.aspx