https://www.youtube.com/watch?v=V_3nC1d75sE
Seminar: Thailand's Deeper State of Crisis ?
SOAS Rule of Law in Thailand Project
Published on Jun 10, 2016
Thailand's Deeper State of Crisis ?
(SOAS Rule of Law in Thailand Seminar Series)
The Centre of East Asian Law (‘CEAL’) is pleased to organise the second event in the SOAS Rule of Law in Thailand Seminar Series: Thailand's Deeper State of Crisis ?
Thailand's military took over control of government in 2014 with the promise to pull the country out of crisis. Two years later the junta envisions a return to civilian rule in 2017 under a new constitution, the draft of which is being put to the referendum this August. Is Thailand moving towards a fulfilled promise, or a deeper state of crisis ?
Speakers:
Eugénie Mérieau is a lecturer in political sciences at Thammasat University in Bangkok. Prior to assuming this role, she was a lecturer in political sciences and law at Sciences Po in Paris.
Piyabutr Saengkanokkul is an assistant professor at Thammasat University Faculty of Law and a member of the Nitirat, a noted group of public law scholars in Thailand.
Discussants:
Kullada Kesboonchoo Mead, SOAS alumna (MSc and PhD), taught at Faculty of Political Science, Chulalongkorn University in Bangkok and is the author of The Rise and Decline of Thai Absolutism.
Chaiyan Rajchagool teaches at Payub University in Chiang Mai, Thailand and is the author of the Rise and Fall of the Thai Absolute Monarchy: Foundations of the Modern Thai State from Feudalism to Peripheral Capitalism.
---
Date: Wednesday 8 June 2016
Time: 5 pm - 7 pm
Venue : Room 4426 (4th floor) Main Building, SOAS University of London, Russell Square.
About the Rule of Law in Thailand Project
In the SOAS’ Centenary year, the Centre of East Asian Law (‘CEAL’) at SOAS, University of London is pleased to launch the Rule of Law in Thailand Project. The project seeks to engage academically with rule of law definitions and legal issues in contemporary Thailand such as constitutional changes, justice system, human rights as well as broader issues that affect social ordering from family law to environmental protection. Its aim is to encourage research on law in Thailand, including supporting the efforts of early career researchers and PhD candidates who are working on issues relating to the rule of law and Thailand.
https://www.soas.ac.uk/ceal/rolt/
ooo
เสวนาที่ SOAS ลอนดอน: ประเทศไทยใน ‘วิกฤตรัฐพันลึก’?
Fri, 2016-06-10 16:06
ที่มา ประชาไท
โครงการนิติธรรมในประเทศไทยที่ ม.ลอนดอน SOAS สัมมนาหัวข้อ “ประเทศไทยใน ‘วิกฤตรัฐพันลึก’ อูจีนี เมริเออ เสนอบทบาทและการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญและศาลอื่นในฐานะกลไกของรัฐพันลึก ปิยบุตร แสงกนกกุล เสนอกระบวนการของตุลาการภิวัฒน์และผลกระทบ กลไกปราบปรามภัยคุกคามชนชั้นนำร่วมอภิปรายกลไกรัฐพันลึกโดย กุลลดา เกษบุญชู-มี๊ด และไชยันต์ รัชชกูล
สัมมนา Thailand in a Deeper State of Crisis ? (ประเทศไทยใน ‘วิกฤตพันลึก’?) นำเสนอโดย อูจีนี เมริเออ และ ปิยบุตร แสงกนกกุล พร้อมวิทยากรร่วมอภิปราย ได้แก่ กุลลดา เกษบุญชู-มี๊ด และไชยันต์ รัชชกูล โดยมี วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการผู้ประสานงานโครงการนิติธรรมในประเทศไทย SOAS เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพจาก CEAL)
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2559 โครงการนิติธรรมในประเทศไทย ณ ศูนย์กฎหมายเอเชียตะวันออก มหาวิทยาลัยลอนดอน SOAS ประเทศอังกฤษ จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง Thailand in a Deeper State of Crisis ? (ประเทศไทยใน ‘วิกฤตพันลึก’?) นำเสนอโดย อูจีนี เมริเออ (Eugénie Merieau) นักวิชาการเจ้าของบทความเรื่อง Deep State (รัฐพันลึก) และ ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสมาชิกคณะนิติราษฎร์ พร้อมวิทยากรร่วมอภิปราย ได้แก่ กุลลดา เกษบุญชู-มี๊ด และไชยันต์ รัชชกูล โดยมี วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการผู้ประสานงานโครงการนิติธรรมในประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน SOAS เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา
อูจีนี เมริเออ: ศาลรัฐธรรมนูญและสิ่งบ่งชี้สำคัญของรัฐพันลึก
อูจีนี เมริเออ (Eugénie Merieau) (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพจาก CEAL)
อูจีนี เมริเออ (Eugenie Merieau) นักวิชาการด้านกฎหมายประจำมหาวิทยาลัย Science Po แห่งกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้นำเสนอประเด็นเกี่ยวข้องกับสภาวะรัฐพันลึกของประเทศไทย ศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2540-2558 นำเสนอบทบาทและการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญและศาลอื่นในฐานะกลไกของรัฐพันลึก หรือ deep state ในประเทศไทย โดยเสนอว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งบ่งชี้สำคัญในการปรากฎอยู่ของรัฐพันลึกในประเทศไทย
อูจีนีอธิบายว่าการเกิดขึ้นของศาลรัฐธรรมนูญในปี 2540 มีเป้าประสงค์เป็นเครื่องมือรับประกันที่จะปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มผู้ที่ร่างรัฐธรรมนูญเอง ซึ่งเป็นไปตามทฎษฎีทางวิชาการของ Tom Ginsburg นับแต่นั้นระบบตุลาการของไทยได้รับการเพิ่มอำนาจมากขึ้น (Judicial empowerment) และเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา (Judicialization of Politics) ศาลทำหน้าที่เป็นเครื่องมือพิทักษ์ผลประโยชน์ของมหาอำนาจในสังคม (the Counsitutional Court as an hegemonic preservation tool) ตามทฤษฎีของ Ran Hirschl
สำหรับในบริบทการเมืองไทย ที่มีวัฎจักรของการปฎิวัติและการร่างรัฐธรรมนูญอยู่ตลอดเวลานับตั้งแต่อดีต หรือ ที่เรียกกันว่า Vicious cycles (วงจรอุบาทว์) นั้นอูจีนี่กล่าวว่าการรัฐประหารในปี 2549 และ 2557 มีความแตกต่างจากในสมัยก่อน คือบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในระหว่างการรัฐประหารกับการเลือกตั้ง หรือที่หลายคนเรียกว่าเป็น ตุลาการภิวัฒน์ (Judicial Coup d’etat) ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ใช่แค่ศาลรัฐธรรมนูญแต่ศาลในระบบยุติธรรมอื่นๆ เช่น ศาลอาญา และศาลปกครอง เข้ามามีบทบาทเพื่อปูทางไปสู่การรัฐประหารด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างในกรณีการเลือกตั้งปี 2549 ซึ่งมีการบอยคอตการเลือกตั้งและ กกต. ในยุคนั้นได้พยายามที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ทว่าศาลอาญาวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งทำให้เกิดภาวะสูญญากาศและท้ายที่สุดเกิดการรัฐประหารในปี 2549 หรือ กรณีคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดในปี 2556 ที่ชี้ว่าการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนสี ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นการใช้อำนาจที่มิชอบ ทำให้ยิ่งลักษณ์ต้องลาออกจากตำแหน่งและไม่นานหลังจากนั้นจึงเกิดรัฐประหารเดือน พ.ค. 2557 คำถามสำคัญคือ อะไรทำให้ศาลรัฐธรรมนูญดูเหมือนว่าจะมีทำหน้าที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตยเสียเอง ซ้ำยังช่วยเหลือให้เกิดการรัฐประหารอีกด้วย
เมื่อกลับไปดูประวัติการก่อตั้งศาลรัฐธรรมนูญในปี 2538 ซึ่งมีคณะกรรมการนำโดย นพ. ประเวศ วะสี ทำการศึกษาเรื่องศาลรัฐธรรมนูญโดยยึดตัวแบบหลักในประเทศเยอรมันนีที่ให้อำนาจศาลอย่างมากและมีลักษณะของความเป็นอิสระสูง ซึ่งความเป็นอิสระนี้จะดูได้จากขั้นตอนการเลือกสมาชิกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง สำหรับกรณีของประเทศไทย ตุลาการ มีจำนวน 9 คน ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ในขณะที่รัฐธรรมนูญ 2540 มีจำนวน 15 คน และมากกว่าครึ่งมาจากการคัดเลือกของศาลปกครองสูงสุดและศาลฎีกา ซึ่งชี้ให้เห็นว่าไม่มีการแทรงแซงใดๆจากองค์กรที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นการเลือกสรรภายในของฝ่ายตุลาการเอง สำหรับคณะกรรมการแต่งตั้งนั้นมีจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่มาจากกระบวนเลือกตั้งทางการเมือง ซึ่งในทางวิชาการ ถือว่าเป็นขั้นตอนในลักษณะนี้แสดงถึงความมีอิสระสูง
ในปี 2540 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักให้มีการก่อตั้งศาลรัฐธรรมนูญได้กล่าวว่าศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นเครื่องรับประกันความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในกระบวนประชาธิปไตย ซึ่งกำลังเบ่งบานในยุคนั้น เช่น หากมีกลุ่มพรรคการเมืองที่มีความเสี่ยงจะเป็นกลุ่มหัวรุนแรง ศาลรัฐธรรมนูญสามารถใช้อำนาจในการยุบพรรคการเมืองนั้นได้
นอกจากนี้ อูจีนี่ยังได้ใช้ทฤษฎีของ Jon Elster ซึ่งบ่งชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการรับประกันผลประโยชน์ของสถาบันการเมืองและกลุ่มผู้ร่างเองด้วย
ในปี 2550 หลังจากที่มีรัฐธรรมนูญภายหลังเกิดการรัฐประหารปี 2549 เราจะได้เห็นความเบ่งบานในการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมากกว่าที่ผู้ร่างในปี 2540 ได้คาดการณ์ไว้ หรือที่เราเรียกว่า ตุลาการภิวัฒน์ เช่น กรณีที่เป็นที่กล่าวถึงกันมากในปี 2556 ที่ศาลรัฐธรรมนูญออกคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15–18/2556 ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราที่เกี่ยวกับการเลือกวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ นั้นเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ อูจีนีมองว่านี่เป็นใช้อำนาจที่มากที่สุดของศาลในการกีดกันไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนำมาซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมว่านี่เป็นการรัฐประหารโดยตุลาการ ซึ่งไม่ได้มีความแตกต่างใดๆจากการรัฐประหารโดยทหาร
จากคำวินิจฉัยต่างๆ ของศาลรัฐธรรมนูญทำให้เราเห็นถึงพฤติการณ์ที่ต้องการปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มอำนาจนำในสังคมและเป็นการลงมาเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามทฤษฎีของ Ran Hirschl ได้อธิบายว่าตุลาการโดยศาลรัฐธรรมนูญจะถูกทำให้เป็นการเมืองด้วยกระบวนการที่ฝ่ายการเมืองให้ความวางใจในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง (Judicialization of Politics) ด้วยวิธีการที่ศาลได้เข้าไปสู่พื้นที่ทางการเมือง (Political arena) ในรูปแบบต่างๆ เช่น แทรกแซงกระบวนการเลือกตั้ง ล้มอำนาจฝ่ายบริหาร สร้างความชอบธรรมในการเปลี่ยนระบอบ หรือ การแทรกแซงความขัดแย้งในสังคม ซึ่งอูจีนีได้ยกตัวอย่างคำวินิจฉัยต่างๆ ของศาลรัฐธรรมนูญไทย เปรียบเทียบกับทฤษฎีที่ได้กล่าวมาข้างต้น
เช่น คำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีปลดนายสมัคร สุนทรเวชจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และการวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนที่มาของวุฒิสภาทำไม่ได้ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ชนชั้นนำในสังคมเห็นว่าอำนาจของตัวเองถูกท้าทายจากเสียงข้างมากในสังคมประชาธิปไตยจึงใช้กระบวนการศาลในการหยุดหรือล่าช้ากระบวนการประชาธิปไตย
ซึ่งมีเงื่อนไขสี่ประการที่ทำให้เกิดตุลาการภิวัฒน์ ได้แก่ 1. ผลการเลือกตั้งไม่สะท้อนผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นนำ 2. ผลการเลือกตั้งนำไปสู่ความเป็นไปได้ที่จะมีการเปลี่ยนระบอบ หรือ ท้าทายอุดมการณ์ของรัฐ 3. วิกฤติทางการเมืองเปิดโอกาสให้ศาลเข้ามามีบทบาท และ 4. ศาลถูกมอบอำนาจทางการเมืองจากกลุ่มการเมืองที่ใหญ่กว่า อูจีนีกล่าวว่าศาลรัฐธรรมนูญของไทยเป็นตัวอย่างในทางทฤษฎีของ Ran Hirschl ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด
อูจีนี กล่าวถึงกรณีการตีความมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ฝ่ายผู้ประท้วงในเวลานั้น เสนอให้มีนายกรัฐมนตรีพระราชทานเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติการเมือง ซึ่งตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นให้อำนาจนี้กับกษัตริย์ผ่านศาลรัฐธรรมนูญ ความพยายามนี้ได้ถูกนำมากล่าวถึงและเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งฉบับปี 2550 และร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบัน โดยกลุ่มตุลาการและทหารพยายามที่จะต่อรองให้ตัวเองมีอำนาจในสถานการณ์ไม่ปกติ (crisis power) ซึ่งเห็นได้จากกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญในระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา
นอกจากนี้ในร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบันยังเพิ่มความพยายามที่จะไม่ให้มีแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันแรงกระแทกจากฝ่ายเลือกตั้ง เช่นในมาตรา 301 (7)
ทั้งนี้อูจีนีเสนอว่าบทบาทขององค์กรศาลในฐานะกลไกของ deep state มีความเชื่อมโยงกับการรัฐประหารและสถาบันที่มีบทบาททางการเมือง เช่น กองทัพ โดยควรจับตาบทบาทและกลไก deep state ดังกล่าวจะยิ่งมีบทบาทสำคัญในอนาคตการเมืองประเทศไทยอันไม่แน่นอนของประเทศไทยที่กำลังจะมาถึงอย่างไร
ปิยบุตร แสงกนกกุล: ตุลาการภิวัฒน์และผลกระทบ และกลไกปราบปรามภัยคุกคามชนชั้นนำ
ปิยบุตร แสงกนกกุล (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพจาก CEAL)
ปิยบุตร แสงกนกกุล จากกลุ่มนิติราษฎร์ ได้นำเสนอประเด็น กระบวนการของตุลาการภิวัฒน์และผลกระทบ โดยกล่าวว่าธีรยุทธ์ บุญมีเป็นผู้นำคำนี้มาใช้เป็นคนแรกและได้รับการนำไปพูดถึงต่ออย่างวงกว้างในสังคมซึ่งจุดเริ่มของกระบวนการนี้ ซึ่งมีที่มาหลังจากพระราชดำรัสวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549
กลับกลายเป็นกรณีที่ศาลเข้าแทรกแซงทางการเมืองโดยไม่ได้ยึดโยงหรือรับผิดชอบต่อประชาชนผ่านองค์กรที่มาจากการเลือกตั้ง
ปิยบุตรเสนอว่า อันที่จริงคำว่าตุลาการภิวัฒน์ ควรเป็นคำที่มีความหมายที่ดี แต่ในบริบทของสังคมไทยกลายเป็นคำที่มีความหมายในทางลบ ซึ่งต่างจาก ‘Judicialization of Politics’ ที่มีความหมายในทางบวก โดยปิยะบุตรให้คำจำกัดความคำว่า ‘ตุลาการภิวัฒน์’ ว่าหมายถึง กระบวนการตุลาการที่เล่นบทบาททางการเมืองโดยหยิบยกคดีที่มีเป้าหมายไปที่กลุ่มการเมืองซึ่งเห็นว่าเป็นภัยต่อกลุ่มชนชั้นนำเก่าในสังคม กล่าวโดยสั้น ตุลาการภิวัฒน์คือเครื่องมือต่อสู้กับนักการเมือง
กระบวนการของตุลาการภิวัฒน์ ทำในสองลักษณะคือ 1. การตีความตัวบทกฎหมายที่มีลักษณะกว้างในรัฐธรรมนูญ เช่น นิติธรรม จริยธรรม และ คุณธรรม ในทางมิชอบ (arbitrary) เช่น การตีความมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 เพื่อไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ศาลไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในส่วนนี้ 2. การใช้ข้อถกเถียงประเด็นเชิงจริยธรรมทางการเมืองในคำพิพากษา เช่น คำพิพากษาปี 2550 ซึ่งมีผลให้ยุบพรรคไทยรักไทย และคำวินิจฉัยในปี 2556 ที่ไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราเกี่ยวกับการเลือกตั้งวุฒิสภา กระบวนการเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองเพียงองค์กรเดียว แต่มีเงื่อนไขอื่นๆ มาช่วยสนับสนุน
ทั้งนี้พระราชดำรัส 25 เมษายน 2549 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของตุลาการ สังคมไทยเห็นว่าศาลจะเป็นองค์กรที่มีความอิสระสูงและไม่เลือกข้างมากที่สุด และจะเป็นองค์กรสุดท้ายที่ช่วยแก้ไขความขัดแย้ง (last resort) ซึ่งปิยะบุตรมองว่าศาลมีความเป็นอิสระสูงจากกระบวนการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้มีอิสระจากกลุ่มชนชั้นนำเก่า
นอกจากนั้นยังต้องมีตัวละคร เช่น นักการเมืองฝ่ายค้าน องค์กรอิสระ หรือ สมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นผู้ชงเรื่องไปสู่ศาล ทั้งนี้การสร้างความชอบธรรมในการตีความทางกฎหมายย้อนหลังของศาลในตัวรัฐธรรมนูญเองก็เป็นอีกเงื่อนไขให้เกิดตุลาการภิวัฒน์ เช่น คำพิพากษาศาลในกรณีการยุบพรรคไทยรักไทยถูกนำมาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 หลังจากที่มีการยุบพรรคไปแล้ว
เมื่อมีการใช้กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ ทำให้สังคมไทยมองว่า ในความขัดแย้งทางการเมืองใดๆ จะต้องถูกแก้ไขด้วยระบบศาลเท่านั้น ซึ่งขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจในการปกครอง (principle on separation of power) ที่มองว่าประเด็นบางอย่างไม่สามารถที่จะแก้ไขโดยศาลหรือระบบตุลาการได้ แต่ต้องใช้กระบวนการทางประชาธิปไตย ทั้งนี้ตุลาการภิวัฒน์ ยังดำเนินการหลายอย่างที่ขัดกับหลักการเสรีนิยมประชาธิปไตย ด้วยการเข้าไปแทรกแซงกระบวนการทางการเมืองที่เห็นว่าเป็นภัยคุกคามต่อรัฐชนชั้นนำ เช่น การยุบพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง การแทรกแซงไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือ การแทรกแซงกระบวนการทางเมืองในระบบเลือกตั้งอื่นๆ ที่นำไปสู่การเข้ามาของอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
คำถามต่อการดำรงอยู่ของอำนาจชนชั้นนำเก่าในสภาพสังคมสมัยใหม่ที่เป็นเสรีประชาธิปไตย ปิยะบุตร อภิปรายว่า วาทกรรมเรื่องนิติรัฐในสังคมที่เป็นที่พูดถึงอย่างมากนั้น แท้ที่จริง หมายถึง การเติบโตของระบบตุลาการ การเติบโตของสถาบันกษัตริย์ และการเติบโตของระบบตุลาการนิยมเจ้า (Royalist Jurist) โดยนักวิชาการด้านกฎหมายตั้งแต่ยุคการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองได้นำเอาสถาบันกษัตริย์มาเป็นแกนหลักในการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างความชอบธรรมในการดำรงอยู่ของสถาบันกษัตริย์ในระบบสังคมเสรีประชาธิปไตย และมิได้ให้ความสำคัญกับการปฎิวัติ 2475 หรือ รัฐธรรมนูญฉบับ 27 มิถุนายน 2475 ภายหลังจากการสิ้นสุดชองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งยังสร้างวาทกรรมใหม่ที่เชื่อมโยงความสำคัญของสถานบันกษัตริย์ต่อการสร้างชาติ รัฐธรรมนูญ และ ประชาธิปไตย
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นนักวิชาการด้านกฎหมายที่ส่งเสริมการสร้างวาทกรรมดังกล่าวอย่างมาก เขากล่าวว่า “เราศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญตามอย่างหลักการของฝรั่งซึ่งมีสถาบันกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ อันหมายถึงกษัตริย์ไม่สามารถกระความผิดใดๆได้ ยกเว้นว่าจะมีการนำความขึ้นทูลเกล้าถวายจากรัฐบาลเพื่อลงพระปรมาภิไธย ในประเทศอังกฤษสถาบันกษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ แต่สำหรับประเทศไทย สถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลางของชาติ และมีบทบาทสำคัญทางสังคม นั่นหมายถึงบทบาทในการแก้ไขความแย้งด้วยเช่นกัน ดังนั้น อำนาจของสถาบันกษัตริย์ที่ระบุไว้ในรัฐธรรนูญจึงแตกต่างจากในระบบของอังกฤษ”
บวรศักดิ์ยังสร้างวาทกรรมเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ ซึ่งอำนาจอธิปไตยถูกมอบให้ประชาชนโดยผ่านรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเมื่อมีการรัฐประหาร อำนาจนั้นจึงกลับมาสู่พระมหากษัตริย์และรัฐบาลภายใต้การรัฐประหารจึงควรได้รับการยอมรับเนื่องจากการถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยดังกล่าวเป็นกระบวนภายในของไทย
นอกจากนี้ยังมีการสร้างวาทกรรมเรื่องการปฎิรูปการเมืองโดยผ่านการกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมี อมร จันทรสมบูรณ์ เป็นนักวิชาการหลักที่ศึกษาเรื่องนี้ อมรเขียนหนังสือเรื่อง "รัฐธรรมนูญนิยม ทางออกของประเทศไทย" โดยเสนอว่า การร่างรัฐธรรมนูญเป็นการออกแบบระบบการปกครองของรัฐ และการบริหารงานรัฐ ซึ่งสามารถควบคุมไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบอันจะเกิดจากพฤติการณ์หาผลประโยชน์ให้ตนเองของกลุ่มนักการเมืองต่างๆ และยังเป็นกระบวนการปฎิรูปการเมืองที่แท้จริง
ทั้งนี้หากมีการร่างรัฐธรรมนูญตามหลักการรัฐธรรมนูญนิยมแล้วจะต้องมีส่วนประกอบสามประการ คือ 1. ผู้นำทางการเมืองในประเทศ 2. นักวิชาการที่มีคุณภาพ และ 3. ประชาชนเข้าใจปัญหาอย่างท่องแท้ และพร้อมที่จะลงประชามติต่อร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว สำหรับอมร ผู้นำทางการเมืองมีบทบาทมากที่สุดในการผลักดันให้เกิดกระบวนการดังกล่าว ด้วยทฤษฎีดังกล่าวทำให้ตุลาการกลายเป็นเทคโนแครตที่มีบทบาทในการก่อตั้งองค์กรและนโยบายกลไกต่างๆ ของรัฐ โดยที่ตัวเองเข้าไปมีตำแหน่งอยู่ในองค์กรอิสระนั้นๆ ที่ควรจะเป็นสถาบันเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐตามหลักการเสรีประชาธิปไตย ท้ายที่สุดตุลาการเหล่านี้จึงเสริมสร้างอำนาจของตนผ่านการอ้างเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุล
ในขณะที่ประเทศไทยมีการก่อตั้งองค์กรใหม่ๆ ภายใต้ระบอบเสรีประชาธิปไตยในช่วงปฎิวัติ 2475 แต่สำหรับบทบาทของศาลเองนั้นถือว่าเป็นมรดกตกทอดมาจากระบบการปกครองในยุคเก่า เนื่องจากระบบศาลได้ถูกปฎิรูปเปลี่ยนแปลงมาแล้วในช่วงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตก ซึ่งคณะราษฎรมิได้เปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าวเนื่องจากต้องการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของประเทศเจ้าอาณานิคม อันเป็นหนึ่งในหลักหกประการของคณะราษฎร
ถึงแม้คณะราษฎรจะพยายามเปลี่ยนรูปแบบและโครงสร้างระบบของศาลเพื่อให้ดูมีความทันสมัยแต่มิได้เปลี่ยนแปลงพื้นฐานความคิดของการผู้พิพากษาในการเป็นผู้ดำรงความยุติธรรมให้กับประชาชนตามระบอบการปกครองใหม่ และถึงแม้ว่าปรีดี พนมยงค์ จะก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อสร้างบุคคลากรด้านกฎหมายจากประชาชนธรรมดาแต่ทว่าก็ไม่ได้มีความพยายามอย่างถึงที่สุดที่จะเปลี่ยนแปลง mind set (ระบบคิด) ของผู้พิพากษาในระบบเดิม ซ้ำนักกฎหมายอาวุโสในระบบตุลาการยังมาจากระบอบเก่า ระบบการคัดเลือกผู้พิพากษาก็มาจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และดำเนินการในทางปิด สถาบันพระมหากษัตริย์ได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อระบบศาล ซึ่งเห็นได้จากคำปฏิญาณของผู้พิพากษาซึ่งต้องกล่าวว่าทำหน้าที่ในนามของพระมหากษัตริย์ด้วยจริยธรรมสูงสุด นับแต่นั้น พระมหากษัตริย์มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับความยุติธรรมที่ตอกย้ำว่าผู้พิพากษาเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน เป็นผู้ที่ได้รับอำนาจโดยตรงและทำหน้าที่แทนกษัตริย์ในการดำรงความยุติธรรม อย่างที่เราเห็นในพระราชดำรัส 25 เมษายน 2549 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของตุลาการภิวัฒน์
ทั้งนี้ สัญญา ธรรมศักดิ์ ยังได้เคยกล่าวไว้ในระหว่างการฝึกสอนผู้พิพากษาว่า “ในบรรดาหน่วยงานข้าราชการ ศาลเป็นหน่วยงานเดียวที่ถือได้ว่าทำหน้าที่ในนามของกษัตริย์ ถ้าในหลวงสั่งให้เราทำอะไร เรายินดีที่จะทำ แม้นว่าการกระทำนั้นจะทำให้เราต้องตาย”
ปิยบุตรเสนอตอนท้ายด้วยว่า ผู้พิพากษาเชื่อว่าตัวเองเป็นหน่วยงานที่อยู่เหนือสถาบันทางการเมืองใดๆ ในขณะที่ผู้ที่มาจากการเลือกตั้งกลายเป็นผู้ที่ทุจริต ไม่จริงใจ ขัดแย้งวุ่นวาย และมุ่งแต่รักษาผลประโยชน์ของตน ส่วนความเป็นอิสระของศาล หมายถึงความเป็นอิสระจากสถาบันเลือกตั้ง แต่ไม่ได้หมายถึงอิสระจากสถาบันการเมืองอื่น โดยศาลเองก็ได้รับบทบาทเป็นกลไกปราบปรามพลังทางการเมืองทั้งในส่วนนักการเมืองและฝ่ายประชาชนธรรมดา ที่ฝ่ายชนชั้นนำจารีตประเพณีเห็นว่าเป็นภัยคุกคามแก่ตน
ไชยันต์ รัชชกูล (ซ้าย) กุลลดา เกษบุญชู-มี๊ด (ขวา) (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพจาก CEAL)
กุลลดา เกษบุญชู-มี๊ด: เสนอศึกษาการเมืองไทยช่วงสงครามเย็น เพื่อทำความเข้าใจกลไกรัฐพันลึก
ในส่วนของวิทยากรผู้ร่วมอภิปราย ดร.กุลลดา เกษบุญชู-มี๊ด ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Rise and Decline of Thai Absolutism ได้ตั้งคำถามว่าตัวอย่างกลไกของรัฐพันลึกที่ปรากฏในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น มีการเริ่มต้นหรือเชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านอย่างไร เหตุการณ์ทางการเมืองก่อนที่จะเกิดการก่อตั้งศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นไปอย่างไร และ เราควรตั้งคำถามว่าเมื่อใดที่เกิดสภาวะรัฐพันลึกขึ้น โดยแนะให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในช่วงสงครามเย็นและการเปลี่ยนรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง ค.ศ. 1973 ซึ่งอาจช่วยทำให้เข้าใจกลไกของรัฐพันลึกและปัญหาเกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยได้ชัดเจนมากขึ้นว่าเป็นเพียงการแทรกแซงการเมืองประชาธิปไตย หรือทำหน้าที่ถึงขั้นที่รักษาประชาธิปไตยในบางช่วงเวลา (intermittent) นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตว่าสถาบันที่มีบทบาทเชื่อมโยงกันดังกล่าว เช่น ตุลาการ และ กองทัพ อาจไม่ได้มีความคิดเห็นหรือความแนบแน่นเป็นปึกแผ่นร่วมกันเสมอไป
ไชยันต์ รัชชกูล: วิธีควบคุมการเมืองของชนชั้นนำแบบ มอบให้-ยึดคืน
จากนั้น ไชยันต์ รัชชกูล ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Rise and Fall of the Thai Absolute Monarchy ได้อภิปรายให้ข้อคิดเห็นว่าฝ่ายชนชั้นนำจารีตประเพณีมีวิธีการจัดการควบคุมการเมืองการปกครองไทยแบบมอบให้-ยึดคืน (appropriate-expropriate) โดยยกตัวอย่างในยุคสมัยใดที่กระแสประชาธิปไตยกำลังแพร่หลายและเป็นที่นิยมในทางที่เกื้อหนุนต่อชนชั้นนำ ชนชั้นนำก็พร้อมที่จะมอบและหนุนกระแสดังกล่าว แต่ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะเข้ายับยั้งและยึดคืน เช่น กรณีการรัฐประหาร หรือ การสังหารนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เพราะเห็นว่ามีความเสรี "มากเกินไป" เป็นต้น ซึ่งไชยันต์ กังวลว่าความลักลั่นที่ปรากฏมาต่อเนื่องยาวนานได้นำมาสู่ความขัดแย้งที่ฝังลึกรุนแรงในทุกระดับ ตั้งแต่การในระดับครอบครัว เพื่อนฝูง ทั้งในชิวิตจริงและในปฏิสัมพันธ์ทางอื่น เช่น กลุ่มแชทไลน์ ไปจนถึงความขัดแย้งภาพใหญ่ในบริบทของความแตกต่างทางภูมิภาค ชนชั้น หรือการงานอาชีพ ซึ่งคงเป็นสถานการณ์ที่จะดำเนินต่อไปอย่างน่าอันตราย
ปิยบุตรชี้รับรัฐธรรมนูญเท่ากับต่อเวลา คสช. ดำรงอำนาจพิเศษถาวร
ในช่วงอภิปรายแลกเปลี่ยน ต่อข้อซักถามเรื่องร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่าควรรับหรือไม่รับ และถ้าไม่รับอะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนั้น ปิยบุตร กล่าวว่า ถ้าเรารับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็เท่ากับว่าเรายอมรับให้ คสช. ดำรงอำนาจพิเศษต่อไปเรื่อยๆ อย่างถาวรในกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือ เป็นการ Constitutionalized coup d’etat ปัจจุบันเราอยู่ในสภาวะยกเว้น (state of exception) ซึ่งควรจะเป็นเพียงชั่วคราว แต่หากเรารับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เท่ากับเราให้สภาวะยกเว้นดำรงอยู่อย่างถาวรไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ความไม่แน่นอนว่าจะมีการจัดเลือกตั้งหรือไม่นั้นก็มีสูง มีความเป็นไปได้ว่าจะมีการเลื่อนวันลงประชามติออกไป ซึ่งควรจับตามองศาลรัฐธรรมนูญว่าจะมีบทบาทอย่างไร แล้วหลังจากนั้นอาจจะมีเหตุการณ์คล้ายๆ กับสงครามโลก อย่างที่คุณมีชัย ฤชุพันธุ์ บอกไว้ ซึ่งเป็นไปได้ว่าเราอาจจะไม่มีการทำประชามติอีกเลย นอกจากนั้นหาก คสช. ประเมินว่าผลประชามติออกแล้วมีแสดงถึงความแตกแยกสูงระหว่าง ผลรับหรือไม่รับ ในแต่ละภูมิภาคของประเทศ คสช. คงไม่อยากให้เกิดเหตุกาาณ์นี้ขึ้น และแน่นอนหากว่า คสช.ประเมินแล้วว่าตัวเองไม่ชนะก็ไม่น่าจะจัดประชามติ
ต่อข้อถามที่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากโหวตไม่รับชนะ ปิยะบุตรมองว่าการดำรงอยู่ในอำนาจของคสช. จะลำบากมากขึ้นเพราะไม่มีความชอบธรรมแล้ว ถึงแม้ว่าการโหวตไม่รับจะหมายถึงว่า คสช.ยังคงอยู่ในอำนาจต่อไปก็ตาม ซึ่งแบบนี้ก็ยังดีโหวตยอมรับให้ คสช.อยู่ในอำนาจต่อไปแบบถาวรในรัฐธรรมนูญ
ผู้เข้าร่วมเสวนา เสอนว่าหากเราโหวตรับอย่างน้อยเราก็จะมีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นที่ถูกรับรองอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ปิยะบุตร ให้ความเห็นว่า ต่อให้รัฐธรรมนูญผ่าน คสช. ก็จะยังคงอยู่ในอำนาจต่อไป หนำซ้ำระบบต่างๆ ก็จะมีความแนบเนียนมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ ไม่ว่ารัฐธรรมนูญใหม่จะรับประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากแค่ไหน เราก็ยังมีมาตรา 44 อยู่ ซึ่งให้อำนาจ คสช. ในการบริหารประเทศต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ อีกทั้งระบบศาลในประเทศไทยเองก็เคยล้มการเลือกตั้งมาแล้วถึงสองครั้ง
ต่อข้อถามว่าหลังจากที่ประเทศไทยได้เข้าสู่กระบวนการยูพีอาร์ ของ องค์กรสหประชาชาติ ซึ่งได้รับวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในประเด็นกฎหมายมาตรา 112 และ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้น จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ร่างรัฐธรรมนูญจะยกเลิก หรือ แก้ไข กฎหมายนี้ อูจีนี ให้ความเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปี 2555 กล่าวว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นบังคับใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญตามมาตรา 8 ที่กล่าวว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นกับกฎหมายมาตรา 112 ในทางกลับกัน การตีความจะกว้างมากขึ้นและมีโทษหนักมากขึ้น
ด้านวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการผู้ประสานงานโครงการนิติธรรมในประเทศไทย มหาวิทยาลัยลอนดอน SOAS กล่าวว่างานดังกล่าวเป็นกิจกรรมครั้งที่สามของโครงการ โดยก่อนหน้านี้ได้มีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติร่วมเป็นวิทยากรอย่างต่อเนื่องทั้งจาก SOAS และสถาบันอื่น อาทิ Professor Sir Jeffrey Jowell อดีตคณะบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) และ Professor Andrew Harding ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากฎหมายเอชีย มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) เป็นต้น ส่วนงานสัมมนาครั้งนี้มีผู้สนใจร่วมเข้าฟังอย่างหลากหลายทั้งนักวิชาการและนักศึกษาทั้งไทยและต่างชาติ และยังมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักรสนใจร่วมรับฟังอีกด้วย
สำหรับโครงการนิติธรรมในประเทศไทยจะจัดกิจกรรมวิชาการครั้งต่อไปในช่วงเดือนกันยายน 2559 ซึ่งเป็นวาระฉลองครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้ง SOAS มหาวิทยาลัยลอนดอน อีกทั้งยังเป็นช่วงครบรอบ 10 ปีหลังการรัฐประหารไทย พ.ศ. 254 9โดยผู้สนใจสามารถชมคลิปกิจกรรมและติดตามข่าวสารของโครงการได้ทาง https://www.facebook.com/soasrolt/
เรื่องที่เกี่ยวข้อง: